- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ภาคผนวก
๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
กรมศิลปากร
วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๘๒
ขอประทานกราบทูล ทรงทราบใต้ฝ่าพระบาท
ลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๑๙ ทรงพระเมตตาประทานข้อทรงสันนิษฐานเพิ่มเติมในเรื่อง พระร่วง ข้าพระพุทธเจ้าได้รับไว้แล้ว พระเดชพระคุณล้นเกล้า ฯ เป็นที่สุด
ที่ทรงเห็นว่านิทานพระร่วง เป็นนิทานเก่า ทรงอ้างเรื่องพระทองของเขมรนั้น ข้าพระพุทธเจ้าเห็นพ้องในกระแสพระดำริ เพราะเรื่องพระเจ้าแผ่นดินได้นางนาคเป็นชายา เป็นเรื่องมีอยู่ดกดื่นในตำนานทางแหลมอินโดจีน ในพงศาวดารมอญพม่า ในหนังสือประชุมพงศาวดาร ภาค ๑ ก็มีกล่าวเรื่องนางนาคในทำนองเดียวกัน ชาวอินเดียฝ่ายใต้ในราชวงศ์ปัลลวมีตำนานกล่าวว่า บรรพบุรุษของราชวงศ์เป็นเชื้อสายกษัตริย์ปาณฑพ ในมหาภารต มาได้นางนาคเป็นชายา และโดยเหตุที่พวกปัลลว ได้มาเป็นใหญ่ในประเทศจาม และประเทศเขมรครั้งโบราณ จะเป็นศาสตราจารย์เซเดส์หรือคนอื่น ข้าพระพุทธเจ้าจำไม่ได้ สันนิษฐานว่าเรื่อง พระทองกับนางนาค จะมีเค้ามาจากเรื่องของพวกปัลลว นักโบราณคดดีฝรั่งลางคนเข้าใจว่า ชนชาติที่อาศัยอยู่ในแหลมอินโดจีน ครั้งดึกดำบรรพ์ จะเป็นมนุษย์ซึ่งเป็นเชื้อสายของชาติมอญ-เขมรเดิมอยู่มาก่อน น่าจะนับถือบูชางูมาแต่เดิมด้วย แล้วมาได้กับมนุษย์พวกอื่นที่มาเป็นใหญ่ในแดนเหล่านี้ สืบลูกหลานต่อมา ที่ในตำนานกล่าวถึงพวกนาค ก็น่าจะหมายความถึงพวกเหล่านี้ ประจวบกับชาวอินเดียฝ่ายใต้ ซึ่งเข้ามาเป็นใหญ่ในแหลมอินโดจีน มีเรื่องนางนาคอยู่เหมือนกัน เรื่องก็เข้ากันได้เหมาะพอดี เรื่องชะนิดนางนาค ถ้าเป็นตอนเหนือขึ้นไป นางนาคก็กลายเป็นนางมังกร เช่น เรื่องของไทยใหญ่ เรื่องของไทยลี้ในเกาะไหหลำ และเรื่องปฐมกษัตริย์ของญวน พอเข้าเขตต์จีน เรื่องนางมังกรกลายเป็นเรื่องมังกรตัวผู้ไป เช่น เรื่องของจีนและไทยอ้ายลาวที่ในแคว้นอัสสัม และในตอนที่ต่อกับเขตต์แดนพะม่า มีชนชาติหนึ่งเรียกว่า นาค มีมากพวกด้วยกัน รูปร่างหน้าตาในรูปถ่ายก็เป็นคนชาวป่าชาวเขา ส่วนภาษาและขนบธรรมเนียมตามที่ข้าพระพุทธเจ้าได้อ่าน ดูจะเป็นพวกธิเบต-พะม่า ลางทีพวกนี้จะเป็นพวกกระเสนกระสายในเรื่องนางนาคด้วยอีกทางหนึ่ง
เรื่องยกเอาเรื่องไม่น่าเชื่อถวายพระเจ้าแผ่นดิน จับใจข้าพระพุทธเจ้ามาก ข้าพระพุทธเจ้าได้อ่านพบในพงศาวดารเขมรเรื่องหนึ่ง ว่าเพราะนายเตีย ควานช้าง ได้กินเนื้อไก่วิเศษ ภายหลังจึงได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินเขมร มีโอรสคือพระเกตุมาลา ซึ่งลางฉะบับว่าเป็นโอรสพระอินทร์ เรื่องของพะม่า ว่าพระเจ้างะตะบะ เดิมบวชเป็นสามเณร ผะเอิญได้กินไก่ของอาจารย์ ภายหลังมาได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินครองแคว้นศรีเกษตร์ เรื่องของไทยใหญ่ว่า ขุนลู (อาจเป็นคำเดียวกับ ลอ ซึ่งข้าพระพุทธเจ้ายังหาคำแปลไม่ได้) กับ ขุนไล ลูกเทวดาลงมาสร้างเมือง ถูกจีนซึ่งเป็นคนใช้หลอกให้กินตัวไก่ ส่วนจีนคนใช้เองได้กินหัวไก่ จีนคนใช้จึงได้เป็นฮ่องเต้ของจีน มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ ส่วนไทยใหญ่ได้กินแต่ตัวไก่ จึงไม่มีอำนาจวาสนาเหมือนจีน เรื่องเหล่านี้น่าจะมีที่มาแห่งเดียวกัน คือ ศิริโจรพราหมณ์ชาดก ซึ่งเล่าว่านายหัตถาจารย์กับภรรยาได้กินเนื้อไก่ ซึ่งบรรจุอยู่ในภาชนะลอยมาในแม่คงคา แล้วได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน
เรื่องนิทานชะนิดนี้ คิดด้วยเกล้าฯ ว่ามีประโยชน์มากเหมือนกัน เพราะอาจจะสืบสาวราวเรื่องของคนโบราณว่าได้มีการติดต่อกันอย่างไร ดังเรื่องพระยาแกรก จะไปดูผู้มีบุญของพะม่า ก็มีแต่ว่าเป็นพระเจ้าคุนฉ่องจ่องพยุ ซึ่งเป็นพระบิดาของพระเจ้าอนุรุธ
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ
ข้าพระพุทธเจ้า
ขอประทานกราบทูล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์