- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ภาคผนวก
๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๔๘๒
พระยาอนุมานราชธน
จดบันทึกเรื่องตราพระบรมราชโองการดุนกระดาษ มาให้เมื่อวานนี้ รู้สึกขึ้นภายหลังว่าไม่ดี ถ้าสำหรับเข้าใจกันเองก็ใช้ได้ ถ้าจะคัดส่งไปให้คนอื่น เห็นจะเข้าใจยาก จึ่งเรียงบันทึกมาให้ใหม่ดั่งต่อไปนี้
พระราชลัญจกรดุนกระดาษนั้น ทำขึ้นในรัชชกาลที่ ๕ นานมาแล้ว เรียกกันว่า กระดาษตราพระบรมราชโองการ สำหรับใช้เขียนพระราชหัตถเลขาอย่างเดียว คิดว่าดำริเดิมคงจะให้เปนไปได้สองทาง คือเปนพระราชหัตถเลขา ซึ่งประทับพระราชลัญจกรพระบรมราชโองการอย่างเก่าก็ได้ หรือเปนกระดาษตราอย่างธรรมเนียมข้างฝรั่งก็ได้ โดยที่ดำริอย่างนั้น จึงได้เก็บเอาสิ่งที่มีในพระราชลัญจกรพระบรมราชโองการของเก่าแต่ลางอย่าง แล้วเพิ่มขึ้นใหม่อีกลางอย่าง ผูกเปนรูปใหม่ให้สมกับที่เปนตรากระดาษ ในการที่เปนตรากระดาษอันมีอยู่มากมาย ไม่ได้รักษาไว้ในที่มิดชิด เช่น พระราชลัญจกรพระบรมราชโองการของเก่านั้น เพราะความสำคัญเลื่อนไปอยู่ที่ทรงเซนพระปรมาภิไธยเสียแล้ว แม้ใครจะเขียนอะไรลงไปในกระดาษ อันมีพระราชลัญจกรพระบรมราชโองการ แต่ไม่มีทรงเซนพระปรมาภิไธย ก็ไม่เปนหลักที่จะพึงฟังได้ว่าเปนพระบรมราชโองการ