- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ภาคผนวก
๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
กรมศิลปากร
วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒
ขอประทานกราบทูล ทรงทราบใต้ฝ่าพระบาท
นายพืช เดชคุปต์ คัดข้อความตอนหนึ่งในหนังสือ ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓๖ ว่าด้วยเรื่องกรุงเก่า ว่าพลับพลาจัตุรมุขที่กรุงเก่า หน้าบันมุขทั้งสี่ด้าน ของเดิมปั้นเป็นลายพระราชลัญจกรมหาโองการ ครุฑพ่าห์ หงส์พิมาน มังกรคาบแก้ว ไอราพต และ สังขพิมาน ข้าพระพุทธเจ้าได้ถวายข้อความที่กล่าวถึงเรื่องพลับพลาจัตุรมุข มาในซองนี้ด้วยแล้ว
พระราชลัญจกรมังกรคาบแก้ว ถ้าเป็นองค์เดียวกับตรามังกรเล่นแก้ว ซึ่งต่อมาเป็นตราโบราณคดีสโมสร ก็อาจเป็นพระราชลัญจกรสำคัญองค์หนึ่งในสมัยที่สร้างพลับพลาจัตุรมุข
ในจดหมายฉะบับก่อน กราบทูลเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับประเพณีทำศพ ข้าพระพุทธเจ้าเดาคำว่า สัง อาจหดเสียงมาจาก สาง ข้าพระพุทธเจ้านึกได้คำเป็นแนวเทียบของ สัง-สาง (ซาก) ได้อยู่คำหนึ่งคือ ฝั่ง-ฟาก ในหนังสือวชิรญาณ เคยมีผู้สันนิษฐานว่า สัง อาจมาจาก กระสัน ตราสังคือรัดให้กระสันกระชับแน่น
ข้าพระพุทธเจ้าขอรับพระเมตตาเพื่อทราบเกล้า ฯ ว่า รายตีนตองหมายความว่าอะไร มีผู้อธิบายให้ฟังว่า มหาดเล็กหุ้มแพรต้นเชือก ถือพระแสงคาบค่าย พระแสงใจเพ็ชร พระแสงอัษฎาพานร และ พระแสงนาคสามเศียร ตามเสด็จอยู่แถวหน้าในกระบวนเสด็จพระราชดำเนินกฐินพยุหยาตรา ว่าพระแสงเหล่านี้เรียกว่า พระแสงรายตีนตอง เหตุไรจึงได้เรียกอย่างนั้นก็อธิบายไม่ได้ ต่อมาข้าพระพุทธเจ้าได้อ่านพบคำว่า รายตีนตอง มีอยู่ในหนังสือเก่าแห่งหนึ่ง ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องพระแสง แต่ไม่ได้จดไว้ กลับไปค้นใหม่ก็ไม่พบ ขอประทานทราบเกล้า ฯ เรื่อง รายตีนตอง การจะควรสถานไร แล้วแต่จะทรงพระกรุณา
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ
ข้าพระพุทธเจ้า
ขอประทานกราบทูล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์