- คำนำ
- บานแผนก
- รายงานทูลเกล้าฯ ถวาย
- บานแผนกเดิม
- ๑. สร้างกรุงรัตนโกสินทร์
- ๒. พระราชพิธีปราบดาภิเษก
- ๓. ประดิษฐานพระราชวงศ์
- ๔. ตั้งข้าราชการวังหลวง
- ๕. แบ่งหัวเมืองขึ้น กลาโหม มหาดไทย กรมท่า
- ๖. ตั้งข้าราชการวังหน้า
- ๗. ตั้งตำแหน่งพระราชาคณะ
- ๘. พงศาวดารเขมร ตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรีจนนักองเองเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ
- ๙. พระราชทานคืนพระบาง และให้เจ้านันทเสนไปครองเมืองล้านช้าง
- ๑๐. องเชียงสือญวนเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
- ๑๑. เรื่องพงศาวดารญวน
- ๑๒. พระยาปังกลิมาเจ้าเมืองกำปอดแข็งเมือง
- ๑๓. พงศาวดารพม่า ตั้งแต่มังหม่องเป็นกบฏ จนพระเจ้าปะดุงได้เมืองยะไข่
- ๑๔. อ้ายกบฏ ๒ คนเข้าวังหน้า
- ๑๕. เจ้าพระยาอภัยภูเบศรไปรั้งเมืองเขมร
- ๑๖. ทัพพระยานครสวรรค์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๑๗. สร้างพระนคร
- ๑๘. สร้างพระราชมนเทียร
- ๑๙. ทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๒๐. สร้างพระมหาปราสาท
- ๒๑. สร้างวัดพระแก้ว
- ๒๒. ตำนานพระแก้วมรกต
- ๒๓. ปฏิสังขรณ์วัดสลัก
- ๒๔. ปิดคลองลัด
- ๒๕. ทำศพเจ้ากรุงธนบุรี
- ๒๖. ได้ช้างสำคัญ
- ๒๗. ลดตำแหน่งพระเจ้านครศรีธรรมราช และตั้งเจ้าพระยานครพัด
- ๒๘. พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
- ๒๙. สมโภชพระนคร
- ๓๐. กรมหลวงอิศรสุนทรเสด็จมาอยู่พระราชวังเดิม
- ๓๑. น้ำมากข้าวแพง
- ๓๒. ศึกพม่าครั้งที่ ๑
- ๓๓. รบพม่าเมืองกาญจนบุรี
- ๓๔. รบพม่าเมืองราชบุรี
- ๓๕. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จแหลมมลายู
- ๓๖. รบพม่าทางเมืองเหนือ
- ๓๗. ตั้งกรมพระราชวังหลัง
- ๓๘. รบพม่าทางแหลมมลายู
- ๓๙. ปราบเมืองมลายู
- ๔๐. หล่อปืนใหญ่
- ๔๑. ตั้งท้าวเทพสตรี ท้าวศรีสุนทร
- ๔๒. สร้างวังเจ้าเขมร
- ๔๓. องเชียงสือหนีจากกรุงเทพฯ
- ๔๔. ศึกพม่าครั้งที่ ๒
- ๔๕. สร้างมณฑปพระพุทธบาท
- ๔๖. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จไปตั้งเมืองเชียงใหม่
- ๔๗. พระราชทานเรือและเครื่องอาวุธช่วยองเชียงสือ
- ๔๘. ทัพหลวงไปตีเมืองทวาย
- ๔๙. ฝรั่งเข้ามาพนันชกมวย
- ๕๐. พระราชทานเรือรบและปืนช่วยองเชียงสือ
- ๕๑. ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่
- ๕๒. องเชียงสือถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๑ พระราชทานกำลังช่วยองเชียงสือ
- ๕๓. ทำสังคายนาพระไตรปิฎก
- ๕๔. องเชียงสือถวายข้าวสาร
- ๕๕. ไฟไหม้พระมหาปราสาท
- ๕๖. ปราบรายาเมืองตานี
- ๕๗. องเชียงสือตั้งตัวเป็นเจ้าอนัมก๊ก ถวายต้นไม้ทองเงินเป็นครั้งที่ ๒
- ๕๘. ทัพเวียงจันทน์รบญวนไกเซิน
- ๕๙. เจ้าอนัมก๊กกล่าวโทษเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์
- ๖๐. แขกเซียะตีเมืองสงขลา
- ๖๑. เจ้าอนัมก๊กถวายเรือรบ และพระราชทานปืนตอบ
- ๖๒. ทัพเวียงจันทน์ตีเมืองหลวงพระบาง
- ๖๓. เมืองทวายสวามิภักดิ์
- ๖๔. เจ้าอนัมก๊กมีศุภอักษรนัดให้ไปตีเมืองตังเกี๋ย
- ๖๕. ทัพพระยายมราชยกไปเมืองทวาย
- ๖๖. ทัพหลวงยกไปเมืองทวาย
- ๖๗. ยกทัพหลวงไปตีเมืองพม่า
- ๖๘. ทวายเป็นกบฏ
- ๖๙. เจ้าอนัมก๊กขอตราให้หัวเมืองช่วยการทัพ และถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๓
- ๗๐. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๗๑. ญวนไกเซินขอเป็นไมตรี
- ๗๒. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (ศุข) ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และนักองเอง
- ๗๓. ตั้งนักองเองออกไปครองกรุงกัมพูชา นักองเองถวายเมืองพระตะบองเสียมราฐ
- ๗๔. ถอดเจ้านครล้านช้าง
- ๗๕. ได้ช้างเผือกพระอินทรไอยรา
- ๗๖. ศึกพม่าครั้งที่ ๓
- ๗๗. เชิญพระพุทธสิหิงก์มากรุงเทพฯ
- ๗๘. กรมพระราชวังบวรฯ ทรงผนวช
- ๗๙. สมเด็จพระนารายณ์รามารับอากับครอบครัวไปเมืองเขมร
- ๘๐. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๔
- ๘๑. การพระเมรุพระบรมอัฐิสมเด็จพระชนกาธิบดี
- ๘๒. เกิดเหตุบาดหมางในระหว่าง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๘๓. สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีพระเจ้ากรุงกัมพูชาพิราลัย
- ๘๔. ข่าวศึกพม่า กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จเมืองเชียงใหม่
- ๘๕. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๕
- ๘๖. ฉลองพระมณฑปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- ๘๗. ข่าวศึกพม่า
- ๘๘. สมเด็จพระพี่นางสิ้นพระชนม์
- ๘๙. โปรดให้กองทัพเขมรไปช่วยเจ้าอนัมก๊ก
- ๙๐. เพลิงไหม้สำเพ็ง
- ๙๑. สร้างและฉลองวัดพระเชตุพน
- ๙๒. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๖
- ๙๓. ได้ช้างเผือกพระเทพกุญชร
- ๙๔. เพลิงไหม้วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์
- ๙๕. เจ้าอนัมก๊กได้เมืองญวนและตั้งตัวเป็นพระเจ้ากรุงเวียตนามยาลอง
- ๙๖. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๙๗. ศึกพม่าครั้งที่ ๔
- ๙๘. นักองจันท์ นักองสงวน เข้ามาเฝ้า
- ๙๙. พระเจ้าเวียตนามถวายของสนองพระคุณ
- ๑๐๐. กองทัพไทยไปตีเมืองเชียงแสน
- ๑๐๑. ตั้งเจ้าเชียงใหม่
- ๑๐๒. ได้ช้างสีทองแดงพระบรมฉัททันต์
- ๑๐๓. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๐๔. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคต
- ๑๐๕. พระราชประวัติกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๐๖. สิ่งซึ่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงสร้าง
- ๑๐๗. เรื่องหม่อมลำดวน หม่อมอินทปัต
- ๑๐๘. เลื่อนกรมขุนเสนานุรักษ์และตั้งกรมขุนพิทักษ์มนตรี
- ๑๐๙. กองทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์กลับจากเมืองเชียงแสน
- ๑๑๐. การพระเมรุกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๑๑. พระเจ้าเวียตนามมีราชสาสน์มาทูลเตือน ให้ตั้งกรมพระราชวังบวรฯ
- ๑๑๒. เกณฑ์ทัพไปตีเมืองเชียงตุง เชียงรุ้ง
- ๑๑๓. ตั้งเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๑๔. ตั้งเจ้าอนุครองเมืองเวียงจันทน์
- ๑๑๕. กรมหลวงเทพหริรักษ์สิ้นพระชนม์
- ๑๑๖. ชำระกฎหมาย
- ๑๑๗. ได้ช้างสำคัญพระบรมนัขมณีและพระบรมคชลักษณ์
- ๑๑๘. ได้เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ้ง และเมืองลื้อ สิบสองปันนา
- ๑๑๙. พระเจ้ากรุงเวียตนามมีราชสาสน์ถวายบรรณาการ
- ๑๒๐. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๒๑. กรมพระราชวังหลังทิวงคต
- ๑๒๒. ตั้งนักองจันท์เป็นสมเด็จพระอุทัยราชาเจ้ากรุงกัมพูชา
- ๑๒๓. พระราชพิธีอุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
- ๑๒๔. ตั้งพระบัณฑูรน้อย และตั้งกรมเจ้านาย
- ๑๒๕. การพระเมรุกรมพระราชวังหลัง
- ๑๒๖. พระเจ้าเวียตนามมีพระราชสาสน์ทรงยินดีในการอุปราชาภิเษก
- ๑๒๗. กรมหลวงจักรเจษฎาสิ้นพระชนม์
- ๑๒๘. ได้ช้างสำคัญ
- ๑๒๙. สมเด็จพระอุทัยทูลขอนักองอี นักองเภา
- ๑๓๐. เชิญพระพุทธรูปพระศรีศากยมุนีมากรุงเทพฯ
- ๑๓๑. ปราบปรามเมืองยิริง
- ๑๓๒. เจ้าฟ้ากรมขุนศรีสุนทรเทพสิ้นพระชนม์
- ๑๓๓. โสกันต์เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๓๔. แห่สระสนานใหญ่แห่พระกฐินและมีกระจาดใหญ่กัณฑ์เทศน์มหาชาติ
- ๑๓๕. ผลประโยชน์แผ่นดิน
- ๑๓๖. วัดที่ได้ทรงปฏิสังขรณ์
- ๑๓๗. พระราชานุกิจ
- ๑๓๘. สมเด็จพระอุทัยราชาเข้ามาเฝ้า
- ๑๓๙. งานสมโภชพระแก้วมรกต
- ๑๔๐. สวรรคต
- ๑๔๑. พระราชประวัติ
- ๑๔๒. เสนาบดีในรัชกาลที่ ๑
- ภาคผนวก
- หมายรับสั่ง เรื่อง ยกประตูพระบรมมหาราชวัง จ.ศ. ๑๑๔๔
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์ไพร่หลวง ไทย มอญ รับแขกเมือง ณ แม่น้ำน้อย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์แห่เรือรับพระบรมสารีริกธาตุจากเมืองทวาย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายกำหนดการ เรื่อง มหาอุปราชาภิเษก จ.ศ. ๑๑๖๘
- หมายกำหนดการ เรื่อง ฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จ.ศ. ๑๑๗๑
๔๔. ศึกพม่าครั้งที่ ๒
ฝ่ายกองทัพแกงวุ่นแมงยี่พม่า ซึ่งแตกไปทั้งทัพบกทัพเรือเมื่อปีมะเส็ง สัปตศก จุลศักราช ๑๑๔๗[๔๙] ปีนั้น ไปพร้อมกันอยู่ ณ เมืองมะริด แล้วบอกข้อราชการซึ่งเสียทัพถอยมานั้น ขึ้นไปกราบทูลพระเจ้าอังวะ ซึ่งเลิกทัพไปอยู่ ณ เมืองเมาะตะมะ และกองทัพทางทวายและทางเหนือนั้นก็บอกลงมาทุกทัพทุกทาง และศึกครั้งนั้นพระเจ้าอังวะเสียรี้พลเป็นอันมากทั้งไทยจับเป็นได้และตายด้วยป่วยเจ็บตายด้วยการรบพุ่ง ทุกทัพทุกทางประมาณกึ่งหนึ่ง ที่เหลือกลับไปได้สักกึ่งหนึ่ง พระเจ้าอังวะเสียพระทัยนัก จึงให้เลิกทัพหลวงกลับไปเมืองอังวะ แล้วให้มีตราหากองทัพทางใต้ ทางเหนือนั้นกลับไปเมืองอังวะทั้งสิ้น แต่กองทัพทวายนั้น ให้ยกมาตั้งอยู่เมืองเมาะตะมะ ทัพทางเมืองมะริดนั้นให้ยกมาตั้งอยู่เมืองทวาย แล้วตรัสปรึกษาราชการทัพ กับอินแซะมหาอุปราช ดำริการสงครามซึ่งจะมาตีเอากรุงเทพมหานครให้จงได้ พระเจ้าอังวะจึงให้เกณฑ์กองทัพ ๕๐,๐๐๐ ให้อินแซะเป็นแม่ทัพหลวงยกมาอีกครั้งหนึ่ง
ครั้นปีมะเมีย อัฐศก จุลศักราช ๑๑๔๘[๕๐] ถึง ณ เดือน ๑๒ อินแซะมหาอุปราชก็ถวายบังคมลาพระเจ้าอังวะ ยกทัพบกทัพเรือลงมาพร้อมทัพอยู่ ณ เมืองเมาะตะมะ แต่มาทางเดียวมิได้ยกแขกกันมาหลายทางเหมือนครั้งก่อน อินแซะจึงให้เมียนวุ่นกับเมียนเมวุ่น ๒ นาย ซึ่งเป็นแม่ทัพหน้าครั้งก่อนนั้น ถือพล ๓๐,๐๐๐ ยกมาทำการแก้ตัวเอาชัยชำนะไทยให้จงได้ และแม่ทัพทั้ง ๒ นายก็ยกกองทัพมาถึงเมืองสมิ แล้วให้ตั้งค่ายและยุ้งฉางรายทางเป็นอันมากจนถึงท่าดินแดงสามสบ แล้วให้กองลำเลียงขนเสบียงอาหารมาขึ้นยุ้งฉางไว้ทุกตำบล หวังจะมิให้ไพร่พลขัดสนด้วยเสบียงอาหาร แต่บรรดาค่ายหน้าที่ทั้งปวงนั้นให้ชักปีกกาถึงกันสิ้น แล้วขุดสนามเพลาะปักขวากหนามแน่นหนา บรรดาที่คลองน้ำและห้วยธารทั้งปวงนั้น ก็ให้ทำสะพานเรือกข้ามทุก ๆ แห่ง ให้ม้าและคนเดินไปมาได้โดยสะดวก และจัดการทั้งปวง ครั้งนั้นหมายจะตั้งรบแรมอยู่ค้างปี กองทัพหลวงอินแซะก็ยกหนุนมาตั้งค่ายหลวงอยู่ตำบลแม่กษัตริย์คอยฟังข่าวเหตุการณ์กองหน้าจะได้เพิ่มเติมทัพมาช่วย
ฝ่ายชาวด่านเมืองกาญจนบุรี เมืองศรีสวัสดิ์ เมืองไทรโยค ออกไปลาดตระเวนสืบราชการปลายแดน รู้ข่าวว่าทัพพม่ายกมาอีก ตั้งค่ายมั่นอยู่ ณ ท่าดินแดงสามสบ ก็กลับมาแจ้งแก่กรมการทั้ง ๓ หัวเมือง ๆ ก็บอกข้อราชการศึกเข้ามายังกรุงเทพฯ ในเดือนอ้ายข้างแรม กราบทูลพระกรุณาให้ทรงทราบ พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบข่าวศึกอันยกมานั้น จึงมีพระราชดำรัสให้เกณฑ์กองทัพในกรุงเทพฯ และหัวเมืองไว้ให้พร้อมสรรพ ครั้งถึง ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๓ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เวลาเช้า ๓ นาฬิกากับ ๖ บาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวร ฯ ก็เสด็จพระราชดำเนินพยุหยาตรานาวาทัพหลวงจากกรุงเทพฯ ไปโดยทางชลมารค พร้อมด้วยเรือท้าวพระยาข้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งหลาย โดยเสด็จตามกระบวนหน้าหลังพรั่งพร้อมเสร็จ โปรดให้สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวร สถานมงคลและกองทัพเจ้าพระยารัตนาพิฬิธ ที่สมุหนายกไปกองหน้า พลโยธาหาญ ทั้งพระบรมมหาราชวัง และพระราชวังบวรฯ เป็นคน ๓๐,๐๐๐ ยกล่วงหน้าไปก่อน จึงเสด็จยกพยุหโยธาทัพหลวงกับทั้งกรมพระ-ราชวังหลัง และเจ้าต่างกรมหลายพระองค์เป็นพล ๓๐,๐๐๐ เศษหนุนไป และโปรดให้พระยาพลเทพอยู่รักษา พระนคร
ครั้นกองทัพหน้ายกไปถึงเมืองไทรโยค สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล จึงดำรัสให้กองทัพเจ้าพระยารัตนาพิพิธ และกองทัพพระยากลาโหมราชเสนา พระยาจ่าแสนยากร และทัพหัวเมืองทั้งปวง เป็นคน๒๐,๐๐๐ ขึ้นบกยกพลกระบวนช้างม้ารี้พลเป็นกองหน้าล่วงไปก่อน แล้วสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า จึงเสด็จยาตราทัพ พล ๑๐,๐๐๐ ยกหนุนไปโดยลำดับ ครั้นทัพหลวงเสด็จไปถึงท่าขนุน จึงเสด็จพระราชดำเนินพยุหโยธาทัพไปโดยทางสถลมารค หนุนทัพสมเด็จพระอนุชาธิราชไป ฝ่ายกองหน้ายกไปถึงค่ายพม่าซึ่งตั้งอยู่ ณ สามสบก็ให้ตั้งค่ายลงเป็นหลายค่าย สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าก็เสด็จพระราชดำเนินกองทัพหนุนขึ้นไป ตั้งค่ายหลวงห่างค่ายกองหน้าลงมาทางประมาณ ๕๐ เส้น กองทัพหลวงก็เสด็จพระราชดำเนินตามขึ้นไปในเบื้องหลัง ตั้งค่ายหลวงห่างค่ายสมเด็จพระอนุชาธิราชลงมาทางประมาณ ๗๐ เส้นเศษ ดำรัสให้ท้าวพระยานายทัพนายกองแบ่งกองทัพออกจากทัพหลวงและกองทัพกรมพระราชวังบวร ฯ ยกขึ้นไปบรรจบกองหน้าให้เร่งเข้าตีค่ายพม่าทุกทัพทุกกองพร้อมกันทีเดียว
ครั้นถึง ณ วันพุธ เดือน ๔ ขึ้น ๕ ค่ำ เวลาเช้า จึงท้าวพระยานายทัพนายกองทั้งปวง ก็ยกพลทหารออกระดมตีค่ายพม่าพรอมกันทุก ๆ ค่าย นายทัพพม่าก็เร่งพลทหารให้ต่อรบในค่ายทุก ๆ ค่าย พลทัพไทยขุดสนามเพลาะเข้าตั้งประชิดค่ายพม่า ต่างยิงปืนใหญ่น้อยโต้ตอบกันทั้งกลางวันกลางคืนไม่หยุดหย่อน เสียงปืนสนั่นลั่นสะท้านไปทั่วทั้งป่า รบกันอยู่ ๓ วัน ครั้นถึง ณ วันศุกร์ เดือน ๔ ขึ้น ๗ คํ่า ทัพไทยยกหนุนเนื่องกันเข้าไปหักค่ายพม่า พม่าต่อรบเป็นสามารถ ตั้งแต่เวลาบ่ายจนพลบค่ำประมาณ ๒ ทุ่มเศษ นายทัพพม่าเห็นเหลือกำลังจะต่อรบต้านทานมิได้ ก็แตกฉานทั้งค่ายพ่ายหนีไปในกลางคืนวันนั้น กองทัพไทยเข้าค่ายพม่าได้ทั้งสิ้น แล้วยกติดตามไปทันฆ่าฟันพม่าล้มตายและลำบากไปตามทางเป็นอันมากที่จับเป็นได้ก็มาก ฝ่ายอินแซะมหาอุปราชแม่ทัพหลวง ได้ทราบว่าทัพหน้าแตกแล้วก็ตกพระทัยมิได้คิดอ่านจะตั้งรอรบ ก็ให้เร่งเลิกทัพหลวงกลับไปยังเมืองเมาะตะมะ พลทัพไทยไล่ติดตามพม่าไปจนถึงค่ายหลวงแม่กษัตริย์ เก็บได้เครื่องศาสตราวุธเป็นอันมาก จึงมีพระราชดำรัสให้ข้าหลวงไปสั่งกองหน้า ให้จุดเพลิงเผายุ้งฉางพม่า ซึ่งไว้ข้าวปลาเสบียงอาหารเสียจงทุกตำบล แล้วก็ให้ถอยทัพกลับมายังกองทัพหลวง
ครั้นมีชัยชำนะอริราชสงครามภุกามปัจจามิตร เสร็จแล้วก็ดำรัสให้เลิกกองทัพทั้งทางชลมารค สถลมารค กลับคืนยังกรุงเทพมหานคร ในแรมเดือน ๔ ปลายปีมะเมีย อัฐศกนั้น ฝ่ายอินแซะมหาอุปราชเมื่อล่าทัพ กลับไปถึงเมืองเมาะตะมะแล้วบอกข้อราชการซึ่งเสียทัพมานั้นขึ้นไปทูลพระเจ้าอังวะ พระเจ้าอังวะได้ทราบก็เสียพระทัยนัก จึงให้หากองทัพกลับยังพระนคร