- คำนำ
- บานแผนก
- รายงานทูลเกล้าฯ ถวาย
- บานแผนกเดิม
- ๑. สร้างกรุงรัตนโกสินทร์
- ๒. พระราชพิธีปราบดาภิเษก
- ๓. ประดิษฐานพระราชวงศ์
- ๔. ตั้งข้าราชการวังหลวง
- ๕. แบ่งหัวเมืองขึ้น กลาโหม มหาดไทย กรมท่า
- ๖. ตั้งข้าราชการวังหน้า
- ๗. ตั้งตำแหน่งพระราชาคณะ
- ๘. พงศาวดารเขมร ตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรีจนนักองเองเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ
- ๙. พระราชทานคืนพระบาง และให้เจ้านันทเสนไปครองเมืองล้านช้าง
- ๑๐. องเชียงสือญวนเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
- ๑๑. เรื่องพงศาวดารญวน
- ๑๒. พระยาปังกลิมาเจ้าเมืองกำปอดแข็งเมือง
- ๑๓. พงศาวดารพม่า ตั้งแต่มังหม่องเป็นกบฏ จนพระเจ้าปะดุงได้เมืองยะไข่
- ๑๔. อ้ายกบฏ ๒ คนเข้าวังหน้า
- ๑๕. เจ้าพระยาอภัยภูเบศรไปรั้งเมืองเขมร
- ๑๖. ทัพพระยานครสวรรค์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๑๗. สร้างพระนคร
- ๑๘. สร้างพระราชมนเทียร
- ๑๙. ทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๒๐. สร้างพระมหาปราสาท
- ๒๑. สร้างวัดพระแก้ว
- ๒๒. ตำนานพระแก้วมรกต
- ๒๓. ปฏิสังขรณ์วัดสลัก
- ๒๔. ปิดคลองลัด
- ๒๕. ทำศพเจ้ากรุงธนบุรี
- ๒๖. ได้ช้างสำคัญ
- ๒๗. ลดตำแหน่งพระเจ้านครศรีธรรมราช และตั้งเจ้าพระยานครพัด
- ๒๘. พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
- ๒๙. สมโภชพระนคร
- ๓๐. กรมหลวงอิศรสุนทรเสด็จมาอยู่พระราชวังเดิม
- ๓๑. น้ำมากข้าวแพง
- ๓๒. ศึกพม่าครั้งที่ ๑
- ๓๓. รบพม่าเมืองกาญจนบุรี
- ๓๔. รบพม่าเมืองราชบุรี
- ๓๕. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จแหลมมลายู
- ๓๖. รบพม่าทางเมืองเหนือ
- ๓๗. ตั้งกรมพระราชวังหลัง
- ๓๘. รบพม่าทางแหลมมลายู
- ๓๙. ปราบเมืองมลายู
- ๔๐. หล่อปืนใหญ่
- ๔๑. ตั้งท้าวเทพสตรี ท้าวศรีสุนทร
- ๔๒. สร้างวังเจ้าเขมร
- ๔๓. องเชียงสือหนีจากกรุงเทพฯ
- ๔๔. ศึกพม่าครั้งที่ ๒
- ๔๕. สร้างมณฑปพระพุทธบาท
- ๔๖. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จไปตั้งเมืองเชียงใหม่
- ๔๗. พระราชทานเรือและเครื่องอาวุธช่วยองเชียงสือ
- ๔๘. ทัพหลวงไปตีเมืองทวาย
- ๔๙. ฝรั่งเข้ามาพนันชกมวย
- ๕๐. พระราชทานเรือรบและปืนช่วยองเชียงสือ
- ๕๑. ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่
- ๕๒. องเชียงสือถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๑ พระราชทานกำลังช่วยองเชียงสือ
- ๕๓. ทำสังคายนาพระไตรปิฎก
- ๕๔. องเชียงสือถวายข้าวสาร
- ๕๕. ไฟไหม้พระมหาปราสาท
- ๕๖. ปราบรายาเมืองตานี
- ๕๗. องเชียงสือตั้งตัวเป็นเจ้าอนัมก๊ก ถวายต้นไม้ทองเงินเป็นครั้งที่ ๒
- ๕๘. ทัพเวียงจันทน์รบญวนไกเซิน
- ๕๙. เจ้าอนัมก๊กกล่าวโทษเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์
- ๖๐. แขกเซียะตีเมืองสงขลา
- ๖๑. เจ้าอนัมก๊กถวายเรือรบ และพระราชทานปืนตอบ
- ๖๒. ทัพเวียงจันทน์ตีเมืองหลวงพระบาง
- ๖๓. เมืองทวายสวามิภักดิ์
- ๖๔. เจ้าอนัมก๊กมีศุภอักษรนัดให้ไปตีเมืองตังเกี๋ย
- ๖๕. ทัพพระยายมราชยกไปเมืองทวาย
- ๖๖. ทัพหลวงยกไปเมืองทวาย
- ๖๗. ยกทัพหลวงไปตีเมืองพม่า
- ๖๘. ทวายเป็นกบฏ
- ๖๙. เจ้าอนัมก๊กขอตราให้หัวเมืองช่วยการทัพ และถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๓
- ๗๐. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๗๑. ญวนไกเซินขอเป็นไมตรี
- ๗๒. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (ศุข) ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และนักองเอง
- ๗๓. ตั้งนักองเองออกไปครองกรุงกัมพูชา นักองเองถวายเมืองพระตะบองเสียมราฐ
- ๗๔. ถอดเจ้านครล้านช้าง
- ๗๕. ได้ช้างเผือกพระอินทรไอยรา
- ๗๖. ศึกพม่าครั้งที่ ๓
- ๗๗. เชิญพระพุทธสิหิงก์มากรุงเทพฯ
- ๗๘. กรมพระราชวังบวรฯ ทรงผนวช
- ๗๙. สมเด็จพระนารายณ์รามารับอากับครอบครัวไปเมืองเขมร
- ๘๐. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๔
- ๘๑. การพระเมรุพระบรมอัฐิสมเด็จพระชนกาธิบดี
- ๘๒. เกิดเหตุบาดหมางในระหว่าง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๘๓. สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีพระเจ้ากรุงกัมพูชาพิราลัย
- ๘๔. ข่าวศึกพม่า กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จเมืองเชียงใหม่
- ๘๕. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๕
- ๘๖. ฉลองพระมณฑปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- ๘๗. ข่าวศึกพม่า
- ๘๘. สมเด็จพระพี่นางสิ้นพระชนม์
- ๘๙. โปรดให้กองทัพเขมรไปช่วยเจ้าอนัมก๊ก
- ๙๐. เพลิงไหม้สำเพ็ง
- ๙๑. สร้างและฉลองวัดพระเชตุพน
- ๙๒. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๖
- ๙๓. ได้ช้างเผือกพระเทพกุญชร
- ๙๔. เพลิงไหม้วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์
- ๙๕. เจ้าอนัมก๊กได้เมืองญวนและตั้งตัวเป็นพระเจ้ากรุงเวียตนามยาลอง
- ๙๖. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๙๗. ศึกพม่าครั้งที่ ๔
- ๙๘. นักองจันท์ นักองสงวน เข้ามาเฝ้า
- ๙๙. พระเจ้าเวียตนามถวายของสนองพระคุณ
- ๑๐๐. กองทัพไทยไปตีเมืองเชียงแสน
- ๑๐๑. ตั้งเจ้าเชียงใหม่
- ๑๐๒. ได้ช้างสีทองแดงพระบรมฉัททันต์
- ๑๐๓. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๐๔. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคต
- ๑๐๕. พระราชประวัติกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๐๖. สิ่งซึ่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงสร้าง
- ๑๐๗. เรื่องหม่อมลำดวน หม่อมอินทปัต
- ๑๐๘. เลื่อนกรมขุนเสนานุรักษ์และตั้งกรมขุนพิทักษ์มนตรี
- ๑๐๙. กองทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์กลับจากเมืองเชียงแสน
- ๑๑๐. การพระเมรุกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๑๑. พระเจ้าเวียตนามมีราชสาสน์มาทูลเตือน ให้ตั้งกรมพระราชวังบวรฯ
- ๑๑๒. เกณฑ์ทัพไปตีเมืองเชียงตุง เชียงรุ้ง
- ๑๑๓. ตั้งเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๑๔. ตั้งเจ้าอนุครองเมืองเวียงจันทน์
- ๑๑๕. กรมหลวงเทพหริรักษ์สิ้นพระชนม์
- ๑๑๖. ชำระกฎหมาย
- ๑๑๗. ได้ช้างสำคัญพระบรมนัขมณีและพระบรมคชลักษณ์
- ๑๑๘. ได้เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ้ง และเมืองลื้อ สิบสองปันนา
- ๑๑๙. พระเจ้ากรุงเวียตนามมีราชสาสน์ถวายบรรณาการ
- ๑๒๐. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๒๑. กรมพระราชวังหลังทิวงคต
- ๑๒๒. ตั้งนักองจันท์เป็นสมเด็จพระอุทัยราชาเจ้ากรุงกัมพูชา
- ๑๒๓. พระราชพิธีอุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
- ๑๒๔. ตั้งพระบัณฑูรน้อย และตั้งกรมเจ้านาย
- ๑๒๕. การพระเมรุกรมพระราชวังหลัง
- ๑๒๖. พระเจ้าเวียตนามมีพระราชสาสน์ทรงยินดีในการอุปราชาภิเษก
- ๑๒๗. กรมหลวงจักรเจษฎาสิ้นพระชนม์
- ๑๒๘. ได้ช้างสำคัญ
- ๑๒๙. สมเด็จพระอุทัยทูลขอนักองอี นักองเภา
- ๑๓๐. เชิญพระพุทธรูปพระศรีศากยมุนีมากรุงเทพฯ
- ๑๓๑. ปราบปรามเมืองยิริง
- ๑๓๒. เจ้าฟ้ากรมขุนศรีสุนทรเทพสิ้นพระชนม์
- ๑๓๓. โสกันต์เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๓๔. แห่สระสนานใหญ่แห่พระกฐินและมีกระจาดใหญ่กัณฑ์เทศน์มหาชาติ
- ๑๓๕. ผลประโยชน์แผ่นดิน
- ๑๓๖. วัดที่ได้ทรงปฏิสังขรณ์
- ๑๓๗. พระราชานุกิจ
- ๑๓๘. สมเด็จพระอุทัยราชาเข้ามาเฝ้า
- ๑๓๙. งานสมโภชพระแก้วมรกต
- ๑๔๐. สวรรคต
- ๑๔๑. พระราชประวัติ
- ๑๔๒. เสนาบดีในรัชกาลที่ ๑
- ภาคผนวก
- หมายรับสั่ง เรื่อง ยกประตูพระบรมมหาราชวัง จ.ศ. ๑๑๔๔
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์ไพร่หลวง ไทย มอญ รับแขกเมือง ณ แม่น้ำน้อย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์แห่เรือรับพระบรมสารีริกธาตุจากเมืองทวาย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายกำหนดการ เรื่อง มหาอุปราชาภิเษก จ.ศ. ๑๑๖๘
- หมายกำหนดการ เรื่อง ฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จ.ศ. ๑๑๗๑
๗๗. เชิญพระพุทธสิหิงก์มากรุงเทพฯ
ครั้นเสร็จการสงคราม เมื่อกรมพระราชวังบวรฯ จะเสด็จกลับ พระยาเชียงใหม่ขอมถวายพระพุทธรูป อันทรงพระนามว่า พระพุทธสิหิงก์ เสด็จเชิญลงมาประดิษฐานไว้ในกรุงเทพมหานครแต่นั้นมา
พระพุทธสิหิงก์ปฏิมากรนี้ตามตำนานว่า กษัตริย์ในลังกาทวีป พร้อมด้วยพระอรหันต์สร้างขึ้นเมื่อ พระพุทธศาสนกาลล่วงได้ ๗๐๐ พรรษา แต่นิ้วพระหัตถ์ชำรุดไม่บริบูรณ์มาแต่เมื่อหล่อนิ้ว ๑ พระพุทธสิหิงก์ประดิษฐานอยู่ในเมืองลังกา จนพระพุทธศาสนกาลล่วงได้ ๑๕๐๐ พรรษา
สมัยนั้นพระเจ้ากรุงสุโขทัยอันทรงพระนามว่าพระเจ้าไสยณรงค์มีพระเดชานุภาพมาก พระราชอาณาจักรแผ่ลงมาจนกรุงศรีอยุธยา และตลอดออกไปจนเมืองนครศรีธรรมราช ก็ขึ้นอยู่ในเมืองสุโขทัยด้วย ครั้งหนึ่ง พระเจ้ากรุงสุโขทัยเสด็จลงไปประพาสถึงเมืองนครศรีธรรมราช มีพระราชประสงค์จะใคร่ได้พระพุทธรูปที่มีสิริลักษณะอันงาม จึงเจ้านครศรีธรรมราชรับอาสาแต่งทูตออกไปยังพระเจ้ากรุงลงกา ทูลขอได้พระพุทธสิหิงค์มาถวาย พระเจ้าไสยณรงค์ก็รับเชิญไปไว้ ณ เมืองสุโขทัย
ครั้นพระเจ้าไสยณรงค์สวรรคตแล้ว กษัตริย์ได้ครอบครองเมืองสุโขทัยต่อลงมาอีก ๓ พระองค์ คือพระเจ้าปาลราชโอรสพระเจ้าไสยณรงค์ ๑ พระเจ้าลิทัยโอรสพระเจ้าปาลราช ๑ พระเจ้าโกสิตโอรสพระเจ้าลิทัย ๑ แล้วจึงถึงพระเจ้าอัตถะกลิทัย ผู้เป็นโอรสของพระเจ้าโกสิตได้ครองกรุงสุโขทัย
ครั้งนั้นสมเด็จพระรามาธิบดี พระเจ้ากรงศรีอยุธยา มีพระเดชานุภาพมาก ยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองสุโขทัย พระเจ้าอัตถะกลิทัยสู้ไม่ได้ จึงยอมเป็นเมืองขึ้นกรุงศรีอยุธยามาจนพิราลัย เมืองสุโขทัยร้าง สมเด็จพระรามาธิบดี จึงให้เชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมาไว้ในกรุงศรีอยุธยา
ต่อมาพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาพระองค์ ๑ ได้มารดาพระยาญาณดิศ เจ้าเมืองกำแพงเพชรเป็นพระมเหสี พระยาญาณดิศอยากได้พระพุทธสิหิงค์ จึงให้มารดาทูลขอต่อพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาโดยกลอุบายว่า จะทูลขอพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งในวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ส่งไปให้แก่พระยาญาณดิศผู้บุตร พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาไม่ทรงทราบในกลอุบาย จึงพระราชทานอนุญาตให้พระมเหสีไปเลือกพระพุทธรูปให้พระยาญาณดิศตามปรารถนา พระมเหสีบนขุนพุทธบาลผู้รักษาพระให้ชี้ให้ทราบว่าองค์ใดพระพุทธสิหิงค์ แล้วก็ถือรับสั่งให้เชิญพระพุทธสิหิงค์ส่งขึ้นไปเมืองกำแพงเพชรโดยด่วน เมื่อเชิญพระพุทธสิหิงค์ไปได้หลายวันแล้ว ความจึงทราบถึงพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาก็ทรงพระพิโรธ ผ่ายพระมเหสีกราบทูลแก้ว่า มิได้ทราบว่าองค์นั้น คือพระพุทธสิหิงค์ รับสั่งให้เลือกตามพอใจจึงได้เลือกส่งไป ขอพระราชทานรอพอให้พระยาญาณดิศจำลองไว้แล้ว จะให้ส่งพระพุทธสิหิงค์กลับคืนลงมาถวาย ก็โปรดอนุญาตตามการที่ได้พลาดพลั้งล่วงเลยไปแล้ว พระพุทธสิหิงค์จึงได้ไปประดิษฐานอยู่ ณ เมืองกำแพงเพชรแต่นั้นมา
ในครั้งนั้นพระเจ้ากรรลิราช ได้ครองเมืองเชียงใหม่มีอานุภาพมากข้างฝ่ายเหนือ และพระยามหาพรหม ผู้น้องพระเจ้ากรรลิราชได้ครองเมืองเชียงรายขอกองทัพเมืองเชียงใหม่ สมทบเข้ากับกองทัพเมืองเชียงราย ยกลงมาตีเมืองกำแพงเพชร พระยาญาณดิศเห็นว่ากองทัพเมืองเชียงใหม่ยกลงมามากมายเหลือกำลังที่จ ต่อสู้ ก็ออกไปก่อนน้อม พระยามหาพรหมจึงได้พระพุทธสิหิงค์กลับขึ้นไปเมืองเชียงใหม่ พระพุทธสิหิงค์ ไปอยู่เมืองเชียงใหม่ได้หน่อยหนึ่ง พระยามหาพรหมทูลขออนุญาตต่อพระเจ้ากรรลิราช เชิญพระพุทธสิหิงค์ขึ้นไปเมืองเชียงรายว่าจะเอาไปจำลอง ครั้นไปถึงเมืองเชียงราย พระยามหาพรหมจึงให้ช่างหล่อแก้ไขนิ้ว พระหัตถ์ที่ชำรุดมาแต่เดิมให้ดีขึ้น และจำลองขึ้นใหม่อีกองค์ ๑ แล้วก็รักษาพระพุทธสิหิงค์ไว้ในเมืองเชียงราย หาได้ส่งกลับลงมาเมืองเชียงใหม่ไม่
อยู่มาพระเจ้ากรรลิราชทิวงคต เจ้านายและพระยาท้าวแสนเมืองเชียงใหม่ เชิญสิริราชกุมารอันเป็นโอรสของพระเจ้ากรรลิราชขึ้นครอบครองเมืองเชียงใหม่ต่อไป ไม่เป็นที่พอใจของพระยามหาพรหม จึงยกกองทัพเมืองเชียงรายมาตีเมืองเชียงใหม่ สู้ฝีมือพวกเมืองเชียงใหม่ไม่ได้ ต้องถอยทัพกลับไป พระเจ้าสิริราช จึงยกกองทัพเมืองเชียงใหม่ไปตีเมืองเชียงรายได้เมืองเชียงราย และจับพระยามหาพรหมได้ให้ฆ่าเสียแล้ว พระเจ้าสิริราชจึงให้เชิญพระพุทธสิหิงค์มาไว้เมืองเชียงใหม่
และมีเรื่องราวปรากฏต่อมาว่า เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ได้ เมื่อปีฉลู ตรีศก จุลศักราช ๑๐๒๓[๖๘] ก็ได้เชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมาไว้ ณ กรุงเก่าอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาจะเป็นในแผ่นดิน สมเด็จพระเพทราชา หรือแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวห้ายสระไม่แน่ พระราชทานกลับคืนขนไปไว้เมืองเขียงใหม่อีก