- คำนำ
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๓)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๓)
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น (๒)
- ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๓)
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
กรมศิลปากร
๑๘ สิงหาคม ๒๔๗๙
ขอประทานกราบทูล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงษ์ ทราบใต้ฝ่าพระบาท
ข้าพระพุทธเจ้า ขอประทานพระเมตตากรุณา และพระบารมีเป็นที่พึ่ง ขอทราบเกล้าฯ ความหมายแห่งคำต่อไปนี้ คือ
กำแพงแก้ว เข้าใจด้วยเกล้าฯ ว่า จะเป็นกำแพงชั้นใน แต่มีผู้แย้งว่า เห็นจะไม่ใช่ เพราะกำแพงเตี้ยๆ ที่ล้อมพระเจดีย์ก็เรียกว่ากำแพงแก้วเหมือนกัน
เรือกิ่ง จะเป็นเรือที่มีกิ่งก้านหรืออย่างไรไม่เป็นที่ชัด เพราะเรือพระที่นั่งเช่น เรืออนันตนาคราช และเรือสุพรรณหงส์ ก็เรียกว่าเรือพระที่กิ่งเหมือนกัน ได้ทราบเกล้าฯ ว่าเรือกิ่งนั้น เกิดจากนายช่างตัดแบบหัวเรือและท้ายเรือผิด เมื่อมาต่อกันเข้าแล้ว ส่วนประกอบที่จะให้ยื่นออกไป กลับย้อนเข้า อย่างทำนองเรือพระที่นั่งศรีสมรรถชัย
ในโคลงพยุหยาตราเพชร์พวง ว่า
พังคาพิลาศล้ำ | หัศฎี |
ผูกเครื่องเขียวขจี | แจ่มหล้า |
นายกองนุ่งลายมี | หมวกฝรั่ง ใส่นา |
ห่มกุฎไตขอหง้า | ส่ายเสื้องเทาทาง |
หมอใส่เสื้อเสนา | กุดน้าว |
ในข้อความเหล่านี้ ขอประทานทราบเกล้าฯ ว่า กุฎไต และ เสื้อเสนากุด เป็น เสื้อชะนิดอะไร หมวกฝรั่ง เป็นหมวกแบบอะไร บางทีข้าพระพุทธเจ้าอาจได้เคยเห็น แต่ไม่ทราบเกล้าฯ ว่า เสื้ออย่างไหนเรียกว่าอะไร เช่น เสื้อเป็นลายหน้าสิงโตที่มีอยู่ในแห่ตอนกระบวนของหลวงในพระราชพิธีตรียำปาวาย จนป่านนี้ ข้าพระพุทธเจ้าก็ยังไม่ทราบชื่อ และจะหาตำราสำหรับสอบสวน ก็ไม่ทราบเกล้าฯ ว่าจะหาที่ไหน
ปัสตู ปรากฏอยู่ในหนังสือเก่าเสมอ ทำนองจะเป็นพวกโหมดตาดชะนิดหนึ่ง ขอประทานทราบเกล้าฯ ใน กฎหมายเก่า ตอนทำเนียบศักดินา ว่าด้วยช่าง ๑๐ หมู่ มีช่างทำลุ ซึ่งไม่ทราบเกล้าฯ ว่าช่างอะไร มีบางท่านว่าช่างปรุ แต่ก็ไม่มีหลักฐานอย่างไร อีกประการหนึ่ง ช่างเหล่านี้มีมากกว่า ๑๐ พวก และในพระบรมราชาธิบายของพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงว่า ช่าง ๑๐ หมู่อยู่เรี่ยรายไปในกรมต่างๆ ทั้งนี้จะแบ่งกันอย่างไร จึงจะได้ ๑๐ หมู่ ก็ไม่ปรากฏ ข้าพระพุทธเจ้า ได้คัดรายชื่อช่าง ๑๐ หมู่ ถวายมาด้วย ๑ ฉะบับ
นักเทศขันที ขอประทานทราบเกล้าฯ ว่าพวกอะไร ข้าพระพุทธเจ้าเดาตามความ ก็เป็นทำนองกรมวัง โดยที่คำนี้ไม่ทราบได้แน่นอนบางผู้คิดเห็นไปว่าจะเป็นมัคคุเทศก์ เพราะเป็นผู้นำหน้า บางผู้ก็คิดเติม น ให้เป็นนักเทศน์ แต่ก็เห็นจะเป็นการลากเข้าความ ที่ในหนังสือเรื่องจีน มีคำว่า ขันที ข้าพระพุทธเจ้าเชื่อว่าคงจะไม่ตรงกับลักษณะของนักเทศขันทีข้างต้นนี้ สอบถามพราหมณ์ศาสตรีว่า ขันทีในอินเดียมีหรือไม่ ก็ตอบว่ามี เรียกว่า ยวน โดยที่ได้คติมาทางกรีก และขันทีนั้นโดยปกติใช้คนต่างประเทศที่พูดไม่รู้ภาษากัน นัยว่า เพื่อป้องกันเรื่องปากมาก ดูเค้าความก็เข้ากับคำว่า นักเทศ ได้อยู่บ้าง ในภาษาสํสกฤต มีคำว่า ษัณฑ แปลว่า ยูนุก คำนี้นับว่าใกล้กับขันทีมาก
คำที่ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลถามมานี้ หวังด้วยเกล้าฯ ว่าจะได้รับพระกรุณา ทรงอธิบายให้เข้าใจแจ่มแจ้ง เพื่อข้าพระพุทธเจ้าจะได้ยึดเป็นความรู้ต่อไป
ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานถวายหนังสือที่ข้าพระพุทธเจ้าจัดพิมพ์ขึ้นแจกในงานศพบิดาข้าพระพุทธเจ้า 1 สำรับ มากับหนังสือฉะบับนี้ด้วย
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าฯ
ข้าพระพุทธเจ้า