- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ภาคผนวก
๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
กรมศิลปากร
วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๒
ขอประทานกราบทูล ทรงทราบใต้ฝ่าพระบาท
ข้าพระพุทธเจ้ารู้สึกเต็มตื้นในพระเมตตาปราณีเป็นล้นเกล้าฯ ที่ทรงพระกรุณาประทานความรู้ต่าง ๆ แก่ข้าพระพุทธเจ้า ทั้งนี้เป็นพระเดชพระคุณแก่ข้าพระพุทธเจ้า เหลือที่จะกราบทูลให้ทรงทราบได้
วันนี้ข้าพระพุทธเจ้าอ่านเรื่องเบ็ดเตล็ดของอินเดียที่ฝรั่งรวบรวมไว้ย่อๆ เป็นอย่างเอนไซโคลปิเดีย เรียกชื่อว่า Things Indian พบเขากล่าวถึงอาวุธ และเกราะของอินเดียแห่งหนึ่งว่า ปืนไฟนั้นลางทีอินเดียจะได้มาทางอียิปต์ อียิปต์ได้มาจากนครเวนีสในปลายศตวรรษที่ ๑๔ หรือต้นศตวรรษที่ ๑๕ และอิทธิพลของเวนิสดูเหมือนจะมีมาถึงอินเดียในคำว่า Bundook ซึ่งใช้เป็นชื่อเรียกปืนคาบชุด (Matchlock gun) ของอินเดีย คำนี้มาจากชื่อของนครนั้น เมื่อข้าพระพุทธเจ้าอ่านถึงตรงนี้ ก็ผ่านไป แต่จะด้วยความใฝ่ฝันอยู่แล้วหรืออย่างไรไม่ทราบเกล้าฯ ย้อนกลับมาดูอีกครั้งหนึ่ง ก็เฉลียวนึกถึงคำว่า ปืนมณฑก ในภาษาไทย ซึ่งข้าพระพุทธเจ้าได้ไปสอบถามพนักงานพระแสงในสำนักพระราชวัง และสืบถามนายทหารเก่า ๆ ในกรมช่างแสง ก็ตอบว่าไม่เคยเห็น และไม่ทราบว่าปืนชะนิดไร ข้าพระพุทธเจ้าจึงค้นหาคำ บันดุก นี้ ในพจนานุกรมภาษาฮินดูสตานี เขาอธิบาย บันดุก ว่า ในภาษาฮินดูสตานีเขียนเป็น Bandūk มาจากภาษาอาหรับอีกต่อหนึ่ง หมายความถึงปืนคาบชุด บันดุก นี้ ถ้าเป็นพหูพจน์ใช้ว่า Banādik อันเป็นชื่อที่ชาวอาหรับเรียกผลไม้ filbert (เป็นผลไม้เปลือกแข็งปลายข้างหนึ่งแหลม) เหตุที่เรียกว่า บันดุก เพราะผลไม้นี้มาจากเมืองเวนิส (อาหรับเรียกว่า บันนาติก Venedig ในภาษาเยอรมัน) แล้วคำ บันดิก นี้ เลื่อนมาใช้แก่กระสุนสำหรับยิงจากหน้าไม้ เลื่อนมาอีกชั้นหนึ่ง ใช้เรียกแก่ตัวหน้าไม้ แล้วจึงเลื่อนมาใช้เรียกปืนไฟ ในภาษาอาหรับมีคำว่า Al-Bandukāni แปลว่า ผู้ทรงหน้าไม้ อันเป็นพระนามหนึ่งของกาหลิบฮารุลอัลราสจิด เห็นจะตรงกับคำว่า พระทรงศร ใน อาหรับราตรี มีคำว่า Bandukdār แปลว่า นายแห่งปืนใหญ่ คิดด้วยเกล้า ฯ ว่า คำ บันดุก ตกมาในภาษาไทย เขียนเป็น มณฑก ลากเสียงเข้าความให้แปลได้ จึงค้นหาที่มาไม่พบ ประกอบทั้งปืนมณฑก ภายหลังเรียก ปืนคาบชุด เลิกใช้คำว่า มณฑก (ซึ่งจะเป็นด้วยเหตุไรไม่ทราบเกล้า ฯ ) จึงทำให้หาตัวปืนมณฑกไม่ได้ ทั้งๆ ที่ยังมีซากปืนมณฑกเหลืออยู่ คิดด้วยเกล้า ฯ ว่า ปืนจ่ารงค์ ก็จะเป็นคำจำพวกเลื่อนมาอย่างปืนมณฑก แต่ข้าพระพุทธเจ้าพยายามค้นมานักแล้วก็ยังไม่พบ
ในหนังสือที่ว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ดของอินเดีย กล่าวไว้อีกแห่งหนึ่งว่า พรหมาศตร์ ไม่มีใครทราบว่าเป็นอาวุธอะไร เป็นแต่ในตำนานกล่าวว่า เป็นอาวุธที่มีอำนาจซึ่งเมื่อแผลงไปก็ย้อนกลับมาหาแหล่งเดิมได้ และว่าอาวุธอย่างนี้ พวกมรวารและพวกกัลลาร ซึ่งเป็นเชื้อชาติทมิฬ ยังใช้อยู่ทุกวันนี้ เป็นลักษณะเดียวกับอาวุธ บูมมารัง ของชาวเกาะออสเตรเลีย ทำให้นักปราชญ์ทางมนุษย์วิทยาเข้าใจว่า อินเดียภาคใต้กับออสเตรเลียอาจมีทางติดต่อกันในสมัยดึกดำบรรพ์ แต่ลางคนเห็นว่าจะเป็นต่างฝ่ายต่างคิดก็ได้ หากความคิดมาร่วมกัน
ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานถวายเรื่องประเพณีเกี่ยวกับเกิด ซึ่งข้าพระพุทธเจ้าเขียนเสร็จแล้ว มาในซองนี้ด้วยฉะบับหนึ่ง
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าฯ
ข้าพระพุทธเจ้า