- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ภาคผนวก
๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
กรมศิลปากร
วันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
ขอประทานกราบทูล ทรงทราบใต้ฝ่าพระบาท
ข้าพระพุทธเจ้าได้รับลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๙ พฤษภาคม ประทานพระอธิบายเรื่องพระตราลางองค์ และสมุดเส้นชาดพระตราต่าง ๆ ประทานคืนมายังข้าพระพุทธเจ้า ทั้งนี้พระเดชพระคุณล้นเกล้า ฯ หาที่สุดมิได้
เป็นเคราะห์ดีของข้าพระพุทธเจ้า ที่ทรงพระกรุณาประทานพระอธิบายในพระตราลางองค์ มิฉะนั้นข้าพระพุทธเจ้าอาจหลงเข้าใจผิดได้มากๆ เมื่อเร็วๆ นี้ กองอาลักษณ์ได้มอบพระตราหมู่หนึ่งมาเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถาน เป็นพระตราที่สร้างขึ้นใช้ในราชการเสือป่าแทบทั้งนั้น มีของเก่า คือ ตราพระยมขี่สิงห์ ของกระทรวงเมือง นอกนี้มีพระตราปลีกซึ่งข้าพระพุทธเจ้าไม่ทราบเกล้าฯ อยู่อีก ๒-๓ องค์ จะพึ่งความรู้จากชื่อที่จดบัญชีไว้ก็ไม่ได้ เพราะรัวเต็มที ข้าพระพุทธเจ้าได้วานเจ้าหน้าที่อัดเส้นชาดอยู่ สอบถามเจ้าหน้าที่ได้ความว่า ตราพระสยามโลกัขราชอยู่ที่อาลักษณ์ ยังใช้ประทับในเอกสารที่เกี่ยวกับที่วิสุงคามสีมาอยู่ ข้าพระพุทธเจ้ายังไม่มีโอกาศพบเจ้าหน้าที่กองอาลักษณ์ เพื่อซักถามว่า ทำไมจึงใช้ตราดวงนี้ในเรื่องที่เกี่ยวกับวัด
ข้าพระพุทธเจ้าได้ทำบันทึกเรื่องพระตรา ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดประทานข้าพระพุทธเจ้าไว้ รวบรวมฉะเพาะพระตราที่ทราบเรื่องได้แล้ว และจะได้ขอร้องช่างเขียนในกรมศิลปากรจำลองลายพระตราเหล่านี้ขึ้นไว้ด้วย ถ้าทำได้อย่างนี้ จะเป็นประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่นักเรียนและผู้ศึกษา แต่ในการทำบันทึกขึ้นนี้ ข้าพระพุทธเจ้าได้ตัดเติมข้อความในพระอธิบายหลายแห่ง เพื่อให้เหมาะแก่การ ทั้งนี้จะชอบด้วยพระดำริห์หรือสถานไร ข้าพระพุทธเจ้าขอรับพระบารมีปกเกล้า ฯ เป็นที่พึ่ง พระอาญาไม่พ้นเกล้า ฯ
อนึ่ง พระอธิบายเรื่องต่าง ๆ ที่โปรดประทานแก่ข้าพระพุทธเจ้า ย่อมเป็นความรู้อันหาค่ามิได้ ข้าพระพุทธเจ้าย่อมรู้สึกทราบซึ้งในพระกรุณาคุณที่ทรงพระเมตตาแก่ข้าพระพุทธเจ้าโดยฉะเพาะ แต่เมื่อคำนึงถึงความรู้เหล่านี้ ข้าพระพุทธเจ้าได้ไว้เป็นความรู้ฉะเพาะตัว ก็นับว่าเป็นบุญลาภอันยิ่งใหญ่ของข้าพระพุทธเจ้าอยู่ แต่ยังมีคนอื่นอีกมากที่ใส่ใจในความรู้ ไม่มีโอกาศดีเหมือนข้าพระพุทธเจ้า ถ้าข้าพระพุทธเจ้าจะแบ่งความรู้ที่ข้าพระพุทธเจ้าได้ไว้ ให้เป็นประโยชน์ในการศึกษา ก็จะได้กุศลแรง ข้าพระพุทธเจ้าได้เคยนึกอย่างนี้ แต่ไม่กล้ากราบทูลขอพระกรุณา เพราะข้อความที่ประทานพระอธิบายมายังข้าพระพุทธเจ้านี้ ลางแห่งก็เป็นเรื่องที่ทรงสันนิษฐานเล่น ไม่มีพระประสงค์จะให้เป็นอย่างอื่น ข้าพระพุทธเจ้าจึงระงับไว้ ด้วยเกรงจะเป็นที่ขุ่นเคืองพระทัย และไม่ต้องด้วยพระอัธยาศัย แต่เมื่อมาคิดดูอีกครั้งหนึ่ง ถ้าข้าพระพุทธเจ้าจะรวบรวมพระอธิบายเหล่านี้จัดเข้าหมวดหมู่ ดังที่ทำบันทึกเรื่องพระตรา ซึ่งถวายมานี้แล้วเก็บรักษาไว้ หรือจัดตีพิมพ์ขึ้นในเวลาอันควรเพื่อไม่ให้ศูนย์ ก็น่าจะทรงพระเมตตา การทั้งนี้จะเป็นสมควรหรือสถานไร ข้าพระพุทธเจ้าขอรับพระบารมีปกเกล้า ฯ พระอาญาไม่พ้นเกล้า ฯ
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ
ข้าพระพุทธเจ้า
ขอประทานกราบทูล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์