- คำนำ
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๓)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๓)
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น (๒)
- ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๓)
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๔๗๙
พระยาอนุมานราชธน
หนังสือของท่าน ลงวันที่ ๒๔ ตุลาคม ได้รับแล้ว
ข้อหารือของท่าน ที่ว่าจะนำประกาศกรมพระราชวังบวรสถานมงคลทิวงคต และคำประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ลงต่อท้ายพระราชนิพนธ์ด้วยจะควรหรือไม่นั้น ฉันไม่สามารถจะให้ความเห็นเฉียบขาดได้ เพราะพระราชนิพนธ์นั้นไม่เคยเห็น และคำประกาศก็จำความไม่ได้ เพราะฉะนั้นจะให้ความเห็นได้แต่เพียงเป็นทางดำเนิน คือ ถ้าคำประกาศนั้นไขข้อต่อความในพระราชนิพนธ์ให้เข้าใจกว้างออกไป เช่นเดียวกับรูปทองสัมฤทธิ์แล้วจึงควรลง
ท่านอธิบายคำเวียดนาม ว่า เวียด เปนคำญวน กวางตุ้งว่า หวัด แต้จิ๋ว ว่า อวด เปนอันได้ทราบทางมาอย่างพอใจแล้ว ขอบใจท่านเปนอันมาก
ขอบใจท่านเปนอย่างยิ่ง ที่คัดตำนานเมืองนครศรีธรรมราชส่งไปให้ ได้อ่านแล้ว เสียใจที่จะบอกท่านว่าฉันไม่สู้มีศรัทธาในหนังสือนั้นมากนัก ใช่จะเห็นว่าเปนหนังสือซึ่งไม่มีแก่นสารเสียเลยก็หามิได้ แต่เห็นว่าเปนหนังสือที่เรียบเรียงขึ้นด้วยทางเก็บเล็กผสมน้อย ตามที่ได้ยินเรื่องนิทานจากปากผู้ใหญ่เล่าให้ฟังบ้าง เก็บจากหนังสือตกหล่น เช่น หนังสือถวายคนเปนข้าพระซึ่งมักหาได้ตามวัดเปนต้นบ้าง พยายามเอามาร้อยกรองติดต่อกันเข้า หวังจะให้เปนเรื่องพวกเดียวกับหนังสือ พงศาวดารเหนือ จริงอยู่ดอกที่หนังสือนั้นเปนหนังสือเก่า แต่ไม่เก่าลึกล้ำไปเท่าใดนัก ที่อ่านเข้าใจยากนั้นไม่ใช่เพราะสำนวนเก่าเกิน แต่เข้าใจยากเพราะเรื่องทบทับกันสับสน ทั้งเปนสำนวนชาวปักษ์ใต้ ซึ่งผิดกับสำนวนชาวกรุงเทพ ฯ อยู่ด้วย
สังเกตความตามท้องเรื่องในตำนาน ดูเหมือนจะกล่าวถึง ๓ สถาน ถือเพชรบุรีปนกับกรุงศรีอยุธยาสถาน ๑ นครศรีธรรมราชหรือนครดอนพระ ซึ่งผู้เขียนตำนานเข้าใจว่าเปนคนละเมืองสถาน ๑ กับท่าทองไชยคราม ซึ่งเปนเมืองขึ้นนครศรีธรรมราช ทีหลังหลงเอาไปปนเปนนครศรีธรรมราชนั้นสถาน ๑ ตามที่ว่านี้อาจชี้ให้เห็นได้โดยข้อความในตำนานนั้นแล