- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ภาคผนวก
๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๔๘๒
พระยาอนุมานราชธน
หนังสือของท่านลงวันที่ ๗ มีนาคม ได้รับแล้ว
การถวายข้าวพระพุทธ ได้สดุดใจฉันแล้ว เมื่อทำการที่บ้าน อย่างท่านว่าเหมือนกัน ว่าอ้ายนี่เปนเซ่น
เรือนสองห้องของโบราณ ทางเรามีถมไป เราไม่ได้ถือ ทางญี่ปุ่นทราบว่าเขาพูดเปนเสื่อว่า เรือนสองเสื่อสามเสื่อ นั้นก็หมายว่าเรือนสองห้องสามห้องตรงกัน คือหมายความว่าเอาเสื่อปูลงได้พอดีสองผืนสามผืน เสื่อของเขาทำมีกำหนดขนาด เรือนของเขาเห็นจะมีกำหนดด้วย ว่าห้องหนึ่งควรทำกว้างเท่าใดยาวเท่าใด ท่านพิจารณาเห็นว่าชื่อกษัตริย์สมิงสินนะคงคา จะสืบเนื่องมาแต่คำ คางคะ อันเปนชื่อวงศ์กษัตริย์แคว้นกลิงค์นั้น เรื่องบุรุษแสนปมร้อยปมก็ยิ่งจมเข้าไปว่าเปนเรื่องมาแต่อินเดียตั้งข้อนตัว เชื่อว่าทำใจเย็นๆ เสียทีหลังจะได้ตระหนักใจเปนแน่นอนว่าเปนเรื่องมาแต่อินเดีย อันวงศ์กษัตริย์ศรีวิชัย ที่ว่าอาศรัยชื่อไศเลนทร อันเปนพ่อนางคงคานั้น ตกมาถึงเราก็แย่งกันใช้ ด้วยต่างคนต่างก็จะเอาดี ใครจะถือเอาเปนของตน ต้นเดิมก็มาจากอินเดียนั่นแหละ เปนแน่นอน
คำภาษากรุงเทพ ฯ อีศาน ไทยใหญ่ ซึ่งเปนคำเดียวกัน แต่ออกเสียงต่างกัน อันท่านจดให้ไปนั้นดีหนัก เว้นแต่ที่ลงไม้ตรีในอักษรต่ำนั้น ไม่เข้าใจว่าหมายให้อ่านอย่างไร เพราะฉันเปนนักเรียนเก่า เรียนด้วยแบบเก่า ครูห้ามว่าไม้ตรีไม้จัตวาลงอักษรต่ำไม่ได้ แต่แบบเรียนใหม่ไม่เคยดู จะแก้ไขเปนอย่างไรไป จึ่งไม่ทราบ พิจารณาดูคำเหล่านั้นก็เห็นว่า ที่เสียงไขว้เขวกันอยู่ ก็ผิดกันไปในระหว่างคู่เสียง คือ ก เปน ค ต เปน ท และ ป เปน พ ที่ตัว ข ถ ผ เข้าไปปนอยู่ด้วยเปนสาม ก็เพราะเรื่องอักษรสูงอักษรต่ำ จะเขียนให้ชาวกรุงเทพ ฯ อ่านให้รู้เสียงเท่านั้น การแบ่งอักษรสามหมู่ ฉันเห็นกำมลอเต็มที
ในการที่ท่านสืบเอาชื่อเพลงมาจดเก็บไว้นั้น ฉันคิดยังไม่เห็นว่าจะเปนประโยชน์อะไรหรือไม่ กลัวจะเหมือนกับเล่นปลอกบุหรี่ ซึ่งไม่ได้ความรู้อะไรในนั้น ผิดกันกับเล่นสแตมป์ นั่นได้ความรู้ว่าเมืองใดเข้าอยู่ในสัญญาสากลไปรษณีย์บ้าง และเมืองใดตั้งการไปรษณีย์ขึ้นเมื่อไร ออกแสตมป์มากี่คราวแล้ว คราวหนึ่งเปนชุดละกี่ดวง ย่อมเปนประวัติให้ความรู้อยู่ทั้งนั้น อันเพลงปี่พาทย์นั้นได้อธิบายให้ฟังแล้ว ว่าแต่ก่อนเปนเพลงเรื่อง มีแต่ชื่อเรื่อง ครั้นตัดเอาท่อนใดหรือตอนใดไปใช้อะไรเปนพิเศษ ก็ตั้งชื่อขึ้นเปนพิเศษเหมือนกัน ผู้รู้ตั้งก็มี ลิงค่างบ่างชะนีอะไรตั้งให้ก็มี โดยมากมักเปนไปตามเหตุ เช่นเพลงที่เรียกชื่อว่า หกคะเมนไต่ลวด ก็เพราะใช้เพลงนั้นประโคมเมื่อหกคะเมนไต่ลวดกัน ลางพวกเขาเห็นว่าไม่ควรเรียกชื่ออย่างนั้น เขาจะเรียกไปเสียอย่างอื่นก็ได้ เมื่อเปนเช่นนั้นก็เปนทางทำให้ท่านหลง ด้วยสำคัญว่าชื่อหนึ่งจะเปนเพลงหนึ่ง แต่ที่จริงเปนเช่นนั้นก็มี หรือสองชื่อสามชื่อเปนเพลงหนึ่งก็มี ท่านตั้งข้อสงสัยขึ้นในคำหกคะเมนตีลังกา ด้วยอาศรัยชื่อเพลงหกคะเมนไต่ลวดเปนเหตุนั้น เล่นเอาฉันงงไปด้วยไม่เคยคิดถึงเลย คำ หกคะเมน ก็เคยเขียนอย่างนั้น ไม่ได้นึกว่า คะเมน จะเปน เขมร และคำ ตีลังกา ก็ได้ยินพวกโขนเขาบอกว่า หกคะเมนนั้นมีสามอย่าง หกหงายไปข้างหลังเรียกว่า ตีลังกา หกม้วนไปข้างหน้าเรียกว่า อันธพา หกข้าง ๆ เรียกว่า พาสุริน (เขียนอย่างไรถูกไม่ทราบ ไม่เคยเห็นเขาเขียน เปนแต่ได้ยินคำเขาบอก สอบตำหรับตำราอะไรก็ไม่ได้เรื่อง) เพราะฉะนั้นจึ่งทำให้นึกว่าคำ ตีลังกา เปนชื่อของการหกคะเมนชนิดหนึ่ง ไม่ได้เฉลียวใจว่าจะเปนหกคะเมนของชาวลังกา แต่คำทักของท่านนั้นประหลาดมาก หากยังคิดไม่เห็น จะเก็บไว้คิดต่อไป
อันเครื่องประโคมนั้น จะเปนอย่างใดๆก็มีปัญจตุริยเปนมูลมาทั้งนั้น จึงควรพิจารณาแยกเปนสองภาคได้ คือสำหรับหูฟังภาคหนึ่ง สำหรับตาดูภาคหนึ่ง สำหรับหูฟังนั้นจะเปนเครื่องน้อยสิ่งก็ได้ แต่ต้องเปนห้าเสียงเท่า ตุริย ส่วนสำหรับตาดูนั้นเพิ่มขึ้นให้มากเพื่อให้เห็นงามคึกคัก เพราะเหตุนั้นก็ต้องถือว่าข้างน้อยเปนของมาก่อน คือกลองคู่หนึ่งเปนประเดิม ข้างมากมาทีหลัง ในการประโคมศพที่งดไม่ประโคมในเวลา ๓ ยามนั้น เปนการประหยัด โดยเจตนาจะทำการแต่เพียงครึ่งคืนมาก่อน แล้วก็เลยเปนประเพณีไปเหลวๆ ถ้าจะทำให้เต็มที่ ก็ควรประโคมทุกยามไป
ท่านอย่าได้เข้าใจว่าพวกปี่พาทย์นั้นทำเพลงอะไรก็ได้ ความจริงก็เปนแฟแช่น ทำได้แต่เพลงที่เขาทำกันอยู่ดาษดื่น เพื่อให้เปนคนเท่านั้น เว้นแต่คนที่เขาเรียกกันว่าครูนั้นแหละค่อยรู้อะไรมากออกไปหน่อย เพลงเรื่องบัวลอยนั้นไม่มีใครเขาทำกันมานานแล้ว ฉันเคยคิดฟื้นขึ้นให้ทำเมื่อครั้งศพยายคราวหนึ่งแล้ว หาพบแต่พระยาประสาน (แปลก) คนเดียวที่เปนคนซุกซนจำเนื้อเพลงไว้ได้แม่น เดี๋ยวนี้ก็ตายแล้ว ไม่ใช่ลำบากแต่ที่จะหาคนเล่นไม่ได้ แม้เครื่องเล่นคือเหม่งก็หาไม่ได้ มีแต่ของหลวงสำหรับใช้ตีแห่ ก็ต้องไปยืมมา ไม่ใช่ฆ้องอย่างสามัญ รูปเหมือนฆ้องแต่ทองหนา ไปทางพวกกังสดาล เพลงกระบอกซึ่งใช้ทำฉันเพลนั้น ฉันเคยเสาะหาถามครูผู้ใหญ่อกสามศอกก็ไม่มีใครจำได้ พลัดไปได้ที่บางปอินอันเปนบ้านนอก เขายังทำกันอยู่ ในกรุงเทพ ฯ จะเปนฉันเช้าหรือฉันเพลก็ทำเพลงฉิ่งเพลงเดียว ดูเปนสองชั้น ท่านควรจะเข้าใจอีกว่าเพลงฉิ่งไม่ใช่ชื่อเพลง เปนเพลงตีกับฉิ่งเท่านั้น ชื่อมีต่างหาก อย่างเดียวกับเพลงกลอง ชื่อก็มีต่างหากเหมือนกัน ที่เขาบอกท่านได้ว่าการศพใช้เพลงชื่ออะไรบ้างนั้น ฉันเห็นประหลาดที่สุดที่ยังมีคนรู้ชื่อบอกได้ ลางเพลงฉันไม่เคยได้ยินชื่อมาเลยก็มี แต่เชื่อว่าเขาจำเนื้อเพลงนั้นไม่ได้ หรือจะไม่เคยได้ยินเสียด้วยซ้ำ
คำที่เกี่ยวกับช้าง ซึ่งยังไม่รู้ ท่านหาคำมาเทียบเคียงให้ ดีมาก แต่จะรับรองยังไม่ได้ ได้แต่จดจำไว้พลาง ฉันกำลังสืบต่อไปอยู่
หนังสือของท่านลงวันที่ ๑๒ เดือนนี้ได้รับแล้ว จะตอบมาทีหลัง