- คำนำ
- บานแผนก
- รายงานทูลเกล้าฯ ถวาย
- บานแผนกเดิม
- ๑. สร้างกรุงรัตนโกสินทร์
- ๒. พระราชพิธีปราบดาภิเษก
- ๓. ประดิษฐานพระราชวงศ์
- ๔. ตั้งข้าราชการวังหลวง
- ๕. แบ่งหัวเมืองขึ้น กลาโหม มหาดไทย กรมท่า
- ๖. ตั้งข้าราชการวังหน้า
- ๗. ตั้งตำแหน่งพระราชาคณะ
- ๘. พงศาวดารเขมร ตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรีจนนักองเองเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ
- ๙. พระราชทานคืนพระบาง และให้เจ้านันทเสนไปครองเมืองล้านช้าง
- ๑๐. องเชียงสือญวนเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
- ๑๑. เรื่องพงศาวดารญวน
- ๑๒. พระยาปังกลิมาเจ้าเมืองกำปอดแข็งเมือง
- ๑๓. พงศาวดารพม่า ตั้งแต่มังหม่องเป็นกบฏ จนพระเจ้าปะดุงได้เมืองยะไข่
- ๑๔. อ้ายกบฏ ๒ คนเข้าวังหน้า
- ๑๕. เจ้าพระยาอภัยภูเบศรไปรั้งเมืองเขมร
- ๑๖. ทัพพระยานครสวรรค์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๑๗. สร้างพระนคร
- ๑๘. สร้างพระราชมนเทียร
- ๑๙. ทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๒๐. สร้างพระมหาปราสาท
- ๒๑. สร้างวัดพระแก้ว
- ๒๒. ตำนานพระแก้วมรกต
- ๒๓. ปฏิสังขรณ์วัดสลัก
- ๒๔. ปิดคลองลัด
- ๒๕. ทำศพเจ้ากรุงธนบุรี
- ๒๖. ได้ช้างสำคัญ
- ๒๗. ลดตำแหน่งพระเจ้านครศรีธรรมราช และตั้งเจ้าพระยานครพัด
- ๒๘. พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
- ๒๙. สมโภชพระนคร
- ๓๐. กรมหลวงอิศรสุนทรเสด็จมาอยู่พระราชวังเดิม
- ๓๑. น้ำมากข้าวแพง
- ๓๒. ศึกพม่าครั้งที่ ๑
- ๓๓. รบพม่าเมืองกาญจนบุรี
- ๓๔. รบพม่าเมืองราชบุรี
- ๓๕. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จแหลมมลายู
- ๓๖. รบพม่าทางเมืองเหนือ
- ๓๗. ตั้งกรมพระราชวังหลัง
- ๓๘. รบพม่าทางแหลมมลายู
- ๓๙. ปราบเมืองมลายู
- ๔๐. หล่อปืนใหญ่
- ๔๑. ตั้งท้าวเทพสตรี ท้าวศรีสุนทร
- ๔๒. สร้างวังเจ้าเขมร
- ๔๓. องเชียงสือหนีจากกรุงเทพฯ
- ๔๔. ศึกพม่าครั้งที่ ๒
- ๔๕. สร้างมณฑปพระพุทธบาท
- ๔๖. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จไปตั้งเมืองเชียงใหม่
- ๔๗. พระราชทานเรือและเครื่องอาวุธช่วยองเชียงสือ
- ๔๘. ทัพหลวงไปตีเมืองทวาย
- ๔๙. ฝรั่งเข้ามาพนันชกมวย
- ๕๐. พระราชทานเรือรบและปืนช่วยองเชียงสือ
- ๕๑. ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่
- ๕๒. องเชียงสือถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๑ พระราชทานกำลังช่วยองเชียงสือ
- ๕๓. ทำสังคายนาพระไตรปิฎก
- ๕๔. องเชียงสือถวายข้าวสาร
- ๕๕. ไฟไหม้พระมหาปราสาท
- ๕๖. ปราบรายาเมืองตานี
- ๕๗. องเชียงสือตั้งตัวเป็นเจ้าอนัมก๊ก ถวายต้นไม้ทองเงินเป็นครั้งที่ ๒
- ๕๘. ทัพเวียงจันทน์รบญวนไกเซิน
- ๕๙. เจ้าอนัมก๊กกล่าวโทษเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์
- ๖๐. แขกเซียะตีเมืองสงขลา
- ๖๑. เจ้าอนัมก๊กถวายเรือรบ และพระราชทานปืนตอบ
- ๖๒. ทัพเวียงจันทน์ตีเมืองหลวงพระบาง
- ๖๓. เมืองทวายสวามิภักดิ์
- ๖๔. เจ้าอนัมก๊กมีศุภอักษรนัดให้ไปตีเมืองตังเกี๋ย
- ๖๕. ทัพพระยายมราชยกไปเมืองทวาย
- ๖๖. ทัพหลวงยกไปเมืองทวาย
- ๖๗. ยกทัพหลวงไปตีเมืองพม่า
- ๖๘. ทวายเป็นกบฏ
- ๖๙. เจ้าอนัมก๊กขอตราให้หัวเมืองช่วยการทัพ และถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๓
- ๗๐. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๗๑. ญวนไกเซินขอเป็นไมตรี
- ๗๒. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (ศุข) ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และนักองเอง
- ๗๓. ตั้งนักองเองออกไปครองกรุงกัมพูชา นักองเองถวายเมืองพระตะบองเสียมราฐ
- ๗๔. ถอดเจ้านครล้านช้าง
- ๗๕. ได้ช้างเผือกพระอินทรไอยรา
- ๗๖. ศึกพม่าครั้งที่ ๓
- ๗๗. เชิญพระพุทธสิหิงก์มากรุงเทพฯ
- ๗๘. กรมพระราชวังบวรฯ ทรงผนวช
- ๗๙. สมเด็จพระนารายณ์รามารับอากับครอบครัวไปเมืองเขมร
- ๘๐. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๔
- ๘๑. การพระเมรุพระบรมอัฐิสมเด็จพระชนกาธิบดี
- ๘๒. เกิดเหตุบาดหมางในระหว่าง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๘๓. สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีพระเจ้ากรุงกัมพูชาพิราลัย
- ๘๔. ข่าวศึกพม่า กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จเมืองเชียงใหม่
- ๘๕. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๕
- ๘๖. ฉลองพระมณฑปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- ๘๗. ข่าวศึกพม่า
- ๘๘. สมเด็จพระพี่นางสิ้นพระชนม์
- ๘๙. โปรดให้กองทัพเขมรไปช่วยเจ้าอนัมก๊ก
- ๙๐. เพลิงไหม้สำเพ็ง
- ๙๑. สร้างและฉลองวัดพระเชตุพน
- ๙๒. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๖
- ๙๓. ได้ช้างเผือกพระเทพกุญชร
- ๙๔. เพลิงไหม้วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์
- ๙๕. เจ้าอนัมก๊กได้เมืองญวนและตั้งตัวเป็นพระเจ้ากรุงเวียตนามยาลอง
- ๙๖. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๙๗. ศึกพม่าครั้งที่ ๔
- ๙๘. นักองจันท์ นักองสงวน เข้ามาเฝ้า
- ๙๙. พระเจ้าเวียตนามถวายของสนองพระคุณ
- ๑๐๐. กองทัพไทยไปตีเมืองเชียงแสน
- ๑๐๑. ตั้งเจ้าเชียงใหม่
- ๑๐๒. ได้ช้างสีทองแดงพระบรมฉัททันต์
- ๑๐๓. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๐๔. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคต
- ๑๐๕. พระราชประวัติกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๐๖. สิ่งซึ่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงสร้าง
- ๑๐๗. เรื่องหม่อมลำดวน หม่อมอินทปัต
- ๑๐๘. เลื่อนกรมขุนเสนานุรักษ์และตั้งกรมขุนพิทักษ์มนตรี
- ๑๐๙. กองทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์กลับจากเมืองเชียงแสน
- ๑๑๐. การพระเมรุกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๑๑. พระเจ้าเวียตนามมีราชสาสน์มาทูลเตือน ให้ตั้งกรมพระราชวังบวรฯ
- ๑๑๒. เกณฑ์ทัพไปตีเมืองเชียงตุง เชียงรุ้ง
- ๑๑๓. ตั้งเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๑๔. ตั้งเจ้าอนุครองเมืองเวียงจันทน์
- ๑๑๕. กรมหลวงเทพหริรักษ์สิ้นพระชนม์
- ๑๑๖. ชำระกฎหมาย
- ๑๑๗. ได้ช้างสำคัญพระบรมนัขมณีและพระบรมคชลักษณ์
- ๑๑๘. ได้เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ้ง และเมืองลื้อ สิบสองปันนา
- ๑๑๙. พระเจ้ากรุงเวียตนามมีราชสาสน์ถวายบรรณาการ
- ๑๒๐. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๒๑. กรมพระราชวังหลังทิวงคต
- ๑๒๒. ตั้งนักองจันท์เป็นสมเด็จพระอุทัยราชาเจ้ากรุงกัมพูชา
- ๑๒๓. พระราชพิธีอุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
- ๑๒๔. ตั้งพระบัณฑูรน้อย และตั้งกรมเจ้านาย
- ๑๒๕. การพระเมรุกรมพระราชวังหลัง
- ๑๒๖. พระเจ้าเวียตนามมีพระราชสาสน์ทรงยินดีในการอุปราชาภิเษก
- ๑๒๗. กรมหลวงจักรเจษฎาสิ้นพระชนม์
- ๑๒๘. ได้ช้างสำคัญ
- ๑๒๙. สมเด็จพระอุทัยทูลขอนักองอี นักองเภา
- ๑๓๐. เชิญพระพุทธรูปพระศรีศากยมุนีมากรุงเทพฯ
- ๑๓๑. ปราบปรามเมืองยิริง
- ๑๓๒. เจ้าฟ้ากรมขุนศรีสุนทรเทพสิ้นพระชนม์
- ๑๓๓. โสกันต์เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๓๔. แห่สระสนานใหญ่แห่พระกฐินและมีกระจาดใหญ่กัณฑ์เทศน์มหาชาติ
- ๑๓๕. ผลประโยชน์แผ่นดิน
- ๑๓๖. วัดที่ได้ทรงปฏิสังขรณ์
- ๑๓๗. พระราชานุกิจ
- ๑๓๘. สมเด็จพระอุทัยราชาเข้ามาเฝ้า
- ๑๓๙. งานสมโภชพระแก้วมรกต
- ๑๔๐. สวรรคต
- ๑๔๑. พระราชประวัติ
- ๑๔๒. เสนาบดีในรัชกาลที่ ๑
- ภาคผนวก
- หมายรับสั่ง เรื่อง ยกประตูพระบรมมหาราชวัง จ.ศ. ๑๑๔๔
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์ไพร่หลวง ไทย มอญ รับแขกเมือง ณ แม่น้ำน้อย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์แห่เรือรับพระบรมสารีริกธาตุจากเมืองทวาย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายกำหนดการ เรื่อง มหาอุปราชาภิเษก จ.ศ. ๑๑๖๘
- หมายกำหนดการ เรื่อง ฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จ.ศ. ๑๑๗๑
๑๒๓. พระราชพิธีอุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
ครั้นมาถึง ณ วันอาทิตย์ เดือน ๔ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีขาล อัฐศก จุลศักราช ๑๑๖๘[๙๔] โปรดให้ตั้งการพระราชพิธีอุปราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ตั้งพลับพลาที่ประทับแรมที่โรงหล่อท้ายพระราชวังในกำแพง ซึ่งเป็นที่สวนกุหลาบในภายหลังตั้งเกยที่ข้างหลัง พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ พลับพลาเปลื้องเครื่องตั้งนอกกำแพงแก้ว พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทและพระมณฑปที่สรงสนาน ตั้งที่ชาลาในกำแพงแก้วด้านตะวันออกพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท โรงพิธีพราหมณ์ตั้งหน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ในการพระราชพิธีนั้น พระสงฆ์ พระราชาคณะ คามวาสี ๓๒ อรัญวาสี ๒ พระองค์เจ้า ๑ ฐานานุกรม ๑๒ อาจารย์ในกรุง ๓ อาจารย์นอกกรุง ๓ รวม ๕๓ รูป เจริญพระพุทธมนต์ ตั้งแต่ ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๔ ขึ้น ๔ ค่ำ ไป ๓ วัน เวลาบ่าย ๒ โมง ๕ บาท ตั้งกระบวนแห่มีข้าราชการ ฝ่ายทหารพลเรือน และมหาดเล็กในพระบรมมหาราชวัง และพระราชวังบวรฯ และตำรวจซึ่งต้องเกณฑ์ ในกระบวนแห่นั้นนุ่งถมปักลาย สวมเสื้อครุยขาว ขัดดาบขัดกระบี่ สะพายแล่งตามกระบวนบรรดาศักดิ์เป็นคู่ ๆ นั่งหน้าหลัง แห่เป็น ๔ สายแล้วถึงข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อย ฝ่ายทหารพลเรือนในพระบรมมหาราชวัง และพระราชวังบวรฯ นุ่งถมปักลายสวมเสื้อครุยขาวตามเสด็จท้ายกระบวนหลังอีก ๑๓๔ คู่ รวม ๒๖๘ คน แห่ตั้งแต่เกยที่ประทับมาโดยราชวิถี มีราชวัติฉัตรเบญจรงค์รายเป็นระยะตลอดมา เข้าประตูสุวรรณบริบาล หน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทแล้ว วงมาตามแนวกำแพงแก้วเสด็จขึ้นพลับพลา เปลื้องพระวิภูษิตาภรณ์ เครื่องที่ทรงมานั้นแล้ว ทรงพระภูษาลาย พื้นขาวโจงหางหงส์รัดพระองค์ปั้นเหน่งประดับเพชร ทรงพระธำมรงค์เพชรครบนิ้ว พระหัตถ์ขวาพระหัตถ์ซ้าย ทรงฉลองพระองค์ครุยกรองทอง แล้วทรงพระเสลี่ยงน้อยไปถึงที่ เสด็จขึ้นทางมุขหลังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เสด็จอยู่ข้างในพระฉาก ทรงสดับพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์จนจบทั้ง ๓ วันแล้ว เสด็จลงทางมุขหลังมาประทับที่พลับพลา เปลื้องเครื่องทรงผลัดเครื่องแต่งพระองค์ทรงพระมาลาเสร้าสูง ตั้งกระบวนแห่ เสด็จกลับทางประตูพิมานไชยศรีทั้ง ๓ วัน เวลาเช้าในวันที่ ๑ วันที่ ๒ นั้น ทรงพระเสลี่ยงน้อยเสด็จมาทรงปฏิบัติพระสงฆ์ฉันแล้วเสด็จทางประตูพิมานไชยศรี กับพระราชวงศานุวงศ์ทั้งปวง ไปประทับอยู่ ณ ทิมสงฆ์ ดำรัสให้ทิ้งทาน ณ ต้นกัลปพฤกษ์ทั้ง ๔ ต้น ซึ่งตั้งอยู่หว่างโรงละครนอกพระระเบียง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เฟื้องทอง เฟื้องเงิน ไว้ในผลมะกรูดในผลมะนาว รวมทั้ง ๓ วัน เป็นทอง ๑๘ ตำลึง เงิน ๒๔ ชั่ง
ครั้น ณ วันอาทิตย์ เดือน ๔ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีขาล อัฐศก เวลาเข้าทรงเครื่องต้น ทรงพระมหากฐินน้อย เสด็จโดยกระบวนแห่ล้วน สวมพอกขาวมีเกี้ยวมาตามทาง เข้าประตูสุวรรณบริบาล ประทับพลับพลา เปลื้องเครื่องแล้ว ทรงพระภูษาลายพื้นขาวโจงหางหงส์ รัดพระองค์ปั้นเหน่งประดับเพชร ทรงพระธำมรงค์ครบนิ้ว พระหัตถ์ขวาพระหัตถ์ซ้าย ทรงฉลองพระองค์ครุย เสด็จขึ้นบนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทโดยมุขหลัง ถวายนมัสการพระศรีรัตนตรัย จึงมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมา ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาททรงศีลและทรงพระราชอุทิศถวายสังฆภัตตานิสงส์ครบตติยวารแล้ว ทรงประเคนสำรับพระสงฆ์ราชาคณะรับพระราชทานฉัน ครั้นได้เวลามหามงคลฤกษ์ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรจึงเสด็จลงมาที่สรงสนานริมพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทด้านตะวันออก พระราชโกษาถวายพระภูษาขาวเครื่องถอดเสด็จประทับเหนือตั่งตั้งบนถาดทองแดง บ่ายพระพักตร์ต่อบูรพทิศแล้ว หลวงพิพิธภูษาทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย พระเครื่องมุรธาภิเษก สรงสนานเสร็จแล้ว พระราชาคณะคามวาสี ๙ พระราชาคณะอรัญวาสี ๒ พระอาจารย์วัดบางช้าง ๓ รวม ๑๔ รูป ถวายน้ำพระพุทธมนต์จึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระเต้าเบญจครรภและพระมหาสังข์ทักขิณาวัฏ พระสังข์ทองคำ พระสังข์เงิน อันเต็มด้วยน้ำปัญจสุทธินทีทรงรดพระราชทานเสร็จ และพระครูพราหมณ์ผู้ใหญ่ถวายน้ำสังข์น้ำกลศต่อพระหัตถ์แล้ว ถวายใบเวฬุ ทรงรับ พราหมณ์ผู้ใหญ่จึงร่ายพระเวทอิศวรมนตร์ พระพิษณุมนตร์ พระพรหมมนตร์ ถวายไชยมงคลเสร็จแล้ว ผลัดพระภูษาขาว ทรงพระภูษาลายเทศ พื้นแดง เขียนทอง ทรงสะพักกรองขาว เสด็จขึ้นพลับพลาเปลื้องพระเครื่องคอยพระฤกษ์ ครั้นได้ศุภวารมหุรติฤกษ์แล้ว เสด็จทรงพระเสลี่ยงน้อย จมื่นมหาดเล็กจึงเชิญธูปเทียนดอกไม้ตามเสด็จไปพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน เสด็จลงจากพระเสลี่ยงเข้าไปประทับอยู่ในท้องพระโรง ขุนมหาสิทธิโวหารอาลักษณ์เชิญพานพระสุพรรณบัฏมาจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ไว้ ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จประทับ ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานข้างใน จึงมีพระราชโองการดำรัสใช้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ให้ออกมาเชิญเสด็จ ๆ เข้าไปในพระที่นั่งข้างใน พระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าหลานเธอหลายพระองค์ทรงเชิญพานดอกไม้ธูปเทียนตามเสด็จเข้าไป จึงทูลเกล้าฯ ถวายดอกไม้ธูปเทียน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แล้วมีพระราชโองการดำรัสใช้พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอรุโณทัยให้ออกมาเชิญพานพระสุพรรณบัฏเข้าไปในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ครั้นเวลาเช้า ๔ โมง ๕ บาท ได้พระสิริราชาฤกษ์ หลวงโลกทีป ขุนโชติพรหมา ขุนเทพากร โหรทั้ง ๓ สั่งให้ประโคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพระสุพรรณบัฏ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลแล้ว พระราชทานพระแสงดาบญี่ปุ่นฝักมะขามสีแดง จึงดำรัสฝากพระบวรพุทธศาสนา และพระราชทานพระราโชวาท ให้ตั้งอยู่ในสุจริตธรรมโดยราชประเพณีแล้ว พระราชทานพระพรไชยให้ทรงเจริญพระสิริสวัสดิ์วัฒนายุยั่งยืนสืบไป เสร็จการพระราชพิธีแล้ว กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เสด็จลงเรือพระที่นั่งกราบยาว ๑๓ วา พลพาย ๓๓ ซึ่งประทับ ณ ฉนวนประจำท่าเหนือตำหนักแพ มีเรือดั้งคู่ชัก ๓ คู่ เรือนำและเรือกลองแขก เรือตำรวจ เรือข้าราชการตามเสด็จ ๒๓ ลำ เสด็จข้ามไปพระราชวังเดิม มิได้โปรดให้เสด็จไปสถิตในพระราชวังบวรฯ