- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ภาคผนวก
๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๔๘๒
พระยาอนุมานราชธน
หนังสือของท่าน ลงวันที่ ๓๐ ตุลาคม ได้รับแล้ว
ท่านค้นสอบได้ความมา ว่าคำ บุษบง บุษบัน หลงมาแต่คำ บุษกร นั้น พอใจฉันมากที่สุด ควรอยู่แล้วที่จะเปนหลงมาแต่ไกล
สีมอของพวกช่าง เขาใช้เรียกกันอยู่ ๒ อย่าง คือ มอหมึกกับมอคราม มอหมึกก็คือผสมด้วยหมึก มอครามก็คือผสมด้วยคราม เขาไม่ได้นึกถึงฟ้าถึงเงินอะไรเลย มอ ฉันเข้าใจว่าคำเดียวกับ มัว ที่เรียกอยู่แต่ ๒ อย่าง ก็เพราะเปนสีที่ มอซอ มัวซัว ซึ่งผสมด้วยสีชะนิดที่ฝรั่งเรียกว่าสีเย็น ถ้าผสมด้วยสีชะนิดที่ฝรั่งเรียกว่า สีร้อน ก็เรียกชื่อเปนอย่างอื่นไป ท่านทราบแล้วหรือยังว่า เบญจรงค์ นั้นสีอะไรบ้าง ถ้ายังไม่ทราบก็จะได้ทราบตามที่บอกนี้คือ ขาว เขียว เหลือง ดำ แดง เขียวนั้นหมายถึงคราม ดุจมีคำเปนพยานอยู่ว่า เขียวคราม และ สุดหล้าฟ้าเขียว สีทั้ง ๕ ซึ่งเรียกว่า เบญจรงค์ นั้นเปนแม่สี จะยักย้ายให้เปนสีอะไรไปก็เปนสีที่เอาแม่ใช้ผสมกันทั้งนั้น ถ้าได้สีเบญจรงค์มาแล้วจะเขียนอะไรให้เปนอย่างไรก็ทำได้ทั้งสิ้น สำเร็จด้วยเบญจรงค์ทั้งนั้น
ข้อปฏิสังขรณ์ในเรื่องสานชำระความของท่านนั้นดีมาก ได้หลักฐานมาทีเดียว ที่ฉันบอกมาก่อนเปนแต่เพียงสันนิษฐานเทียบเคียง อันเปนหลักฐานที่ง่อนแง่นอยู่
มี โบสถ์ อยู่อีกคำหนึ่ง ซึ่งแต่ก่อนเขียนคือ ๆ เปน โบด ที่มาเขียนยักย้ายเปน โบสถ์ เห็นจะเปนคำ พระอุโบสถ พาไป ที่จริงเรียกว่า พระอุโบสถ ดูก็หาถูกไม่ คำ อุโบสถ นั้นเปนชื่อกาละต่างหาก ไม่ใช่ชื่อสถานที่ อันคำ พระอุโบสถ นั้น ที่จะมาแต่คำว่า โรงอุโบสถ พวกเดียวกับ ธรรมศาลา ที่วัดพระธาตุนครศรีธรรมราช ท่านได้สังเกตบ้างหรือเปล่าว่าในภาษาไทยถิ่นต่าง ๆ เขาเขียน โบสถ์ กันอย่างไร เขาหมายความกันว่าอย่างไร
ที่ลานอันแวดล้อม คาเซิล เรียกว่า บริเวณ นั้น เห็นจะเลื่อนมาจากเอากุฎฤษีเปน คาเซิล นั่นเอง เหมือนกับ โคตร ซึ่งเดิมหมายถึงดอกงัว ฉันไม่ประหลาดใจเลยที่เอาคนไปเปนงัว ด้วยคติของชาวอินเดียชื่นชอบกันที่งัวยิ่งนัก ถือกันว่าเปนทรัพย์ จนมีคำปรากฏอยู่ว่า นตฺถิโคสมิกํธนํ กระทั่งจะทำให้สะอาดก็ใช้ราดด้วยมูตคูธงัว
ตัวอย่างคำ เผือน ซึ่งท่านให้ไป ทำใจฉันให้กระหวัดไปถึงคำ เผือ ที่มีใช้อยู่ในลิลิตเรื่องพระลอ แต่ในที่นั้นไม่มีตัว น สกด แล้วก็นึกเห็นว่าคล้ายกับคำ เพื่อน ซึ่งใช้พูดเปนตีคอ ถ้าหากว่าเปน เผือ หรือ เพื่อน ก็เข้าคำตัวอย่างที่ท่านอ้างได้หมดทุกแห่ง แต่ความรู้สึกอันนี้ไม่มีหลักฐานอะไรเลย
ท่านให้คำ ป่า ดง เถื่อน ไปนั้นจับใจเปนอันมาก คำว่า ดง ดูเหมือนจะหมายความว่า สิ่งเดียวกันอยู่ด้วยกันเปนหมู่ เช่น ดงหนาด ดงรัง เปนต้น ส่วนคำ ป่า สังเกตว่าใช้ในคำบอกชะนิดที่ เช่น ป่าแดง ป่าละเมาะ เปนต้น แม้จะอยู่ใกล้ ๆ บ้าน ที่นอกเมืองก็เรียกว่า ป่า จะตกเปนว่าที่รกร้าง ยังไม่ได้ทำให้เปนประโยชน์ ก็เรียกว่า ป่า ส่วนคำ เถื่อน นั้นแหละทีจะเปนป่าจริงๆ แต่ทุกวันนี้ใช้กันไปเปน ๒ ทาง ใช้เรียกสัตว์ต่าง ๆ อย่างหนึ่ง เช่น ไก่เถื่อน เปนต้น กับของหนีภาษี เช่น ฝิ่นเถื่อน เหล้าเถื่อน เปนต้น แต่นั่นก็หมายถึงป่านั่นเอง เพราะของป่าไม่ต้องเสียภาษี ตามที่ว่านี้ ก็ว่าไปตามส่วนมาก แต่การใช้สับปลับนั้น จะต้องมีอยู่เปนธรรมดา
เลขผา ท่านนึกว่าจะเปนหางเลข ตามที่นึกนั้นติดจะพร่อง คำว่า หางเลข นั้นก็เรียกอย่างความรู้บกพร่องเสียแล้ว ที่แท้เขาเรียกว่า เลขหวัด คือเขียนไม่ต้องหยักเพื่อให้เขียนได้ง่ายเร็ว ควรแก่การคำนวน คำ เลขผา ถ้าจะแปลเพื่อหัวเราะกันเล่น จะแปลว่า ศิลาจารึก ก็ได้ เลข แปลว่า จาร ผา แปลว่า หิน
ขนัน มาได้ตรงกันเข้ากับการผูกยันตร์ ปิดปากหม้อผีกุมาร ซึ่งตายเมื่อคลอด จะเอาไปถ่วงน้ำ เห็นจะยืดมาแต่คำ กัน กั้น ขั้น คั่น คำ ขนัน อาจเรียกเคลื่อนเปน ขนอน ไปก็ได้กระมัง หรือจะยืดมาแต่คำ ขอน ก็เปนได้เหมือนกัน