- คำนำ
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๓)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๓)
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น (๒)
- ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๓)
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๔๘๐
พระยาอนุมานราชธน
หนังสือของท่าน ลงวันที่ ๑๒ ได้รับแล้ว
ราชาวดี ท่านค้นพบถูกแล้ว ฉันจะแจ้งรายงานการกระทำของฉัน แต่ก่อนนี้ให้ท่านทราบ จะเปนด้วยเหตุอะไรก็ลืมเสียแล้ว ฉันกับสมเด็จกรมพระสวัสดิ์จึ่งอยากทราบขึ้นมา ว่าพลอยนพรัตนทางอินเดียเขาจะถือว่าอะไรบ้าง แล้วต่างคนต่างก็ค้น จะตัดเล่าจำเพาะแต่ที่ต้องการ ฝ่ายฉันตรวจเห็นคำแปลไพฑูรย์ พบแปลไว้ว่า Lapis Lazuli แล้วก็ไม่ทราบอะไร ต้องค้นคำนั้นต่อไป จึ่งพบคำอธิบายว่ามาแต่ Lazuwerdi ในภาษาเปอเซีย หมายถึงพลอยขี้นกการเวก (สีฟ้า) ทำเอาฉันหัวปัก เพราะเรารู้กันอยู่แล้วว่า พลอยไพฑูรย์นั้นเปนสีน้ำผึ้งมีสายผ่านกลาง ทั้งกลอนก็มีอยู่ว่า สังวาลย์สายไพฑูรย์ แล้วคำนั้นก็ไปคล้ายคำ ราชาวดี เข้าอีกด้วย สมเด็จกรมพระสวัสดิ์เธอก็ค้นพบมาอย่างเดียวกัน จึ่งมาหารือกัน เธอเห็นใกล้คำ ราชาวดี เหมือนกัน แต่เธอแปลไม่ได้ว่าเหตุใดจึงจะมาเปนคำเดียวกัน ฉันจึงรับหน้าที่แปล คำว่า ลงยาราชาวดี นั้นพบมามากต่อมาก แต่แปลความหมายไม่ออก แล้วก็ได้สังเกตเห็นอีกอย่างหนึ่ง เครื่องทองในรัชกาลที่ ๑ เช่นพานพระขันหมากใหญ่ และพระโกศพระอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมชนก เปนต้น ลงยาสีฟ้าเกือบทั่วไป แต่ก็ยังเอาปรับเข้ากับยาราชาวดีไม่ได้ เปนแต่เข้าใจว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ โปรดยาสีฟ้าเท่านั้น จนกระทั่งมาพบคำ Lazuwerdi อันแปลว่าพลอยขี้นกการเวกเข้า จึงปรับกันเข้าได้ว่า ยาราชาวดี คือยาสีพลอยขี้นกการเวก สมเด็จกรมพระสวัสดิ์เธอก็เห็นชอบด้วยว่าถูกแล้ว เสียใจที่ย้อนหาที่มาจะจดให้ท่านไม่พบ เปนแต่จำได้แม่นยำว่าสองพยางค์ ต้นเขียนด้วยตัว L กับ Z อีกสองพยางค์หลังจำไม่ได้ จึงเขียนเดาๆ มาให้ท่านผิดไป ขอโทษ
อันเจ๊ก อินเจ๊ก เอนเจ๊ก เปนเรื่องสำเนียงอันเปนสิ่งสับปลับ จะเอาอะไรเปนนิยมนิยายไม่ได้ แม้เขียนตัว e พวกดัตช์เขาอ่านเปนสระอะก็มี ตัวอย่างอยู่ถมไป ภาษาชะวากับมลายูนั้น ลางคำก็ออกเสียงผิดกัน ลางคำก็ตรงกัน แม้เสียงจะเหมือนกัน ลางคำความหมายก็ตรงกัน ลางคำก็ต่างกัน คำ เจ๊ก จะเปน เจ๊ะ นั้นไม่ประหลาดใจเลย แต่คำ เจ๊ะ ซึ่งมลายูเอามาใช้เปนคำนำหน้าชื่อนั้น กลัวจะไม่ได้มาแต่คำ เจ๊ก สงสัยว่าจะมาแต่คำ เฉก เช่น เฉกอาหมัด เปนต้น จะเปนภาษาอาหรับหรืออะไร หมายความว่าอะไรก็ไม่ทราบ แต่คำ เฉก นั้นเคยพบแต่นำชื่อผู้ชาย ที่นำชื่อผู้หญิงไม่เคยพบ ส่วนคำ เจ๊ะ นั้นเคยพบทั้งนำชื่อผู้หญิงผู้ชาย