- คำนำ
- บานแผนก
- รายงานทูลเกล้าฯ ถวาย
- บานแผนกเดิม
- ๑. สร้างกรุงรัตนโกสินทร์
- ๒. พระราชพิธีปราบดาภิเษก
- ๓. ประดิษฐานพระราชวงศ์
- ๔. ตั้งข้าราชการวังหลวง
- ๕. แบ่งหัวเมืองขึ้น กลาโหม มหาดไทย กรมท่า
- ๖. ตั้งข้าราชการวังหน้า
- ๗. ตั้งตำแหน่งพระราชาคณะ
- ๘. พงศาวดารเขมร ตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรีจนนักองเองเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ
- ๙. พระราชทานคืนพระบาง และให้เจ้านันทเสนไปครองเมืองล้านช้าง
- ๑๐. องเชียงสือญวนเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
- ๑๑. เรื่องพงศาวดารญวน
- ๑๒. พระยาปังกลิมาเจ้าเมืองกำปอดแข็งเมือง
- ๑๓. พงศาวดารพม่า ตั้งแต่มังหม่องเป็นกบฏ จนพระเจ้าปะดุงได้เมืองยะไข่
- ๑๔. อ้ายกบฏ ๒ คนเข้าวังหน้า
- ๑๕. เจ้าพระยาอภัยภูเบศรไปรั้งเมืองเขมร
- ๑๖. ทัพพระยานครสวรรค์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๑๗. สร้างพระนคร
- ๑๘. สร้างพระราชมนเทียร
- ๑๙. ทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๒๐. สร้างพระมหาปราสาท
- ๒๑. สร้างวัดพระแก้ว
- ๒๒. ตำนานพระแก้วมรกต
- ๒๓. ปฏิสังขรณ์วัดสลัก
- ๒๔. ปิดคลองลัด
- ๒๕. ทำศพเจ้ากรุงธนบุรี
- ๒๖. ได้ช้างสำคัญ
- ๒๗. ลดตำแหน่งพระเจ้านครศรีธรรมราช และตั้งเจ้าพระยานครพัด
- ๒๘. พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
- ๒๙. สมโภชพระนคร
- ๓๐. กรมหลวงอิศรสุนทรเสด็จมาอยู่พระราชวังเดิม
- ๓๑. น้ำมากข้าวแพง
- ๓๒. ศึกพม่าครั้งที่ ๑
- ๓๓. รบพม่าเมืองกาญจนบุรี
- ๓๔. รบพม่าเมืองราชบุรี
- ๓๕. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จแหลมมลายู
- ๓๖. รบพม่าทางเมืองเหนือ
- ๓๗. ตั้งกรมพระราชวังหลัง
- ๓๘. รบพม่าทางแหลมมลายู
- ๓๙. ปราบเมืองมลายู
- ๔๐. หล่อปืนใหญ่
- ๔๑. ตั้งท้าวเทพสตรี ท้าวศรีสุนทร
- ๔๒. สร้างวังเจ้าเขมร
- ๔๓. องเชียงสือหนีจากกรุงเทพฯ
- ๔๔. ศึกพม่าครั้งที่ ๒
- ๔๕. สร้างมณฑปพระพุทธบาท
- ๔๖. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จไปตั้งเมืองเชียงใหม่
- ๔๗. พระราชทานเรือและเครื่องอาวุธช่วยองเชียงสือ
- ๔๘. ทัพหลวงไปตีเมืองทวาย
- ๔๙. ฝรั่งเข้ามาพนันชกมวย
- ๕๐. พระราชทานเรือรบและปืนช่วยองเชียงสือ
- ๕๑. ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่
- ๕๒. องเชียงสือถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๑ พระราชทานกำลังช่วยองเชียงสือ
- ๕๓. ทำสังคายนาพระไตรปิฎก
- ๕๔. องเชียงสือถวายข้าวสาร
- ๕๕. ไฟไหม้พระมหาปราสาท
- ๕๖. ปราบรายาเมืองตานี
- ๕๗. องเชียงสือตั้งตัวเป็นเจ้าอนัมก๊ก ถวายต้นไม้ทองเงินเป็นครั้งที่ ๒
- ๕๘. ทัพเวียงจันทน์รบญวนไกเซิน
- ๕๙. เจ้าอนัมก๊กกล่าวโทษเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์
- ๖๐. แขกเซียะตีเมืองสงขลา
- ๖๑. เจ้าอนัมก๊กถวายเรือรบ และพระราชทานปืนตอบ
- ๖๒. ทัพเวียงจันทน์ตีเมืองหลวงพระบาง
- ๖๓. เมืองทวายสวามิภักดิ์
- ๖๔. เจ้าอนัมก๊กมีศุภอักษรนัดให้ไปตีเมืองตังเกี๋ย
- ๖๕. ทัพพระยายมราชยกไปเมืองทวาย
- ๖๖. ทัพหลวงยกไปเมืองทวาย
- ๖๗. ยกทัพหลวงไปตีเมืองพม่า
- ๖๘. ทวายเป็นกบฏ
- ๖๙. เจ้าอนัมก๊กขอตราให้หัวเมืองช่วยการทัพ และถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๓
- ๗๐. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๗๑. ญวนไกเซินขอเป็นไมตรี
- ๗๒. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (ศุข) ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และนักองเอง
- ๗๓. ตั้งนักองเองออกไปครองกรุงกัมพูชา นักองเองถวายเมืองพระตะบองเสียมราฐ
- ๗๔. ถอดเจ้านครล้านช้าง
- ๗๕. ได้ช้างเผือกพระอินทรไอยรา
- ๗๖. ศึกพม่าครั้งที่ ๓
- ๗๗. เชิญพระพุทธสิหิงก์มากรุงเทพฯ
- ๗๘. กรมพระราชวังบวรฯ ทรงผนวช
- ๗๙. สมเด็จพระนารายณ์รามารับอากับครอบครัวไปเมืองเขมร
- ๘๐. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๔
- ๘๑. การพระเมรุพระบรมอัฐิสมเด็จพระชนกาธิบดี
- ๘๒. เกิดเหตุบาดหมางในระหว่าง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๘๓. สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีพระเจ้ากรุงกัมพูชาพิราลัย
- ๘๔. ข่าวศึกพม่า กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จเมืองเชียงใหม่
- ๘๕. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๕
- ๘๖. ฉลองพระมณฑปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- ๘๗. ข่าวศึกพม่า
- ๘๘. สมเด็จพระพี่นางสิ้นพระชนม์
- ๘๙. โปรดให้กองทัพเขมรไปช่วยเจ้าอนัมก๊ก
- ๙๐. เพลิงไหม้สำเพ็ง
- ๙๑. สร้างและฉลองวัดพระเชตุพน
- ๙๒. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๖
- ๙๓. ได้ช้างเผือกพระเทพกุญชร
- ๙๔. เพลิงไหม้วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์
- ๙๕. เจ้าอนัมก๊กได้เมืองญวนและตั้งตัวเป็นพระเจ้ากรุงเวียตนามยาลอง
- ๙๖. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๙๗. ศึกพม่าครั้งที่ ๔
- ๙๘. นักองจันท์ นักองสงวน เข้ามาเฝ้า
- ๙๙. พระเจ้าเวียตนามถวายของสนองพระคุณ
- ๑๐๐. กองทัพไทยไปตีเมืองเชียงแสน
- ๑๐๑. ตั้งเจ้าเชียงใหม่
- ๑๐๒. ได้ช้างสีทองแดงพระบรมฉัททันต์
- ๑๐๓. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๐๔. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคต
- ๑๐๕. พระราชประวัติกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๐๖. สิ่งซึ่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงสร้าง
- ๑๐๗. เรื่องหม่อมลำดวน หม่อมอินทปัต
- ๑๐๘. เลื่อนกรมขุนเสนานุรักษ์และตั้งกรมขุนพิทักษ์มนตรี
- ๑๐๙. กองทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์กลับจากเมืองเชียงแสน
- ๑๑๐. การพระเมรุกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๑๑. พระเจ้าเวียตนามมีราชสาสน์มาทูลเตือน ให้ตั้งกรมพระราชวังบวรฯ
- ๑๑๒. เกณฑ์ทัพไปตีเมืองเชียงตุง เชียงรุ้ง
- ๑๑๓. ตั้งเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๑๔. ตั้งเจ้าอนุครองเมืองเวียงจันทน์
- ๑๑๕. กรมหลวงเทพหริรักษ์สิ้นพระชนม์
- ๑๑๖. ชำระกฎหมาย
- ๑๑๗. ได้ช้างสำคัญพระบรมนัขมณีและพระบรมคชลักษณ์
- ๑๑๘. ได้เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ้ง และเมืองลื้อ สิบสองปันนา
- ๑๑๙. พระเจ้ากรุงเวียตนามมีราชสาสน์ถวายบรรณาการ
- ๑๒๐. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๒๑. กรมพระราชวังหลังทิวงคต
- ๑๒๒. ตั้งนักองจันท์เป็นสมเด็จพระอุทัยราชาเจ้ากรุงกัมพูชา
- ๑๒๓. พระราชพิธีอุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
- ๑๒๔. ตั้งพระบัณฑูรน้อย และตั้งกรมเจ้านาย
- ๑๒๕. การพระเมรุกรมพระราชวังหลัง
- ๑๒๖. พระเจ้าเวียตนามมีพระราชสาสน์ทรงยินดีในการอุปราชาภิเษก
- ๑๒๗. กรมหลวงจักรเจษฎาสิ้นพระชนม์
- ๑๒๘. ได้ช้างสำคัญ
- ๑๒๙. สมเด็จพระอุทัยทูลขอนักองอี นักองเภา
- ๑๓๐. เชิญพระพุทธรูปพระศรีศากยมุนีมากรุงเทพฯ
- ๑๓๑. ปราบปรามเมืองยิริง
- ๑๓๒. เจ้าฟ้ากรมขุนศรีสุนทรเทพสิ้นพระชนม์
- ๑๓๓. โสกันต์เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๓๔. แห่สระสนานใหญ่แห่พระกฐินและมีกระจาดใหญ่กัณฑ์เทศน์มหาชาติ
- ๑๓๕. ผลประโยชน์แผ่นดิน
- ๑๓๖. วัดที่ได้ทรงปฏิสังขรณ์
- ๑๓๗. พระราชานุกิจ
- ๑๓๘. สมเด็จพระอุทัยราชาเข้ามาเฝ้า
- ๑๓๙. งานสมโภชพระแก้วมรกต
- ๑๔๐. สวรรคต
- ๑๔๑. พระราชประวัติ
- ๑๔๒. เสนาบดีในรัชกาลที่ ๑
- ภาคผนวก
- หมายรับสั่ง เรื่อง ยกประตูพระบรมมหาราชวัง จ.ศ. ๑๑๔๔
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์ไพร่หลวง ไทย มอญ รับแขกเมือง ณ แม่น้ำน้อย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์แห่เรือรับพระบรมสารีริกธาตุจากเมืองทวาย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายกำหนดการ เรื่อง มหาอุปราชาภิเษก จ.ศ. ๑๑๖๘
- หมายกำหนดการ เรื่อง ฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จ.ศ. ๑๑๗๑
๙๑. สร้างและฉลองวัดพระเชตุพน
เมื่อจุลศักราช ๑๑๕๑ ปีระกา เอกศก[๗๘] เป็นปีที่ ๘ ในรัชกาลที่ ๑ นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จทอดพระเนตรเห็นวัดโพธารามเก่าชำรุดปรักหักพังเป็นอันมาก ทรงพระราชศรัทธาจะสร้างให้บริบูรณ์งามขึ้นกว่าเก่า พื้นที่ซึ่งเป็นที่ลุ่มดอนห้วยคลองสระบ่อร่องคูอยู่นั้น ทรงพระกรุณาให้ขอแรงคน ๒๐,๐๐๐ เศษ ขนดินมาถมเต็มแล้ว รุ่งขึ้นปีหนึ่งสองปีกลับยุบลุ่มไป จึงซื้อมูลดินถม สิ้นพระราชทรัพย์ ๒๕๐ ชั่ง ๑๕ ตำลึง จึงให้ปราบที่พูนมูลดินเสมอดีแล้ว
ครั้น ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๑๒ แรม ๑๑ คํ่า ปีฉลู เบญจศก จุลศักราช ๑๑๕๕ ให้จับการปฏิสังขรณ์สร้างพระอุโบสถ มีกำแพงแก้วกระเบื้องปรุล้อมรอบ พื้นในกำแพงแก้วและหว่างพระระเบียงชั้นใน ก่ออิฐ ๕ ชั้น แล้วดาดปูนทำพระระเบียงล้อม ๒ ชั้น ผนังระเบียงข้างในประดับกระเบื้องปรุ ผนังห้องพระระเบียงเขียนลายแย่ง มุมพระระเบียงนั้นเป็นจัตุรมุขทุกชั้นมีพระวิหาร ๔ ทิศ บรรดาหลังคาพระอุโบสถ พระวิหาร พระระเบียงนั้น มุงกระเบื้องเคลือบสีเหลืองสีเขียวสิ้น ตรงพระวิหารทิศตะวันตกออกไปให้ขุดรากพระเจดีย์ใหญ่ กว้าง ๑๐ วา ลึก ๕ ศอก ตอกเข็มเอาอิฐหักกระทุ้งให้แน่นแล้วเอาไม้ตะเคียนยาว ๙ วาหน้าศอกจตุรัสเรียงระดับประกับกันตราง ๒ ชั้น แล้วจึงเอาเหล็กดอกเห็ดใหญ่ยาว ๒ ศอกตรึงตลอดไม้แกงแนง ๒ ชั้น หว่างช่องแกงแนงนั้นเอาอิฐหักทรายถมกระทุ้งให้แน่นดี รุ่งขึ้น ณ วันศุกร์ เดือน ๓ ขึ้น ๑๐ คํ่า ปีขาล ฉศก จุลศักราช ๑๑๕๖ เวลาเช้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยพระราชวงศานุวงศ์เสนาพฤฒามาตย์ราชปโรหิตโหราจารย์มายังที่ลานพระมหาเจดีย์ จึงให้ชักชะลอพระพุทธปฏิมากรทรงพระนามพระศรีสรรเพ็ชญ์ ซึ่งชำรุดรับมาแต่กรุงเก่าเข้าวางบนราก ได้ศุภฤกษ์ประโคมฆ้องกลองแตรสังข์ดุริยางค์ดนตรี พิณพาทย์ เสด็จทรงวางอิฐทอง อิฐนาก อิฐเงิน ก่อราก ข้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งปวงก็ระดมกันก่อฐานกว้าง ๘ วา ถึงที่บรรจุ จึงเชิญพระบรมธาตุและฉลองพระเขี้ยวแก้วองค์ ๑ พระเขี้ยวทององค์ ๑ พระเขี้ยวนากองค์ ๑ บรรจุในห้องพระมหาเจดีย์ แล้วก่อสืบต่อไปจนสำเร็จ ยกยอดสูง ๘๒ ศอกทำพระระเบียงล้อม ๓ ด้าน ผนังนั้นเขียนนิยายรามเกียรติ์ จึงถวายพระนามว่าพระเจดีย์ศรีสรรเพ็ชญ์ดาญาณตามพระนามพระพุทธปฏิมากร ซึ่งฝังไว้ในพระเจดีย์นั้น และพระพุทธปฏิมากรศรีสรรเพ็ชญ์นี้ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ทรงสร้างเมื่อปีขาล โทศก จุลศักราช ๘๓๒[๗๙] เป็นพระพุทธรูปยืนสูง ๘ วา หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์หุ้มทองคำทั้งพระองค์ ประดิษฐานไว้ในพระวิหารหลวงวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์กรุงเก่า เมื่อกรุงเก่าเสียพม่าลอกทองคำที่หุ้มพระองค์ไปหมด ภายหลังพระอารามนั้นทั้งร้าง พระวิหารพังทับพระพุทธปฏิมากรศรีสรรเพ็ชญ์แตกหักบุบสลายมาก เมื่อทรงสร้างวัดพระเชตุพนโปรดให้เชิญลงมา หมายจะทรงปฏิสังขรณ์ให้เป็นรูปดีดังเก่าอย่างพระโลกนารถ แต่พระศรีสรรเพ็ชญ์ชำรุดมากนัก จะปฏิสังขรณ์ให้คงตามรูปเดิมไม่ได้ จึงทรงพระราชดำริจะเอาทองรวมหลอมหล่อเป็นพระพุทธรูปขึ้นใหม่ ครั้นมีพระราชปุจฉาแก่พระสงฆ์ราชาคณะมีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธานพร้อมกันถวายพระพรว่า ที่จะเอาทองอันเป็นพระพุทธรูปอยู่แล้ว กลับหลอมหล่อใหม่เห็นไม่สมควร จึงโปรดให้เชิญเข้าบรรจุไว้ในพระเจดีย์ และในวงพระระเบียงรอบพระอุโบสถชั้นในมีพระมหาธาตุ ๔ ทิศ นอกพระระเบียงชั้นนอกหว่างพระวิหารคดนั้น มีพระเจดีย์ฐานเดียว ๕ พระองค์ ๔ ทิศ ๒๐ พระองค์ รวมกันทั้งพระมหาเจดีย์ใหญ่พระมหาธาตุเป็น ๒๕ พระองค์ บรรจุพระบรมธาตุสิ้นทุกพระองค์ และมีพระวิหารคด ๔ ทิศกำแพงแก้วคั่นประตูซุ้มประดับกระเบื้องเคลือบ ๒ ประตู มีรูปสัตว์ประตูละคู่ ทำหอไตรมุงกระเบื้องหุ้มดีบุก ฝาและเสาปิดทองลายรดน้ำและตู้รูปปราสาทไว้คัมภีร์พระปริยัติไตรปิฎก ทำการเปรียญหอระฆังพระวิหารน้อยซ้ายขวา สำหรับทายกไหว้พระพุทธรูปขุดสระน้ำ ปลูกพรรณไม้ ศาลาราย ๕ ห้อง ๗ ห้อง ๙ ห้อง เป็น ๑๗ ศาลา เขียนเรื่องพระชาดก ๕๕๐ ชาติ ตั้งตำรายาและฤๅษีดัดตนไว้เป็นทาน ทำกำแพงแก้วล้อมรอบนอก มีประตูซุ้มประดับกระเบื้องถ้วย ๔ ประตู มีรูปอสูรประจำประตูละคู่ มีประตูซุ้มประดับกระเบื้องเคลือบ ๙ ประตู ทั้งประตูกำแพงคั่น ๒ เป็น ๑๑ ประตู มีรูปสัตว์ประตูละคู่ เป็นรูปสัตว์ ๒๒ รูป แล้วทำตึกและกุฎีพระสงฆ์หลังละ๒ ห้อง ๓ ห้อง ๔ ห้อง ๕ ห้อง ๖ ห้อง ๗ ห้อง ฝากระดานมุงกระเบื้อง เป็นกุฎี ๑๒๙ หลัง ทำหอฉัน หอสวดมนต์ ศาลาต้มกรักตากผ้าสระน้ำ ทำกำแพงล้อมกุฎีอีกวง ๑ และริมฝั่งน้ำนั้นมีศาลา ๓ หน้า ต้นสะพานพระสงฆ์สรงน้ำทำเวจกุฎี ๔ หลัง ในพระอุโบสถ พระวิหาร พระระเบียงนั้น เชิญพระพุทธปฏิมากรหล่อด้วยทองเหลืองสัมฤทธิ์ ซึ่งชำรุดปรักหักพังอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก เมืองสวรรคโลก เมืองสุโขทัย เมืองลพบุรี กรุงเก่า วัดศาลาสี่หน้ากรุงเทพฯ ใหญ่น้อย ๑๒๔๘ พระองค์ ลงมาให้ช่างหล่อต่อพระศอ พระเศียร พระหัตถ์ พระบาท แปลงพระพักตร์ พระองค์ให้งาม ประดิษฐานไว้ตามที่อันสมควร
พระพุทธรูปพระประธานวัดศาลาสี่หน้า หน้าตัก ๕ ศอกคืบ ๔ นิ้ว เชิญมาปฏิสังขรณ์เสร็จแล้ว ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ บรรจุพระบรมธาตุ ถวายพระนามว่าพระพุทธเทวปฏิมากร และผนังพระอุโบสถเขียนเรื่องทศชาติทรมานท้าวมหาชมพูและเทพชุมนุม
พระพุทธรูปยืนสูง ๒๐ ศอก ทรงพระนามว่า พระโลกนารถศาสดาจารย์ปรักหักพัง เชิญมาแต่วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์กรุงเก่าปฏิสังขรณ์เสร็จแล้วประดิษฐานในพระวิหารทิศตะวันออกมุขหลัง บรรจุพระบรมธาตุด้วย ผนังเขียนพระโยคาวจรพิจารณาอศุภ ๑๐ และข้ออุปมาญาณ ๑๐
พระพุทธรูปวัดเขาอินทร์เมืองสวรรคโลก หล่อด้วยนากหน้าตัก ๓ ศอกคืบหาพระกรมิได้ เชิญลงมาปฏิสังขรณ์ด้วยนากเสร็จแล้ว ประดิษฐานไว้เป็นพระประธานในพระวิหารทิศตะวันออก บรรจุพระบรมธาตุ ถวายพระนามว่าพระเจ้าตรัสในควงไม้พระมหาโพธิ์ มีต้นพระมหาโพธิ์ด้วย และผนังนั้นเขียนเรื่องมารประจญ
พระพุทธรูปหน้าตัก ๔ ศอก ๔ นิ้ว เชิญลงมาแต่กรุงเก่าปฏิสังขรณ์เสร็จแล้ว ประดิษฐานไว้ในพระวิหารทิศใต้ ถวายพระนามว่าพระพุทธเจ้าเทศนาพระธรรมจักร มีพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ นั่งฟังพระธรรมเทศนาด้วย และผนังนั้นเขียนเรื่องเทศนาพระธรรมจักรและเทศนาดาวดึงส์
พระพุทธรูปหน้าตัก ๓ ศอกคืบ ๔ นิ้ว เชิญมาแต่เมืองลพบุรี ปฏิสังขรณ์เสร็จแล้ว ประดิษฐานไว้ในพระวิหารทิศตะวันตกบรรจุพระบรมธาตุ ถวายพระนามว่าพระนาคปรกมีพระยานาคแผลงฤทธิ์เลิกพังพาน มีต้นจิกด้วย และผนังนั้นเขียนเรื่องพระเกศธาตุ
พระพุทธรูปหล่อใหม่สูง ๘ ศอก ๕ นิ้ว ประดิษฐานไว้ในพระวิหารทิศเหนือบรรจุพระบรมธาตุ ถวายพระนามว่าพระปาเลไลยก์ มีช้างถวายกุณฑีน้ำมีวานรถวายรวงผึ้งและผนังนั้นเขียนไตรภูมิ มีพระสุเมรุราชและเขาสัตตบริภัณฑ์ ทวีปใหญ่ทั้ง ๔ และเขาพระหิมพานต์ สระอโนดาตและปัญจมหานที
พระพุทธรูปในพระอุโบสถอารามเก่าหน้าตัก ๔ ศอกเชิญเข้าประดิษฐานไว้เป็นพระประธานในการเปรียญแล้ว จัดพระพุทธรูปไว้ในพระระเบียงชั้นใน ชั้นนอก และพระวิหารคดเป็นพระพุทธรูปมาแต่หัวเมือง ชำรุดปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ ๖๘๙ พระองค์ พระพุทธรูปทำด้วยอิฐปูนสำหรับพระอารามชำรุดอยู่ ๑๘๓ องค์ รวมกันเป็นพระพุทธรูปและพระอรหันต์ ๘๗๒ องค์ ลงรักปิดทองสำเร็จเหลือนั้นข้าทูลละอองธุลีพระบาท สัปปุรุษชายหญิงรับไปบูรณะไว้ในพระอารามอื่น
การฐาปนาพระอาราม ๗ ปี ๕ เดือน ๒๘ วันจึงสำเร็จ สิ้นพระราชทรัพย์แต่ที่จำได้ คิดค่าดินถม อิฐปูน ไม้ขอนสัก ไม้แก่น เหล็ก กระเบื้อง พื้นไม้ จากทำโรงงาน ร่างร้าน เรือนข้าพระ เสา กระดาน กุฎี น้ำอ้อย น้ำมันยาง ชัน ดีบุก ทองเหลือง ทองแดง ขี้ผึ้งหล่อฐาน และกระจก น้ำรัก ทองคำ กระดาษ ชาด เสน เครื่องเขียน รง ดินแดง พระราชทานช่าง เลี้ยงพระสงฆ์ เลี้ยงช่างช่วยคนชายฉกรรจ์ ๑๖ สำมะโนครัว ๑๒๔ คน เป็นเงิน ๙๕ ชั่ง ๑๑ ตำลึง สักแขนขวาถวายเป็นข้าพระขาดไว้ในพระอาราม ตั้งหลวงพิทักษ์ชินสีห์เจ้ากรม ขุนภักดีรสธรรมปลัดกรม ควบคุมข้าพระและรักษาพระอาราม รวมพระราชทรัพย์ทั้งสิ้นที่สร้างและช่วยคนเป็นเงินตรา ๓,๗๘๕ ชั่ง ๖ ตำลึงแล้วทรงพระกรุณาให้เอาแพรลายย้อมครั่งทรงพระพุทธรูปในพระวิหารทิศพระระเบียง พระวิหารการเปรียญพระมหาธาตุ พระเจดีย์ใหญ่น้อยสิ้นแพร ๑๐๐ พับ แต่พระพุทธเทวปฏิมากร ในพระอุโบสถ ทรงผ้าสีทับทิมชั้นในตาดชั้นนอก
ครั้น ณ วันศุกร์เดือน ๕ แรม ๑๒ ค่ำ ปีระกา ตรีศกจุลศักราช ๑๑๖๓[๘๐] ให้ตั้งการฉลอง อาราธนาพระราชาคณะ ฐานานุกรมอธิการ อันดับฝ่ายคันถธุระ วิปัสสนาธุระ ๑,๐๐๐ รูปพร้อมกันในพระอุโบสถ เวลาบ่ายแล้ว ๔ โมง ๕ บาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระอนุชาธิราช พระราชวงศานุวงศ์ เสนาพฤฒามาตย์ราชปโรหิตาจารย์มายังพระอุโบสถ ทรงสมาทานพระอุโบสถศีล แล้วหลั่งน้ำอุทิศโสทกลงเหนือพระหัตถ์พระพุทธปฏิมากร ถวายพระอารามตามบาลีแก่พระสงฆ์ มีองค์พระพุทธปฏิมากรเป็นประธานและพระราชทานนามพระอารามว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม มอบถวายสมเด็จพระวันรัต พิพัฒนญาณ อดุลยสุนทรนายก ปิฎกธรรมหาคณิศร บวรทักขิณาคณะสังฆารามคามวาสี สถิตในวัดพระเชตุพน แล้วถวายแด่พระพุทธปฏิมากรแพรยกไตร ๑ บาตรเหล็กเครื่องอัฐบริขารพร้อมย่ามกำมะหยี่ เครื่องย่ามพร้อม พัดแพร ร่มแพร เสื่ออ่อน โอเถา โอคณะ กาน้ำ ช้อนมุก ขวดแก้วเต็มด้วยน้ำผึ้ง น้ำมันมะพร้าว น้ำมันยา กลักธูปเทียนสิ่งละ ๑๐๐ ไม้เท้า รองเท้า สายระเดียง พระสงฆ์ ๑,๐๐๐ ได้รับไทยทานทั่วกันทุกรูป ครั้นจบพระบาลืที่ทรงถวาย พระสงฆ์รับสาธุพร้อมกัน ประโคมดุริยดนตรีแตรสังข์ ฆ้องกลองสนั่นไปด้วยศัพท์สำเนียงกึกก้องโกลาหล พระสงฆ์รับไทยทานแล้วไปสรงน้ำครองไตรมาสวดพระพุทธมนต์เวลาเย็นวันละ ๑,๐๐๐ รูป ปฏิบัติพระสงฆ์ฉันเช้า เพล ๓ วัน ๑,๐๐๐ รูป ถวายกระจาดทุกองค์ ให้มีพระธรรมเทศนา บอกอานิสงส์ทุกวันแล้ว ปฏิบัติพระสงฆ์ซึ่งศรัทธาทำดอกไม้เพลิงบูชาพระรัตนตรัยฉันเช้าทั้ง ๗ วันเป็นพระสงฆ์ ๖๒๔ รูป ถวายผ้าสะบงทุกองค์ ถวายบาตรเหล็กซึ่งพระสงฆ์ไม่มีครอง แล้วถวายกระจาด เสื่อ ร่ม รองเท้า ธูปเทียน ไม้เท้าด้วย แล้วให้ตั้งโรงฉ้อทานเลี้ยงสมณชีพราหมณ์อาณาประชาราษฎรทั้งปวงและมีโขนอุโมงค์โรงใหญ่ หุ่น ละคร มอญรำ ระบำ โมงครุ่ม คุลีตีไม้ ปรบไก่ งิ้วจีน ญวนหกคะเมน ต่ายลวด ลอดห่วง รำแพน นอนหอกนอนดาบ สิงโตล่อแล้ว และมวย เวลากลางคืนประดับไปด้วยประทีปแก้วระย้าแล้ว โคมพวง โคมรายมีดอกไม้รุ่งสว่างไปทั้งพระอาราม แล้วให้มีหนังคืนละ ๙ โรง มีดอกไม้เพลิงคืนละ ๒๐๐ พุ่ม ระทาใหญ่ ๘ ระทา พลุ ประทัด พะเนียง ดอกไม้ม้า ดอกไม้กระถาง ดอกไม้กลต่าง ๆ และ มังกรล่อแก้ว ญวนรำโคมเป็นที่โสมนัสบูชาโอฬารึกวิเศษ เป็นพระราชทรัพย์ทิ้งทาน ต้นกัลปพฤกษ์ ฉลากพิกัดราคา พระราชบุตรา และพระราชบุตรี พระภาคิไนยราช และนางพระสนม ราชกุญชร อัศดรนาวา ฉลากละ ๕ ชั่ง ๔ ชั่ง ๒ ชั่ง เป็นเงินตรา ๓๓๘ ชั่ง เงินเข้าผลมะนาว ๑๖๘ ชั่ง รวมกับเงินทิ้งทานเป็นเงินตรา ๕๐๖ ชั่ง คิดทั้งเงินราคาผ้าทรงพระค่าดอกไม้สดบูชา เลี้ยงพระสงฆ์ กระจาดและโรงฉ้อทาน เครื่องไทยทาน ทำเครื่องโขน โรงโขน เครื่องเล่น เบ็ดเสร็จ พระราชทานการมหกรรมสมโภช และถวายระย้าแก้ว โคมแก้ว บูชาไว้ในพระอารามเป็นเงินตราในการฉลอง เงิน ๑,๙๓๐ ชั่ง ๔ ตำลึง คิดรวมกันทั้งสร้าง เป็นพระราชทรัพย์เงิน ๕,๘๑๑ ชั่ง ครั้นเสร็จการฉลองพระอารามแล้ว ภายหลังทรงพระกรุณาเชิญพระพุทธปฏิมากรที่ ๒ ซึ่งสถิตในพระวิหารฝ่ายทักษิณทิศและประจิมทิศนั้นขึ้นไปประดิษฐานไว้ ณ พระวิหารวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ แล้วให้เชิญพระพุทธปฏิมากรทั้ง ๒ พระองค์ซึ่งเชิญมาแต่เมืองสุโขทัยหน้าตัก ๖ ศอกคืบกับนิ้ว ๑ เท่ากัน พระองค์ ๑ ทรงพระนามพระพุทธชินราชประดิษฐานไว้แทนที่ในพระวิหารทักษิณทิศ พระองค์ ๑ ทรงพระนามพระพุทธชินสีห์ ประดิษฐานไว้แทนที่ฝ่ายประจิมทิศคงดังเก่า