- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ภาคผนวก
๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๔๘๒
พระยาอนุมานราชธน
หนังสือของท่านลงวันที่ ๑ เดือนนี้ นำส่งเส้นชาดพระตราต่าง ๆ ไปให้ดู ได้ดูแล้ว จะบอกท่านเท่าที่รู้และที่สงสัย แล้วกล่าวเปนจริงเปนทำนายทายทักต่อไปนี้
๑. พระตราซึ่งปรากฏเส้นชาด ตามที่ท่านส่งไปให้ดูนั้น เปนพระตราเก่าซึ่งเป็นของเก็บอันไม่ได้ใช้มานานแล้วทั้งนั้น ส่วนที่ใช้อยู่ในตอนหลังไม่มีเลย เห็นจะอยู่ในหีบหยก ตามที่ฉันได้บอกแก่ท่านมาแล้ว
๒. พระตราตามที่ปรากฏเส้นชาดอยู่นั้น ลางองค์ก็เปนของที่ทรงพระราชดำริให้ทำขึ้นเพื่อใช้ในการอันใดอันหนึ่ง ลางองค์ก็มีคนทำส่งมาถวายโดยมิได้มีทรงพระราชดำริ และมิได้มีพระราชประสงค์ที่จะใช้อย่างใด ลางองค์ก็ไม่เคยใช้เลยเสียด้วยซ้ำ
๓. ชื่อพระตราต่าง ๆ เหล่านั้น ลางชื่อก็เปนชื่อจริง ลางชื่อคนก็ตั้งขึ้นเรียกเอาเองโดยไม่รู้
๔. พระตราเปนรูปช้างสามเศียรมีอยู่หลายองค์ มีรูปพระอินทร์ทรงอยู่ก็มี ไม่มีก็มี แต่ล้วนเปนพระตราไอยราพตหมดด้วยกันทั้งนั้น เรียกอย่างอื่นผิด
๕. พระตราเก่ามีชื่อว่า หงษ์พิมาน อยู่องค์หนึ่ง แต่ไม่เคยเห็นองค์ตราและเส้นชาด ฉันได้เดาเขียนถวายโดยต้องพระราชประสงค์องค์หนึ่ง เปนรูปหงส์มีบุษบกอยู่บนหลัง สำหรับใช้ประทับสัญญาบัตร ก็มาต้องกันกับ ตราพระพรหมทรงหงส์ ซึ่งหมายเลข ๓ ในตัวอย่างเส้นชาดซึ่งท่านส่งไปให้ดูนี้ ผิดกัน แต่มีองค์พระพรหมขึ้นด้วย จึงทำให้เข้าใจไปว่าที่หมายเลข ๓ นั้น คือพระตราหงษ์พิมานเดิม มีหมายเลข ๖๕ อยู่อีกองค์หนึ่ง แต่เส้นชาดเลอะเลือน ไม่เห็นว่ารูปร่างเปนประการใด จะพูดก็ไม่ถูก
๖. ตราพระลักษณ์ทรงหณุมานนั้น เปนตราประจำตำแหน่งวังหน้าของเก่า ตรานารายน์ทรงปืน (คือขี่ปืนใหญ่) นั้น เปนตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า สร้างขึ้นในรัชชกาลที่ ๔
๗. อาร์มแผ่นดินดวงหมายเลข ๒๕ อ่านหนังสือขอมเปนว่า แกรนด์มาศเตอร์ ของตราเครื่องราชอิศริยยศ จุลจอมเกล้าสำรับตระกูล เปนภาษาที่ตายแล้ว ทำให้เข้าใจว่า เพราะเหตุนั้น แม่ตราก็ตายด้วย ได้ทำเปลี่ยนใหม่แล้ว พระตราซึ่งสำหรับประทับดิโปลมา เครื่องราชอิสสริยาภรณ์ต่าง ๆ มีโดยจำเพาะอยู่หลายองค์
๘. ตราอักษรจีน มีตราประจำรัชชกาล อย่างตราเงินบาทคดด้วงอยู่ที่มุม ๔ ดวง ตั้งแต่หมายเลข ๔๒ ถึง ๔๕ สันนิษฐานว่าจะทำขึ้นในรัชชกาลที่ ๔ สำหรับใช้ในการพระราชพิธีอันใดอันหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวไปในทางข้างจีนและเกี่ยวในรัชชกาลอันล่วงแล้วมาด้วย
๙. ตราอักษรพระนามย่อ ซึ่งหมายเลข ๔๘ จดไว้ว่า จ.ป.ร.ง. ไม่เห็นมีตัว ง อยู่ที่ไหน ตราอักษรพระนามเลียนหนังสือต้วนญี่ของจีนทุกดวงนั้น เข้าใจว่าสร้างขึ้นสำหรับใช้ประทับตราสาร ในเรื่องการเล่นเครื่องลายครามโดยจำเพาะ
๑๐. ตราดวงหมายเลข ๖๖ จดไว้ว่า รถบุษบกอุณาโลม พิจารณาเห็นมีรูปกระต่ายอยู่ข้างท้ายรถ สงสัยว่าจะเปนตราจันทรมณฑลน้อย ซึ่งตราใหญ่พระราชทานไปกระทรวงยุติธรรม
๑๑. กรมขุนชัยนาท เคยมาวานเขียนตราพระขรรค์ สำหรับประจำพระองค์ของเธอ เธอบอกว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงตรัสแนะนำว่าควรเธอจะใช้ตราพระขรรค์ เพราะได้โปรดพระราชทานตราพระขรรค์ไปให้กรมหลวงวงษาใช้ประจำพระองค์ แต่จะเปนองค์ที่หมายเลข ๖๘ ไว้หรือไม่ใช่ ฉันบอกแน่ไม่ได้ ด้วยไม่เคยเห็น แต่เชื่อว่าใช่ เพราะประเพณีการพระราชทานตรา ถ้าเปนพระราชทานประจำตัว เมื่อไม่มีตัวแล้วก็ส่งตราคืน หรือพระราชทานประจำตำแหน่ง เมื่อเลิกตำแหน่งแล้วก็ส่งตราคืน เช่น ตราพระรามทรงรถหมายเลข ๖๗ นั้นก็เคยพระราชทานไปประจำตำแหน่งกระทรวงโยธาธิการ เมื่อเลิกกระทรวงนั้นแล้วก็ต้องส่งคืน ใครจะเอาไปกดไว้หรือใช้ต่อไปหาได้ไม่ มีความผิด ทั้งนี้ก็ดุจเครื่องยศอันหนึ่งเหมือนกัน
ได้ส่งสมุดเส้นชาดพระตราต่าง ๆ คืนมาให้ท่านบัดนี้แล้ว