- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ภาคผนวก
๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
กรมศิลปากร
วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
ขอประทานกราบทูล ทรงทราบใต้ฝ่าพระบาท
ข้าพระพุทธเจ้าได้รับลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๒๐ เมษายน ประทานข้อสันนิษฐานในเรื่องคำลางคำ เป็นประโยชน์และข้อคิดนึกแก่ข้าพระพุทธเจ้ามากที่สุด พระเดชพระคุณล้นเกล้า ฯ หาที่สุดมิได้
ข้าพระพุทธเจ้าได้ขออนุญาตถอนลายดวงพระตราต่างๆ ด้วยชาดได้หลายสิบดวง แต่ลายที่ถอนขึ้นไว้นี้ ลางดวงติดไม่ชัด เพราะต้องทำลวกๆ ไม่มีโอกาศจะถอนลายได้หมดจด ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายลายพระตราเหล่านี้มาเพื่อทอดพระเนตร ลายดวงที่ ๔๒ ถึง ๔๕ คือ ลายพระตราเป็นหนังสือจีน ซึ่งข้าพระพุทธเจ้าได้เคยกราบทูลถามไป ยังมีพระตราอยู่อีกหมู่หนึ่ง เก็บรักษาไว้ในพระที่นั่งเทพสถานพิลาศ ซึ่งข้าพระพุทธเจ้ายังไม่มีโอกาศจะถอนลายไว้ได้
พระนามพระที่นั่งเทพสถานพิลาศ ข้าพระพุทธเจ้าเคยได้ยินเรียกพระที่นั่งอีกองค์หนึ่ง ซึ่งคู่กันว่า เทพสอาดพิไล ครั้นได้ไปเห็นป้ายบอกพระนามพระที่นั่งองค์นี้ จึงปรากฏว่าเป็น เทพอาศน์พิไล โดยเหตุที่องค์แรกเป็น เทพสถานพิลาศ องค์หลังก็เพี้ยนเป็น เทพสอาดพิไล เพราะเสียง ส ในคำ สถาน เป็นเหตุลากเอาคำ อาศน์ เป็น สอาด ไป เพื่อถ่วงเสียงให้เท่ากัน อย่างคำในจำพวก ตะหมูกตะปาก ขะโมยขโจร คิดด้วยเกล้าฯ ว่า คำที่เพี้ยนไปในทำนองนี้คงมีอยู่หลายคำ เมื่อแยกใช้แต่คำเดียวก็ยากที่จะสาวหาเหตุได้
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าฯ
ข้าพระพุทธเจ้า