- คำนำ
- บานแผนก
- รายงานทูลเกล้าฯ ถวาย
- บานแผนกเดิม
- ๑. สร้างกรุงรัตนโกสินทร์
- ๒. พระราชพิธีปราบดาภิเษก
- ๓. ประดิษฐานพระราชวงศ์
- ๔. ตั้งข้าราชการวังหลวง
- ๕. แบ่งหัวเมืองขึ้น กลาโหม มหาดไทย กรมท่า
- ๖. ตั้งข้าราชการวังหน้า
- ๗. ตั้งตำแหน่งพระราชาคณะ
- ๘. พงศาวดารเขมร ตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรีจนนักองเองเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ
- ๙. พระราชทานคืนพระบาง และให้เจ้านันทเสนไปครองเมืองล้านช้าง
- ๑๐. องเชียงสือญวนเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
- ๑๑. เรื่องพงศาวดารญวน
- ๑๒. พระยาปังกลิมาเจ้าเมืองกำปอดแข็งเมือง
- ๑๓. พงศาวดารพม่า ตั้งแต่มังหม่องเป็นกบฏ จนพระเจ้าปะดุงได้เมืองยะไข่
- ๑๔. อ้ายกบฏ ๒ คนเข้าวังหน้า
- ๑๕. เจ้าพระยาอภัยภูเบศรไปรั้งเมืองเขมร
- ๑๖. ทัพพระยานครสวรรค์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๑๗. สร้างพระนคร
- ๑๘. สร้างพระราชมนเทียร
- ๑๙. ทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๒๐. สร้างพระมหาปราสาท
- ๒๑. สร้างวัดพระแก้ว
- ๒๒. ตำนานพระแก้วมรกต
- ๒๓. ปฏิสังขรณ์วัดสลัก
- ๒๔. ปิดคลองลัด
- ๒๕. ทำศพเจ้ากรุงธนบุรี
- ๒๖. ได้ช้างสำคัญ
- ๒๗. ลดตำแหน่งพระเจ้านครศรีธรรมราช และตั้งเจ้าพระยานครพัด
- ๒๘. พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
- ๒๙. สมโภชพระนคร
- ๓๐. กรมหลวงอิศรสุนทรเสด็จมาอยู่พระราชวังเดิม
- ๓๑. น้ำมากข้าวแพง
- ๓๒. ศึกพม่าครั้งที่ ๑
- ๓๓. รบพม่าเมืองกาญจนบุรี
- ๓๔. รบพม่าเมืองราชบุรี
- ๓๕. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จแหลมมลายู
- ๓๖. รบพม่าทางเมืองเหนือ
- ๓๗. ตั้งกรมพระราชวังหลัง
- ๓๘. รบพม่าทางแหลมมลายู
- ๓๙. ปราบเมืองมลายู
- ๔๐. หล่อปืนใหญ่
- ๔๑. ตั้งท้าวเทพสตรี ท้าวศรีสุนทร
- ๔๒. สร้างวังเจ้าเขมร
- ๔๓. องเชียงสือหนีจากกรุงเทพฯ
- ๔๔. ศึกพม่าครั้งที่ ๒
- ๔๕. สร้างมณฑปพระพุทธบาท
- ๔๖. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จไปตั้งเมืองเชียงใหม่
- ๔๗. พระราชทานเรือและเครื่องอาวุธช่วยองเชียงสือ
- ๔๘. ทัพหลวงไปตีเมืองทวาย
- ๔๙. ฝรั่งเข้ามาพนันชกมวย
- ๕๐. พระราชทานเรือรบและปืนช่วยองเชียงสือ
- ๕๑. ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่
- ๕๒. องเชียงสือถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๑ พระราชทานกำลังช่วยองเชียงสือ
- ๕๓. ทำสังคายนาพระไตรปิฎก
- ๕๔. องเชียงสือถวายข้าวสาร
- ๕๕. ไฟไหม้พระมหาปราสาท
- ๕๖. ปราบรายาเมืองตานี
- ๕๗. องเชียงสือตั้งตัวเป็นเจ้าอนัมก๊ก ถวายต้นไม้ทองเงินเป็นครั้งที่ ๒
- ๕๘. ทัพเวียงจันทน์รบญวนไกเซิน
- ๕๙. เจ้าอนัมก๊กกล่าวโทษเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์
- ๖๐. แขกเซียะตีเมืองสงขลา
- ๖๑. เจ้าอนัมก๊กถวายเรือรบ และพระราชทานปืนตอบ
- ๖๒. ทัพเวียงจันทน์ตีเมืองหลวงพระบาง
- ๖๓. เมืองทวายสวามิภักดิ์
- ๖๔. เจ้าอนัมก๊กมีศุภอักษรนัดให้ไปตีเมืองตังเกี๋ย
- ๖๕. ทัพพระยายมราชยกไปเมืองทวาย
- ๖๖. ทัพหลวงยกไปเมืองทวาย
- ๖๗. ยกทัพหลวงไปตีเมืองพม่า
- ๖๘. ทวายเป็นกบฏ
- ๖๙. เจ้าอนัมก๊กขอตราให้หัวเมืองช่วยการทัพ และถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๓
- ๗๐. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๗๑. ญวนไกเซินขอเป็นไมตรี
- ๗๒. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (ศุข) ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และนักองเอง
- ๗๓. ตั้งนักองเองออกไปครองกรุงกัมพูชา นักองเองถวายเมืองพระตะบองเสียมราฐ
- ๗๔. ถอดเจ้านครล้านช้าง
- ๗๕. ได้ช้างเผือกพระอินทรไอยรา
- ๗๖. ศึกพม่าครั้งที่ ๓
- ๗๗. เชิญพระพุทธสิหิงก์มากรุงเทพฯ
- ๗๘. กรมพระราชวังบวรฯ ทรงผนวช
- ๗๙. สมเด็จพระนารายณ์รามารับอากับครอบครัวไปเมืองเขมร
- ๘๐. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๔
- ๘๑. การพระเมรุพระบรมอัฐิสมเด็จพระชนกาธิบดี
- ๘๒. เกิดเหตุบาดหมางในระหว่าง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๘๓. สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีพระเจ้ากรุงกัมพูชาพิราลัย
- ๘๔. ข่าวศึกพม่า กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จเมืองเชียงใหม่
- ๘๕. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๕
- ๘๖. ฉลองพระมณฑปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- ๘๗. ข่าวศึกพม่า
- ๘๘. สมเด็จพระพี่นางสิ้นพระชนม์
- ๘๙. โปรดให้กองทัพเขมรไปช่วยเจ้าอนัมก๊ก
- ๙๐. เพลิงไหม้สำเพ็ง
- ๙๑. สร้างและฉลองวัดพระเชตุพน
- ๙๒. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๖
- ๙๓. ได้ช้างเผือกพระเทพกุญชร
- ๙๔. เพลิงไหม้วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์
- ๙๕. เจ้าอนัมก๊กได้เมืองญวนและตั้งตัวเป็นพระเจ้ากรุงเวียตนามยาลอง
- ๙๖. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๙๗. ศึกพม่าครั้งที่ ๔
- ๙๘. นักองจันท์ นักองสงวน เข้ามาเฝ้า
- ๙๙. พระเจ้าเวียตนามถวายของสนองพระคุณ
- ๑๐๐. กองทัพไทยไปตีเมืองเชียงแสน
- ๑๐๑. ตั้งเจ้าเชียงใหม่
- ๑๐๒. ได้ช้างสีทองแดงพระบรมฉัททันต์
- ๑๐๓. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๐๔. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคต
- ๑๐๕. พระราชประวัติกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๐๖. สิ่งซึ่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงสร้าง
- ๑๐๗. เรื่องหม่อมลำดวน หม่อมอินทปัต
- ๑๐๘. เลื่อนกรมขุนเสนานุรักษ์และตั้งกรมขุนพิทักษ์มนตรี
- ๑๐๙. กองทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์กลับจากเมืองเชียงแสน
- ๑๑๐. การพระเมรุกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๑๑. พระเจ้าเวียตนามมีราชสาสน์มาทูลเตือน ให้ตั้งกรมพระราชวังบวรฯ
- ๑๑๒. เกณฑ์ทัพไปตีเมืองเชียงตุง เชียงรุ้ง
- ๑๑๓. ตั้งเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๑๔. ตั้งเจ้าอนุครองเมืองเวียงจันทน์
- ๑๑๕. กรมหลวงเทพหริรักษ์สิ้นพระชนม์
- ๑๑๖. ชำระกฎหมาย
- ๑๑๗. ได้ช้างสำคัญพระบรมนัขมณีและพระบรมคชลักษณ์
- ๑๑๘. ได้เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ้ง และเมืองลื้อ สิบสองปันนา
- ๑๑๙. พระเจ้ากรุงเวียตนามมีราชสาสน์ถวายบรรณาการ
- ๑๒๐. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๒๑. กรมพระราชวังหลังทิวงคต
- ๑๒๒. ตั้งนักองจันท์เป็นสมเด็จพระอุทัยราชาเจ้ากรุงกัมพูชา
- ๑๒๓. พระราชพิธีอุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
- ๑๒๔. ตั้งพระบัณฑูรน้อย และตั้งกรมเจ้านาย
- ๑๒๕. การพระเมรุกรมพระราชวังหลัง
- ๑๒๖. พระเจ้าเวียตนามมีพระราชสาสน์ทรงยินดีในการอุปราชาภิเษก
- ๑๒๗. กรมหลวงจักรเจษฎาสิ้นพระชนม์
- ๑๒๘. ได้ช้างสำคัญ
- ๑๒๙. สมเด็จพระอุทัยทูลขอนักองอี นักองเภา
- ๑๓๐. เชิญพระพุทธรูปพระศรีศากยมุนีมากรุงเทพฯ
- ๑๓๑. ปราบปรามเมืองยิริง
- ๑๓๒. เจ้าฟ้ากรมขุนศรีสุนทรเทพสิ้นพระชนม์
- ๑๓๓. โสกันต์เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๓๔. แห่สระสนานใหญ่แห่พระกฐินและมีกระจาดใหญ่กัณฑ์เทศน์มหาชาติ
- ๑๓๕. ผลประโยชน์แผ่นดิน
- ๑๓๖. วัดที่ได้ทรงปฏิสังขรณ์
- ๑๓๗. พระราชานุกิจ
- ๑๓๘. สมเด็จพระอุทัยราชาเข้ามาเฝ้า
- ๑๓๙. งานสมโภชพระแก้วมรกต
- ๑๔๐. สวรรคต
- ๑๔๑. พระราชประวัติ
- ๑๔๒. เสนาบดีในรัชกาลที่ ๑
- ภาคผนวก
- หมายรับสั่ง เรื่อง ยกประตูพระบรมมหาราชวัง จ.ศ. ๑๑๔๔
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์ไพร่หลวง ไทย มอญ รับแขกเมือง ณ แม่น้ำน้อย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์แห่เรือรับพระบรมสารีริกธาตุจากเมืองทวาย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายกำหนดการ เรื่อง มหาอุปราชาภิเษก จ.ศ. ๑๑๖๘
- หมายกำหนดการ เรื่อง ฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จ.ศ. ๑๑๗๑
๒๘. พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ลุจุลศักราช ๑๑๔๗[๔๑] ปีมะเส็ง สัปตศก การสร้างพระนคร และ พระมหาปราสาทราชนิเวศน์สำเร็จดังพระราชประสงค์ จึงทรงพระราชดำริว่าเมื่อปีขาลจัตวาศก ได้ทำการพระราชพิธีปราบดาภิเษกแต่โดยสังเขป ยังไม่พร้อมมูลเต็มตามตำรา และบัดนี้ก็ได้ทรงสร้างพระนครและพระราชมนเทียรสถานขึ้นใหม่ ควรจะทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกให้เต็มตามแบบแผนโบราณราชประเพณี จะได้เป็นพระเกียรติยศและเป็นศรีสวัสดิมงคลแก่บ้านเมือง เป็นที่เจริญสุขแก่ไพร่ฟ้าประชาราษฎรทั่วไปในพระราชอาณาเขต จึงโปรดเกล้าฯ ให้ประชุมพระราชวงศานุวงศ์ และเสนาพฤฒามาตย์กระวีชาติราชบัณฑิตยาจารย์ ชีพ่อพราหมณ์ปรึกษาพร้อมกันเห็นสมควรแล้ว จึงมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตั้งมณฑปที่สรงพระกระยาสนานที่ชั้นพระชาลา ข้างพระที่นั่งอมรินทราภิเษกเบื้องบูรพทิศ เสาบันทวยนาคช่อห้อยช่อตั้งใบโพธิ์ห้อย และยอดซุ้มหุ้มด้วยผ้าโขมพัสตร์มีท่อธารสัณฐานดังฝักประทุมทำด้วยเงิน ขังน้ำเบ็ญจสุทธิคงคาไว้บนเพดานผ้าขาวมีนามว่าสหัสสธารา เพดานนั้นประดับด้วยดาวทอง และพวงพู่ล้วนสุวรรณมาลาดอกจำปาทองและพระวิสูตรพื้นผ้าโขมพัสตร์จำหลักลายดอกสุวรรณประจำทั้ง ๔ ด้าน และมีเตียงเล็กสำหรับตั้งพระพุทธปฏิมาไชยเมื่อเวลาสรง ตั้งราชวัติและฉัตรทอง ฉัตรนาก ฉัตรเงิน เจ็ดชั้น ที่เสาราชวัติประดับด้วย ต้นกล้วย ต้นอ้อย ดอกหมาก ดอกมะพร้าวล้อมรอบพระมณฑป ภายในพระมณฑปปูลาดผ้าโขมพัสตร์ตั้งถาดทอง แล้วมีตั่งทำด้วยไม้มะเดื่อและไม้ไชยพฤกษ์ ลาดใบไม้ข่มนามตั้งบนถาดทองนั้นเป็นที่เสด็จสรง รอบพระมหามนเทียร และพระที่นั่งอมรินทราภิเษกข้างหน้า รายด้วยฉัตรเบญจรงค์เจ็ดชั้น ที่เสาราชวัติประดับด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อย ดอกหมาก ดอกมะพร้าว ในพระที่นั่งอมรินทราภิเษกนั้น ด้านบูรพทิศตั้งเตียงแว่นฟ้ามีเพดานระบายรอบเป็นเตียงพระมณฑล และเตียงพระมณฑลนั้นเป็นที่ประดิษฐาน พระบรมธาตุ พระพุทธปฏิมาไชย พระพุทธปฏิมาห้ามสมุทรดวงพระชนมพรรษา พระสุพรรณบัฏ พระมหามงกุฎ พระมหามงคล[๔๒] พระนพ พระมหาสังวาลสร้อยอ่อน พระมหาสังวาลพราหมณ์ เครื่องพระพิไชยสงคราม เครื่องพระมนต์พิเศษ หีบพระธำมรงค์ พระเกราะนวมพระภูษารัตตกัมพล พระอุณาโลมทำแท่ง พัดวาลวิชนี ธารพระกร ฉลองพระบาท พระขรรค์ไชยศรี พระแสงดาบชะเลย พระแสงง้าว พระแสงจักร พระแสงตรีศูล พระแสงเกาทัณฑ์ พระแสงเขนมีดาบ พระแสงทวน พระแสงหอกไชย พระแสงของ้าวเจ้าพระยาแสนพลพ่าย พระแสงของ้าวตีช้างล้ม พระชะนักต้น พระแสงปืนคาบศิลาที่เคยทรง พระแสงปืนคาบชุดข้ามแม่น้ำสะโตง พระเศวตฉัตร พระเสมาธิปัต พระฉัตรไชย พระเกาวพ่าย ธงไชยกระบี่ธุช ธงไชยครุฑพ่าห์ และพระมหาสังข์ทักษิณาวัฏ พระสังข์ทอง พระสังข์เงิน พระเต้าเบญจครรภ พระเต้าทอง พระเต้านาก พระเต้าเงิน พระเต้าสัมฤทธิ์ และตั้งตั่งใหญ่ไม้มะเดื่อแปดเหลี่ยม ชื่ออัฐทิศกั้นบวรเศวตฉัตรเจ็ดชั้น และตั่งน้อยประจำทิศทำด้วยไม้ฤๅษีสุข ตั้งน้ำกลศน้ำสังข์และมีรูปเขียนเทพยดาทั้งแปดองค์ผู้ทรงฤทธิ์ประจำทิศทั้งแปด หน้าเตียงพระมณฑลตั้งเครื่องนมัสการ หลังเตียงพระมณฑลตั้งบาตรน้ำพระพุทธมนต์ ๔ บาตร ทราย ๕ ด้านประจิมทิศตั้งเตียงมีโครงเพดานดาดผ้าขาว ที่สำหรับพระสงฆ์จะได้สวดภาณวารและมหาไชยสำหรับพระราชพิธีมีเครื่องทรงนมัสการกระบะมุกและตั้งเทียนไชยมีกระโจมหุ้มผ้าขาว และตั้งพระที่นั่งภัทรบิฐทำด้วยไม้มะเดื่อหุ้มเงินองค์ ๑ บนพระที่นั่งนั้นลาดหญ้าคาและโรยด้วยแป้งข้าวสาลี มีแผ่นทองคำเขียนรูปราชสีห์ด้วยเส้นชาดหรคุณ ทับบนเส้นหญ้าคา แล้วคลุมลงด้วยผ้าขาว กั้นพระบวรเศวตฉัตรเจ็ดชั้น ณ พระแท่นที่พระบรรทมที่พระมหามนเทียรข้างในแต่งอาสนะปูลาดพรมเจียม สำหรับเป็นที่พระสงฆ์ราชาคณะสมถะ ๕ รูป สวดพระปริตรพุทธมนต์และกรมโหรตั้งเครื่องบัตรพลีบูชาเทวดานพเคราะห์ เพื่อเจริญพระชนมายุกาลแล้ววงด้วยสายสิญจน์สูตรโยงไปโดยท่ามกลางสาย ๑ แล้ววงล่ามไปตลอดเตียงพระมณฑลพระพุทธปฏิมาไชยสรรพเครื่องศาสตราวุธ ตั่งอัฐทิศและพระที่นั่งภัทรบิฐทั้งพระมณฑปที่สรงพระกระยาสนาน ตลอดมาถึงท้องพระโรงข้างหน้าและตั้งโรงพิธีพราหมณ์หน้าพระที่นั่ง ประดับด้วยราชวัติฉัตรกระดาษ ๕ ชั้น มีต้นกล้วย ต้นอ้อย และดอกหมาก ดอกมะพร้าวห้อยตามมุมราชวัติ แล้วเชิญเทวรูปทั้ง ๗ องค์ออกตั้งคือพระปรเมศวร พระพรหมธาดา พระนารายณ์ พระเทวกรรม พระพิฆเนศวร พระอุมาภควดี พระลักษมีตั้งเครื่องเบญจครรภ นพวรรคหม้อกุณฑ์เตากุณฑ์โหมเพลิง และไตรทวารทำด้วยไม้ซีก ประดับด้วยไม้ไผ่ อุนาเทวาพรหมโองการ ทิศละ ๓ อันทั้ง ๘ ทิศ ตั้งกลศสังข์
ครั้นถึงวันพระฤกษ์ เวลาบ่าย ๓ โมงเศษ เมื่อพระสงฆ์ ๔๓ รูป ประชุมพร้อมในพระที่นั่งอมรินทราภิเษก จึงประโคมสังคีตดุริยางคดนตรีมโหรีพิณพาทย์ศัพทนฤนาท พระบาทสมเด็จบรมนารถบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออกทรงนมัสการพระศรีรัตนตรัยด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ทรงจุดเทียนเครื่องนมัสการสมเด็จพระอริยวงษญาน จุดเทียนไชย ทรงรับพระไตรสรณาคมน์และเบญจศีลเสร็จ เสด็จขึ้นในพระมหามนเทียรที่ห้องพระบรรทม ทรงจุดเทียนเครื่องนมัสการแล้วทรงพระมหามงคล ซึ่งสอดด้วยด้ายสายสิญจน์สูตร ทรงสดับพระราชาคณะสงฆ์สมถะ ๕ รูปสวดพระพุทธมนต์จบแล้ว ประโคมแตรสังข์ฆ้องไชยดุริยดนตรีมโหรีพิณพาทย์ รุ่งขึ้นเวลาเช้าเสด็จออกทรงปฏิบัติพระสงฆ์ ทรงพระราชอุทิศเป็นสังฆทานวัตร พระสงฆ์รับทำภัตตากิจ เสร็จแล้วถวายอดิเรกถวายพระพรลา ครบ ๓ วารเป็นกำหนด ครั้นรุ่งขึ้นวันคำรบ ๔ เวลาเช้าได้มหาพิไชยมงคลฤกษ์ ต้องอย่างโบราณขัตติยราชประเพณีแต่ก่อนมา หลวงโลกทีปและพระมหาราชครู จึงกราบทูลอัญเชิญเสด็จสรง เจ้าพนักงานชาวพระภูษามาลา ถวายพระภูษาถอด แล้วพระยาราชโกศาเชิญพระไชย หลวงสิทธิไชย พระหมอเฒ่า เชิญพระพิฆเนศวร พระมหาราชครูพระครูอัษฎาจารย์โปรยข้าวตอก หลวงราชมุนี หลวงศีวาจารย์ เป่าพระมหาสังข์ทักษิณาวัฏ นำเสด็จเบื้องมุขประเทศไปสู่มณฑปพระกระยาสนาน เสด็จสถิตเหนืออุทุมพรราชอาสน์จึงพระยาราชโกศาถวายเครื่องพระกระยาสนาน หลวงราชวงศาไขสหัสสธารา สรงสหัสสธาราแล้ว หลวงสิทธิไชยพระหมอเฒ่า ถวายพระมหาสังข์ทักษิณาวัฏ พระมหาราชครูพิธีถวายพระเต้าเบญจครรภ พระครูอัษฎาจารย์ ถวายพระสังข์ทอง และพราหมณ์มีชื่อ ถวายพระสังข์เงิน ขุนรักษ์นารายณ์ ขุนราชธาดา เป่าพระมหาสังข์ทักษิณาวัฏ ๒ องค์ ขุนหมื่นมีชื่อเป่าสังข์อุตราวัฏ ๖ องค์ เจ้าพนักงานประโคมดุริยางค์ดนตรีมะโหระทึก แตรสังข์ บัณเฑาะว์ ครั้นสรงเสร็จแล้ว พระยาราชโกศาถวายพระภูษาทรงผลัดลายเขียนทอง ทรงฉลองพระองค์ครุยทอง เสด็จกลับมาสถิตเหนือพระที่นั่งอัฐทิศ ผันพระพักตร์ไปสู่อุดรทิศเป็นปฐม พราหมณ์ถวายน้ำพระมหาสังข์ทักษิณาวัฏ น้ำกลศ ทรงรับมาสรงพระพักตร์และเสวยหน่อยหนึ่ง แล้วผันพระองค์ไปตามทิศอาคเนย์โดยทักษิณาวัฏ ทรงรับน้ำพระพุทธมนต์ น้ำสังข์ทั้ง ๘ ทิศแล้วเสด็จพระราชดำเนินมายังพระที่นั่งภัทรบิฐ พระมหาราชครูจึงประคองพระองค์ขึ้นเสด็จประทับพระที่นั่งภัทรบิฐเหนือแผ่นทองรูปราชสีห์อันมีมหันตเดช พระมหาราชครูพิธีอ่านพระเวทสรรเสริญไกรลาศแล้ว ถวายพระสุพรรณบัฏเบญจราชกกุธภัณฑ์ คือพระมหามงกุฎ พระแสงขรรค์ ธารพระกร พัดวาลวิชนี ฉลองพระบาท แล้วถวายพระแสงอัษฎาวุธ คือ พระแสงหอกไชย พระแสงดาบเชลย พระแสงเขนมีดาบ พระแสงปืนคาบชุดข้ามแม่น้ำสะโตง พระแสงจักร พระแสงตรีศูล พระแสงเกาทัณฑ์ พระแสงของ้าวเจ้าพระยาแสนพลพ่าย และเครื่องราชูปโภค ประกอบด้วยวิษณุเวท อิศวรมนต์ทรงรับแล้วส่งให้พระยาราชโกศา ๆ รับต่อพระหัตถ์แล้วส่งให้เจ้าพนักงาน แต่ฉลองพระบาทนั้น พระมหาราชครูรับมาสอดถวาย แล้วถวายพระพรชัยเสร็จแล้ว
พระมหาราชครูพิธีกราบบังคมทูลว่า “ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท ปกเกล้าปกกระหม่อม สิริราชสมบัติ อันหาพระมหากษัตริย์จะครอบครองมิได้ ข้าพระพุทธเจ้ากับเสนาบดีมุขมนตรีทั้งปวง ขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย แด่พระบาทสมเด็จบรมนารถบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัว เป็นที่พึ่งแก่สมณพราหมณาจารย์ อาณาประชาราษฎรสืบไป ขอเดชะ”
หลวงสิทธิไชยพระหมอเฒ่า ถวายพระมหาเศวตฉัตรต่อพระหัตถ์ แล้วกราบทูลว่า “ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อมข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย พระมหาเศวตฉัตร เป็นที่เฉลิมสิริราชสมบัติสำหรับบรมกษัตริย์สืบมา แด่พระบาทสมเด็จบรมนารถบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัว ขอเดชะ” เสร็จแล้ว จึงมีพระราชโองการดำรัสแก่พระมหาราชครูผู้ใหญ่ว่า “พรรณพฤกษ์ ชลธี และสิ่งของในแผ่นดินทั่วทั้งพระราชอาณาเขต ซึ่งหาผู้หวงแหนมิได้นั้น ตามแต่สมณชีพราหมณาจารย์ ราษฎรจะปรารถนาเถิด” จึ่งพระมหาราชครูผู้ใหญ่รับพระราชโองการเป็นฤกษ์ก่อนว่า “ข้าพระพุทธเจ้าขอรับพระราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาทใส่เกล้าใส่กระหม่อม ขอเดชะ” แล้วทรงโปรยดอกพิกุลทอง พิกุลเงิน แล้วทรงหลั่งน้ำทักษิโณทก ทรงพระอธิษฐานตามพระราชอัธยาศัย แล้วพราหมณ์เป่าพระมหาสังข์ประโคมดนตรี มะโหระทึกสุดเสียงประโคมแล้ว สมเด็จพระสังฆราชดับเทียนไชย แล้วเสด็จทรงถวายไทยธรรมแก่พระสงฆ์ สมเด็จพระสังฆราชถวายอดิเรกพระสงฆ์ถวายสัพพพุทธาแล้วถวายพระพรลา จึงพระราชครูพิธีพระหมอเฒ่าไปประพรมน้ำกลศน้ำสังข์รอบพระมหามนเทียรข้างในข้างหน้า อวยไชยถวายพระพรแล้ว จึงเสด็จออกท้องพระโรงหน้า ประทับพระแท่นเศวตฉัตร ขณะนั้นพระราชวงศานุวงศ์ และข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อย ฝ่ายทหารพลเรือนเข้ามาเฝ้าพร้อมกัน
จึงเจ้าพระยารัตนาพิพิธ ที่สมุหนายก กราบทูลว่า “ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท ปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย พระยาช้างพระที่นั่งต้น พระยาม้าพระที่นั่งต้น กับเมืองเอก โท ตรี จัตวา ทั้งไพร่พลฝ่ายพลเรือน แด่พระบาทสมเด็จบรมนารถบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัว ขอเดชะ”
เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา ที่สมุหพระกลาโหม กราบทูลว่า “ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท ปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย พระมหาพิไชยราชรถ เรือพระที่นั่งศรีสมรรถไชย เรือพระที่นั่งไกรสรมุข เรือกระบวนใหญ่น้อย และเครื่องสรรพยุทธทั้งปวง เมืองเอก โท ตรี ทั้งไพร่พลฝ่ายทหาร แด่พระบาทสมเด็จบรมนารถบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัว ขอเดชะ”
เจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ กราบทูลว่า “ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย พระมหามนเทียรปราสาทราชนิเวศน์มหาสถาน พระราเชนทรราชยาน ทั้งเครื่องสูงเฉลิมพระเกียรติยศ แด่พระบาทสมเด็จบรมนารถบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัว ขอเดชะ”
พระยายมราช กราบทูลว่า “ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท ปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า ขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายกรุงเทพมหานครศรีอยุธยา แด่พระบาทสมเด็จบรมนารถบรมบพิตร พระเจ้าอยู่หัว ขอเดชะ”
พระยาโกศาธิบดี กราบทูลว่า “ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท ปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า ขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเครื่องพระพัทยากรราชสมบัติ ทั้งสิบสองพระคลังแด่พระบาทสมเด็จบรมนารถบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัว ขอเดชะ”
พระยาพลเทพ กราบทูลว่า “ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท ปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า ขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายธัญญาหาร แดนสถาน ลานนาเขตประเทศทุกตำบล แด่พระบาทสมเด็จบรมนารถบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัว ขอเดชะ”
แล้วจึงมีพระราชโองการปฏิสันถารแก่เจ้าพระยาและพระยาทั้งปวงว่า “สิ่งของทั้งนี้ จงจัดทำนุบำรุงไว้ให้จงดี จะได้ป้องกันรักษาแผ่นดิน ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และพระราชอาณาเขตสืบไป” แล้วอัครมหาเสนาธิบดีรับพระราชโองการกราบบังคมทูลว่า “ข้าพระพุทธเจ้าขอรับพระราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาทใส่เกล้าใส่กระหม่อม ขอเดชะ” แล้วเสด็จกลับขึ้นข้างใน เสด็จประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐ
ท้าววรจันทร์ กราบทูลว่า “ข้าพระพุทธเจ้า ท้าววรจันทร์ ขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย พระสนมสิบสองพระกำนัล แด่พระบาทสมเด็จบรมนารถบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัวขอเดชะ” ทรงพระราชปฏิสันถารตามพระราชอัธยาศัยเสร็จแล้ว ครั้นได้พระฤกษ์เจ้าพนักงานจึงประโคมดุริยางคดนตรีแตรสังข์ พิณพาทย์มโหรีมี่สนั่นประนังเสียงศัพทนฤนาท เสด็จพระราชดำเนินขึ้นสู่พระมหามนเทียร ทรงโปรยดอกพิกุลทอง พิกุลเงิน มีนางชำระพระบาท ๒ นางเชิญเครื่องราชูปโภค และมีนางเชื้อพระวงศ์ ๖ อุ้มวิฬาร์ ๑ อุ้มศิลาบด ๑ อุ้มฟักเขียว ๑ ถือขันข้าวเปลือก ๑ ถือขันถั่วทอง ๑ ถือขันงา ๑ ครั้นเสด็จถึงในที่ทรงจุดเทียน นมัสการก่อนแล้วเสด็จขึ้นพระแท่นที่บรรทม พระราชวงศ์ผู้ใหญ่ฝ่ายในถวายดอกหมาก ทำด้วยทองคำหนัก ๕ ตำลึง ทรงรับแล้ววางไว้ข้างที่แล้วท้าวทรงกันดาลถวายกุญแจ แล้วเอนพระองค์ลงบรรทมเหนือพระแท่นที่ โดยทักษิณปรัศว์เบื้องขวาเป็นพระฤกษ์ก่อนแล้ว และพระวงศ์ฝ่ายในผู้ทรงพระชนมายุถวายพระพรก่อน แล้วพระวงศานุวงศ์ ท้าวนางข้างในถวายพระพรพร้อมกัน แล้วให้ประโคมดุริยางคดนตรี ครั้นสุดเสียงประโคมแล้วเสด็จขึ้น ครั้นเวลาบ่ายพระราชวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ผู้น้อยฝ่ายหน้าฝ่ายในและข้าราชการฝ่ายทหารพลเรือน พร้อมกันเวียนพระเทียนเฉลิมพระมหามนเทียรตามโบราณราชประเพณีแต่ก่อนมา