- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ภาคผนวก
๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๘๒
พระยาอนุมานราชธน
ฉันเคยบอกแก่ท่าน ว่าฉันเคยพบคำ นายมหาด แต่พบที่ไหน บอกจำหน่ายไม่ตกนั้น บัดนี้มาอ่านพบในหนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ ๗๑ ซึ่งตีพิมพ์ออกไปจากหอสมุด หน้า ๕๔ มีว่า ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย นายพล นายมหาด นายดาบ ฯลฯ ดั่งนี้ จึงได้บอกที่พบอันประกอบด้วยหลักฐานมาให้ท่านทราบแห่งหนึ่ง เปนแน่ว่าจะมีอีกมากแห่ง
พบคำ ชา เข้าอีกคำหนึ่ง เขาคัดเรื่องนางนพมาศ มาลงในหนังสือพิมพ์ ประมวญวัน ฉะบับลงวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ว่า ดำรัสสั่งท้าวจันทรนาถภักดีผู้เปนใหญ่ในชะแม่จ่าชา ดั่งนี้ คิดคาดดูเห็นว่าคำ ชา จะหมายความว่า หมู่ เหล่า พวก และอะไรๆ ซึ่งเปนไปในทางอย่างนั้น
ท่านเคยคัดความในสมุดขาว อันได้มาแต่ทางปักษ์ใต้ ไปให้ฉันคราวหนึ่ง ฉันได้ให้ความเห็นมาบ้าง ทีหลังหม่อมเจ้าสฤษดิเดชเอาหนังสือมาให้เล่มหนึ่งจ่าเรื่องว่า ตำนานเมืองนครศรีธรรมราช หอสมุดจัดการตีพิมพ์ใช้แจกในงานศพ นางสาวพร้อม ณ นคร อ่านดูก็เห็นแจ้งใจว่า ออกจากต้นฉะบับอันเดียวกันกับที่ท่านคัดให้ไปก่อนนั้น อ่านแล้วบังเกิดความเห็นงอกออกไปว่าหนังสือฉะบับนั้น เห็นจะเปนเครื่องมือของบุคคลคนหนึ่งซึ่งเขาคิดจะแต่งตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช เรื่องในหนังสือนั้นเปนหลายเรื่อง ล้วนแต่เปนเรื่องซึ่งมีกล่าวถึงพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชทั้งนั้น คงจะเปนเจ้าของหนังสือนั้น ไปพบหนังสืออะไร ซึ่งมีกล่าวถึงพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชเข้า ก็คัดเอามารวมไว้ดู จะได้เก็บความตามสมควร แต่งขึ้นเปนตำนานพระบรมธาตุแล้ว หรือไม่ได้แต่งก็ดี เมื่อท่านผู้นั้นพ้นไปแล้ว ญาติหรือศิษย์หาของท่านเก็บเอาบันทึกนั้นมาเขียนเส้นหมึกลงสมุดขาวขึ้นไว้ เราควรจะดีใจที่ว่าได้เครื่องมืออันหนึ่งของท่านผู้มีประสงค์ดีมา ข้อความในนั้น ข้อใดจะฟังได้หรือข้อใดจะฟังไม่ได้นั้น ก็แล้วแต่วิจารณปัญญา แต่ได้รู้ว่าเรื่องพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชนั้น มีกล่าวไว้อย่างไรบ้าง ดึกว่าที่จะได้ตำนานพระบรมธาตุอันได้ตกแต่งแล้ว ประกอบด้วยอัตโนมัตยาธิบายมาเสียอีก คำในหนังสือนั้นที่ว่า เจ้าไท หมายถึง พระภิกษุ ตามแนวแห่งคำนั้น คำว่า เจ้าพญาไท เช่น วัดเจ้าพญาไท ก็ต้องหมายความว่าวัดสังฆราช คำ ไท เห็นจะเปนคำเดียวกับ ไท้ ในโคลงฉันท์ คัดเอาตัว ย เติมต่อเข้าไป ช่างน่ากลัวผิดเสียจริง ๆ