- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ภาคผนวก
๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๘๒
พระยาอนุมานราชธน
ฉันคิดไม่หยุด ในคำ ป่า ดง เถื่อน ที่ท่านพูดไป คำ ดง นั้นเห็นแน่แก่ใจแล้ว ว่าหมายถึงสิ่งที่ขึ้นรวมกันอยู่เปนหมู่ ย่อมตัดแยกออกไปเสียได้คำหนึ่ง แต่คำ ป่า กับ เถื่อน นั้น คงพัวพันกันอยู่นุงนัง
คำว่า ป่า นั้นใช้มากที่สุด ตัวอย่างที่เปนแก่นสารอยู่ก็มี เช่น ป่าพร้าว ป่าหมาก ป่ามะม่วง (คำเขมรว่า ไพรสวาย) จะผิดอะไรกับสวนมะพร้าว สวนหมาก สวนมะม่วง ตริตรองก็เห็นจะเปนได้ว่า ที่นำด้วยคำ สวน หมายความว่าคนเพาะปลูกขึ้น ที่นำด้วยคำ ป่า หมายความว่าขึ้นเอง คำ เถื่อนพร้าว เถื่อนหมาก เถื่อนมะม่วง ไม่มี จึงรู้สึกว่าคำ ป่า ใช้ได้กว้างกว่าคำ เถื่อน คำ ป่า นั้นจะอยู่ใกล้หรือไกลจากบ้านก็ใช้ได้ แต่คำว่า เถื่อน นั้น ต้องอยู่ไกลจากผู้คน เปนที่อาศัยของพวกเดียรฉานเปนพื้นเท่านั้น เพราะฉะนั้นท้ายชื่อของพวกเดียรฉานจึ่งเปนว่า เถื่อน เสียมาก มีคำซ้อนว่า ป่าเถื่อน ก็เหมือนกันกับว่า ป่าเปลี่ยว หรือ ป่าสูง จึงตกเปนคำว่า ป่า นั้นใช้ได้ทั่วไป หมายว่าเนื้อที่ซึ่งคนยังไม่ได้ทำประโยชน์ เถื่อน หมายความว่าเนื้อที่เปลี่ยวผู้คนไปถึงยาก ตามที่คิดเห็นเช่นนี้ จะใช้ได้หรือไม่
ไก่ป่า ไก่เถื่อน หมูป่า หมูเถื่อน ควายเถื่อน ช้างป่า ช้างเถื่อน มีเรียกกันอยู่ทั้งสองทาง ไม่มีอะไรขัดข้องอันจะจัดว่าเรียกผิด
คำ เถื่อนถ้ำ ไม่ได้อาศัยซึ่งกันและกันเลย พวกจินตกวีเอามาปรุงกันเข้าเท่านั้น
คำ ภูผา เราเข้าใจกันเปนคำเดียว หมายความว่า เขา แต่ที่จริงเปนสองคำ ภู ว่าเขาดิน ผา ว่าเขาหิน รวมกันก็ได้ แต่ต้องเข้าใจว่าเขาดินปนหิน
ความประหลาดมือย่างหนึ่ง ที่พวกต้นหญ้าตลอดถึงอ้อแขม ถ้าขึ้นร่วมกันอยู่เปนหมู่ใหญ่อันควรจะเรียกว่า ดง กลับเรียกไปเสียว่า พง แต่ดูเหมือนเรียกกันว่า ดง ก็มี ฉันเข้าใจว่า ป่ง ก็คำเดียวกับ พง นั่นเอง
จะไขความบอกท่านให้ทราบในเรื่องสีดีขึ้นอีก ภาษาของคนทั่วไปกับภาษาช่างไม่สู้จะเหมือนกัน เช่น สีเทา สีเหล็ก สีฟ้า สีน้ำเงิน อะไรเหล่านี้เปนคำคนทั่วไปเรียกกันทั้งนั้น ในพวกช่างเขาไม่ได้ใช้ คำที่พวกช่างเขาเรียกชื่อสีกัน เกรงว่าท่านจะไม่เข้าใจเสียแหละมาก เปนเตฆนิคอันหนึ่ง จะเก็บมาพรรณนาก็เห็นจะป่วยการ ครึคระ ใช้อะไรไม่ได้