- คำนำ
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๓)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๓)
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น (๒)
- ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๓)
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๙
พระยาอนุมานราชธน
หนังสือของท่านลงวันที่ ๒๔ เดือนนี้ นำส่งผ้าลายกุศราตกลับคืนไปให้ได้รับแล้ว
ตามทางที่ไต่สวนกัน ในเรื่องผ้ากุศราตและผ้าสุหรัด เปนอันได้ความชัดเจนพอใจแล้วว่า แคว้นกุศราตอันมีเมืองสุหรัดเปนเมืองท่านั้น เปนทำเลที่ทำผ้าทุกอย่างส่งออกขายไปตามเมืองต่าง ๆ จะเปนผ้าขาวผ้าสีหรือผ้าลายอย่างใด ๆ เมื่อทำส่งออกจากแคว้นกุศราตหรือเมืองสุหรัดแล้ว ก็เรียกว่าผ้ากุศราตหรือผ้าสุหรัดทั้งสิ้น
ผ้ายั่นตานี ท่านคาดคะเนว่าจะเปน ย่านตานี นั้น เข้าทีจะถูกเปนอันมาก เพราะเขตต์แดนตานีก็ติดต่อกับกะลันตัน จะหมายความว่าผ้ากะลันตันทำที่ย่านตานีก็ใกล้จะเปนได้ดีทีเดียว
เกี้ยวลาย คำว่า เกี้ยว นั้น หมายว่าผูกว่ารัด เกี้ยวที่สวมบนสีสะ ก็หมายถึงวัตถุที่รัดช้องผม เกี้ยวผู้หญิง ก็หมายถึงพูดผูกสมัครรักใคร่กับผู้หญิง กอดเกี้ยว ก็หมายถึงกอดรัด สืบไปถึง เกี่ยว ก็เปนคำเดียวกันด้วย ผ้าเกี้ยว ก็เปนผ้าคาดพุง เกี้ยวลาย ก็เปนผ้าคาดพุงที่มีลายเท่านั้น จะเปนลายอย่างไรก็ตามที
กร่าย คาดกร่ายชายทอง จะต้องเปนชื่อผ้าคาดพุงชะนิดหนึ่ง ซึ่งเวลานี้ไม่มีใช้ ไม่สามารถจะทราบได้
ดีแล้ว ที่ได้ทราบความตกลงของราชบัณฑิต ว่า ดิกชันรี จะเรียกว่า พจนานุกรม แต่นี้ต่อไปฉันจะเรียกดิกชันรีว่า พจนานุกรม เว้นแต่ฉะบับที่เขาตั้งชื่อเรียกไว้เปนอย่างอื่น
นึกถึงคำ เกจ ที่ช่างเอาไปเรียกเปนชื่อยกไม้ ซึ่งสงสัยว่าจะหลงมาจากคำอื่นนั้น คำที่คล้าย เกจ มีหลายคำเช่น เกรด เกลด เตรจ ให้สงสัยว่าจะหลงมาจากคำ เกรด ซึ่งใช้กันอยู่ว่า ปากเกรด อ้อมเกรด เกรด จะหมายความว่าแหลม คือสิ่งที่ยื่นออกไป ฝันว่าแหลมในทะเลมีอยู่แห่งใดแห่งหนึ่ง ชื่อว่า เกรดแก้ว ท่านจงพิเคราะห์ต่อไปเถิด