- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ภาคผนวก
๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
กรมศิลปากร
วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๔๘๒
ขอประทานกราบทูล ทรงทราบใต้ฝ่าพระบาท
ข้าพระพุทธเจ้า ได้รับลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๒๙ กรกฎาคม รวม ๒ ฉะบับ ลงวันที่ ๑๐ สิงหาคม ฉะบับ ๑ และวันที่ ๑๑ ฉะบับ ๑ ตรัสประทานเรื่องตราและเรื่องอื่น ๆ พระเดชพระคุณล้นเกล้า ฯ หาที่สุดมิได้
ข้าพระพุทธเจ้าได้ลายพระตราประจำชาดและประจำครั่ง มาอีกชุดหนึ่ง เป็นพระตราในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ เจ้าอยู่หัว หลายดวงที่เป็นตราอักษรจีนก็มี ขอประทานถวายมาพร้อมกับหนังสือฉะบับนี้
เรื่อง อาว์ กับ อา ในภาษาไทยทุกถิ่นที่ข้าพระพุทธเจ้าค้นพบ ตลอดจนได้สอบถามชาวไทยทางพายัพและอีศาน ได้ความร่วมกันว่า อาว เป็นน้องชายของพ่อ และ อา เป็นน้องหญิงของพ่อ ส่วนพี่ชายของพ่อและของแม่ ไทยส่วนมากเรียกว่า ลุง แต่ไทยย้อยและไทยโท้ใช้ว่า พ่อหลวง ลางที ลุง กับ หลวง เดิมจะเป็นคำเดียวกัน พี่สาวของพ่อและของแม่เรียกว่า ป้า ตรงกันทุกถิ่น น้องชายของพ่อ เรียก อาว กันโดยมาก ยกเว้นไทยนุงเรียกว่า พ่อซุก (อาซุก เป็นคำในกวางตุ้งแปลว่า อาว ตรงกับ อาเจ๊ก ในแต้จิ๋ว) น้องของแม่ เรียกว่า พ่อน้า เว้นไทยโท้และไทยนุง เรียกว่า พ่อเขา (น่าจะเป็นคำเดียวกับ อาโก ในภาษาจีน) น้องสาวของพ่อ เป็น อา หรือ แม่อา ผิดแต่ของไทยย้อยว่า แม่เลียว (ไม่ทราบเกล้า ฯ คำนี้) ส่วนน้องสาวของแม่ เป็น น้า หรือ แม่น้า ทุกถิ่น คำว่า น้า ไทยส่วนมากใช้ได้ทั้งที่เป็นน้องชายหรือน้องสาวของแม่ ผิดระดับลุงกับป้า จะเป็นเพราะเหตุไร ข้าพระพุทธเจ้าคิดไม่เห็น
คำว่า เหลน ในภาษาอาหม มีคำว่า หลิน แปลว่า ลูกของหลาน ทางอีศานก็มี ส่วนภาษาไทยถิ่นอื่นค้นไม่พบ คงมีเรื่องอธิบายเครือญาติอยู่ในพจนานุกรมไทยย้อย-ฝรั่งเศส เรียกผู้สืบสกุล ไม่ว่าจะสืบต่อลงไปกี่ชั้นก็ตามว่า หลาน ทั้งนั้น ตรงกับไทยในประเทศไทย ส่วน หลิน หรือ เหลน ในพจนานุกรมไทยย้อยไม่มี เป็นเรื่องที่ข้าพระพุทธเจ้ายังค้นหาเหตุผลไม่ได้เหมือนกัน
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ
ข้าพระพุทธเจ้า
ขอประทานกราบทูล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์