- คำนำ
- บานแผนก
- รายงานทูลเกล้าฯ ถวาย
- บานแผนกเดิม
- ๑. สร้างกรุงรัตนโกสินทร์
- ๒. พระราชพิธีปราบดาภิเษก
- ๓. ประดิษฐานพระราชวงศ์
- ๔. ตั้งข้าราชการวังหลวง
- ๕. แบ่งหัวเมืองขึ้น กลาโหม มหาดไทย กรมท่า
- ๖. ตั้งข้าราชการวังหน้า
- ๗. ตั้งตำแหน่งพระราชาคณะ
- ๘. พงศาวดารเขมร ตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรีจนนักองเองเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ
- ๙. พระราชทานคืนพระบาง และให้เจ้านันทเสนไปครองเมืองล้านช้าง
- ๑๐. องเชียงสือญวนเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
- ๑๑. เรื่องพงศาวดารญวน
- ๑๒. พระยาปังกลิมาเจ้าเมืองกำปอดแข็งเมือง
- ๑๓. พงศาวดารพม่า ตั้งแต่มังหม่องเป็นกบฏ จนพระเจ้าปะดุงได้เมืองยะไข่
- ๑๔. อ้ายกบฏ ๒ คนเข้าวังหน้า
- ๑๕. เจ้าพระยาอภัยภูเบศรไปรั้งเมืองเขมร
- ๑๖. ทัพพระยานครสวรรค์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๑๗. สร้างพระนคร
- ๑๘. สร้างพระราชมนเทียร
- ๑๙. ทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๒๐. สร้างพระมหาปราสาท
- ๒๑. สร้างวัดพระแก้ว
- ๒๒. ตำนานพระแก้วมรกต
- ๒๓. ปฏิสังขรณ์วัดสลัก
- ๒๔. ปิดคลองลัด
- ๒๕. ทำศพเจ้ากรุงธนบุรี
- ๒๖. ได้ช้างสำคัญ
- ๒๗. ลดตำแหน่งพระเจ้านครศรีธรรมราช และตั้งเจ้าพระยานครพัด
- ๒๘. พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
- ๒๙. สมโภชพระนคร
- ๓๐. กรมหลวงอิศรสุนทรเสด็จมาอยู่พระราชวังเดิม
- ๓๑. น้ำมากข้าวแพง
- ๓๒. ศึกพม่าครั้งที่ ๑
- ๓๓. รบพม่าเมืองกาญจนบุรี
- ๓๔. รบพม่าเมืองราชบุรี
- ๓๕. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จแหลมมลายู
- ๓๖. รบพม่าทางเมืองเหนือ
- ๓๗. ตั้งกรมพระราชวังหลัง
- ๓๘. รบพม่าทางแหลมมลายู
- ๓๙. ปราบเมืองมลายู
- ๔๐. หล่อปืนใหญ่
- ๔๑. ตั้งท้าวเทพสตรี ท้าวศรีสุนทร
- ๔๒. สร้างวังเจ้าเขมร
- ๔๓. องเชียงสือหนีจากกรุงเทพฯ
- ๔๔. ศึกพม่าครั้งที่ ๒
- ๔๕. สร้างมณฑปพระพุทธบาท
- ๔๖. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จไปตั้งเมืองเชียงใหม่
- ๔๗. พระราชทานเรือและเครื่องอาวุธช่วยองเชียงสือ
- ๔๘. ทัพหลวงไปตีเมืองทวาย
- ๔๙. ฝรั่งเข้ามาพนันชกมวย
- ๕๐. พระราชทานเรือรบและปืนช่วยองเชียงสือ
- ๕๑. ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่
- ๕๒. องเชียงสือถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๑ พระราชทานกำลังช่วยองเชียงสือ
- ๕๓. ทำสังคายนาพระไตรปิฎก
- ๕๔. องเชียงสือถวายข้าวสาร
- ๕๕. ไฟไหม้พระมหาปราสาท
- ๕๖. ปราบรายาเมืองตานี
- ๕๗. องเชียงสือตั้งตัวเป็นเจ้าอนัมก๊ก ถวายต้นไม้ทองเงินเป็นครั้งที่ ๒
- ๕๘. ทัพเวียงจันทน์รบญวนไกเซิน
- ๕๙. เจ้าอนัมก๊กกล่าวโทษเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์
- ๖๐. แขกเซียะตีเมืองสงขลา
- ๖๑. เจ้าอนัมก๊กถวายเรือรบ และพระราชทานปืนตอบ
- ๖๒. ทัพเวียงจันทน์ตีเมืองหลวงพระบาง
- ๖๓. เมืองทวายสวามิภักดิ์
- ๖๔. เจ้าอนัมก๊กมีศุภอักษรนัดให้ไปตีเมืองตังเกี๋ย
- ๖๕. ทัพพระยายมราชยกไปเมืองทวาย
- ๖๖. ทัพหลวงยกไปเมืองทวาย
- ๖๗. ยกทัพหลวงไปตีเมืองพม่า
- ๖๘. ทวายเป็นกบฏ
- ๖๙. เจ้าอนัมก๊กขอตราให้หัวเมืองช่วยการทัพ และถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๓
- ๗๐. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๗๑. ญวนไกเซินขอเป็นไมตรี
- ๗๒. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (ศุข) ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และนักองเอง
- ๗๓. ตั้งนักองเองออกไปครองกรุงกัมพูชา นักองเองถวายเมืองพระตะบองเสียมราฐ
- ๗๔. ถอดเจ้านครล้านช้าง
- ๗๕. ได้ช้างเผือกพระอินทรไอยรา
- ๗๖. ศึกพม่าครั้งที่ ๓
- ๗๗. เชิญพระพุทธสิหิงก์มากรุงเทพฯ
- ๗๘. กรมพระราชวังบวรฯ ทรงผนวช
- ๗๙. สมเด็จพระนารายณ์รามารับอากับครอบครัวไปเมืองเขมร
- ๘๐. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๔
- ๘๑. การพระเมรุพระบรมอัฐิสมเด็จพระชนกาธิบดี
- ๘๒. เกิดเหตุบาดหมางในระหว่าง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๘๓. สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีพระเจ้ากรุงกัมพูชาพิราลัย
- ๘๔. ข่าวศึกพม่า กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จเมืองเชียงใหม่
- ๘๕. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๕
- ๘๖. ฉลองพระมณฑปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- ๘๗. ข่าวศึกพม่า
- ๘๘. สมเด็จพระพี่นางสิ้นพระชนม์
- ๘๙. โปรดให้กองทัพเขมรไปช่วยเจ้าอนัมก๊ก
- ๙๐. เพลิงไหม้สำเพ็ง
- ๙๑. สร้างและฉลองวัดพระเชตุพน
- ๙๒. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๖
- ๙๓. ได้ช้างเผือกพระเทพกุญชร
- ๙๔. เพลิงไหม้วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์
- ๙๕. เจ้าอนัมก๊กได้เมืองญวนและตั้งตัวเป็นพระเจ้ากรุงเวียตนามยาลอง
- ๙๖. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๙๗. ศึกพม่าครั้งที่ ๔
- ๙๘. นักองจันท์ นักองสงวน เข้ามาเฝ้า
- ๙๙. พระเจ้าเวียตนามถวายของสนองพระคุณ
- ๑๐๐. กองทัพไทยไปตีเมืองเชียงแสน
- ๑๐๑. ตั้งเจ้าเชียงใหม่
- ๑๐๒. ได้ช้างสีทองแดงพระบรมฉัททันต์
- ๑๐๓. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๐๔. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคต
- ๑๐๕. พระราชประวัติกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๐๖. สิ่งซึ่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงสร้าง
- ๑๐๗. เรื่องหม่อมลำดวน หม่อมอินทปัต
- ๑๐๘. เลื่อนกรมขุนเสนานุรักษ์และตั้งกรมขุนพิทักษ์มนตรี
- ๑๐๙. กองทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์กลับจากเมืองเชียงแสน
- ๑๑๐. การพระเมรุกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๑๑. พระเจ้าเวียตนามมีราชสาสน์มาทูลเตือน ให้ตั้งกรมพระราชวังบวรฯ
- ๑๑๒. เกณฑ์ทัพไปตีเมืองเชียงตุง เชียงรุ้ง
- ๑๑๓. ตั้งเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๑๔. ตั้งเจ้าอนุครองเมืองเวียงจันทน์
- ๑๑๕. กรมหลวงเทพหริรักษ์สิ้นพระชนม์
- ๑๑๖. ชำระกฎหมาย
- ๑๑๗. ได้ช้างสำคัญพระบรมนัขมณีและพระบรมคชลักษณ์
- ๑๑๘. ได้เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ้ง และเมืองลื้อ สิบสองปันนา
- ๑๑๙. พระเจ้ากรุงเวียตนามมีราชสาสน์ถวายบรรณาการ
- ๑๒๐. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๒๑. กรมพระราชวังหลังทิวงคต
- ๑๒๒. ตั้งนักองจันท์เป็นสมเด็จพระอุทัยราชาเจ้ากรุงกัมพูชา
- ๑๒๓. พระราชพิธีอุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
- ๑๒๔. ตั้งพระบัณฑูรน้อย และตั้งกรมเจ้านาย
- ๑๒๕. การพระเมรุกรมพระราชวังหลัง
- ๑๒๖. พระเจ้าเวียตนามมีพระราชสาสน์ทรงยินดีในการอุปราชาภิเษก
- ๑๒๗. กรมหลวงจักรเจษฎาสิ้นพระชนม์
- ๑๒๘. ได้ช้างสำคัญ
- ๑๒๙. สมเด็จพระอุทัยทูลขอนักองอี นักองเภา
- ๑๓๐. เชิญพระพุทธรูปพระศรีศากยมุนีมากรุงเทพฯ
- ๑๓๑. ปราบปรามเมืองยิริง
- ๑๓๒. เจ้าฟ้ากรมขุนศรีสุนทรเทพสิ้นพระชนม์
- ๑๓๓. โสกันต์เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๓๔. แห่สระสนานใหญ่แห่พระกฐินและมีกระจาดใหญ่กัณฑ์เทศน์มหาชาติ
- ๑๓๕. ผลประโยชน์แผ่นดิน
- ๑๓๖. วัดที่ได้ทรงปฏิสังขรณ์
- ๑๓๗. พระราชานุกิจ
- ๑๓๘. สมเด็จพระอุทัยราชาเข้ามาเฝ้า
- ๑๓๙. งานสมโภชพระแก้วมรกต
- ๑๔๐. สวรรคต
- ๑๔๑. พระราชประวัติ
- ๑๔๒. เสนาบดีในรัชกาลที่ ๑
- ภาคผนวก
- หมายรับสั่ง เรื่อง ยกประตูพระบรมมหาราชวัง จ.ศ. ๑๑๔๔
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์ไพร่หลวง ไทย มอญ รับแขกเมือง ณ แม่น้ำน้อย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์แห่เรือรับพระบรมสารีริกธาตุจากเมืองทวาย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายกำหนดการ เรื่อง มหาอุปราชาภิเษก จ.ศ. ๑๑๖๘
- หมายกำหนดการ เรื่อง ฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จ.ศ. ๑๑๗๑
๓. ประดิษฐานพระราชวงศ์
ทรงสถาปนาพระราชวงศานุวงศ์ให้มีอิสริยศักดิ์ในราชตระกูล เป็นเจ้าฟ้า ๑๙ พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นาง ๒ สมเด็จพระอนุชาธิราช ๑ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ๔ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ ๑๑ และพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าลามีความชอบ โดยได้เชิญพระบรมอัฐิสมเด็จพระชนกนารถและพระมหาสังข์อุตราวัฏของเดิมมาทูลเกล้าฯ ถวาย โปรดให้เป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าด้วยอีกพระองค์ ๑ พระราชวงศานุวงศ์นอกจากนี้ โปรดให้เป็นพระองค์เจ้าและหม่อมเจ้า หม่อมราชนิกูล โดยสมควรแก่บรรดาศักดิ์ ตามโบราณราชประเพณีปราบดาภิเษกประดิษฐานพระราชวงศ์ใหม่
แล้วโปรดให้สมเด็จพระอนุชาธิราช เสด็จเถลิงพระราชมนเทียรที่พระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคลเสด็จประทับ ณ พระราชวังบวรฯ ซึ่งทรงสร้างใหม่ข้างเหนือพระราชวังหลวง ใกล้คฤหสถานที่ประทับเดิมของพระองค์
และโปรดให้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอพระองค์ใหญ่เป็นกรมพระเทพสุดาวดี ตั้งเจ้ากรมเป็นพระยา สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอพระองค์น้อย เป็นกรมพระศรีสุดารักษ์ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าลา เป็นกรมหลวงจักรเจษฎาประทับอยู่นิเวศน์เดิมของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
โปรดให้สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าทองอิน ซึ่งเป็นพระยาสุริยอภัยเป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ พระราชทานเครื่องสูง ๓ ชั้นคันประดับมุกและเรือดั้งแห่คู่ ๑ เป็นเครื่องประดับพระเกียรติยศโดยความชอบมีมากยิ่งกว่าพระราชภาคิไนยพระองค์อื่น กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ตั้งวังอยู่ที่สวนลิ้นจี่ ในเมืองเดิม ฟากตะวันตกริมคลองบางกอกน้อย และดำรัสให้ข้าหลวงไปเชิญสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าบุญเมือง ซึ่งเป็นพระอภัยสุริยาเข้ามาแต่เมืองนครราชสีมา โปรดตั้งเป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศรบดินทร์ ให้เสด็จไปอยู่พระราชวังเดิมที่เจ้ากรุงธนบุรีตั้งอยู่นั้น ครั้นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้าทองจีนที่เป็นหลวงนายฤทธิ์ ซึ่งเป็นอุปทูตออกไปกรุงปักกิ่งกลับเข้ามาถึง จึ่งโปรดให้แต่งเรือไปรับขึ้นมาแต่เมืองสมุทรปราการ โปรดตั้งเป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทร์รณเรศ ไปตั้งวังอยู่สวนมังคุดเหนือวัดบางว้าใหญ่ และกรมหลวงทั้ง ๓ พระองค์นี้ เป็นพระโอรสสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอพระองค์ใหญ่ แต่พระภาคิไนยซึ่งเป็นพระธิดาในกรมพระเทพสุดาวดีนั้น โปรดให้มีอิสริยยศ เป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้าภายใน รวมอยู่ในกรมนั้น
อนึ่ง เจ้าฟ้าตัน พระราชภาคิไนย ซึ่งเป็นพระโอรสสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอพระองค์น้อยนั้น โปรดตั้งเป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ พระราชภาคิไนย ซึ่งเป็นพระธิดาในสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ อีกสองพระองค์นั้นโปรดให้มีอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้าภายใน รวมอยู่ในกรมนั้น และนายกวดมหาดเล็กหุ้มแพร เป็นพระสามีพระองค์เจ้ากุ ซึ่งเป็นพระขนิษฐภคินีต่างพระชนนีนั้น โปรดตั้งเป็นกรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์นี้พระนามเดิม หม่อมมุก เป็นบุตรสมเด็จเจ้าพระยามหาสมบัติครั้งกรุงเก่า
อนึ่ง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าทั้งสี่พระองค์ ทรงสถาปนาพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ให้เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร พระราชธิดาองค์ที่สองนั้นให้เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนศรีสุนทรเทพ พระราชโอรสที่สามเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเสนานุรักษ์ พระราชธิดาพระองค์ที่สี่นั้น พระราชทานพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าประภาวดี
กรมหลวงอิศรสุนทร กรมขุนเสนานุรักษ์นั้น โปรดให้เสด็จอยู่พระราชนิเวศน์เดิม ซึ่งตั้งอยู่ริมอู่กำปั่น วัดระฆัง และพระราชวงศานุวงศ์ห่างออกไปนั้น ก็ทรงพระกรุณาโปรดตั้งเป็นเจ้าราชนิกูลโดยลำดับ คือ ตรัสเอาหม่อมด้วงเป็นพระฦๅราชสุริยวงศ์ ตรัสเอาหม่อมเงิน เป็นพระบำเรอราช ตรัสเอาหม่อมฮวบเป็นพระอนุรุธเทวา ตรัสเอาหม่อมทองคำเป็นพระราชานุวงศ์