- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ภาคผนวก
๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๔๘๒
พระยาอนุมานราชธน
แบบถ่ายตัวอักษรของราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งฉันบอกว่าไม่ได้รับนั้น บัดนี้ได้รับแล้ว ตามที่คิดแบ่งเปนสองภาค คือภาคสามัญกับภาคพิสดารนั้น ฉันเห็นชอบด้วย แต่คงมีความเห็นยืนอยู่ว่าควรใช้ตัวเกลี้ยงๆ จะสดวกแก่โรงพิมพ์ที่เขาไม่มีตัวพิมพ์อันมีเครื่องหมาย เพราะฉะนั้นภาคสามัญควรใช้ตัวเกลี้ยง ๆ เช่น อุ หรือ อู ก็ใช้ตัว u ตัวเดียว จะเป็นเสียงสั้นหรือยาวก็เดาเอา แต่ภาคพิสดารนั้นจะใส่เครื่องหมายอะไรก็ได้ตามใจ ฉันไม่ว่า ไม่มีความเห็นแย้ง
การอ่านผิดนั้นจะต้องเปน เช่นคำว่า ตาก-ลม เด็กอ่านเปน ตา-กลม ก็มี แต่นั่นเปนความผิดของคนอ่าน ไม่ใช่ความผิดของคนเขียน ถ้าเขียนตามแบบแล้วก็อาจคิดอ่านเอาความที่ถูกได้
อีกเรื่องหนึ่ง ได้ทราบมาทางสมเด็จกรมพระยาดำรง ด้วยทรงค้นเรื่องทางมอญ เพื่อตรัสแนะให้เขาตีหนังสือในการศพ ได้ทรงพบเรื่องตาร้อยปม เปนต้นสกุลของผู้มีบุญคนหนึ่ง อันนี้ก็มาต้องกับเรื่องท้าวแสนปมของเราเข้า จึงเปนเหตุให้เกิดสงสัยขึ้นว่าจะเปนเรื่องที่มาแต่อินเดียอย่างเดียวกับผู้มีบุญลูกนางนาคเสียดอกกระมัง ถ้าท่านอ่านหนังสือเรื่องทางอินเดีย แม้ว่าพบกล่าวถึงคนปมเปนต้นสกุลของผู้มีบุญเมื่อไรแล้ว ช่วยบอกให้ฉันทราบด้วย
----------------------------
บันทึก
วิธีเขียนอักษรไทยเปนโรมัน
ข้าพเจ้าได้ปรึกษากับศาสตราจารย์เซเดส์ในเรื่องถอดอักษรนี้แล้ว ศาสตราจารย์เซเดส์ยินยอมให้มี ๒ แบบ คือ แบบสามัญ ๑ และ แบบพิสดาร ๑
ในส่วนแบบสามัญนั้น ศาสตราจารย์เซเดส์ตกลงด้วยในส่วนพยัญชนะ
ในส่วนสระนั้น ศาสตราจารย์เซเดส์เห็นว่าใช้ ê สำหรับ แอ ô สำหรับ ออ และ o' สำหรับ เออ อย่างที่ศาสตราจารย์เซเดส์ใช้อยู่นั้นจะดีกว่า
นาย จ. บูรเนย์เห็นว่า ควรยืนตามที่คณะกรรมการได้ตกลงไว้ คือใช้ æ สำหรับ แอ ǫ สำหรับ ออ และ œ สำหรับ เออ ดีกว่า
ข้าพเจ้าได้หารือ นายพันโท พระเจนภูมิศาสตร์แล้ว นายพันโท พระเจนภูมิศาสตร์ เห็นว่าควรยืนตามที่คณะกรรมการได้ตกลงไว้ เพราะว่า ถ้าจะใช้ ê และ ô แล้ว จะไม่สดวกในการเขียนแผนที่
ศาสตราจารย์เซเดส์ได้รับกับข้าพเจ้าว่า ถ้าฝ่ายไทยตกลงอย่างไร ทางฝ่ายวิทยาลัยฝรั่งเศสแห่งตะวันออกไกลยอมใช้อนุโลมตาม
ข้าพเจ้าจึงลงเนื้อเห็นว่า ควรยืนตามที่คณะกรรมการได้ตกลงไว้
ส่วนสระผะสม เอา เออ แอว ซึ่งศาสตราจารย์เซเดส์ใช้ตัว น เปนตัวควบนั้น บัดนี้ยอมใช้ตัว o ตามที่คณะกรรมการตกลงแล้ว
ในส่วนแบบพิสดารนั้น สำหรับเครื่องหมายสั้นยาว ศาสตราจารย์เซเดส์ขอให้ใช้แต่เครื่องหมายสั้น ˘ ส่วนสระยาวนั้นไม่พึงใช้เครื่องหมาย ทั้งนี้อาศัยเหตุที่ว่าสระภาษาไทยมียาวมากกว่าสั้น
นายพันโท พระเจนภูมิศาสตร์ ไม่ขัดข้อง
ข้าพเจ้าก็เห็นควรตกลงตามได้
เพราะฉะนั้น ขอให้แก้รายงานการถอดอักษรไทยเปนโรมันของกระทรวงธรรมการ หน้า ๖-๗ เลข ๔. โดยตัดคำ Quantities etc. ไปจนถึงคำ a: ออกเสีย
ส่วนตัวสระในหน้า ๗-๘ นั้น ให้แก้ตามแบบซึ่งแนบมานี้
ในส่วนพยัญชนะแห่งแบบพิสดารนั้น ศาสตราจารย์เซเดส์กล่าวว่า การที่จะใช้จุดต่างๆนั้น เกรงว่าจะไม่สตวกในการพิมพ์ และโดยที่แบบของศาสตราจารย์เซเดส์ได้ใช้อยู่ทางวิทยาลัยฝรั่งเศสแห่งตะวันออกไกลแล้ว ถ้าทางฝ่ายไทยนี้พอจะตกลงตามได้แล้ว ก็ขอให้ตกลงตามเถิด
นาย จ. บูรเนย์ ก็เห็นด้วย และนายพันโท พระเจนภูมิศาสตร์ ไม่ขัดข้อง เพราะว่าแบบพิสดารไม่เกี่ยวกับทางการของกรมแผนที่เท่าใดนัก
ข้าพเจ้าเองก็ได้ตกลงกับศาสตราจารย์เซเดส์ในแบบพิสดารนั้นไปครั้งหนึ่งแล้ว แต่เห็นว่าถ้าจะให้ถูกระเบียบ ตัว ฆ ฌ ฒ ธ ภ นั้น ควรจะใช้ k‘h แทนที่ใช้ kh‘ อยู่เดี๋ยวนี้
ศาสตราจารย์เซเดส์ก็เห็นด้วย และรับว่า ถ้าทางนี้ตกลงกันเช่นนั้น ก็จะแก้ตาม แต่ข้าพเจ้ามาใคร่ครวญดูอีกแล้ว เห็นว่าในการพิมพ์อาจจะทำให้ตัว h ก็ห่างจากตัว k ฯลฯ มากเกินไป จึงเห็นว่าคงไว้ตามแบบของศาสตราจารย์เซเดส์ก็ได้ เว้นแต่ตัว ศ ซึ่งศาสตราจารย์เซเดส์ใช้ ç นั้นข้าพเจ้ายังไม่เห็นด้วย ข้าพเจ้าเห็นว่า ศ ควรจะใช้ ṡ จะได้เช่าระดับกับตัว ษ ṣ และ ส s
ส่วน ห (นำ) ซึ่งทำให้เปนอักษรสูงนั้น ศาสตราจารย์เซเดส์ใช้เครื่องหมายผันเสียงแทน ข้าพเจ้าเห็นว่าสดวกดีแล้ว
เพื่อความสดวกในการพิจารณา ข้าพเจ้าขอเสนอแบบถอดอักษรที่ได้แนบมานี้
วรรณไวทยากร วรวรรณ
กระทรวงการต่างประเทศ
วังสราญรมย์ กรุงเทพ ฯ
วันที่ ๑๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗
----------------------------
VOWELS
Italian Vowels except that æ = sound of ea in English ‘bear’
ǫ = sound of aw in English ‘dawn’
œ = sound of eu in French ‘peuple’
u’ = a sound more open than German ü
General สามัญ |
Precise พิสดาร |
|
อะ อั อา | a | aḥ ǎ a |
อำ | am | ǎṃ |
อิอี | I | ǐ i |
อึอื | u’ | ǔ’ u’ |
อุอู | u | ǔ’ u |
เอะ เอ็ เอ | e | eḥ ě e |
แอะ แอ | æ | æḥ æ |
โอะ อ (-) โอ | o | oḥ ǒ o |
เอาะ ออ | ǫ | ǫḥ ǫ |
เออะ เอิ เออ-เอื | œ | œḥ œ̌ œ |
เอียะ เอีย | ia (final) | iaḥ ia (final) |
ie-(before consonnant) | ie-(before consonnant) | |
เอือะ เอือ | u’a (final) | u’aḥ u’a (final) |
u’œ-(before consonant) | u’œ-(before consonant) | |
อัวะ อัว | ua (final) | uaḥ ua (final) |
uo-(before consonant) | uo-(before consonant) | |
ใอ ไอ อัย ไอย อาย | ai | ǎǐ ǎi ǎy ǎiy ai |
เอา อาว | ao | ǎo ao |
อุย | ui | ui |
โอย | oi | oi |
ออย | ǫi | ǫi |
เอย | œi | œi |
เอือย | u’œi | u’œi |
อวย | uoi | uoi |
อิว | iu | iu |
เอ็ว เอว | eo | ěo eo |
แอว | æ o | æ o |
เอียว | ieu | ieu |
ฤ (เสียง รึ) ฤๅ | ru’ | ṛǔ’ ṛu’ |
ฤ (เสียง ริ) | ri | ṛǐ |
ฤ (เสียง เรอ) | rœ | ṛœ |
ฦ ฦๅ | lu’ | ḷǔ’ ḷu’ |
CONSONANTS
English consonants except that
Initial k p and t are unaspirated as in French.
Final k p and t are unexplosive and unaspirated.
kh = k aspirated.
ph = p aspirated – not English ph.
th = t aspirated – not English th.
č = hardened form of ch as the cz in Czechoslovak.
ch = always as in English ‘church’.
ng = as in English ‘singer’, never as in ‘linger’.
General | Precise | |||
Initial | Final | Initial | Final | |
ก | k | k | k | k |
ข ฃ ค ฅ ฆ | kh | k | kh ḳh k’ ḳ’ k’ | k (kh) etc. |
ง | ng | ng | ng | ng |
จ | č | t | č | t (č) |
ฉ ช ฌ | ch | t | ch c‛ ch‛ | t (ch) etc. |
ญ | y | n | ñ | ñ |
ด ฎ ฑ (บางคำ) | d | t | d ḍ ḍ’ | t (d) etc. |
ต ฏ | t | t | t ṭ | t ṭ |
ถ ฐ ท ฑ ธ ฒ | th | t | th ṭh t‛ ṭ‛ th ṭh‛ | t (th) etc. |
น ณ | n | n | n ṇ | n ṇ |
บ | b | p | b | p (b) |
ป | p | p | p | p |
ผ พ ภ | ph | p | ph p‘ ph‛ | p (ph) etc. |
ฝ ฟ | f | p | f f’ | p (f) etc. |
ม | m | m | m | m |
ย | y | - | y | - |
ร | r | n | r | n (r) |
รร | - | n | - | n (rr) |
ล ฬ | l | n | l ḷ | n (l) n (ḷ) |
ว | w | - | w | - |
ศ ษ ส ซ ทร | s | t | s ṣ s s’ ‘s | t (ṡ) etc. |
ห ฮ | h | - | h h’ | - |
เครื่องหมายผันเสียงสำหรับแบบพิสดาร
การผันใช้ตามเสียงทุก ๆ อักษร ให้ผันเช่นอักษรกลาง และให้ใช้ครื่องหมายเหนือและใต้สระ ตามแบบปัลล์กัวดซ์
ตัวอย่าง
ก ก่ ก้ ก๊ ก๋ | ko kõ kò kọ kó |
วิธีถอดอักษรเปนคำ ๆ
แบบสามัญใช้อย่างที่กระทรวงธรรมการตกลงแล้ว และให้ถอดเปนพยางค์ๆ ไป ตามลักษณะของภาษาไทย
แบบพิสดารเติมตัวสกดการันต์ หรือตัวที่ไม่ได้ออกเสียงในวงเล็บ ( )
ตัวอย่าง
สามัญ | พิสดาร | |
กษัตริย์ | kasat | kaṣat (triy) |
ประกาศ | prakat | prǎkat (ṡ) |
ราชบุรี | Ratburi | Rat (ch) buri |
ใช้ - (hyphen) สำหรับแบ่งพยางค์ในกรณีที่ถ้าไม่ใช้อาจจะอ่านไปเปนอย่างอื่นได้ เช่น สอิ้ง = sa-ing ปากลัด = pak-lat