- คำนำ
- บานแผนก
- รายงานทูลเกล้าฯ ถวาย
- บานแผนกเดิม
- ๑. สร้างกรุงรัตนโกสินทร์
- ๒. พระราชพิธีปราบดาภิเษก
- ๓. ประดิษฐานพระราชวงศ์
- ๔. ตั้งข้าราชการวังหลวง
- ๕. แบ่งหัวเมืองขึ้น กลาโหม มหาดไทย กรมท่า
- ๖. ตั้งข้าราชการวังหน้า
- ๗. ตั้งตำแหน่งพระราชาคณะ
- ๘. พงศาวดารเขมร ตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรีจนนักองเองเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ
- ๙. พระราชทานคืนพระบาง และให้เจ้านันทเสนไปครองเมืองล้านช้าง
- ๑๐. องเชียงสือญวนเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
- ๑๑. เรื่องพงศาวดารญวน
- ๑๒. พระยาปังกลิมาเจ้าเมืองกำปอดแข็งเมือง
- ๑๓. พงศาวดารพม่า ตั้งแต่มังหม่องเป็นกบฏ จนพระเจ้าปะดุงได้เมืองยะไข่
- ๑๔. อ้ายกบฏ ๒ คนเข้าวังหน้า
- ๑๕. เจ้าพระยาอภัยภูเบศรไปรั้งเมืองเขมร
- ๑๖. ทัพพระยานครสวรรค์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๑๗. สร้างพระนคร
- ๑๘. สร้างพระราชมนเทียร
- ๑๙. ทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๒๐. สร้างพระมหาปราสาท
- ๒๑. สร้างวัดพระแก้ว
- ๒๒. ตำนานพระแก้วมรกต
- ๒๓. ปฏิสังขรณ์วัดสลัก
- ๒๔. ปิดคลองลัด
- ๒๕. ทำศพเจ้ากรุงธนบุรี
- ๒๖. ได้ช้างสำคัญ
- ๒๗. ลดตำแหน่งพระเจ้านครศรีธรรมราช และตั้งเจ้าพระยานครพัด
- ๒๘. พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
- ๒๙. สมโภชพระนคร
- ๓๐. กรมหลวงอิศรสุนทรเสด็จมาอยู่พระราชวังเดิม
- ๓๑. น้ำมากข้าวแพง
- ๓๒. ศึกพม่าครั้งที่ ๑
- ๓๓. รบพม่าเมืองกาญจนบุรี
- ๓๔. รบพม่าเมืองราชบุรี
- ๓๕. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จแหลมมลายู
- ๓๖. รบพม่าทางเมืองเหนือ
- ๓๗. ตั้งกรมพระราชวังหลัง
- ๓๘. รบพม่าทางแหลมมลายู
- ๓๙. ปราบเมืองมลายู
- ๔๐. หล่อปืนใหญ่
- ๔๑. ตั้งท้าวเทพสตรี ท้าวศรีสุนทร
- ๔๒. สร้างวังเจ้าเขมร
- ๔๓. องเชียงสือหนีจากกรุงเทพฯ
- ๔๔. ศึกพม่าครั้งที่ ๒
- ๔๕. สร้างมณฑปพระพุทธบาท
- ๔๖. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จไปตั้งเมืองเชียงใหม่
- ๔๗. พระราชทานเรือและเครื่องอาวุธช่วยองเชียงสือ
- ๔๘. ทัพหลวงไปตีเมืองทวาย
- ๔๙. ฝรั่งเข้ามาพนันชกมวย
- ๕๐. พระราชทานเรือรบและปืนช่วยองเชียงสือ
- ๕๑. ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่
- ๕๒. องเชียงสือถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๑ พระราชทานกำลังช่วยองเชียงสือ
- ๕๓. ทำสังคายนาพระไตรปิฎก
- ๕๔. องเชียงสือถวายข้าวสาร
- ๕๕. ไฟไหม้พระมหาปราสาท
- ๕๖. ปราบรายาเมืองตานี
- ๕๗. องเชียงสือตั้งตัวเป็นเจ้าอนัมก๊ก ถวายต้นไม้ทองเงินเป็นครั้งที่ ๒
- ๕๘. ทัพเวียงจันทน์รบญวนไกเซิน
- ๕๙. เจ้าอนัมก๊กกล่าวโทษเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์
- ๖๐. แขกเซียะตีเมืองสงขลา
- ๖๑. เจ้าอนัมก๊กถวายเรือรบ และพระราชทานปืนตอบ
- ๖๒. ทัพเวียงจันทน์ตีเมืองหลวงพระบาง
- ๖๓. เมืองทวายสวามิภักดิ์
- ๖๔. เจ้าอนัมก๊กมีศุภอักษรนัดให้ไปตีเมืองตังเกี๋ย
- ๖๕. ทัพพระยายมราชยกไปเมืองทวาย
- ๖๖. ทัพหลวงยกไปเมืองทวาย
- ๖๗. ยกทัพหลวงไปตีเมืองพม่า
- ๖๘. ทวายเป็นกบฏ
- ๖๙. เจ้าอนัมก๊กขอตราให้หัวเมืองช่วยการทัพ และถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๓
- ๗๐. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๗๑. ญวนไกเซินขอเป็นไมตรี
- ๗๒. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (ศุข) ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และนักองเอง
- ๗๓. ตั้งนักองเองออกไปครองกรุงกัมพูชา นักองเองถวายเมืองพระตะบองเสียมราฐ
- ๗๔. ถอดเจ้านครล้านช้าง
- ๗๕. ได้ช้างเผือกพระอินทรไอยรา
- ๗๖. ศึกพม่าครั้งที่ ๓
- ๗๗. เชิญพระพุทธสิหิงก์มากรุงเทพฯ
- ๗๘. กรมพระราชวังบวรฯ ทรงผนวช
- ๗๙. สมเด็จพระนารายณ์รามารับอากับครอบครัวไปเมืองเขมร
- ๘๐. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๔
- ๘๑. การพระเมรุพระบรมอัฐิสมเด็จพระชนกาธิบดี
- ๘๒. เกิดเหตุบาดหมางในระหว่าง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๘๓. สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีพระเจ้ากรุงกัมพูชาพิราลัย
- ๘๔. ข่าวศึกพม่า กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จเมืองเชียงใหม่
- ๘๕. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๕
- ๘๖. ฉลองพระมณฑปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- ๘๗. ข่าวศึกพม่า
- ๘๘. สมเด็จพระพี่นางสิ้นพระชนม์
- ๘๙. โปรดให้กองทัพเขมรไปช่วยเจ้าอนัมก๊ก
- ๙๐. เพลิงไหม้สำเพ็ง
- ๙๑. สร้างและฉลองวัดพระเชตุพน
- ๙๒. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๖
- ๙๓. ได้ช้างเผือกพระเทพกุญชร
- ๙๔. เพลิงไหม้วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์
- ๙๕. เจ้าอนัมก๊กได้เมืองญวนและตั้งตัวเป็นพระเจ้ากรุงเวียตนามยาลอง
- ๙๖. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๙๗. ศึกพม่าครั้งที่ ๔
- ๙๘. นักองจันท์ นักองสงวน เข้ามาเฝ้า
- ๙๙. พระเจ้าเวียตนามถวายของสนองพระคุณ
- ๑๐๐. กองทัพไทยไปตีเมืองเชียงแสน
- ๑๐๑. ตั้งเจ้าเชียงใหม่
- ๑๐๒. ได้ช้างสีทองแดงพระบรมฉัททันต์
- ๑๐๓. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๐๔. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคต
- ๑๐๕. พระราชประวัติกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๐๖. สิ่งซึ่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงสร้าง
- ๑๐๗. เรื่องหม่อมลำดวน หม่อมอินทปัต
- ๑๐๘. เลื่อนกรมขุนเสนานุรักษ์และตั้งกรมขุนพิทักษ์มนตรี
- ๑๐๙. กองทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์กลับจากเมืองเชียงแสน
- ๑๑๐. การพระเมรุกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๑๑. พระเจ้าเวียตนามมีราชสาสน์มาทูลเตือน ให้ตั้งกรมพระราชวังบวรฯ
- ๑๑๒. เกณฑ์ทัพไปตีเมืองเชียงตุง เชียงรุ้ง
- ๑๑๓. ตั้งเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๑๔. ตั้งเจ้าอนุครองเมืองเวียงจันทน์
- ๑๑๕. กรมหลวงเทพหริรักษ์สิ้นพระชนม์
- ๑๑๖. ชำระกฎหมาย
- ๑๑๗. ได้ช้างสำคัญพระบรมนัขมณีและพระบรมคชลักษณ์
- ๑๑๘. ได้เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ้ง และเมืองลื้อ สิบสองปันนา
- ๑๑๙. พระเจ้ากรุงเวียตนามมีราชสาสน์ถวายบรรณาการ
- ๑๒๐. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๒๑. กรมพระราชวังหลังทิวงคต
- ๑๒๒. ตั้งนักองจันท์เป็นสมเด็จพระอุทัยราชาเจ้ากรุงกัมพูชา
- ๑๒๓. พระราชพิธีอุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
- ๑๒๔. ตั้งพระบัณฑูรน้อย และตั้งกรมเจ้านาย
- ๑๒๕. การพระเมรุกรมพระราชวังหลัง
- ๑๒๖. พระเจ้าเวียตนามมีพระราชสาสน์ทรงยินดีในการอุปราชาภิเษก
- ๑๒๗. กรมหลวงจักรเจษฎาสิ้นพระชนม์
- ๑๒๘. ได้ช้างสำคัญ
- ๑๒๙. สมเด็จพระอุทัยทูลขอนักองอี นักองเภา
- ๑๓๐. เชิญพระพุทธรูปพระศรีศากยมุนีมากรุงเทพฯ
- ๑๓๑. ปราบปรามเมืองยิริง
- ๑๓๒. เจ้าฟ้ากรมขุนศรีสุนทรเทพสิ้นพระชนม์
- ๑๓๓. โสกันต์เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๓๔. แห่สระสนานใหญ่แห่พระกฐินและมีกระจาดใหญ่กัณฑ์เทศน์มหาชาติ
- ๑๓๕. ผลประโยชน์แผ่นดิน
- ๑๓๖. วัดที่ได้ทรงปฏิสังขรณ์
- ๑๓๗. พระราชานุกิจ
- ๑๓๘. สมเด็จพระอุทัยราชาเข้ามาเฝ้า
- ๑๓๙. งานสมโภชพระแก้วมรกต
- ๑๔๐. สวรรคต
- ๑๔๑. พระราชประวัติ
- ๑๔๒. เสนาบดีในรัชกาลที่ ๑
- ภาคผนวก
- หมายรับสั่ง เรื่อง ยกประตูพระบรมมหาราชวัง จ.ศ. ๑๑๔๔
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์ไพร่หลวง ไทย มอญ รับแขกเมือง ณ แม่น้ำน้อย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์แห่เรือรับพระบรมสารีริกธาตุจากเมืองทวาย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายกำหนดการ เรื่อง มหาอุปราชาภิเษก จ.ศ. ๑๑๖๘
- หมายกำหนดการ เรื่อง ฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จ.ศ. ๑๑๗๑
๓๘. รบพม่าทางแหลมมลายู
ฝ่ายกองทัพพม่าซึ่งพระเจ้าอังวะให้ยกลงไปตีหัวเมืองไทยฝ่ายตะวันตกตามชายทะเลนั้น ก็ยกกองทัพบกเรือลงไปพร้อมกันอยู่ ณ เมืองมะริด แต่เดือนอ้ายปีมะเส็ง[๔๗] สัปตศก แกงวุ่นแมงยี่ แม่ทัพใหญ่จึงให้ยี่วุ่นเป็นนายทัพถือพล ๓,๐๐๐ กับนายทัพนายกองทั้งปวงยกทัพเรือลงไปทางทะเลไปตีเมืองถลาง แล้วให้เนมโยคุงนรัดเป็นทัพหน้า กับนายทัพนายกองทั้งปวงถือพล ๒,๕๐๐ ยกทัพบกมาทางเมืองกระบุรี เมืองระนอง เข้าตีเมืองชุมพร ตัวแกงวุ่นแมงยี่แม่ทัพใหญ่ถือพล ๔,๕๐๐ ยกหนุนมาทั้ง ๒ ทัพ เป็นคน ๗,๐๐๐ และทัพหน้ายกเข้ามาถึงเมืองชุมพร เจ้าเมืองกรมการมีไพร่พลสำหรับเมืองน้อยนัก เห็นจะต่อรบมิได้ ก็อพยพพาครอบครัวหนีเข้าป่า ทัพพม่าก็เผาเมืองชุมพรเสีย แล้วกองหน้าก็ยกล่วงออกไปตีเมืองไชยา แม่ทัพตั้งค่ายอยู่ ณ เมืองชุมพร และครั้งนั้นทัพกรุงยังหาทันออกไปถึงไม่ ด้วยราชการศึกยังติดพันกันอยู่ทางเมืองกาญจนบุรี และเจ้าเมืองกรมการเมืองไชยาได้แจ้งข่าวว่าเมืองชุมพรเสียแล้ว ก็มิได้อยู่สู้รบ อพยพยกครอบครัวหนีเข้าป่าไปสิ้น ทัพพม่าเข้าเผาเมืองไชยาแล้วก็ยกออกไปตีเมืองนครศรีธรรมราช ขณะเมื่อทัพพม่ายกออกไปนั้น เจ้าพระยานครพัดได้แจ้งข่าวว่าเมืองชุมพร เมืองไชยาเสียแล้ว จึงแต่งกรมการกับไพร่ ๑,๐๐๐ เศษ ยกมาตั้งค่ายขัดตาทัพอยู่ ณ ท่าข้ามแม่น้ำหลวงต่อแดนเมืองไชยา ทัพพม่าจับไทยชาวเมืองไชยาได้ ให้ไทยร้องบอกลวงพวกกองทัพเมืองนครว่า “เมืองบางกอกเสียแล้วพวกเองจะมาตั้งสู้รบเห็นจะสู้ได้แล้วหรือ ให้เร่งไปบอกเจ้านายให้มาอ่อนน้อมยอมเข้าโดยดีจึงจะรอดชีวิต แม้นขัดแข็งอยู่จะฆ่าเสียให้สิ้นทั้งเมืองแต่ทารกก็มิให้เหลือ” พวกกองทัพเมืองนครนำเอาเนื้อความไปแจ้งแก่เจาพระยานครๆ พิจารณาดูก็เห็นสมคำพม่า ด้วยมิได้เห็นกองทัพกรุงยกออกไปช่วย เห็นว่ากรุงจะเสียแก่พม่าแล้วหาที่พึ่งมิได้ จึงพาบุตรภรรยาญาติวงศ์สมัครพรรคพวกทั้งปวง หนีออกจากเมืองไปอยู่ ณ ป่านอกเขาข้างตะวันตก บรรดากรมการและไพร่บ้านพลเมืองทั้งปวง ก็ยกครอบครัวหนีไปอยู่ตำบลต่าง ๆ ทัพพม่ายกไปถึงเมือง เข้าเมืองนครศรีธรรมราชได้ ให้เที่ยวจับผู้คนและครอบครัวได้เป็นอันมาก และให้ไทยชาวเมืองนครนำพม่าไปเที่ยวเกลี้ยกล่อมผู้คนและครอบครัวซึ่งหนีไปอยู่ทุกตำบลนั้นที่เข้าเกลี้ยกล่อม พม่าออกหาก็ได้ตัวมาบ้าง ที่ไม่เข้าเกลี้ยกล่อมหนีเข้าป่าดงไปก็มาก และพวกไทยซึ่งได้ตัวมานั้นบรรดาชายพม่าฆ่าเสียเป็นอันมาก เอาไว้แต่หญิงกับทารกและเก็บเอาเงินทองทรัพย์สิ่งของทั้งปวงไว้ หาผู้ใดจะคิดอ่านสู้รบพม่ามิได้ กลัวอำนาจพม่าเสียสิ้นทั้งนั้น พม่าก็ตั้งอยู่ในเมืองคิดจะยกออกไปตีเมืองพัทลุง เมืองสงขลา ต่อไป
ฝ่ายยี่วุ่นแม่ทัพเรือพม่าก็ยกทัพเรือลงไปตีเมืองตะกั่วป่าตะกั่วทุ่งแตกแล้ว ยกไปถึงเกาะถลางให้พลทหารขึ้นบกเข้าตั้งค่ายล้อมเมืองถลางไว้เป็นหลายค่าย และเมื่อกองทัพพม่าไปถึงเมืองนั้น พระยาถลางถึงแก่กรรมเสียก่อนแล้ว ยังหาได้ตั้งเจ้าเมืองใหม่ไม่ และจันท์ภรรยาพระยาถลางกับน้องหญิงคนหนึ่งชื่อมุก คิดอ่านกับกรมการทั้งปวงเกณฑ์ไพร่พลตั้งค่ายใหญ่สองค่าย ป้องกันรักษาเมืองเป็นสามารถ และตัวภรรยาพระยาถลางกับน้องผู้หญิงนั้น องอาจกล้าหาญมิได้เกรงกลัวย่อท้อต่อข้าศึก เกณฑ์กรมการกับพลทหารทั้งชายหญิงออกระดมยิงปืนใหญ่น้อยนอกค่ายสู้รบกับพม่าทุกวัน ทัพพม่าจะหักเอาเมืองมิได้ แต่สู้รบกันอยู่ประมาณเดือนเศษ พม่าขัดเสบียงอาหารลง จะหักเอาเมืองมิได้ ก็เลิกทัพลงเรือกลับไป
ฝ่ายข้างเมืองพัทลุงได้แจ้งข่าวว่า เมืองชุมพร เมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราช เสียแก่พม่าแล้ว เจ้าเมืองกรมการทั้งปวงปรึกษากันจะยกครอบครัวหนีเข้าป่า ขณะนั้นพระสงฆ์องค์หนึ่งชื่อมหาช่วย เป็นเจ้าอธิการอยู่ในอารามแขวงเมืองพัทลุง มีความรู้วิชาการดี ชาวเมืองนับถือมาก จึงลงตะกรุด ประเจียดมงคลแจกคนทั้งปวงเป็นอันมาก พวกกรมการนายแขวงนายบ้านทั้งหลาย ชักชวนไพร่พลเมืองมาขอเครื่องมหาช่วยแล้วคิดกันจะยกเข้ารบพม่า ผู้คนเข้าด้วยประมาณ ๑,๐๐๐ เศษ ตระเตรียมเครื่องศาสตราวุธพร้อมแล้ว ก็เชิญพระมหาช่วยอาจารย์ขึ้นคานหามมาด้วยในกองทัพ ยกมาจากเมืองพัทลุงมาพักพลตั้งค่ายอยู่กลางทาง คอยจะรบทัพพม่าซึ่งจะยกออกไปแต่เมืองนครศรีธรรมราชนั้น
ฝ่ายกองทัพหลวงสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคลเสด็จยาตรานาวาทัพไปทางท้องทะเลใหญ่ถึงเมืองชุมพร จึงให้ตั้งค่ายหลวงและตำหนักที่ประทับ เสด็จขึ้นไปประทับอยู่ ณ ที่นั้นแล้ว ดำรัสให้พระยากลาโหมราชเสนา พระยาจ่าแสนยากร กองหน้ายกทัพบกล่วงออกไปตั้งอยู่เมืองไชยาเป็นหลายค่าย
ฝ่ายกองทัพพม่าได้แจ้งข่าวว่าทัพกรุงเทพฯ ยกออกมาและแกงวุ่นแมงยี่แม่ทัพจึงให้เนมโยคุงนะรัก นายทัพนายกอง ๆ หน้ายกกองทัพเข้ามาต่อรบทัพกรุงเทพมหานคร แล้วแม่ทัพก็ยกทัพใหญ่หนุนมา และกองหน้าพม่ามาปะทะทัพไทย ณ เมืองไชยา ยังมิทันจะตั้งค่าย ทัพไทยก็เข้าล้อมไว้รอบ ขุดสนามเพลาะรบกันกลางแปลงตั้งแต่เช้าจนค่ำ พอฝนห่าใหญ่ตกยิงปืนไม่ออกทัพพม่าก็แหกหนีไปได้ แต่ตองพยุงโบนายทัพคนหนึ่งต้องปืนตายในที่รบ พลทหารไทยไล่ติดตามพม่าไปในเวลากลางคืนฆ่าฟันพม่าเสียเป็นอันมาก พม่ามิได้รั้งรอต่อรบแตกกระจัดพลัดพรายกันไปสิ้น ที่จับเป็นได้ก็มาก และแม่ทัพซึ่งยกหนุนมารู้ว่าทัพหน้าแตกแล้ว ก็มิได้ยกมาสู้รบเร่งรีบบากทางหนีไปข้างตะวันตก กองทัพไทยได้ชัยชำนะแล้วก็บอกมากราบทูลยังค่ายหลวง ณ เมืองชุมพร แล้วส่งพม่าเชลยทั้งปวงมาถวาย ฝ่ายเจ้าเมืองกรมการหัวเมืองใหญ่น้อยทั้งปวงซึ่งหนีพม่าไปนั้นก็กลับมาเฝ้าทั้งสิ้น จึงมีพระราชบัณฑูรตรัสสั่งให้รวบรวมราษฎรหัวเมืองและครอบครัวเดิม ซึ่งแตกฉานซ่านเซ็นหนีพม่าไปให้กลับมาอยู่บ้านเมืองตามภูมิลำเนาเดิมดุจก่อน และให้เจ้าเมืองกรมการทั้งปวงอยู่รักษาบ้านเมืองตามตำแหน่งทุกๆ เมือง แล้วดำรัสให้เอาพม่าเชลยจำลงเรือรบไปด้วย จึงเสด็จยาตรานาวาทัพหลวงจากเมืองชุมพรไปประทับเมืองไชยา ให้ทัพหน้าเดินพลไป ณ เมืองนครศรีธรรมราชโดยทางบก แล้วเสด็จยกทัพหลวงไปโดยทางชลมารค ถึงเมืองนครศรีธรรมราช เสด็จขึ้นประทับอยู่ในเมือง ให้ชาวเมืองพาข้าหลวงไปสืบเสาะตามหาเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ได้ตัวมาจะให้ลงพระราชอาชญา แล้วทรงพระราชดำริเห็นว่าศึกเหลือกำลังจะสู้รบ จึงภาคทัณฑ์ไว้ รับสั่งให้อยู่รวบรวมราษฎรรักษาบ้านเมืองดังเก่า แล้วเสด็จพระราชดำเนินทัพหลวงทั้งทางชลมารคสถลมารคไปประทับ ณ เมืองสงขลา
ฝ่ายพระยาแก้วเการพพี่ชายพระยาพัทลุง หลวงสุวรรณคีรีเจ้าเมืองสงขลา และกรมการทั้ง ๒ เมือง มาเฝ้าพร้อมกัน จึงดำรัสถามว่าผู้ใดคิดสู้รบพม่าบ้าง พระยาพัทลุงกราบทูลว่ากองทัพเมืองพัทลุงได้ยกไปรบทัพพม่า เพราะได้พระมหาช่วยเป็นอาจารย์คุ้มครองไปในกองทัพยังหาทันได้สู้รบกันไม่ ด้วยพม่ามิได้ยกออกไปตีเมืองพัทลุง ยกถอยกลับไปเมืองนครศรีธรรมราชเสีย จึงดำรัสยกความชอบมหาช่วยว่าเป็นใจด้วยราชการมีความชอบมาก และพระมหาช่วยสมัครปริวัตรออกจากสมณะเพศ จึงทรงพระกรณาโปรดตั้ง ให้เป็นพระยาทุกขราษฎร์ช่วยราชการเมืองพัทลุง พระราชทานบำเหน็จรางวัลโดยควรแก่ความชอบ