- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๓)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๓)
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น (๒)
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส (๒)
- ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
- ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- ภาคผนวก
๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ยส
กรมศิลปากร
วันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒
ขอประทานกราบทูล ทรงทราบใต้ฝ่าพระบาท
ข้าพระพุทธเจ้านึกใฝ่ฝันอยู่ด้วยเรื่องบรรจุศพนั่ง ที่ในหนังสือลิลิตพระลอ กล่าวว่าใช้โลง ก็ต้องหมายความว่าการบรรจุศพนั่งเป็นของเกิดขึ้นใหม่ไม่สู้ช้านานนัก แต่ไฉนจึงหาเรื่องไม่พบ และไทยถิ่นอื่นก็ไม่ใช้บรรจุศพนั่ง ตัวอย่างบรรจุศพนั่งของชาติต่าง ๆ ที่พบก็เป็นของชาติอยู่ห่างไกลออกไป จะมาเกี่ยวข้องกับไทยถึงกับนำเอาประเพณีอย่างนี้มาใช้โดยไม่มีเหตุผลที่สำคัญ ก็เป็นไม่ได้ ประเพณีของชาติที่ไทยอาจยืมมาได้ก็ต้องเป็นชาติจีน แต่การทำศพของจีนที่ใช้บรรจุศพนั่งก็มีแต่ศพภิกษุลางองค์ที่นับถือว่าศักดิ์สิทธิ์ และใช้ฝัง ดูเรื่องไม่เกี่ยวข้องกับประเพณีการบรรจุศพนั่งของไทย มาเมื่อวานนี้ข้าพระพุทธเจ้าพบเรื่องทำศพของภิกษุจีนเรื่องหนึ่งซึ่งฝรั่งแต่งไว้ว่า ธรรมเนียมทำศพหลวงจีนมี ๓ ประการ คือ เผา ฝัง และทำศพให้แห้งในท่านั่งสมาธิเพื่อเก็บไว้ แต่ที่ใช้กันมากและถือว่าเป็นเกียรติยศก็คือเผา การเผานั้นใช้บรรจุลงในหีบ ๔ เหลี่ยม ให้ศพอยู่ในท่านั่ง เอาด้ายมัดมือให้พนมและเอาผ้าเหลืองห่ออีกที ลางทีก็ใช้ตุ่มขนาดใหญ่เรียกว่า กัง ซึ่งเขาจัดเตรียมไว้ในวัดหลาย ๆ ใบ การเผาแต่เดิมใช้ไม้จันทน์ แต่ไม้จันทน์เป็นของมีราคาแพง ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็นใช้ไม้ฟืนธรรมดา มีไม้จันทน์ปนบ้างเล็กน้อย การเผาศพนั้นแต่โบราณมา เมื่อพุทธศาสนากำลังรุ่งเรืองอยู่ในประเทศจีน ประชาชนนิยมเผาศพเอาอย่างพระ แต่พวกนับถือลัทธิขงจู๊ไม่นิยม เพราะผิดประเพณีจีน ในที่สุด เมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๓ จึงได้ประกาศห้ามไม่ให้ราษฎรเผาศพ อนุญาตให้เผาได้แต่ภิกษุเท่านั้น
ในประเทศธิเบต มีการทำศพ คือ เผา ฝัง ทำศพให้แห้งเก็บไว้ และโยนทิ้ง ที่ใช้กันมากคือโยนทิ้ง เผาไม่ค่อยมี เพราะหาฟืนยาก ส่วนพวกภิกษุลามะชั้นผู้ใหญ่ใช้ทำศพให้แห้งในท่านั่งสมาธิ โดยเอาเข้าบรรจุหีบโลหะใส่เกลือไว้ก่อน
<img>
๑ พระอาทิตย์ ทรงราชสีห์
๒ พระจันทร์ ทรงม้า
๓ พระอังคาร ทรงกระบือ
๔ พระพุธ ทรงช้าง
๕ พระพฤหัสบดี ทรงเนื้อ
๖ พระศุก ทรงโค
๗ พระเสาร์ ทรงเสือ
๘ พระราหู ทรงครุฑ
๙ พระเกษ ทรงนาค
[สำเนารายงานถ้อยคำโหร ดูภาคผนวก ท้ายเล่ม]
เรื่องทำศพในท่านั่งของจีนและธิเบต คงสืบมาจากประเพณีของชาวฮินดู ที่ทำศพพวกนักบวชให้เปนท่านั่ง ประเพณีนี้น่าจะติดมาถึงไทยในเมืองจีน เพราะก่อนที่ไทยได้รับพุทธศาสนาจากนิกายใต้ คงจะได้คติพุทธศาสนาอย่างมหายานจากธิเบตหรือจีนมาบ้างแล้ว ซึ่งเซอร์ยอชสกอตได้ให้ความเห็นและอ้างหลักฐานต่างๆ ไว้ในหนังสือเรื่อง Buddhism in The Shan States ข้อนี้ข้าพระพุทธเจ้าออกจะเห็นด้วย เพราะคำที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาของพะม่าก็เป็นอย่างจีนอยู่มากคำ หาใช่เป็นภาษาบาลีอย่างไทยไม่ ข้าพระพุทธเจ้าได้จดคำเหล่านี้ไว้ได้หลายคำ จึงคิดเห็นด้วยเกล้า ฯ ว่าประเพณีบรรจุศพนั่ง ไทยจะได้มาแต่ครั้งยังอยู่ในตอนใต้ของประเทศจีน และอาจใช้แก่ศพผู้ซึ่งนับถือว่าเป็นคนศักดิ์สิทธิ์ และผู้ศักดิ์สิทธิ์นั้นอาจเป็นชั้นหัวหน้าหรือพระเจ้าแผ่นดินองค์หนึ่งก็ได้ ภายหลังจึงติดต่อไปถึงผู้อื่นที่ไม่ใช่ศักดิ์สิทธิ์ด้วย สืบเป็นประเพณีกันมาในลางสาขา ตามที่กราบทูลมานี้ เป็นเพราะข้าพระพุทธเจ้ากำลังใฝ่ฝันอยู่ จึงลองคิดหาแนวทางสำหรับค้นคว้าต่อไป การจะควรสถานไร ขอรับพระบารมีเป็นที่พึ่ง แล้วแต่จะทรงพระกรุณา
มีผู้บอกข้าพระพุทธเจ้าว่า คำว่า ตัดหน้าฉาน ไม่ฉะเพาะใช้แต่ตัดหน้ากระบวนเสด็จเท่านั้น แม้หน้าพระบรมมหาราชวังก็เรียกว่า หน้าฉาน ได้ ถ้าใช้ได้ ความก็มาเข้ากับความหมายกับคำว่า สาน หรือ ศาล
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ
ข้าพระพุทธเจ้า
ขอประทานกราบทูล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์