- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ภาคผนวก
๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
กรมศิลปากร
วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒
ขอประทานกราบทูล ทรงทราบใต้ฝ่าพระบาท
ข้าพระพุทธเจ้าได้รับลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๑๒ ๑๓ และ ๑๕ รวม ๓ ฉะบับแล้ว พระเดชพระคุณล้นเกล้า ฯ หาที่สุดมิได้ ที่ทรงพระเมตตาตรัสประทานความรู้ต่าง ๆ แก่ข้าพระพุทธเจ้า
เรื่องพระตราประทับอักษรจีน ข้าพระพุทธเจ้าเพิ่งทราบเกล้าฯ แต่ก่อนนี้ทราบเกล้า ฯ เพียงว่า พระเจ้ากรุงธนทรงใช้พระนามเป็นจีนว่าแซ่แต้ ลางทีจะเป็นเพราะทางราชการสมัยต่อมา ไม่ประสงค์จะให้มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยปฏิบัติกันอยู่ จึงได้นำคำว่า แซ่แต้ ใช้ต่อเนื่องกันมาทุกรัชชกาล ข้าพระพุทธเจ้าเคยพบสำเนาพระราชสารไปเมืองจีนในสมัยรัชชกาลที่ ๑ ดูจะเป็นไปในทำนองนี้ แต่ค้นหาสำเนาพระราชสารนี้ไม่พบ พระนามที่ใช้อักษรจีนล้วนเป็นคำดี ๆ ดังตรัส แต่ก็แปลกที่ในรัชชกาลที่ ๑ ใช้ว่า แต้ฮั่ว ถ้าออกเสียงเปนกวางตุ้งก็เป็น แต้ฟ้า อย่างคำว่า ห้างใต้ฟ้า สี่แยกถนนราชวงศ์ ส่วนรัชชกาลที่ ๔ ใช้ว่า แต้ฮุด ฮุด ก็ตรงกับกับคำว่า พุทธ ดูประหนึ่งว่านอกจากเลือกสรรคำดี ๆ แล้ว ยังหาคำที่เกี่ยวข้องกับในรัชชกาลนั้น ๆ ด้วย แต่ แต้ฮก แต้เหมง แต้เจี่ย ข้าพระพุทธเจ้านึกหาความเปรียบเทียบไม่ได้ ในหอพระสมุดมีสำเนาหนังสือครั้งรัชชกาลที่ ๕ เรื่องทรงหารือว่า ควรจะส่งทูตไปเจริญทางพระราชไมตรีกับเมืองจีนหรือไม่ มีความเห็นเจ้านายและข้าราชการผู้ใหญ่หลายท่าน นับว่าเป็นหนังสือดีมีคุณค่าในความรู้มาก ข้าพระพุทธเจ้าได้ถวายมา เพื่อทอดพระเนตรพร้อมกับหนังสือฉะบับนี้
พระอธิบายเรื่อง มณฑป ปราสาท และ บุษบก ผิดกันอย่างไร กระทำให้ข้าพระพุทธเจ้าหายเขลา เพราะแต่ก่อนนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทราบเกล้า ฯ แต่เงา ๆ และเมื่อได้อ่านพระอธิบายถึงเรื่อง บรรพ ว่าย่อมาแต่ซุ้มหน้าต่าง ย่นชั้นเข้าเอาแต่หลังคาเข้าต่อกัน ข้าพระพุทธเจ้าไปยืนพิจารณาดูพระมณฑปในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ก็เห็นความจริงดั่งที่ทรงพระเมตตาตรัสอธิบาย
คำ ถะ ในภาษาจีน ฝรั่งว่าเป็นคำเดียวกับ ถูปะ ในภาษาบาลี ตรงกับที่ฝรั่งเขียนว่า Tope
ข้าพระพุทธเจ้าพบคำว่า เจา ในภาษาอาหม แปลว่า ข้าวที่ใช้ต้ม คำว่า ข้าวเจ้า ก็น่าจะแปลว่า ข้าวใช้หุงต้ม ผิดกับข้าวเหนียวซึ่งใช้นึ่ง
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าฯ
ข้าพระพุทธเจ้า
ขอประทานกราบทูล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์