- คำนำ
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๓)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๓)
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น (๒)
- ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๓)
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
N.V. Hotel Montagne
Magelang
วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๔๘๐
พระยาอนุมานราชธน
หนังสือของท่าน ลงวันที่ ๖ กรกฎาคม ได้รับแล้ว
ท่านจะหาหลักฐานเรื่อง รามเกียรติ์ ทางชะวา เห็นจะยาก ลางทีหนังสือเก่าจะเปนหลักได้จริง แต่หากมีแปลก็จะต้องเปนภาษาวิลันดา ซึ่งไม่เปนประโยชน์แก่เราเลย ส่วนที่ชะวาเขาเล่นหนัง หุ่น โขน ละคอน กันอยู่นั้นเหลว เล่นเรื่องเก่ากันอยู่ ๒ เรื่อง เรียกว่า วายังปูรวา คือเรื่องมหาภารตยุทธ กับรามายณ แต่เอาปะปนกัน เช่น อานุมานรบกับอารชุน (กษัตริย์ปาณฑว) ก็ได้ ชื่อเสียงล้วนเรียกเฉโกโว้เว้เอาศัพท์ไม่ได้
ชาวชะวาเรียกวิลันดาว่า ยะลันดา เรียกอังกฤษว่า อิงกริส
เภตรา สงสัยว่าเปนคำเขมร ควรตรวจทางเขมร ส่วนทางชะวามะลายูเรียกเรือใบใหญ่ว่า กาปัล (กำปั่น) แล้วก็ลามไปเปนเรือกลไฟใหญ่ด้วย
นังกะ เปนขนุนหนัง ถูกอย่างท่านสงสัยแล้ว จำปาดะ เขียนจำปาดัก จริง ๆ แต่ไม่อ่านตัว ก หมายถึงขนุนจำปาดะก็ได้ ขนุนละมุดก็ได้
อุหรับ สืบไม่ได้เรื่อง เห็นจะไม่ใช่คำทางชะวามะลายู
อาน นึกถึงที่เคยเห็นใช้ได้ ๓ อย่าง
(๑) เครื่องอานพานพระศรี
(๒) อานม้า อานช้าง (คำนี้มีคนคิดว่า อาส์น)
(๓) อาวุธเว้นอานขัด
ดูเหมือนได้เคยพบพจนานุกรมทางเขมร เขาจำหน่ายว่าเปนคำญวน ท่านจงค้นดูเถิด ทางชะวามะลายูค้นไม่พบ
สะพัง กะพัง ตะพัง ตระพัง เคยสอบให้พระสารประเสริฐ ได้ความว่าเปนที่ขังน้ำ เห็นจะไม่ได้มาแต่คำ Subang
กำพู เชื่อว่า กัมพุช เขียนตกตัว ช กำพูฉัตร คือ กำพุชฉัตร ไม่ได้มาแต่ Krabu เหมือนกัน