- คำนำ
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๓)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๓)
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น (๒)
- ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๓)
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๔๘๐
พระยาอนุมานราชธน
อันชื่อว่า พงออ นั้นฉันมีความคิด แต่เปนความคิดเดาอย่างหัวหกกันขวิด ไม่กล้าเขียนมาในหนังสือบรรยายเรื่องร้องรำทำเพลง ซึ่งให้ท่านมาก่อนนี้
ออ คำนี้ ฉันคิดว่าหมายถึง อ้อ คือ ปี่อ้อ ปี่ชะนิดนั้น ฉันได้เคยเห็นของสมเด็จพระราชปิตุลาก่อน ท่านทำหีบนวมอย่างฝรั่งบรรจุเครื่องเป่าลมทำด้วยงาไว้ในนั้น ๔ เลา เปนขลุ่ย ๓ เลา กับอะไรอีกอย่างหนึ่งซึ่งฉันไม่รู้จัก มีรูนิ้วเหมือนปี่ขลุ่ย แต่หัวท้ายกลวงเสมอกัน ลักษณเปนหลอด จึ่งถามผู้รักษาว่านี่อะไร เขาบอกว่า ปี่อ้อ ฉันก็นึกถึงเรื่องเจ้าจงเป่าปี่อ้อขึ้นมาทันที คิดว่าปี่ชะนิดนี้จะเปนเก่าที่สุด เก่ากว่าปี่ในปี่กลาง และปี่นอก ด้วยอำนาจความอยากรู้ จึ่งไล่เลียงผู้รักษาว่า ก็กลวงตลอดหัวท้ายเช่นนี้แล้วเป่าอย่างไร เขาบอกว่ามีลิ้นทำด้วยไม้อ้อสวมลง ฉันก็ไล่เลียงว่าลิ้นนั้นทำเปนอย่างไร ผู้รักษาก็ลา บอกไม่ได้เพราะไม่เคยเห็น ก็เปนอันยุติกันเพียงเท่านั้น
ภายหลังฉันไปโคราช ไปพบพวกเขมรป่าดง (แขวงสุรินทร์) เขาเล่นดนตรี ใช้ปี่อ้อนั้นทีเดียว ตัวปี่ทำด้วยไม้พวกไม้ชิงชัน มีไม้อ้อปลายข้างหนึ่ง บีบแบนคาบตับไว้ ปลายอีกข้างหนึ่งกลมกลวงอยู่ตามปกติ ใช้สวมครอบลงกับตัวปี่ไม้ชิงชัน เป่าทางที่บีบแบน ก็เปนวิธีอันเดียวกันกับลิ้นปี่ใน ปี่กลาง ปี่นอก ซึ่งทำด้วยใบลานตัดประกบกัน ฉันเข้าใจว่าเดิมทีจะทำด้วยไม้อ้อทั้งลำล้วนทั้งเลา แต่ไม้อ้อเป็นของกำมะลอเหี่ยวแตกเสียไปได้ง่าย จึ่งคิดแก้ไขในภายหลังแบ่งเปนสองท่อน ท่อนตัวปี่ทำด้วยไม้แขงให้เปนของอยู่ยืนยงได้ คงใช้ไม้อ้อแต่ลิ้นทำสวมเข้า
คำ พงออ คิดว่าเติมจะเปน พยงออ คือ เพียงอ้อ แล้วตัว ย ควบหายไปกลายเหลือแต่ พงออ คิดว่าเดิมทีเครื่องดนตรีคือเครื่องสาย จะใช้ปี่อ้อเปนหลักมาก่อน แล้วลำบากยากเย็นหนักจึงแก้ไขทำเปนขลุ่ยแทน เหตุฉะนั้นจึ่งได้ชื่อว่า ขลุ่ยพงออ คือ เพียงอ้อ จะถูกหรือผิดเอาแน่ไม่ได้ เปนแต่ความคิด มีก็เขียนมาให้ดูเล่น
ขลุ่ยกรวดนั้นตรงกับเสียงทางนอกทางเสภา กรวด หมายความว่าเสียงสูง คือสูงกว่าขลุ่ยพงออ ข้อนี้เห็นจะเอาเปนแน่ได้ คงคิดทำขึ้นภายหลังเพื่อเล่นรับเสภา