- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ภาคผนวก
๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
กรมศิลปากร
วันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
ขอประทานกราบทูล ทรงทราบใต้ฝ่าพระบาท
เมื่อวันที่ ๑๐ เดือนนี้ ข้าพระพุทธเจ้าได้มีโอกาศเข้าไปดูผ้าต่าง ๆ ในพระคลังใน ความรู้ที่ข้าพระพุทธเจ้าได้รับพระเมตตาประทานข้าพระพุทธเจ้าไว้เป็นประโยชน์แก่ข้าพระพุทธเจ้ามาก เช่น ความแตกต่างกันในเรื่องโหมดกับตาดผิดกันอย่างไร เจ้าหน้าที่เองก็ได้แต่ดูแล้วบอกว่านี่ โหมด นี่ ตาด ซึ่งลางทีก็ผิด เพราะเป็นการดูใช้สังเกตด้วยความเคยชินอย่างเดียว ข้าพระพุทธเจ้าได้เห็นผ้าหยี่มีอยู่หลาย ๑๐ ผืน หน้าตาก็เป็นผ้าลายชะนิดหนึ่งเท่านั้น สอบถามท้าวภัณฑสารรักษาว่า ใช้นุ่งในพิธีแห่โสกันต์ และนางเทพีนุ่งในพิธีแรกนาขวัญ นอกนั้นไม่ปรากฏที่ใช้ ผ้าสุจหนี่ ในปทานุกรมแปลว่า ผ้าปูที่นอน แต่ที่ข้าพระพุทธเจ้าได้เห็นเป็นผ้ารองนั่งอย่างสันถัดพระ หาใช่ผ้าปูที่นอนไม่
ข้าพระพุทธเจ้าออกจากพระคลังใน มาแวะที่พระปรัศว์ขวาของพระที่นั่งพิมานรัตยา ข้อที่ข้าพระพุทธเจ้าแปลกใจมากก็ที่พื้นปูด้วยแผ่นกระดานไม้สัก ไม่ได้ไสกบ แต่ใช้ขวานถากเป็นรอยแหว่งแว่นไปทั้งนั้น ข้าพระพุทธเจ้าเคยได้ยินว่า พื้นเรือนโบราณห้ามไสกบ ซึ่งคงจะถือเป็นประเพณีสืบเนื่องมาแต่ครั้งยังไม่มีกบใช้ ลางทีพื้นกระดานในพระปรัศว์ไม่ได้ใช้ไส จะเนื่องจากเหตุนี้กระมัง ขอประทานทราบเกล้าฯ แต่ฟื้นพระตำหนักแดง ซึ่งมีอยู่ในพิพิธภัณฑสถาน ดูเหมือนเป็นพื้นไสกบแล้ว
เมื่อเร็วๆ นี้ กรรมการปทานุกรม ชำระมาถึงคำ ฉเพาะ เกิดมีความเห็นแตกต่างกัน กรรมการสองนายเห็นว่าควรเขียน เฉพาะ เพราะคำเดิมในภาษาเขมรเป็นตัวซ้อน และโบราณก็เขียนเป็น เฉพาะ หรือ เฉภาะ อยู่ กรรมการอีก ๓ นาย เห็นควรเขียนเป็น ฉะเพาะ โดยเห็นว่าเอา ฉ ไว้ข้างในสระเอ ยุ่งยากอ่านลำบาก และเขียนมีประวิสรรชนีย์มาแล้ว ควรให้เป็นตามนั้นจะได้ไม่ยุ่งยากแก่การเขียน ส่วนข้าพระพุทธเจ้าและกรรมการอีกนายหนึ่งเห็นควรเขียน ฉเพาะ เพราะถ้าประวิสรรชนีย์เป็นเสียงหนัก ทำให้เสียงกลายไป ที่ข้าพระพุทธเจ้าเห็นเช่นนี้ ไม่ใช่แต่คำ ฉเพาะ คำเดียว คำอื่นที่มีเสียง อะ ไม่หนัก ก็ไม่ควรประวิสรรชนีย์ เมื่อไม่เป็นที่ตกลงกัน จึงเสนอเรื่องต่อ ม.จ. วรรณไวทยากร ประธานกรรมการ ให้ตัดสิน ประธานกรรมการทรงเห็นว่าในเวลานี้เขียนเป็น ฉะเพาะ อยู่แล้ว ก็ควรให้เป็นตามนั้นไปก่อน จนกว่าจะได้วินิจฉัยเรื่องประวิสรรชนีย์ทั่วๆ ไปถึงคำอื่นด้วย แต่ถ้าว่าตามความเห็นส่วนตัวของประธานกรรมการเอง เห็นควรเขียน ฉเพาะ ไม่ประวิสรรชนีย์ ที่ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลมาเพราะได้เคยประทานพระดำริห์ในเรื่องประวิสรรชนีย์ มาให้ข้าพระพุทธเจ้า และข้าพระพุทธเจ้าเห็นพ้องด้วยในกระแสพระดำริห์นั้น
ที่เคยมีรับสั่งแก่ข้าพระพุทธเจ้าว่า ถ้าพบประเพณีของชาติต่างๆ ซึ่งใช้วิธีมัดศพนั่ง ให้กราบทูลไปเพื่อทรงทราบนั้น ข้าพระพุทธเจ้าได้ค้นพบอีกหลายชาติ ข้าพระพุทธเจ้าได้แต่งเรื่องประเพณีทำศพของไทยไว้เรื่องหนึ่ง และรวมเรื่องมัดศพนั่งของชาติต่างๆ ไว้ในนั้นด้วย (หน้า ๕๔ วรรค ๒) ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานถวายเรื่องประเพณีทำศพ มาพร้อมกับกับหนังสือนี้ การจะสมควรสถานไร แล้วแต่จะทรงพระกรุณา|
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าฯ
ข้าพระพุทธเจ้า
ขอประทานกราบทูล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์