- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ภาคผนวก
๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
กรมศิลปากร
วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒
ขอประทานกราบทูล ทรงทราบใต้ฝ่าพระบาท
ข้าพระพุทธเจ้า ได้รับลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๑๕ ทรงพระเมตตาประทานพระอธิบายเรื่องพระตราลางองค์มายังข้าพระพุทธเจ้า พระเดชพระคุณล้นเกล้า ฯ หาที่สุดมิได้
นกการเวก ซึ่งเป็นนกยัดไส้มีขนติด ดังที่ทรงอ้าง ข้าพระพุทธเจ้าพบมีอยู่ในพระที่นั่งเทพสถานพิลาศตัวหนึ่งหรือสองตัว ยังบริบูรณ์ดีอยู่ กรรมการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เครื่องราชูปโภค จะนำนกนี้มาไว้ในห้องหมวดเครื่องราชพาหนะและเครื่องสูงด้วยหรือไม่ ยังไม่ทราบเกล้า ฯ ข้าพระพุทธเจ้าเองก็ยังรวนเรใจ เพราะถ้าว่าเกี่ยวกับราชประเพณีของเก่าก็น่าเอามาตั้งไว้ แต่ถ้าถือว่านกการเวกยัดไส้เป็นแต่ของแปลก ไม่สู้มีผู้เคยเห็นตัวจริง ก็น่าจะอยู่ในพิพิธภัณฑ์ที่ฝรั่งเรียกว่า Natural History Museum
พระตราสยามโลกัคราช ข้าพระพุทธเจ้าไปขอเจ้าหน้าที่อาลักษณ์ประทับเส้นชาดได้มาแล้ว และถวายมาพร้อมกับหนังสือฉะบับนี้ ข้าพระพุทธเจ้าได้วานมหาฉ่ำถอดตัวขอมในพระตราองค์นี้ พร้อมทั้งคำแปล คงได้ความว่า ข้อความในนั้นเกี่ยวกับวัดอยู่ด้วย ดั่งนี้
๑. สฺยามโลกคฺคราชสฺส
๒. สนฺเทสฺลฺจนํ อิทํ
๓. อชฺฌาวาสฺสานุสาสกสฺส
๔. วิชิเต สพฺพชนฺตฺนํ
คำแปล
ตราพระราชลัญจกรประทับหนังสือสำคัญนี้ ของสมเด็จพระสยามโลกัคคราช พระองค์ผู้ประสิทธิประสาทที่วัด แก่ปวงชนในพระราชอาณาเขตต์
ข้าพระพุทธเจ้าได้ค้นดูในพระราชบัญญัติพระราชลัญจกร พบที่กล่าวถึงพระราชลัญจกรสยามโลกัคราช อยู่ในพระราชบัญญัติที่กล่าวนี้ประจำ ร.ศ. ๑๒๒ และ ร.ศ. ๑๓๐ ข้าพระพุทธเจ้าได้คัดสำเนาพระราชบัญญัติทั้งสองฉะบับถวายมาด้วยแล้ว
ที่ข้าพระพุทธเจ้าเขียนชื่อ พระตราสยามโลกัคราช ผิด เป็นด้วยข้าพระพุทธเจ้าเบาปัญญา นึกแต่เสียงของคำ ไม่ได้เฉลียวสอบสวนให้ถูกต้อง ที่ทรงพระกรุณาทักท้วงมา เป็นพระเดชพระคุณล้นเกล้า ฯ หาที่สุดมิได้
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ
ข้าพระพุทธเจ้า
ขอประทานกราบทูล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์
----------------------------
พระราชบัญญัติพระราชลัญจกร
รัตนโกสินทรศก ๑๒๒
มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า พระราชลัญจกรสำหรับแผ่นดินซึ่งประทับในราชการต่าง ๆ อยู่ คือ
๑. พระราชลัญจกรมหาโองการประจำชาด ซึ่งเป็นพระราชลัญจกรสำหรับพระเจ้าแผ่นดินในสยามประเทศแต่โบราณมาองค์ ๑ สำหรับประทับพระราชสาสน แลกำกับพระสุพรรณบัตร์ดำเนินพระราชโองการตั้งเจ้าประเทศราช
๒. พระราชลัญจกรพระครุฑพาห ซึ่งเป็นพระราชลัญจกรสำหรับกรุงศรีอยุธยา ประจำชาดแลประจำครั่งผนึกพระราชสาสน แลหนังสือสัญญานานาประเทศ
๓. พระราชลัญจกรไอยราพตเดิมประจำชาด แลพระราชลัญจกรไอยราพต สร้างขึ้นในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประจำชาด ใหญ่ ๑ กลาง ๑ น้อย ๑ ซึ่งแต่ก่อนใช้ประทับพระราชสาสนแลประกาศตั้งกรม
๔. พระราชลัญจกรพระบรมราชโองการประจำชาด สร้างขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ แทนพระราชลัญจกรมหาโองการ ใหญ่ ๑ เล็ก ๑ ใช้ประทับในราชการทั่วไป
๕. พระราชลัญจกรสยามโลกัคราช สร้างในรัชกาลที่ ๔ เทียบพระราชลัญจกรโลโต แต่ก่อนใช้พระราชทานวิสุงคามสีมา ภายหลังใช้ในที่อื่นๆ ทั่วไป
๖. พระราชถลัญจกรนามกรุงประจำชาด สร้างในรัชกาลที่ ๓ ใหญ่ ๑ เล็ก ๑ สำหรับประจำวิสุงคามสีมา แลใบสำคัญเบี้ยหวัดพระราชวงษานุวงษ์ซึ่งทรงผนวช แลใบอนุญาตทูลลาบวช
๗. พระราชลัญจกรอุณาโลมในกลีบบัวพระธำมรงค์ สร้างขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ ๔ องค์ ๑ ในรัชกาลปัตยุบันนี้องค์ ๑ เป็นพระราชลัญจกรมหาโองการย่อ สำหรับใช้ประจำเรือนเลข
๘. พระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน ประจำชาด ๑ ประจำครั่ง ๑ สำหรับราชการทั่วไป
๙. พระราชลัญจกรสำหรับพระองค์ประจำชาด ใหญ่ ๑ เล็ก ๑ ประจำครั่ง ๑ ใช้ในราชการในพระองค์นั้นๆ
ทรงพระราชดำริห์ว่า บัดนี้ราชการเกิดทวีขึ้นอีกหลายอย่าง ควรจะจัดระเบียบวิธีประทับพระราชลัญจกรเสียใหม่ ตามราชการที่เป็นไปอยู่บัดนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระราชลัญจกร มหาโองการประจำชาดองค์ ๑ พระครุฑพาหประจำชาดองค์หนึ่ง ขนาดเดียวกับพระราชลัญจกรไอยราพตกลาง เหตุว่าพระราชลัญจกรเดิมนั้นใหญ่มาก จะประทับในที่แคบไม่ได้ แลเป็นน่านูน จะประทับกระดาษแข็งไม่สดวก แลโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระราชลัญจกรจักร์รถ ซึ่งเป็นพระราชลัญจกรสำหรับพระเจ้าแผ่นดินโบราณ สำหรับประจำเรือนเลขอีกองค์หนึ่ง ด้วยเหตุว่าจะมิให้ซ้ำกับพระราชลัญจกรอุณาโลม ที่ได้มีอยู่ในองค์อื่นแล้ว สำหรับที่จะได้เป็นพระราชลัญจกรประทับในราชการทั้งปวงสืบไป
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติ สำหรับที่จะประทับพระราชลัญจกรสืบไปภายน่า ให้เป็นกำหนดทราบทั่วไปดังนี้
มาตรา ๑ พระราชลัญจกรมหาโองการประจำชาดองค์กลาง สำหรับประทับประกาศใหญ่อยู่เบื้องซ้าย พระราชลัญจกรไอยราพตใหญ่ประทับประกาศพระราชบัญญัติทั้งปวง แลใบกำกับสุพรรณบัตร์ หิรัญบัตร์ แลประกาศนียบัตร์ นพรัตนราชวราภรณ์อยู่เบื้องช้ายพระราชลัญจกรไอยราพตกลาง ประทับสัญญาบัตร์อยู่เบื้องซ้ายพระราชลัญจกรพระครุฑพาห
มาตรา ๒ พระราชลัญจกรพระครุฑพาหประจำชาดองค์กลาง สำหรับประทับประกาศใหญ่ อยู่เบื้องขวาพระราชลัญจกรไอยราพตใหญ่ ประทับประกาศพระราชบัญญัติทั้งปวง แลใบกำกับสุพรรณบัตร์ หิรัญบัตร์ แลประกาศนียบัตร์นพรัตนราชวราภรณ์ อยู่เบื้องขวาพระราชลัญจกรไอยราพตกลาง ประทับสัญญาบัตร์ อยู่เบื้องขวาพระราชลัญจกรมหาโองการ
มาตรา ๓ พระราชลัญจกรไอยราพตประจำชาดองค์ใหญ่ สำหรับประทับประกาศใหญ่ อยู่ในหว่างกลางพระราชลัญจกรมหาโองการ และพระครุฑพาห พระราชลัญจกรไอยราพตกลางสำหรับประทับประกาศพระราชบัญญัติทั้งปวง แลใบกำกับสุพรรณบัตร์ หิรัญบัตร์ แลประกาศนียบัตร์นพรัตนราชวราภรณ์ อยู่ในหว่างกลางพระราชลัญจกรมหาโองการ แลพระครุฑพาห
มาตรา ๔ พระราชลัญจกรพระบรมราชโองการองค์ใหญ่ ประจำชาด สำหรับประทับสัญญาบัตร์ทหาร แลสัญญาบัตร์ตำแหน่ง แลหนังสือพระราชทานที่ ในหว่างกลางองค์เดียว องค์น้อยสำหรับประทับพระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องสรรพาวุธแลสำเนาหนังสือแลการที่ไม่สำคัญ
มาตรา ๕ พระราชลัญจกรสยามโลกัคราช สำหรับประทับวิสุงคามสีมา ในหว่างกลางองค์เดียว
มาตรา ๖ พระราชลัญจกรนามกรุงองค์ใหญ่สำหรับประทับใบถวายเสนาศน แลใบพระราชทานพระบรมราชานุญาตข้าราชการกราบถวายบังคมลาบวช ในหว่างกลางองค์เดียว
มาตรา ๗ พระราชลัญจกรจักร์รถสำหรับประทับเรือนเลข ในหนังสือซึ่งประทับพระราชลัญจกรมหาโองการ แลพระบรมราชโองการ
มาตรา ๘ พระราชลัญจกรอุณาโลม ในกลีบบัวพระธำมรงค์ สำหรับประทับเรือนเลขในหนังสือซึ่งไม่ได้ประทับพระราชลัญจกรมหาโองการ แลพระบรมราชโองการ
มาตรา ๙ พระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน สำหรับประทับกำกับพระบรมราชนามาภิธัยทั่วไป
มาตรา ๑๐ พระราชลัญจกรประจำพระองค์ องค์ใหญ่สำหรับประทับกำกับพระบรมราชนามาภิธัยในประกาศนียบัตร์สำหรับเหรียญรัตนาภรณ์แลราชการในพระองค์ องค์เล็กสำหรับประทับพระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องสรรพาวุธ แลประจำพระบรมราชนามาภิธัย ในใบอนุญาตทูลลาบวช แลราชการส่วนพระองค์อย่างอื่น ๆ
มาตรา ๑๑ พระราชลัญจกรสำหรับเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ ซึ่งสร้างขึ้นประจำเครื่องราชอิสสริยาภรณ์นั้น ให้คงใช้อยู่ตามเดิม
มาตรา ๑๒ ราชการพิเศษนอกจากที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ประทับพระราชลัญจกรองค์ใด
มาตรา ๑๓ พระราชบัญญัตินี้ให้กำหนดเริ่มใช้ แต่วันที่ ๑๐ เดือนพฤศจิกายน รัตนโกสินทรศก ๑๒๒ ซึ่งตรงกับวันบรมราชาภิเศกบรรจบครบ ๓๕ บีบริบูรณ์เป็นต้นไป
มาตรา ๑๔ ให้กรมราชเลขานุการเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ทุกประการ
ประกาศมา ณ วันที่ ๓ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๒ ซึ่งเป็นวันที่ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชครบ ๓๕ ปีบริบูรณ์
คัดจากราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒๐ รัตนโกสินทรศก ๑๒๒ เลขลำดับเล่มที่ ๔/๑๔๙ เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒
พระราชบัญญัติพระราชลัญจกร
รัตนโกสินทร๒ศก ๑๓๐
มีพระบรมราชโองการ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดํารัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า พระราชลัญจกรประจําแผ่นดิน ซึ่งสําหรับประทับกํากับพระบรมนามาภิธัยในหนังสือสําคัญต่าง ๆ แลพระราชลัญจกรในพระองค์พระเจ้าแผ่นดิน ต้องสร้างใหม่ทุกคราวที่เปลี่ยนรัชชกาล ทรงพระราชดําริห์ว่า พระราชลัญจกรพระครุฑพาห เป็นพระราชลัญจกรสําหรับแผ่นดินสืบมาแต่กรุงศรีอยุธยาโบราณ ในครั้งนี้จะต้องเปลี่ยนพระราชลัญจกรประจําแผ่นดินตามที่เปลี่ยนรัชชกาล สมควรจะใช้พระราชลัญจกรพระครุฑพาห เป็นพระราชลัญจกรประจําแผ่นดิน จะได้ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงใหม่ต่อไป แต่ตามพระราชบัญญัติพระรา ชลัญจกรซึ่งสมเด็จพระบรมชนกนารถ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตราไว้ แต่วันที่ ๓ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๒ นั้น พระราชลัญจกรพระครุฑพาหเดิม สําหรับใช้ประทับเบื้องบนประกาศพระราชบัญญัติต่าง ๆ เมื่อจะใช้พระราชลัญจกรพระครุฑพาหเป็นพระราชลัญจกรประจําแผ่นดิน ประทับพระบรมนามาภิธัย ก็จะซ้ำกัน จึงทรงพระราชดําริห์ว่า ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระราชลัญจกรมหาโองการองค์องค์กลาง แลพระครุฑพาหองค์กลางขึ้นนั้น ก็มีพระราชปรารภจะทรงสร้างพระราชลัญจกรหงษ์พิมานขึ้น ให้ครบพระเป็นเจ้าทั้งสาม แต่ยังหาได้ทรงสร้างขึ้นไม่ ในครั้งนี้จะใช้พระราชลัญจกรพระครุฑพาหเป็นพระราชลัญจกรประจําแผ่นดินแล้ว สมควรจะมีพระราชลัญจกรขึ้นใหม่ แทนที่ใช้พระราชลัญจกรพระครุฑพาหองค์กลางขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระราชลัญจกรพระครุฑพาหขึ้นใหม่ ขนาดเท่าพระราชลัญจกรประจําแผ่นดินของเดิม เป็นพระราชลัญจกรประจําแผ่นดินสืบไป แลทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระราชลัญจกรหงษ์พิมานขึ้น สําหรับใช้แทนที่ประทับพระครุฑพาหองค์กลาง ในที่ประทับพระราชลัญจกรเบื้องบนสามดวง แต่ในที่ใช้พระราชลัญจกรเบื้องบนเต่สองดวง แล้วใช้ประทับพระราชลัญจกรมหาโองการเบื้องซ้าย ไประทับพระราชลัญจกรไอยราพตกลางเบื้องขวา ส่วนพระราชลัญจกรในพระองค์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นใหม่เป็นรูปวชิระ
จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ดำรัสสั่งให้ตราพระราชบัญญัติสำหรับที่จะประทับพระราชลัญจกรสืบไปภายน่า ให้กำหนดทราบทั่วไปดังนี้
มาตรา ๑ พระราชลัญจกรพระครุฑพาหองค์ใหม่ประจำแผ่นดิน สำหรับประทับกำกับพระบรมนามาภิธัย ในหนังสือสำคัญทั่วไป
มาตรา ๒ พระราชลัญจกรมหาโองการประจำชาดองค์กลาง สำหรับประทับประกาศใหญ่ อยู่เบื้องซ้ายพระราชลัญจกรไอยราพตใหญ่ ประทับประกาศพระราชบัญญัติทั้งปวง แลใบกำกับสุพรรณบัตร์ หิรัญบัตร์แลประกาศนียบัตร์นพรัตนราชวราภรณ์ อยู่เบื้องซ้ายพระราชลัญจกรไอยราพตกลาง ประทับสัญญาบัตร์บรรดาศักดิ์ ก็อยู่เบื้องซ้ายพระราชลัญจกรราพตกลาง
มาตรา ๓ พระราชลัญจกรหงษ์พิมานประจำชาด สำหรับประทับประกาศใหญ่ อยู่เบื้องขวาพระราชลัญจกรไอยราพตใหญ่ ประทับประกาศพระราชบัญญัติทั้งปวง แลใบกำกับสุพรรณบัตร์ หิรัญบัตร์ แลประกาศนียบัตร์นพรัตนราชวราภรณ์ อยู่เบื้องขวาพระราชลัญจกรไอยราพตกลาง
มาตรา ๔ พระราชลัญจกรไอยราพตประจำชาดองค์ใหญ่ สำหรับประทับประกาศใหญ่ อยู่ในระหว่างกลางพระราชลัญจกรมหาโองการ แลหงษ์พิมาน พระราชลัญจกรไอยราพตกลาง สำหรับประทับประกาศพระราชบัญญัติทั้งปวงแลใบกำกับสุพรรณบัตร์ หิรัญบัตร์ แลประกาศนียบัตร์นพรัตนราชวราภรณ์ อยู่ในระหว่างกลางพระราชลัญจกรมหาโองการแลหงษ์พิมาน
มาตรา ๕ พระราชลัญจกรพระบรมราชโองการองค์ใหญ่ประจำชาด สำหรับประทับสัญญาบัตร์ยศ แลสัญญาบัตร์ตำแหน่ง แลหนังสือพระราชทานที่ ในหว่างกลางองค์เดียว องค์น้อยสำหรับประทับพระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องสรรพาวุธ แลสำเนาหนังสือ แลการที่ไม่สำคัญ
มาตรา ๖ พระราชลัญจกรสยามโลกัคราช สำหรับประทับวิสุงคามสีมา ในหว่างกลางองค์เดียว
มาตรา ๗ พระราชลัญจกรนามกรุงองค์ใหญ่ สำหรับประทับใบถวายเสนาศน แลใบพระราชทานพระบรมราชานุญาตข้าราชการกราบถวายบังคมลาบวช ในระหว่างกลางองค์เดียว
มาตรา ๘ พระลัญจกรจักร์รถ สำหรับประทับเรือนเลขในหนังสือซึ่งประทับพระราชลัญจกรมหาโองการ และพระบรมราชโองการ
มาตรา ๙ พระราชลัญจกรอุณาโลมในกลีบบัวพระธำมรงค์ สำหรับประทับเรือนเลขในหนังสือ ซึ่งไม่ได้ประทับพระราชลัญจกรมหาโองการแลพระบรมราชโองการ
มาตรา ๑๐ พระราชลัญจกรประจำพระองค์ สำหรับประทับกำกับพระบรมนามาภิธัย ในประกาศนียบัตร์สำหรับเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ รัตนวราภรณ์ ตราวชิรมาลา เหรียญรัตนาภรณ์แลราชการในพระองค์ องค์เล็กสำหรับประทับพระราชทานพระบรมราชานุญาต เครื่องสรรพาวุธแลประจำพระบรมนามาภิธัยในใบอนุญาตทูลลาบวช แลราชการส่วนพระองค์อย่างอื่นๆ
มาตรา ๑๑ พระราชลัญจกรประจำเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ มหาจักรีบรมราชวงษ์ จุลจอมเกล้า ช้างเผือก มงกุฎสยาม สำหรับประทับประกาศนียบัตร์ตามเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ที่พระราชลัญจกรประจำสำหรับกัน
มาตรา ๑๒ ราชการพิเศษ นอกจากที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ประทับพระราชลัญจกรองค์ใด
มาตรา ๑๓ พระราชบัญญัตินี้ให้กำหนดเริ่มใช้แทนพระราชบัญญัติเดิมตั้งแต่วันที่ ๑๑ เดือนพฤศจิกายน รัตนโกสินทร๒ศก ๑๓๐ ซึ่งเป็นวันพระราชพิธีฉัตรมงคลเป็นต้นไป
มาตรา ๑๔ ให้กรมราชเลขานุการเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ทุกประการ
ประกาศมา ณ วันที่ ๑ พฤศจิกายน รัตนโกสินทร๒ศก ๑๓๐ เป็นวันที่ ๓๖๕ ในรัชกาลปัตยุบันนี้