- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ภาคผนวก
๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๑๓ กันยายน ๒๔๘๒
พระยาอนุมานราชธน
หนังสือของท่าน ลงวันที่ ๘ กันยายน ได้รับแล้ว จะไม่ตอบก็ไม่ได้ มีข้อต่อตามอยู่บ้าง
๑. ชะมัด กับ ชะงัด ท่านตัดสินว่า ชะงัด ถูกก็ควรเปลี่ยนใช้เสียใหม่ ที่เอา ชะมัด ไปสงเคราะห์เข้าเปน สมรรถ นั้น เปนขอไปที ภาษาพูดกับภาษาหนังสือ เห็นว่าใช้ปนกันได้ ไม่มีขัดข้องเสียหายอะไรไปเลย เว้นแต่หนังสือทางราชการ
๒. ท่านบอกให้ทราบในเรื่องภาษาไทถิ่นอื่น มีสระไม่เปนคู่ อันอยู่ในเรื่อง แมว นั้น ขอบใจที่ทำให้รู้ขึ้น ฉันนึกมานานแล้ว ว่าเสียงยาวเสียงสั้นเปนเสียงเน้นเท่านั้นเอง เขาจารึกไว้ที่ผอบพระธาตุ ซึ่งเจ้านายเรียกว่า สลิละ อันฝังไว้บนภูเขาทองทุกวันนี้ ไม่มีสระสั้นยาว และไม่มีตัวสกด ไม่มีตัว ร จะเปนภาษามคธหรือไม่ใช่ก็ไม่ทราบ ถ้าเปนภาษามคธ ก็เปนคนละอย่างกับบาลีของเราทุกวันนี้ แม้หนังสือเขมรเขาก็ไม่มีไม้ผัด ใช้ลากข้างแทน เช่น นาคพัน เขียน นาคพาน เปนต้น พัน กับ พาน ก็เห็นได้ว่าเปนคำเดียวกัน บัญชี กับ บาญชี ก็คือคำเดียวกันนั้นเอง คำ ฆ่าแมว เหมือน ฆ่าเณร นั้น เปลี่ยนเสียทีหลัง เพราะเกรงใจพระเปนแน่
๓. ทำไมผีจึ่งกลัวใบหนาด ฉันก็อยากรู้ ตัวอย่างในนิทานเก่าเรื่อง อีนากพระขนง ก็มีว่า ผัวเข้าดงหนาด เมียจะขาดใจตาย ที่ฉันว่าเอาใบหนาดใบสาบแร้งสาบกาทำหมอนปืนนั้น ภายหลังเปนแต่เอาปนกับสิ่งอื่น ซึ่งหาได้ง่าย เพียงเล็กน้อยพอเปนพิธีเท่านั้น
๔. ท่านพูดถึง ทาขมิ้นกับน้ำมัน ฉันก็นึกขึ้นมาได้ว่าเมื่อเล็ก เวลาต้องแต่งตัวใส่นวมสวมเกี้ยวแล้ว ผู้ใหญ่เขาจับตัวผัดหน้า เอาอะไรละเลงลงไปให้ก่อน เรียกว่า รองพื้น ในนั้นมีน้ำมันกับขมิ้น แล้วจะมีอะไรอีกก็ให้การไม่ถูก เพราะเหม็นเบื่อเต็มที แล้วจึงเอา ฝุ่นกับน้ำผัดทับข้างบน ที่ว่าบำรุงผิวนั้น ก็เปนคิดอย่างร่อน ๆ จึ่งได้บอกมาให้เปนทางที่ท่านจะพิจารณาสอบสวน
๕. เรื่องเจิม ฉันไม่รู้อะไรเลย ถ้าเดาก็เห็นว่าจะเจิมหน้าก่อน แล้วจึ่งเลื่อนไปเจิมอะไรต่ออะไรทีหลัง อย่างไรก็มาแต่อินเดียแน่ และน่าจะเจิมสามจุดสามขีดเปนอย่างมาก ที่เจิมเปนปีรมิตนั้นหลงไปด้วยความงาม ทั้งเนื้อที่ก็มีใหญ่ซึ่งพอจะทำได้
๖. เรื่องอภิเษก ฉันเคยได้คิด ว่า อินทราภิเษก ไม่ใช่พระอินทร์ลงมาอภิเษกให้ จะเปนเช่นนั้นไม่ได้เลย คำว่า อินทร์ ไม่จำเปนจะต้องเปนพระอินทร์เขียว ๆ อย่างเดียว เข้าใจว่าเขาหมายถึงอภิเษกพระเจ้าจักรพรรดิ ตรงกับที่ท่านพบเรียก มหาภิเษก ถัดลงมาจึงเปน ราชาภิเษก
๗. ตราสัง ท่านเดาว่า ตราสาง ท่านจงเอาไปเถิด ของท่านดีกว่าตราสังขาร มาก
๘. เรื่องแต่งศพนั่ง ท่านค้นได้มาใหม่ เปนพวกลิงคายัตแห่งทราวิฑ ดีแล้ว พ้นจากพระ ทึกเอาว่าเปนประเพณีมาแต่พวกนั้นทีเดียว คำว่า ศุกรัม หมายถึงผ้าขาวแน่นอน แต่เจ้าหน้าที่ไม่เข้าใจ เรียกแก้ไปเปนเครื่อง สุกรรม หรือเลยเถิดไปเปนเครื่องประจุกรรมก็มี พิธีอาศวยุชในกฎมณเฑียรบาลว่า เวลากลางวันทรงพระสุพรรณมาลา เวลาเย็นทรงพระมาลาสุกหร่ำ เข้าใจว่าคำ สุกหร่ำ นั้นหมายถึงดอกไม้สด เสียงใกล้กับศุกรัม ถ้าเปนคำเดียวกันก็น่าจะเปนดอกไม้สีขาว พันธนัม นั้นไม่ใช่เชือก เปนผ้าขาวแถบยาวพับม้วนไว้ ดุจผ้าพันแผลฉะนั้น เวลาห่อพระศพด้วยแถบผ้าขาวซึ่งเรียกว่าใบเมี่ยงแล้ว เอาเชือกด้ายดิบผูกคล้องเปนเปลาะๆ แต่ล่างขึ้นไปหาบน เรียกว่า ดอย หางเชือกนั้นเหลือไว้สำหรับพาดลอดออกมานอกพระโกศ ผูกพระภูษาโยง เมื่อดอยเสร็จแล้วจึงเอาผ้าพันธนัมพันเปนเกลียวขึ้นไป เข้าใจว่าเพื่อจะปิดเชือกดอยอันรุงรัง ให้เห็นเรียบร้อย
๕. ข้อที่พระศพพระเจ้าปาฏิหาริย์เอาพระบาททิ่มออกมานอกหีบนั้น จะบอกให้ทราบว่า มาจัดการเอาอำนาจผีเข้าประกอบเพื่อให้เห็นศักดิ์สิทธิ์กันขึ้นในบ้านเรานี้เอง กรมพระสมมตเคยตรัสบอกว่า ในพระบาลีเปนพระกัสสป เปิดฝาหีบขึ้นถวายบังคมแทบฝ่าพระบาทอย่างง่ายๆ เท่านั้นเอง
๑๐. เสื้อครุย เราเอาอย่างแขกอินเดียมา ด้วยเห็นเขามีอยู่เหมือนกันทีเดียว แต่เขาจะมีกำหนดสวมกันอย่างไรนั้นไม่ทราบ
ข้อความใด ๆ ที่ฉันบอกก็เพื่อให้ท่านรู้ ถ้าท่านเห็นชอบในข้อไรจะเก็บเอาไปใช้ในสิ่งไรที่ไหนก็ตามใจท่าน ไม่มีรังเกียจเลย