- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ภาคผนวก
ภาคผนวก
วิธีให้ข้าวแม่ซื้อ
กระผมได้ถามผู้ใหญ่ที่เขาเคยทำมาว่าดังนี้
ปั้นข้าว ๓ ปั้น ขาว ๑ แดง ๑ ดำ ๑ ให้โยนข้ามหลังคาที่เด็กอยู่นั้นเวลาพลบค่ำ
เมื่อโยนข้าวว่าดังนี้ “วู้”
แม่ซื้อแม่นาง ลูกเองเปนลูกเรา อย่ามาหยิกมาข่วน อย่ามารบกวนให้ร้าย อย่ามาชวนให้ทุกข์ไข้ เราจะเลี้ยงดูไว้ ให้อยู่เย็นเปนสุขสนุกสบาย อยู่กับเราไปจนแก่จนเฒ่า
(ลงนาม) พระยาโหราธิบดี
(สำเนา)
บันทึกเรื่องให้ข้าวแม่ซื้อ
เมื่อเด็กยังเล็กป่วยไข้ ถือว่าแม่ซื้อรบกวนเด็ก จึงใช้คำว่าให้ข้าวแม่ซื้อ เพื่อจะได้ช่วยบำบัดโรคภัยนั้น ๆ ได้ คือ
ปั้นข้าวสุกปากหม้อให้เปนก้อน ๔ ก้อน คลุกกับขมิ้น ๑ ก้อน เรียกว่าข้าวเหลือง คลุกกับขมิ้นกับปูน ๑ ก้อน เรียกว่าข้าวแดง คลุกกับดินหม้อ ๑ ก้อน เรียกว่าข้าวดำ ไม่ต้องคลุกกับสิ่งใด ๑ ก้อน เรียกว่าข้าวขาว แล้วใส่ภาชนใดก็ได้ นำไปร่อนที่ตัวเด็กว่า “แม่ซื้อเวียงล่าง แม่ซื้อเวียงบน แม่ซื้อเดินหน แม่ซื้อใต้ที่นอน จงมารับข้าวขาว ข้าวแดง ข้าวเหลือง ข้าวดำ” แล้วนำข้าวไปที่หน้าเรือนและกล่าวคำว่า “แม่ซื้อเวียงล่าง ฯลฯ จงมารับข้าว” และร้อง “วู้” ครั้งแรกเอาข้าวดำวางไว้ที่พื้นดิน ส่วนอีก ๓ ก้อนนั้น เมื่อสุดคำและวู้แล้วก็ปาข้ามหลังคาเรือนทำเหมือนกันทั้ง ๓ ก้อน จะปาก้อนใดก่อนก็ได้ เมื่อปาข้ามหลังคาเรือนทั้ง ๓ ก้อนแล้วก็เปนเสร็จพิธีให้ข้าวแม่ซื้อเพียงเท่านี้
บางแห่งก็ให้เพียง ๓ ก้อนก็มี คือ ข้าวขาว ข้าวดำ ข้าวเหลือง แต่ปาข้ามหลังคาเรือนทั้ง ๓ ก้อน บางแห่งก็ปาทิศตวันออกไปตวันตกบางแห่งก็ปาหน้าเรือนไปทางหลังเรือน เรื่องให้ข้าวแม่ซื้อชนบทหนึ่งก็ทำอย่างหนึ่ง ดังกล่าวแล้วไม่ตรงกันโดยทั่วไป
แล้วแต่จะโปรด
(ลงนาม) ไตรเพทพิสัย
๒๔/๘/๘๒
----------------------------
คำอธิบายของขุนธนกิจวิจารณ์
จำพวกช้างกระบวนศึก มีเรื่องควรจะอธิบายได้เท่าที่ท่านผู้ใหญ่ได้สั่งสอนไว้โดยสังเขปต่อไปนี้
ช้างดั้ง เป็นช้างชะนิดที่นั่งละคอ ประกอบด้วยหมอและควาญกำกับหัวท้าย และที่กลางหลังมีควาญถือหอก (บางทีก็ถือทวน เพราะที่คอมีภู่ด้วย) โดยถือเอาด้ามหอกตั้งไว้บนหลังช้าง ช้างดังนี้เดินอยู่ในระวางกลางสายกระบวน ทางข้างหน้าพระคชาธาร
ช้างกัน ลักษณะอย่างเดียวกับช้างดั้ง แต่เดินข้างหลังพระคชาธาร
ช้างแซก และ ช้างแซง เป็นช้างชะนิดที่นั่งละคอ ทำหน้าที่สารวัด เดินริมกระบวนซ้ายขวา ช้างแซกเดินซ้าย ช้างแซงเดินขวา ไม่มีควาญนั่งกลางหลังอย่างช้างดั้นช้างกัน
ช้างล้อมวัง เป็นช้างชะนิดผูกสัปคับโถง (จำลองไม่มีหลังคา) มีชาวพระแสงในนั่งถือปืนอยู่บนสัปคับ คอท้ายมีหมอและควาญพร้อมช้างล้อมวัง บางทีใช้ทนายเลือกปืนนั่งในสัปคับ บางทีก็ใช้เกณฑ์หัดชาวต่างประเทศถือปืนนั่งในสัปคับ เป็นช้างเดินเรียงอยู่รอบในของช้างแซกช้างแซงอีกชั้นหนึ่ง ทั้ง ๒ สายกระบวน
ซ้างพังคา เป็นช้างชะนิดผูกเครื่องมั่น คนกลางช้างถือแพนหางเป็นชาวพระแสงใน ท้าวพระยาสามลราชและเสนาบดีผู้ใหญ่นั่งคอทำหน้าที่หมอ ข้าราชการกรมช้างนอกเป็นควาญ เป็นช้างเดินรายรอบติดกับพระคชาธาร (เครื่องมั่นชะนิดไม่มีฉัตรคันดาน)
ช้างค้ำค่าย เรียกชื่อเต็มว่า “ต้นเชือกค่าย ปลายเชือกค้ำ” ท่าทางจะเป็นต้นเชือกปลายเชือกของกรมมหาดเล็กฉะนั้น แต่โบราณกาลเป็น
ช้างสำหรับราชกุมารชาติสิงหฬ ซึ่งโดยปกติรับราชการเป็นชาวพระแสงใน (สินาท) อีกนัยหนึ่งว่าเป็นนักแม่นปืนชาวต่างประเทศ ต้นเชือกเดินต่อพระคชาธารข้างหน้า ๔ ช้าง คือ ๑ พิเทหราชา ๒ อนุรุทเทวา ๓ มหานามราช ๓ ราชาไชย ปลายเชือกเดินต่อท้ายพระคชาธาร ๖ ช้าง คือ ๑ พงศ์สีหบาศ ๒ ราชสีหยศ ๓ ทศเทศ ๔ เพรฏราชา ๕ ราชเดชะ รามราฆพ แต่ต่อมาภายหลังได้กลายมาเป็นอิสสรศักดิ์ในราชสกุล และบรรดาศักดิ์ข้าราชการในปัจจุบัน ช้างค้ำค่ายราชกุมารดังกล่าวทำหน้าที่เป็นหมอขี่คอ แต่แทนที่จะกระชับขอไว้กับมือ กลับเอาขัดไว้ที่เอว ใช้ปืนวางพาดไว้กับกระพองช้างทุกช้าง เป็นเตรียมพร้อมอยู่เสมอ ไม่มีควาญกลางหลัง ส่วนควาญท้ายเป็นข้าราชการกรมช้างระวางใน ลักษณะของช้างค้ำค่ายก็คือองครักษ์นั่นเอง (ช้างค่ายเป็นช้างซ้าย ย่อมนำหน้าช้างค้ำซึ่งเป็นช้างขวาได้ เพราะทำเนียบกรมศักดิ์ทั่วไป ย่อมขึ้นต้นด้วยซ้ายก่อนขวาเสมอ ส่วนช้างโจมทัพ คงจะไม่ใช่ชื่อช้างอีกชนิดหนึ่ง น่าจะเป็นช้างโคตรแล่นนั่นเอง เพราะชื่อที่ว่า “โจมทัพ” นั้นเป็นคุณสมบัติของช้างโคตรแล่นอยู่แล้ว คงเรียกขานกันขึ้นเอง โดยอาศัยหน้าที่ของช้างโคตรแล่น ที่ต้องใช้ในการตีทัพดอกกระมัง) ช้างโคตรแล่น เป็นช้างชะนิดที่นั่งละคอ หมอฝึกและพัดโหนดหัดวิธีการรบขึ้นเป็นช้างประเภทชำนะงา ตามปกติย่อมติดน้ำมันทั้งหน้าหลังเป็นประจำ การจัดให้เดินในกระบวนต้องเว้นจังหวะไว้ชั่วสุดเสียงแตรและสังข์ ทางท้ายกระบวน
บรรดาช้างกระบวนทั้งหลาย (นอกจากช้างโคตรแล่น) จริงอยู่ต่างก็มีหน้าที่ไว้ใช้รบด้วยกันทั้งนั้น เพราะทั้งช้างและหมอควาญนั้นๆ ได้ฝึกปรือไว้เพื่อใช้ในการรบด้วยกันทั้งนั้น แต่ถ้ากล่าวโดยรูปกระบวนแล้ว ก็จะพึงเห็นได้ว่าช้างกระบวนเหล่านั้นได้จัดขึ้นไว้ให้ทำหน้าที่แวดล้อมพระคชาธารมากกว่าเหตุอื่น ๆ หรือมิฉะนั้นก็เพื่อเป็นการประดับสายกระบวนให้สมด้วยเดชานุภาพแห่งท่านผู้เป็นจอมทัพในกระบวนนั้นเท่านั้น แต่ส่วนช้างโคตรแล่นนั้น เป็นช้างจำพวกเดียวที่มีไว้สำหรับใช้ให้ทำการรบในสมัยโบราณกาล จะรบกันกลางแปลง หรือจะตีค่ายป่ายปล้นกำแพงบ้านเมืองก็ตาม นายทหารผู้ถึงแล้วด้วยคุณวิชาการแห่งช้าง จะเป็นผู้นำช้างโคตรแล่นเข้าประจันบานแต่จำพวกเดียว ช้างจำพวกนี้พงศาวดารยกย่องไว้มาก หมอควาญพอดีพอร้ายไม่อาจเอาไว้อยู่ เช่นในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิเป็นต้น การปรนปรือช้างจำพวกนี้ก็โหดร้ายไม่คำนึงถึงการบาปกรรมทีเดียว ก่อนจะนำเข้าประจันบาน หมอพัตโหนดจะบังคับกรอกด้วยเหล้าเข้มอันผสมด้วยดินปืนเป็นซองไห ๆ เพื่อจะให้มีนเมาและหนังชา เพิ่มความดุร้ายและทนทานต่อปืนไฟทรายกรวดที่คั่วร้อน ตลอดจนตะกั่วคว้างได้เป็นอย่างดี ถ้าเวลาว่างราชการศึก ตัวใดร้ายกาจจนถึงหลงแทงเงาตัวเองแล้ว จะถูกส่งไปเป็นเพชรฆาตสำหรับประหารนักโทษฐานกบฏอีกด้วย ช้างโคตรแล่นสร้างคุณประโยชน์ในการสงครามแต่สมัยโบราณกาลเป็นอย่างสูง พระมหากษัตริย์ที่ปรากฏในพงศาวดารว่าออกทรงจับช้างไม่เลือกฤดูกาลนั้น ก็เพราะจะได้ช้างมาฝึกหัดให้มีสมรรถภาพดังกล่าวนี้ให้มากที่สุดที่จะมากได้นั่นเอง
ส่วนชื่อช้างอื่นๆ เข้าใจว่าจะคิดเรียกกันขึ้นเอาเอง โดยอาศัยเอากิริยาอาการที่ช้างปฏิบัติ แต่ในหลักฐานวิชาการช้างแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีชื่อช้างชะนิดนั้น ๆ