- คำนำ
- บานแผนก
- รายงานทูลเกล้าฯ ถวาย
- บานแผนกเดิม
- ๑. สร้างกรุงรัตนโกสินทร์
- ๒. พระราชพิธีปราบดาภิเษก
- ๓. ประดิษฐานพระราชวงศ์
- ๔. ตั้งข้าราชการวังหลวง
- ๕. แบ่งหัวเมืองขึ้น กลาโหม มหาดไทย กรมท่า
- ๖. ตั้งข้าราชการวังหน้า
- ๗. ตั้งตำแหน่งพระราชาคณะ
- ๘. พงศาวดารเขมร ตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรีจนนักองเองเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ
- ๙. พระราชทานคืนพระบาง และให้เจ้านันทเสนไปครองเมืองล้านช้าง
- ๑๐. องเชียงสือญวนเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
- ๑๑. เรื่องพงศาวดารญวน
- ๑๒. พระยาปังกลิมาเจ้าเมืองกำปอดแข็งเมือง
- ๑๓. พงศาวดารพม่า ตั้งแต่มังหม่องเป็นกบฏ จนพระเจ้าปะดุงได้เมืองยะไข่
- ๑๔. อ้ายกบฏ ๒ คนเข้าวังหน้า
- ๑๕. เจ้าพระยาอภัยภูเบศรไปรั้งเมืองเขมร
- ๑๖. ทัพพระยานครสวรรค์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๑๗. สร้างพระนคร
- ๑๘. สร้างพระราชมนเทียร
- ๑๙. ทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๒๐. สร้างพระมหาปราสาท
- ๒๑. สร้างวัดพระแก้ว
- ๒๒. ตำนานพระแก้วมรกต
- ๒๓. ปฏิสังขรณ์วัดสลัก
- ๒๔. ปิดคลองลัด
- ๒๕. ทำศพเจ้ากรุงธนบุรี
- ๒๖. ได้ช้างสำคัญ
- ๒๗. ลดตำแหน่งพระเจ้านครศรีธรรมราช และตั้งเจ้าพระยานครพัด
- ๒๘. พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
- ๒๙. สมโภชพระนคร
- ๓๐. กรมหลวงอิศรสุนทรเสด็จมาอยู่พระราชวังเดิม
- ๓๑. น้ำมากข้าวแพง
- ๓๒. ศึกพม่าครั้งที่ ๑
- ๓๓. รบพม่าเมืองกาญจนบุรี
- ๓๔. รบพม่าเมืองราชบุรี
- ๓๕. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จแหลมมลายู
- ๓๖. รบพม่าทางเมืองเหนือ
- ๓๗. ตั้งกรมพระราชวังหลัง
- ๓๘. รบพม่าทางแหลมมลายู
- ๓๙. ปราบเมืองมลายู
- ๔๐. หล่อปืนใหญ่
- ๔๑. ตั้งท้าวเทพสตรี ท้าวศรีสุนทร
- ๔๒. สร้างวังเจ้าเขมร
- ๔๓. องเชียงสือหนีจากกรุงเทพฯ
- ๔๔. ศึกพม่าครั้งที่ ๒
- ๔๕. สร้างมณฑปพระพุทธบาท
- ๔๖. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จไปตั้งเมืองเชียงใหม่
- ๔๗. พระราชทานเรือและเครื่องอาวุธช่วยองเชียงสือ
- ๔๘. ทัพหลวงไปตีเมืองทวาย
- ๔๙. ฝรั่งเข้ามาพนันชกมวย
- ๕๐. พระราชทานเรือรบและปืนช่วยองเชียงสือ
- ๕๑. ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่
- ๕๒. องเชียงสือถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๑ พระราชทานกำลังช่วยองเชียงสือ
- ๕๓. ทำสังคายนาพระไตรปิฎก
- ๕๔. องเชียงสือถวายข้าวสาร
- ๕๕. ไฟไหม้พระมหาปราสาท
- ๕๖. ปราบรายาเมืองตานี
- ๕๗. องเชียงสือตั้งตัวเป็นเจ้าอนัมก๊ก ถวายต้นไม้ทองเงินเป็นครั้งที่ ๒
- ๕๘. ทัพเวียงจันทน์รบญวนไกเซิน
- ๕๙. เจ้าอนัมก๊กกล่าวโทษเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์
- ๖๐. แขกเซียะตีเมืองสงขลา
- ๖๑. เจ้าอนัมก๊กถวายเรือรบ และพระราชทานปืนตอบ
- ๖๒. ทัพเวียงจันทน์ตีเมืองหลวงพระบาง
- ๖๓. เมืองทวายสวามิภักดิ์
- ๖๔. เจ้าอนัมก๊กมีศุภอักษรนัดให้ไปตีเมืองตังเกี๋ย
- ๖๕. ทัพพระยายมราชยกไปเมืองทวาย
- ๖๖. ทัพหลวงยกไปเมืองทวาย
- ๖๗. ยกทัพหลวงไปตีเมืองพม่า
- ๖๘. ทวายเป็นกบฏ
- ๖๙. เจ้าอนัมก๊กขอตราให้หัวเมืองช่วยการทัพ และถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๓
- ๗๐. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๗๑. ญวนไกเซินขอเป็นไมตรี
- ๗๒. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (ศุข) ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และนักองเอง
- ๗๓. ตั้งนักองเองออกไปครองกรุงกัมพูชา นักองเองถวายเมืองพระตะบองเสียมราฐ
- ๗๔. ถอดเจ้านครล้านช้าง
- ๗๕. ได้ช้างเผือกพระอินทรไอยรา
- ๗๖. ศึกพม่าครั้งที่ ๓
- ๗๗. เชิญพระพุทธสิหิงก์มากรุงเทพฯ
- ๗๘. กรมพระราชวังบวรฯ ทรงผนวช
- ๗๙. สมเด็จพระนารายณ์รามารับอากับครอบครัวไปเมืองเขมร
- ๘๐. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๔
- ๘๑. การพระเมรุพระบรมอัฐิสมเด็จพระชนกาธิบดี
- ๘๒. เกิดเหตุบาดหมางในระหว่าง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๘๓. สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีพระเจ้ากรุงกัมพูชาพิราลัย
- ๘๔. ข่าวศึกพม่า กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จเมืองเชียงใหม่
- ๘๕. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๕
- ๘๖. ฉลองพระมณฑปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- ๘๗. ข่าวศึกพม่า
- ๘๘. สมเด็จพระพี่นางสิ้นพระชนม์
- ๘๙. โปรดให้กองทัพเขมรไปช่วยเจ้าอนัมก๊ก
- ๙๐. เพลิงไหม้สำเพ็ง
- ๙๑. สร้างและฉลองวัดพระเชตุพน
- ๙๒. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๖
- ๙๓. ได้ช้างเผือกพระเทพกุญชร
- ๙๔. เพลิงไหม้วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์
- ๙๕. เจ้าอนัมก๊กได้เมืองญวนและตั้งตัวเป็นพระเจ้ากรุงเวียตนามยาลอง
- ๙๖. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๙๗. ศึกพม่าครั้งที่ ๔
- ๙๘. นักองจันท์ นักองสงวน เข้ามาเฝ้า
- ๙๙. พระเจ้าเวียตนามถวายของสนองพระคุณ
- ๑๐๐. กองทัพไทยไปตีเมืองเชียงแสน
- ๑๐๑. ตั้งเจ้าเชียงใหม่
- ๑๐๒. ได้ช้างสีทองแดงพระบรมฉัททันต์
- ๑๐๓. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๐๔. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคต
- ๑๐๕. พระราชประวัติกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๐๖. สิ่งซึ่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงสร้าง
- ๑๐๗. เรื่องหม่อมลำดวน หม่อมอินทปัต
- ๑๐๘. เลื่อนกรมขุนเสนานุรักษ์และตั้งกรมขุนพิทักษ์มนตรี
- ๑๐๙. กองทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์กลับจากเมืองเชียงแสน
- ๑๑๐. การพระเมรุกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๑๑. พระเจ้าเวียตนามมีราชสาสน์มาทูลเตือน ให้ตั้งกรมพระราชวังบวรฯ
- ๑๑๒. เกณฑ์ทัพไปตีเมืองเชียงตุง เชียงรุ้ง
- ๑๑๓. ตั้งเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๑๔. ตั้งเจ้าอนุครองเมืองเวียงจันทน์
- ๑๑๕. กรมหลวงเทพหริรักษ์สิ้นพระชนม์
- ๑๑๖. ชำระกฎหมาย
- ๑๑๗. ได้ช้างสำคัญพระบรมนัขมณีและพระบรมคชลักษณ์
- ๑๑๘. ได้เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ้ง และเมืองลื้อ สิบสองปันนา
- ๑๑๙. พระเจ้ากรุงเวียตนามมีราชสาสน์ถวายบรรณาการ
- ๑๒๐. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๒๑. กรมพระราชวังหลังทิวงคต
- ๑๒๒. ตั้งนักองจันท์เป็นสมเด็จพระอุทัยราชาเจ้ากรุงกัมพูชา
- ๑๒๓. พระราชพิธีอุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
- ๑๒๔. ตั้งพระบัณฑูรน้อย และตั้งกรมเจ้านาย
- ๑๒๕. การพระเมรุกรมพระราชวังหลัง
- ๑๒๖. พระเจ้าเวียตนามมีพระราชสาสน์ทรงยินดีในการอุปราชาภิเษก
- ๑๒๗. กรมหลวงจักรเจษฎาสิ้นพระชนม์
- ๑๒๘. ได้ช้างสำคัญ
- ๑๒๙. สมเด็จพระอุทัยทูลขอนักองอี นักองเภา
- ๑๓๐. เชิญพระพุทธรูปพระศรีศากยมุนีมากรุงเทพฯ
- ๑๓๑. ปราบปรามเมืองยิริง
- ๑๓๒. เจ้าฟ้ากรมขุนศรีสุนทรเทพสิ้นพระชนม์
- ๑๓๓. โสกันต์เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๓๔. แห่สระสนานใหญ่แห่พระกฐินและมีกระจาดใหญ่กัณฑ์เทศน์มหาชาติ
- ๑๓๕. ผลประโยชน์แผ่นดิน
- ๑๓๖. วัดที่ได้ทรงปฏิสังขรณ์
- ๑๓๗. พระราชานุกิจ
- ๑๓๘. สมเด็จพระอุทัยราชาเข้ามาเฝ้า
- ๑๓๙. งานสมโภชพระแก้วมรกต
- ๑๔๐. สวรรคต
- ๑๔๑. พระราชประวัติ
- ๑๔๒. เสนาบดีในรัชกาลที่ ๑
- ภาคผนวก
- หมายรับสั่ง เรื่อง ยกประตูพระบรมมหาราชวัง จ.ศ. ๑๑๔๔
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์ไพร่หลวง ไทย มอญ รับแขกเมือง ณ แม่น้ำน้อย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์แห่เรือรับพระบรมสารีริกธาตุจากเมืองทวาย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายกำหนดการ เรื่อง มหาอุปราชาภิเษก จ.ศ. ๑๑๖๘
- หมายกำหนดการ เรื่อง ฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จ.ศ. ๑๑๗๑
หมายกำหนดการ เรื่อง ฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จ.ศ. ๑๑๗๑
[๑]การฉลองวัดครั้งนี้ ร่างหมายมีที่จะตรวจเอาความแน่นอนได้ มีจดหมายบันทึกลงไว้ข้างเบื้องต้นว่า “ณ วัน ๖ เดือน ๖ ขึ้น ๑๕ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๗๑ ปีมะเส็งเอกศก เพลาเช้า ๒ โมงเศษ เสด็จออกขุนนาง ณ พระที่นั่งบุษบกมาลามหาจักรพรรดิพิมาน มีพระราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาทดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช พระยามหาอำมาตย์[๒] ว่าทรงสร้างพระอารามวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นที่พระเชตุพน[๓] พระพุทธรูปพระแก้วมรกต พระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุ พระธรรมเจ้าเสร็จบริบูรณ์แล้ว จะฉลองเพื่อจะให้เป็นหิตานุหิตประโยชน์ในพระพุทธศาสนา ให้ถาวรล้วน ๕,๐๐๐ พระพรรษา ให้จัดแจงเจ้าพนักงานทั้งปวงให้พร้อมจงทุกพนักงาน ข้าพระพุทธเจ้า เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช พระยามหาอำมาตย์ รับพระราชโองการใส่เกล้าฯ จัดแจงเจ้าพนักงาน ในข้อรับสั่งฉะนี้”
ต่อนี้ไปขึ้นร่างหมาย มีรอยตกแทรกวงกา จะได้คัดตัดที่วงกาออกเสีย เอาแต่ที่เนื้อความไว้ เริ่มต้นหมายว่า “ณ วัน ๖ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ จุลศักราช ๑๑๗๑ ด้วยพระยามหาอำมาตย์รับสั่งใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่า ทรงพระราชศรัทธาทรงสร้างพระอารามวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระสงฆ์จะได้ตั้งสวดพระพุทธมนต์ ณ วันเดือน ๖ แรม ๗ ค่ำ ๘ ค่ำ ๙ ค่ำ ปีมะเส็งเอกศก เพลาบ่ายพระสงฆ์วันละ ๒,๐๐๐ รูป ทั้ง ๓ วัน จะได้แบ่งพระสงฆ์รับพระราชทานฉัน วัน ๗ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ เวลาเช้าในจำนวนสองพัน ๖๖๗ รูป เพลาเพลพระสงฆ์ทำดอกไม้ ๑๐๐ รูป รวม ๗๖๗ รูป” วันแรม ๙ ค่ำ จำนวนเท่ากัน แรม ๑๐ ค่ำ ลดรายสองพันลงไปรูปหนึ่ง ถวายกระจาดเช้าเพล ๓ วันเสร็จแล้ว ในวันแรม ๘ ค่ำ ๙ คํ่า ๑๐ ค่ำ มีพระธรรมเทศนาในพระอุโบสถบอกอานิสงส์วันละกัณฑ์ ครั้นเวลาบ่าย ณ วันเดือน ๖ แรม ๑๐ ค่ำ จะได้ตั้งบายศรีแก้ว บายศรีทอง บายศรีเงิน บายศรีตอง ในพระอุโบสถ เป็นบายศรีดอกไม้เวียนพระเทียนวันหนึ่ง ณ วันแรม ๑๑ ค่ำ ๑๒ ค่ำ ตั้งบายศรีบูชาไว้หาได้เวียนพระเทียนไม่ มีหนังมีดอกไม้เพลิง ณ วัน ๖ แรม ๗ ค่ำ เดือน ๖ ไปเป็นคำรบ ๗ คืน จะได้มีการเครื่องเล่นสมโภช เวลากลางวันพร้อมกัน ณ วัน ๓ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๖ เวลาเช้าไปจนถึง ณ วัน ขึ้น ๒ค่ำ เดือน ๗ เป็นคำรบ ๗ วัน แต่โรงฉ้อทานนั้นให้เลี้ยง พระสงฆ์ เถร ชี พราหมณ์ฯ ข้าทูลละอองธุลีพระบาทอาณาประชาราษฎรชายหญิง แต่ ณ วัน ๗ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ เพลาเช้าไปทุกวัน จนถึง ณ เดือน ๗ ขึ้น ๒ คํ่า เพลาเย็นจึงเลิกโรงฉ้อทาน และสำรับปฏิบัติพระสงฆ์ในจำนวนสองพันเป็นสำรับกระทงข้างหน้าพันหนึ่ง ข้างในพันหนึ่ง สำรับพระสงฆ์ทำดอกไม้ฉันในพระอุโบสถ สำรับข้างในวันละ ๓๐ ที่พระระเบียงนายโรงฉ้อทาน ยกมาถวายวันละ ๗๐ รูป รวม ๓ วัน ๓๐๐ รูป จึงเกณฑ์แผ่พระราชกุศล พระราชทานให้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าต่างกรม พระองค์เจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหลานเธอ มีกรมหากรมมิได้ ข้าทูลละอองฯ ผู้ใหญ่ผู้น้อย ฝ่ายทหารพลเรือน ทำสำรับคาวหวาน และโรงฉ้อทาน
ในพระอุโบสถ ๓๐ รูป ข้างในปฏิบัติคาว ๓๐ หวาน ๓๐ สำรับหอพระมณเฑียรธรรม ๕๐ กรมพระราชวัง[๔]ปฏิบัติคาว ๓๐ กระทง หวาน ๓๐ กระทง
พระระเบียงด้านตะวันตก แต่ประตูใต้ถึงประตูกลาง พระสงฆ์ ๔๕ รูป ข้างในแต่ประตูกลางถึงประตูเหนือพระสงฆ์ ๕๐รูป รวมพระสงฆ์ ๙๕ รูป แต่ประตูเหนือถึงมุม
กรมหมื่นนรเทเวศร์
กรมหมื่นนเรศรโยธี
กรมหมื่นเสนีบริรักษ์[๕]
กรมหมื่นเสนีเทพ[๖]
กรมหมื่นนเรนทรพิทักษ์
องค์ละ ๑๐ รูป
พระยาอุไทยธรรม[๗] ๒ รูป
พระไชยสุรินทร[๘] ๓ รูป รวมพระสงฆ์ ๑๕๐ รูป
พระระเบียงด้านเหนือ แต่มุมตะวันตกถึงมุมตะวันออก
ที่ ๑ กรมหลวงเสนานุรักษ์[๙]
ที่ ๒ กรมหลวงพิทักษ์มนตรี
องค์ละ ๒๐ รูป
ที่ ๓ กรมขุนกษัตรานุชิต
ที่ ๔ กรมขุนอิศรานุรักษ์
องค์ละ ๑๕ รูป
ที่ ๕ กรมหมื่นเทพพลภักดิ์
ที่ ๖ กรนหมื่นศักดิ์พลเสพย์
องค์ละ ๑๐ รูป
ที่ ๗ พระองค์เจ้าคันธรศ[๑๐]
ที่ ๘ พระองค์เจ้าทับทิม[๑๑]
ที่ ๙ พระองค์เจ้าทับ[๑๒]
ที่ ๑๐ พระองค์เจ้าสุริยา[๑๓]
ที่ ๑๑ พระองค์เจ้าดารากร[๑๔]
ที่ ๑๒ พระองค์เจ้ามั่ง[๑๕]
องค์ละ ๔ รูป
ที่ ๑๓ พระมหาอำมาตย์
เจ้าพระยาอภัยภูเบศร[๑๖]
องค์ละ ๒ รูป
พระยาจ่าแสนบดี
พระยาราชนิกุล
หลวงพิศลูเทพ
คนละรูป รวม ๗ รูป
ที่ ๑๔ พระราชสงคราม ๒ รูป
หลวงพิสูตรโยธามาตย์
หลวงราชโยธาเทพ
หมื่นนรินทรเสนี
คนละรูป รวม ๕ รูป
ที่ ๑๕ พระยาสีหราชเดโช
พระยาท้ายน้ำ
พระยาพิไชยโนฤทธิ[๑๗]
พระยาพิไชยสงคราม
พระยาราชสุภาวดี
คนละ ๒ รูป
หลวงศรสำแดง รูป ๑
รวมพระสงฆ์ ๑๑ รูป
ที่ ๑๖ พระพิเดชสงคราม
พระรามพิไชย
คนละรูป รวม ๒ รูป
ที่ ๑๗ พระยายมราช[๑๘] ๓ รูป
พระยาราชมนตรี
พระยาศรีสุริวงศ์
คนละ ๒ รูป
จมื่นไวยวรนารถ
จมื่นเสมอใจราช
จมื่นสรรเพธภักดี
จมื่นศรีสรรักษ์
คนละรูป รวมพระสงฆ์ ๑๑ รูป
ที่ ๑๘ พระยาสุรเสนา ๒ รูป แต่มุมเหนือถึงประตู
หม่อมขุนเณร[๑๙]
พระยามหาโยธา[๒๐]
พระยามหาเทพ
พระอินทรเทพ
พระพิเรนทรเทพ
หลวงราชรินทร์
หลวงอินทรเดชะ
หลวงพรหมบริรักษ์
หลวงสุริขภักดี
คนละ ๒ รูป
หมื่นราชามาตย์
หมื่นไชยภรณ์
หมื่นไชยภูษา
หมื่นทิพรักษา
หมื่นราชาบาล
หมื่นสมุหพิมาน
หมื่นประธานมณเฑียร
หมื่นราชามาตย์นอกราชการ
หลวงหฤไทย
หลวงอภัยสุรินทร์
เลี้ยงพระสงฆ์คนละรูป
พระยาศรีเสาวพาห ๒ รูป
หลวงปราบพลแสน
หลวงสุนทรสินธพ
หลวงศรีอัศวเดช
หลวงอภัยเสนา
หลวงสุเรนทรวิชิต
หลวงคชสิทธิเปนพระยาวังเมือง
หลวงพิศวกรรม
พระครูประโรหิต
พระเกษม
พระไกรศรี
หลวงราชเสนา
พระประชาชีพ
หลวงพิพิธสาลี
หลวงเสนานนท์
หลวงพลอาไศรย
คนละ ๒ รูป รวมพระสงฆ์ ๔๕ รูป แต่ประตูเหนือไปประตูกลาง
พระยาราชประสิทธิ์
พระยาอภัยสรเพลิง
พระยาราไชย
พระยาพิพัฒโกษา
พระยาธิเบศรโกษา
พระรองเมือง
พระยาศรีพิพัฒน์
พระอภัยรณฤทธิ์
พระยาสมบัติบาล
คนละ ๒ รูป
หลวงสุนทรสมบัติ
หลวงเทพโยธา
พระสุรสงคราม
พระยาราชทูต
พระรัตนโกษา
พระราชอากร
พระพิไชยสวรรค์
หลวงสุนทรโกษา
หลวงรักษาสมบัติ
หลวงสวัสดิโกษา
หลวงอินทรสมบัติ
หลวงมงคลรัตน
นายบุญมีราชนิกุล
คนละรูป รวมพระสงฆ์ ๓๑ รูป
ข้างในปฏิบัติพระระเบียงด้านตะวันออก แต่เหนือประตูกลางถึงมุมใต้ ๑๐๙ รูป ทิศใต้แต่มุมตะวันออกถึงเสมากลาง ๑๐๐ รวมพระสงฆ์ ๒๐๙ รูป
ให้ผู้ต้องเกณฑ์ทำสำรับปฏิบัติคาวหวาน ไปดูอย่างกระจาดคาวหวานรองกระทง ณ ทิมดาบชาววัง แล้วให้เย็บกระทงน้อยใส่ของคาว
ของคาว ไส้กรอก[๒๑] ๑
ไข่เป็ด ๕ ใบ ๑
ไก่พะแนง ๑
หมูผัดกุ้ง ๑
มะเขือชุบไข่ ๑
ไข่เจียว ๑
ลูกชิ้น ๑
กุ้งต้ม ๑
หน่อไม้ ๑
น้ำพริก ๑
ปลาแห้งผัด ๑
แตงโม ๑
ข้าวสาร ๒ ทะนาน หุงใส่ก้นกระทงใหญ่ ๑
ของหวาน ขนมฝอย ๑
ข้าวเหนียวแก้ว ๑
ขนมผิง ๑
ขนมใส่ไข่ ๑
กล้วยฉาบ ๑
น่าเตียง[๒๑] ๑
หรุ่ม[๒๑] ๑
สังขยา ๑
ฝอยทอง ๑
ขนมตะไล ๑
รวม ๑๐ สิ่ง
แล้วให้เอากระโถนขันน้ำไปตั้งทั้งเพลาเช้าเพลาบ่าย เภสัชอังคาสถวายทั้ง ๒ เพลา แต่น้ำอัฐบานถวายเวลาบ่ายด้วย ให้ครบพระสงฆ์ซึ่งได้ปฏิบัติทั้ง ๓ วัน ให้ไปรับเงินที่กรมวังมาทำสำรับถวายรูปละ ๑ บาท แล้วให้เอาชามไปรับเอาแกงร้อน ข้าวอย่างเทศ น้ำยาขนมจีนต่อท่านข้างใน ไปถวายพระสงฆ์ซึ่งได้ปฏิบัติเป็นชามรูป ๑ วันละ ๓ ใบ แล้วให้เอาน้ำชาไปถวายพระสงฆ์ซึ่งได้ปฏิบัติด้วย
แกงร้อนเจ้าคุณข้างใน[๒๔] ทำเกณฑ์ยกไปปฏิบัติ หลวงราชมนู หลวงพิเดช ขุนหมื่นในกรมรับเลกพันพุฒ ๑๐๐ คน
ข้าวอย่างเทศ เจ้าของหุงข้าว
พระยาจุฬา[๒๕]
หลวงศรีเนาวรัตน
หลวงศรียศ
หลวงนนทเกษ
ขุนราชเศรษฐี
ขุนศรีวรข่าน
ขุนสนิทวาที
หมื่นเสน่หเวที
หมื่นศรีทรงภาษา
หมื่นสำเร็จวาที
หมื่นพินิตภาษา
ขุนเมาะตมิข่าน
ขุนวิวานิข่าน
ขุนไหวัตข่าน
วังหน้าสมทบ
ขุนกัลยา
ขุนสุนทร
ขุนอนุชิต
รวม ๑๘ คน
ท้าวทองกีบม้าเป็นผู้แต่ง ใส่ชามใส่พานรอง ผู้ยกไปปฏิบัติ
หลวงอัคเณศร หลวงศรสำแดง ขุนหมื่นในแสงปืน รับเลกต่อพันพุฒ ๑๐๐ คน
น้ำยาเจ้าคุณข้างในทำ เจ้าตลาดเบิกข้าวทำขนมจีนวันละเกวียน กระจาดซึ่งใส่ขนมจีนพันพุฒ พันเทพราชเกณฑ์
ของนอกจากรายเกณฑ์ ๓ สิ่งนี้ ดูเป็นไม่ได้เลี้ยงทั่วไปทุกอย่าง แกงร้อนและข้าวอย่างเทศ เลี้ยงในรายสองพัน แต่สามร้อยสามสิบ คือส่วนข้างในกับพระทำดอกไม้ร้อยหนึ่งรวมเป็นสี่ร้อยสามสิบรูป แต่น้ำยานั้นเลี้ยงในรายสองพันหกร้อยหกสิบเจ็ดเต็มจานวน เห็นจะเป็นใครทำสู้ไม่ได้ หน้าที่ยกน้ำยาข้าวอย่างเทศที่ได้คนจ่ายกองละร้อย ที่สำหรับพระข้างใน ถ้าเป็นส่วนข้าราชการข้างหน้า ให้ผู้ปฏิบัติเอาชามไปรับมาถวายพระสงฆ์
กองเลี้ยงน้ำชา เจ้าของ พระยาอภัยพิพิธ
หลวงท่องสื่อ
หลวงแก้วอายัต
หลวงเสนี
หลวงสุนทร
ขุนท่องสื่อ
ขุนท่องสมุท
ขุนเทพภักดี
ผู้ยกไปปฏิบัติ มหาดเล็กจ่าหุ้มแพรเป็นนายกอง มหาดเล็กเลวยก เลี้ยงรายสองพันแต่สามร้อยสามสิบสี่ ทำดอกไม้ร้อยรูปเท่านั้น
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพวดี กรมฝ่ายใน ทำกระจาดถวายพระสงฆ์ในสองพัน ทำดอกไม้วันละร้อย พระสัสดีปลูกโรงกระจาดขื่อกว้าง ๑๐ ศอก ยาว ๙ ห้อง ยกพื้นมีพาไลรอบโรง ๑ เกณฑ์หลวงราชฤทธานนท์ หลวงนนทเสน ขุนหมื่น รับเลกต่อ พันพุฒ พันเทพราช ๑๐๐ คน ยกกระจาดไป ถวายพระที่มาฉันทุกวัน
น้ำอัฐบานถวายพระสงฆ์เพลาบ่าย นอกจากข้าราชการปฏิบัติมีนายวิเสทฉ้อทานต้นจัดโถพานรอง พร้อม หัวป่าพ่อครัวต้นด้วย เกณฑ์
พระยาจันทราทิตย์[๒๖]
หลวงราชฤทธานนท์
หลวงนนทเสน
หลวงทิพรักษา
ขุนกำแพงบุรี
ขุนศรีวังราช
ขุนวิจารณ์
ใช้เลกจำนวนยกสำรับ เกณฑ์เป็นสารวัตรพระระเบียงด้านตะวันออก แต่มุมเหนือถึงมุมใต้
หลวงวิสูตรอัศดร
หมื่นชำนิภูบาล
หมื่นชำนาญภูเบศร
ตะวันตกแต่ประตูใต้ถึงมุมเหนือ
จมื่นราชนาคา
จมื่นราชสมบัติ
เหนือมุมตะวันตกถึงมุมตะวันออก
หลวงศรีเสาวราช
หลวงศรีโยวภาช
หลวงวาสุเทพ
ใต้มุมตะวันออกถึงเสมากลาง
หลวงราชพิมาน
พันเงิน
พันทอง
สารวัตรเหล่านี้สำหรับตรวจ ใครขาดให้เอาความบอกผู้รับสั่ง ทีจะไม่ไว้ใจกันด้วยเรื่องน้ำหรืออย่างไร จึงเผดียงพระสงฆ์ให้เอากาน้ำมาด้วยทุกองค์
โรงฉ้อทาน สัสดีปลูกตามเจ้าของให้อย่างโรงหน้าวัดมหาธาตุ
เจ้าครอกใหญ่วังหลัง[๒๗]
โรงท่าพระ
โรงรองงาน เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช
โรงสีตะพานช้าง[๒๘] เจ้าพระยามหาเสนา[๒๙]
โรงตะพานตรง หน้าวัง[๓๐]เจ้าพระยาธรรมา[๓๑]
โรงหอกลอง พระยาโกษาธิบดี[๓๒]
จำนวนคนยกสำรับ ๙๘๘ คน
โรงทำน้ำยาเจ้าคุณข้างใน ปลูกที่ริมกำแพงออกประตูสวัสดิโสภา ขื่อ ๑๐ ศอก ยาว ๗ ห้อง มีพาไลยกพื้นหน้าหลังกั้นฝาตีรั้วล้อมรอบ
กั้นฝาศาลาออกประตูสวัสดิโสภา เป็นโรงแถบร้อน ๒ ศาลา กั้นฝาศาลาออกประตูเทวาพิทักษ์ เป็นโรงหุงข้าวอย่างเทศ โรงต้มน้ำชาทั้ง ๒ ศาลา ตีรั้วรอบทั้ง ๔ ศาลา
เครื่องนมัสการในพระอุโบสถตั้งทองใหญ่ พระมณฑปตั้งทองน้อย และได้ความว่าสุหร่ายสำหรับสรงพระมีใช้แล้วในเวลานั้น จะเป็นสุหร่ายอื่นนอกจากที่ต้องเข้าไปด้วยสูบ (คือ) คู่ที่ใช้อยู่ทุกวันนี้เป็นไม่ได้ เพราะเหตุที่มีข้อความดังนี้ ให้ส่งน้ำดอกไม้เทศให้ช่างสุหร่ายอัดสุหร่าย เตรียมทูลเกล้าฯ ถวายสำหรับทรงสรงน้ำพระพุทธรูป”
ในหมายนี้ ไม่ได้ว่าถึงการมหรสพ สั่งรวมเป็นการตามเคย พึ่งจะฉลองวัดพระเชตุพนแล้วใหม่ๆ มี ข้อความที่สั่งเฉพาะแต่พิณพาทย์ ๔ วง อยู่ ๔ มุมพระระเบียง และให้แต่งโรงละครข้างใน และโรงละครผู้ชาย ละครข้างในคงจะเล่นโรงหลังวัด ซึ่งเป็นโรงช่อฟ้าใบระกาประจำอยู่ข้างประตูวัดพระแก้ว เพราะเหตุฉะนั้น จึงมีในหมายแต่ให้ปลูกโรงที่ละครแต่งตัว ทิ้งทานปรากฏว่าวันละ ๖ ต้นเท่านั้น
มีเลี้ยงเจ้าเมืองลาว เมืองพุทไธมาศ เมืองบัตบอง แขกเมืองญวน หัวเมืองทั้งปวงเลี้ยงที่ศาลาศาลหลวง และศาลาสารบัญชี ในเวลานั้น พระอุไทยราชาเจ้ากรุงกัมพูชา มีชื่ออยู่ในพวกแขกเมืองด้วย ไพร่เลี้ยงที่ประตูเทวาพิทักษ์ เจ้าคุณข้างในทำเป็นสำรับโต๊ะเงินคาว ๒๐ หวาน ๒๐ โต๊ะทองขาวเท้าปรุคาว ๑๐ หวาน ๑๐ ขันน้ำนั้นใช้ขันทองพานถมรอง ๓ สำรับ ขันถมพานเงินรอง ๕ สำรับ ขันทองขาวพานรอง ๑๐ สำรับ
ขุนทินตั้งพานหมากเครื่องทองคำ ๔ สำรับ เครื่องนาก ๔ สำรับ เครื่องเงิน ๔ สำรับ นักสวดเลวพานกลึงไปแจก
[๑] เรื่องงานฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๑ นั้น มี ๒ ครั้ง พึงดูพระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี ครั้งแรกหัวข้อเลขที่ ๑๔๓ ครั้งที่ ๒ หัวข้อเลขที่ ๒๑๕ งานกลองครั้งแรก ปี จ.ศ. ๑๑๔๗ (พ.ศ. ๒๓๒๘) ทรงมีพระราชวิจารณ์ไว้ว่า ฉลองวัดพระแก้วครั้งแรกเดือน ๖ ปีมะเส็งสัปตศก ลงร่องรอยกันดีมีสวดมนต์รอบกำแพงพระนคร กรมหลวงนรินทรเทวีเองเป็นหน้าที่ตั้งศาลาฉ้อทานแท่งหนึ่ง” ส่วนงานฉลองครั้งที่ ๒ ปี จ.ศ.๑๑๗๑ (พ.ศ. ๒๓๕๒) ทรงมีพระราชวิจารณ์ดังได้คัดมาเป็นต้นฉบับในการพิมพ์ครั้งนี้
[๒] เดิมเป็นพระยาราชินิกุล ถึงรัชกาลที่ ๑ เป็นพระยามหาอำมาตย์ (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ฉบับกรมศิลปากร ๒๔๗๔ หน้า ๑๕)
[๓] พระเชตุพนคำนี้เวลานั้นจะหมายความว่า เป็นที่อยู่ของพระพุทธเจ้า เช่นพระราชมณเฑียรพระราชวัง เพราะฉะนั้นข้อความซึ่งกรมหลวงนรินทรเทวีทรงไว้ในเรื่องวัดพระเชตุพน ว่าชื่อวัดนารายณ์ชุมพลมาจนทุกวันนี้ เห็นจะไม่ผิด ถ้าจะเอามาใช้เทียบอย่างเรื่องวัดพระแก้วนี้ ว่าได้ทรงสร้างพระอารามวัดนารายณ์ชุมพลเป็นพระเชตุพน ถวายพระพุทธรูปก็เห็นจะพอไปได้
อนึ่ง คำว่าพระเชตุพนนี้ พึงดูคำอธิบายในหนังสือเรื่อง พระเชตุพน อันเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และพระนิพนธ์ของ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
[๔] กรมพระราชวังองค์นี้ คือพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
[๕] กรมหมื่น ๓ องค์แรก ในกรมพระราชวังหลัง
[๖] กรมหมื่นเสนีเทพ ในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
[๗] พระยาอุไทยธรรมชื่อกลาง เป็นชาวบางช้าง
[๘] เป็นน้องกรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ และเจ้าพระยาพลเทพ (ปืน)
[๙] เวลานั้นรับพระบัณฑูรน้อย
[๑๐] ภายหลังเป็นกรมหมื่นศรีสุเรนทร
[๑๑] ภายหลังเป็นกรมหมื่นอินทรพิพิธ
[๑๒] ภายหลังเป็นกรมหมื่นจิตรภักดี
[๑๓] ภายหลังเป็นกรมหมื่นรามอิศเรศ
[๑๔] ภายหลังเป็นกรมหมื่นศรีสุเทพ
[๑๕] ภายหลังเป็นกรมสมเด็จพระเดชาดิศร
[๑๖] เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน)
[๑๗] นามบรรดาศักดิ์ว่า “พระยาพิไชยโนฤทธิ์” นี้เข้าใจว่าอ่านผิดมาช้านานจึงเรียกกันมาจนชิน ครั้นถึงรัชกาลที่ ๔ จึงทรงเปลี่ยนเป็นพระยาพิไชยรณฤทธิ์ นับว่าได้ความขึ้นและถูกต้องตามภาษา
[๑๘] พระยายมราชคนนี้ชื่อบุญมา บุตรพระยาจ่าแสนยากร กรุงเก่า เป็นพี่เจ้าพระยามหาเสนาบุนนาค
[๑๙] ที่ในพงศาวดารเรียกว่าเจ้าขุนเณร เป็นกองโจรมีฝีมือเข้มแข็งเมื่อครั้งทัพลาดหญ้า
[๒๐] คือพระยาเจ่ง ต้นสกุล คชเสนี
[๒๑] บัญชีอาหารเหล่านี้ ในบัดนี้ (พ.ศ. ๒๕๒๔) บางชนิดไม่ทราบว่ามีรูปร่างอย่างไร ปรุงด้วยอะไรมีวิธีปรุงอย่างไร แต่เคยพบชื่อในกาพย์เห่เรือ ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ ตอนทรงชมเครื่องคาวได้ทรงไว้ดังนี้
ล่าเตียงคิดเตียงน้อง | นอนเตียงทองทำเมืองบน |
ลดหลั่นชั้นชอบกล | ยลอยากนิทร์คิดแนบนอน |
เห็นหรุ่มรุมทรวงเศร้า | รุ่มรุ่มเร้าคือไฟฟอน |
เจ็บไกลใจอาวรณ์ | ร้อนรุมรุ่มกลุ้มกลางทรวง |
โดยเฉพาะชื่อหรุ่มนั้น หนังสือสกุลไทยรายสัปดาห์ ปีที่ ๒๗ ฉบับที่ ๑๔๐๔ จิราภรณ์ โลหะศิริ ได้แจงเครื่องปรุง และวิธีปรุงไว้อย่างละเอียด พอทราบรูปและเรื่องได้ดี จึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย
[๒๔] เจ้าจอมแว่น เรียกกันว่าคุณเสือ แต่ยกย่องเป็นใหญ่ จึงเรียกเจ้าคุณข้างใน
[๒๕] ชื่อเดิม แก้ว
[๒๖] เป็นทวดสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
[๒๗] เจ้าครอกทองอยู่ เป็นชายากรมพระราชวังหลัง
[๒๘] โรงสีตะพานช้างนี้ คือที่อยู่หลังกรมยุทธนาธิการ
[๒๙] เจ้าพระยามหาเสนาคนนี้ ชื่อบุนนาค บุตรพระยาจ่าแสนยากรครั้งกรุงเก่า สามีเจ้าคุณนวล เป็นข้าหลวงเดิมต้นตระกูลบุนนาค
[๓๐] ตะพานตรง นี้เดี๋ยวนี้เรียกว่าสะพานเสี้ยว เรียกติดมาแต่สะพานเก่าอันมีรูปเสี้ยวเหมือนขนมเปียกปูน แต่ในรัชกาลที่ ๑ เรียกตะพานตรง เพราะมีฝาลูกกรงกั้นทั้ง ๒ ข้าง
[๓๑] เจ้าพระยาธรรมาคนนี้ชื่อสด เดิมเป็นพระยามณเฑียรบาล ข้าหลวงเดิมกรมพระราชวัง บวรมหาสุรสิงหนาท
[๓๒] พระยาโกษาคนนี้ คือเจ้าพระยารัตนาธิเบศร (กุน) ต้นสกุล รัตนกุล เดิมเป็น พระราชประสิทธิ์ ครั้งกรุงธนบุรี เป็นพระยาศรีพิพัฒน์ แล้วจึงเป็นพระยาพระคลัง