- คำนำ
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๓)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๓)
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น (๒)
- ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๓)
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๓)
กรมศิลปากร
วันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
ขอประทานกราบทูล ทรงทราบใต้ฝ่าพระบาท
ด้วยข้าพระพุทธเจ้า ได้รับหน้าที่เป็นผู้เรียบเรียงคำอธิบายประกอบการบรรเลงเพลงของกรมศิลปากร สำหรับวิทยุกระจายเสียง ข้าพระพุทธเจ้าได้ขอให้เจ้าหน้าที่ผู้มีความรู้ในเรื่องละครและดนตรีไทย มาช่วยอธิบายให้ฟัง แต่การอธิบายของเจ้าหน้าที่ผู้รู้ มักแสดงท่าทางรำและร้องให้ฟัง มากกว่าอธิบายเป็นถ้อยคำให้ทราบเหตุผล เพราะเรียนมาทางร้องรำ ถึงคราวอธิบายจึงเป็นของลำบากมาก แต่เมื่อได้ซักไซ้จนเป็นที่เข้าใจแล้ว จึงรู้สึกด้วยเกล้าฯ ว่า วิชาร้องรำเป็นวิชาสูง มีกำหนดกฎเกณฑ์มาก กระทำให้ข้าพระพุทธเจ้าอยากดูละครขึ้นอีก ที่คนดูเบื่อละคร เห็นจะเป็นเพราะไม่เข้าใจเรื่องราวของวิชาละคร ด้วยซักไซ้ไล่เรียงก็ไม่ค่อยได้ ประกอบทั้งตำรับตำราที่ว่าด้วยวิชาด้านนี้ก็ไม่มีจดไว้เป็นหนังสือ คงจำสืบต่อ ๆ กันมาเท่านั้น ที่ทรงพระกรุณาประทานพระอธิบายเรื่องละครชะวาว่าเสื่อมทรามลง เพราะด้วยอำนาจความเป็นไปอย่างสมัยใหม่ของฝรั่งเข้ามาเป็นเจ้าเรือนดั่งนี้ กระทำให้ข้าพระพุทธเจ้ารู้สึกจับใจมิรู้หาย ว่าในส่วนการร้องรำของไทย ถ้าไม่มีตำรับตำรารักษาไว้ ก็น่าจะเป็นไปในทำนองเดียวกัน ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีพื้นความรู้ในวิชาเหล่านี้พอ การซักถามก็ย่อมบกพร่องเพราะไม่มีแนวทาง เช่น เพลงรื้อร่าย ทำไมจึงมีแต่ละครใน และในที่เช่นไรจึงร้องรื้อร่าย ก็ได้รับคำอธิบายแต่ว่า รื้อร่ายร้องเอื้อนมากกว่าร่าย ซักหาเหตุผลหนักเข้า ก็ร้องให้ฟัง ซึ่งไม่สู้ได้ประโยชน์แก่การอธิบายเป็นความรู้นัก
ทางวิทยุกระจายเสียงต้องการให้อธิบายเพลงช้าประสมชมตลาด ข้าพระพุทธเจ้าได้รับคำอธิบายจากผู้รู้ก็ว่า เป็นเพลงรื่นเริง คิดว่าจะไปทำอะไร ส่วนชมตลาดก็ว่าเป็นเพลงที่ยักษ์จะแปลงเป็นมนุษย์ เพื่อจะอวดว่าตนสวย หรือท้าวพญาเสด็จชมตลาด สอบถามถึงเพลงช้าว่ามีกี่อย่าง ก็ชี้แจงว่านอกจากช้าประสม ยังมีช้าปี่นอก ช้าปี่ใน และช้าหวน และว่าช้าปี่ใน ใช้ตอนละครออก ร้องโหยหวนเอื้อนมาก ส่วนช้าปี่นอก ร้องห้วนๆ เพื่อให้ทันคนดูคนฟัง ช้าหวน เป็นเพลงระลึกถึงสังขาร ว่ามีแต่ในเรื่องคาวี ตอนท้าวสันนุราชรำพึงถึงสังขารแห่งเดียว การอธิบายเพียงเท่านี้ ไม่สู้เป็นประโยชน์แก่ความรู้อะไรนัก ครั้นจะเขียนอธิบายไปเพียงเท่านี้ มีแต่ทางเสียมากกว่าทางดี ข้าพระพุทธเจ้าจึงมาระลึกถึงพระกรุณาแต่ก็เกรงด้วยเกล้า ฯ ว่า จะเป็นที่รบกวนใต้ฝ่าพระบาท จึงทำให้ข้าพระพุทธเจ้ารวนเรใจอยู่หลายเวลา แต่เมื่อข้าพระพุทธเจ้าไม่สามารถจะหาความรู้ในเรื่องเพลงช้าเหล่านี้ได้ จึงจำเป็นต้องกราบทูลขอประทานพระกรุณาแล้วแต่จะทรงพระเมตตาปรานี ทั้งนี้พระอาญาไม่พ้นเกล้าฯ
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ
ข้าพระพุทธเจ้า
ขอประทานกราบทูล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์