- คำนำ
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๓)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๓)
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น (๒)
- ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๓)
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๔๘๐
พระยาอนุมานราชธน
ได้อ่านหนังสือ เรื่อง อสูรและยักษ์ผิดกันอย่างไร ซึ่งท่านให้ด้วยใจเมตตานั้นจบแล้ว ขอบใจที่ได้สติรู้สำนึกขึ้นด้วยหนังสือนั้นว่าเทวดาโกง เรื่องราวที่กล่าวอ้างไว้ในหนังสือนั้นก็ทราบอยู่บ้างแล้ว ควรจะรู้สึกเสียนานแล้ว ที่ไม่นึกไปถึงก็เพราะหลงตามที่เขานับถือกันว่าเทวดาดีเท่านั้นเอง
ต่อไปนี้จะพูดถึงถ้อยคำที่ใช้ในหนังสือนั้น
ทว่า คำนี้พวกเขียนหนังสือพิมพ์ชอบใช้ เห็นว่ามาแต่ ถ้าว่า เหมือน อนึ่ง มาแต่ อันหนึ่ง อะไร มาแต่ อันไร ผิว มาแต่ ผิว่า จะควรเขียน ถว่า แต่ถว่า เสียดอกกระมัง
เสด็จ ว่า ท่าน ไม่ได้ว่าไป คิดดูคำ เสด็จพระองค์ใหญ่ เสด็จพระองค์เล็ก เสด็จอยู่ เสด็จไม่อยู่ นั้นเถิด จะเลงเห็น
ชาติ คำนี้ทางบาลีแปลว่า เกิด เกิดแก่เจ็บตาย ชาติ ชรา พยาธิ มรณ ที่เอามาปรับให้แก่ชนพวกหนึ่งนั้นใหม่เอี่ยมทีเดียว เพราะมันลงกันไม่สู้จะได้ดี จึงทำให้ตีวงยาก
ทีนี้จะถามไปนอกหนังสือนั้น
ชั่วช้า ต่ำช้า ทำไมจึงต้องมี ช้า และ ช้า นั้น ไม่บ่งความเปนว่า นาน หรือ ล่า จะเอาความว่าอย่างไร