- คำนำ
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๓)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๓)
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น (๒)
- ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๓)
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๐ น
Preseban
Nijland weg 130
Bandoeng Java
วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๔๘๐
พระยาอนุมานราชธน
ฉันไปเที่ยวชะวา ได้รู้อะไรลางอย่างกว้างออกไป ทำให้คิดถึงจึ่งเขียนหนังสือมาบอก แม้ว่าจะเอาไว้บอกเมื่อกลับมาก็เกรงว่าจะหลงลืมไปเสีย
ที่ตลาดบันดุงมีห่อใบตองขาย เขาบอกว่า บุหงารำไป ได้ยินรู้สึกซึมทราบดี ด้วยคำนี้มีในเรื่องอิเหนา ซื้อมาแก้ออกดู ในนั้นมีกลีบลำเจียกกับดอกไม้ทั้งดอก มีจำปี จำปา กระดังงา กุหลาบ แล้วยังมีใบเตยหอมหั่นเปนฝอย กับช่อใบเนียม ปนอยู่ในนั้นด้วย พวกเราที่ออกไปอยู่บันดุงก่อนบอกว่าดอกอะไรก็ได้ สุดแต่มีกลิ่นหอมแล้วเปนใช้ได้ทั้งนั้น บุหงา ว่าดอกไม้ รำไป ว่าคลุกคละ ปะปน ผสม
ปะหนัน เราเข้าใจว่าเปนชื่อจำเพาะดอกลำเจียก แต่ทางชะวาใช้กว้างออกไปเปนชะนิดไม้ เช่น ลำเจียก การเกด เตย อะไรเปนลักษณเดียวกันนี้เรียกว่าปะหนันทั้งสิ้น
อนึ่ง ที่ตลาดมีข้าวปัดขาย เขาเรียกว่า กะปัด ทำเอาตื่นเต้น แล้วพวกเราที่อยู่บันดุงบอกว่า ข้าวบุหรี่ ก็เรียก กะบูลี คำเหล่านี้เข้ามาถึงเมืองไทย กะ กลายเปน ข้าว เช่นเดียวกับ กาแฟ ก็เปน ข้าวแฝ่
ลูกสะหละ เรียกว่า ซาละ มีรสฝาดอยู่ในนั้น ผิดกันกับของเมืองเรา
สหาย มลายูออกเสียงว่า สหายะ ชะวาออกเสียงว่า สอายะ แต่เขาหมายถึงบ่าว ไม่ใช่เพื่อน ชอบกลอยู่
สงสาร คำนี้เขาหมายความว่าได้ทุกข์ ใช้แก่คนขอทานเปนต้น ใกล้คำเดิมมากกว่าทางเรา
สะ แปลว่า หนึ่ง สตาหมัน แปลว่า สวนอันหนึ่ง ถ้าจะพูดว่า สวน ก็ ตาหมัน เท่านั้น
ภาษาชะวากับมลายู เขาว่าเกือบเปนอันเดียวกัน เพี้ยนกันเล็กน้อย ท่านสงสัยอยากรู้คำใด บอกไปให้ทราบก็ยินดีที่จะช่วยสืบให้