- คำนำ
- บานแผนก
- รายงานทูลเกล้าฯ ถวาย
- บานแผนกเดิม
- ๑. สร้างกรุงรัตนโกสินทร์
- ๒. พระราชพิธีปราบดาภิเษก
- ๓. ประดิษฐานพระราชวงศ์
- ๔. ตั้งข้าราชการวังหลวง
- ๕. แบ่งหัวเมืองขึ้น กลาโหม มหาดไทย กรมท่า
- ๖. ตั้งข้าราชการวังหน้า
- ๗. ตั้งตำแหน่งพระราชาคณะ
- ๘. พงศาวดารเขมร ตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรีจนนักองเองเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ
- ๙. พระราชทานคืนพระบาง และให้เจ้านันทเสนไปครองเมืองล้านช้าง
- ๑๐. องเชียงสือญวนเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
- ๑๑. เรื่องพงศาวดารญวน
- ๑๒. พระยาปังกลิมาเจ้าเมืองกำปอดแข็งเมือง
- ๑๓. พงศาวดารพม่า ตั้งแต่มังหม่องเป็นกบฏ จนพระเจ้าปะดุงได้เมืองยะไข่
- ๑๔. อ้ายกบฏ ๒ คนเข้าวังหน้า
- ๑๕. เจ้าพระยาอภัยภูเบศรไปรั้งเมืองเขมร
- ๑๖. ทัพพระยานครสวรรค์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๑๗. สร้างพระนคร
- ๑๘. สร้างพระราชมนเทียร
- ๑๙. ทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๒๐. สร้างพระมหาปราสาท
- ๒๑. สร้างวัดพระแก้ว
- ๒๒. ตำนานพระแก้วมรกต
- ๒๓. ปฏิสังขรณ์วัดสลัก
- ๒๔. ปิดคลองลัด
- ๒๕. ทำศพเจ้ากรุงธนบุรี
- ๒๖. ได้ช้างสำคัญ
- ๒๗. ลดตำแหน่งพระเจ้านครศรีธรรมราช และตั้งเจ้าพระยานครพัด
- ๒๘. พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
- ๒๙. สมโภชพระนคร
- ๓๐. กรมหลวงอิศรสุนทรเสด็จมาอยู่พระราชวังเดิม
- ๓๑. น้ำมากข้าวแพง
- ๓๒. ศึกพม่าครั้งที่ ๑
- ๓๓. รบพม่าเมืองกาญจนบุรี
- ๓๔. รบพม่าเมืองราชบุรี
- ๓๕. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จแหลมมลายู
- ๓๖. รบพม่าทางเมืองเหนือ
- ๓๗. ตั้งกรมพระราชวังหลัง
- ๓๘. รบพม่าทางแหลมมลายู
- ๓๙. ปราบเมืองมลายู
- ๔๐. หล่อปืนใหญ่
- ๔๑. ตั้งท้าวเทพสตรี ท้าวศรีสุนทร
- ๔๒. สร้างวังเจ้าเขมร
- ๔๓. องเชียงสือหนีจากกรุงเทพฯ
- ๔๔. ศึกพม่าครั้งที่ ๒
- ๔๕. สร้างมณฑปพระพุทธบาท
- ๔๖. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จไปตั้งเมืองเชียงใหม่
- ๔๗. พระราชทานเรือและเครื่องอาวุธช่วยองเชียงสือ
- ๔๘. ทัพหลวงไปตีเมืองทวาย
- ๔๙. ฝรั่งเข้ามาพนันชกมวย
- ๕๐. พระราชทานเรือรบและปืนช่วยองเชียงสือ
- ๕๑. ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่
- ๕๒. องเชียงสือถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๑ พระราชทานกำลังช่วยองเชียงสือ
- ๕๓. ทำสังคายนาพระไตรปิฎก
- ๕๔. องเชียงสือถวายข้าวสาร
- ๕๕. ไฟไหม้พระมหาปราสาท
- ๕๖. ปราบรายาเมืองตานี
- ๕๗. องเชียงสือตั้งตัวเป็นเจ้าอนัมก๊ก ถวายต้นไม้ทองเงินเป็นครั้งที่ ๒
- ๕๘. ทัพเวียงจันทน์รบญวนไกเซิน
- ๕๙. เจ้าอนัมก๊กกล่าวโทษเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์
- ๖๐. แขกเซียะตีเมืองสงขลา
- ๖๑. เจ้าอนัมก๊กถวายเรือรบ และพระราชทานปืนตอบ
- ๖๒. ทัพเวียงจันทน์ตีเมืองหลวงพระบาง
- ๖๓. เมืองทวายสวามิภักดิ์
- ๖๔. เจ้าอนัมก๊กมีศุภอักษรนัดให้ไปตีเมืองตังเกี๋ย
- ๖๕. ทัพพระยายมราชยกไปเมืองทวาย
- ๖๖. ทัพหลวงยกไปเมืองทวาย
- ๖๗. ยกทัพหลวงไปตีเมืองพม่า
- ๖๘. ทวายเป็นกบฏ
- ๖๙. เจ้าอนัมก๊กขอตราให้หัวเมืองช่วยการทัพ และถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๓
- ๗๐. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๗๑. ญวนไกเซินขอเป็นไมตรี
- ๗๒. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (ศุข) ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และนักองเอง
- ๗๓. ตั้งนักองเองออกไปครองกรุงกัมพูชา นักองเองถวายเมืองพระตะบองเสียมราฐ
- ๗๔. ถอดเจ้านครล้านช้าง
- ๗๕. ได้ช้างเผือกพระอินทรไอยรา
- ๗๖. ศึกพม่าครั้งที่ ๓
- ๗๗. เชิญพระพุทธสิหิงก์มากรุงเทพฯ
- ๗๘. กรมพระราชวังบวรฯ ทรงผนวช
- ๗๙. สมเด็จพระนารายณ์รามารับอากับครอบครัวไปเมืองเขมร
- ๘๐. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๔
- ๘๑. การพระเมรุพระบรมอัฐิสมเด็จพระชนกาธิบดี
- ๘๒. เกิดเหตุบาดหมางในระหว่าง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๘๓. สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีพระเจ้ากรุงกัมพูชาพิราลัย
- ๘๔. ข่าวศึกพม่า กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จเมืองเชียงใหม่
- ๘๕. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๕
- ๘๖. ฉลองพระมณฑปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- ๘๗. ข่าวศึกพม่า
- ๘๘. สมเด็จพระพี่นางสิ้นพระชนม์
- ๘๙. โปรดให้กองทัพเขมรไปช่วยเจ้าอนัมก๊ก
- ๙๐. เพลิงไหม้สำเพ็ง
- ๙๑. สร้างและฉลองวัดพระเชตุพน
- ๙๒. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๖
- ๙๓. ได้ช้างเผือกพระเทพกุญชร
- ๙๔. เพลิงไหม้วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์
- ๙๕. เจ้าอนัมก๊กได้เมืองญวนและตั้งตัวเป็นพระเจ้ากรุงเวียตนามยาลอง
- ๙๖. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๙๗. ศึกพม่าครั้งที่ ๔
- ๙๘. นักองจันท์ นักองสงวน เข้ามาเฝ้า
- ๙๙. พระเจ้าเวียตนามถวายของสนองพระคุณ
- ๑๐๐. กองทัพไทยไปตีเมืองเชียงแสน
- ๑๐๑. ตั้งเจ้าเชียงใหม่
- ๑๐๒. ได้ช้างสีทองแดงพระบรมฉัททันต์
- ๑๐๓. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๐๔. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคต
- ๑๐๕. พระราชประวัติกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๐๖. สิ่งซึ่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงสร้าง
- ๑๐๗. เรื่องหม่อมลำดวน หม่อมอินทปัต
- ๑๐๘. เลื่อนกรมขุนเสนานุรักษ์และตั้งกรมขุนพิทักษ์มนตรี
- ๑๐๙. กองทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์กลับจากเมืองเชียงแสน
- ๑๑๐. การพระเมรุกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๑๑. พระเจ้าเวียตนามมีราชสาสน์มาทูลเตือน ให้ตั้งกรมพระราชวังบวรฯ
- ๑๑๒. เกณฑ์ทัพไปตีเมืองเชียงตุง เชียงรุ้ง
- ๑๑๓. ตั้งเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๑๔. ตั้งเจ้าอนุครองเมืองเวียงจันทน์
- ๑๑๕. กรมหลวงเทพหริรักษ์สิ้นพระชนม์
- ๑๑๖. ชำระกฎหมาย
- ๑๑๗. ได้ช้างสำคัญพระบรมนัขมณีและพระบรมคชลักษณ์
- ๑๑๘. ได้เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ้ง และเมืองลื้อ สิบสองปันนา
- ๑๑๙. พระเจ้ากรุงเวียตนามมีราชสาสน์ถวายบรรณาการ
- ๑๒๐. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๒๑. กรมพระราชวังหลังทิวงคต
- ๑๒๒. ตั้งนักองจันท์เป็นสมเด็จพระอุทัยราชาเจ้ากรุงกัมพูชา
- ๑๒๓. พระราชพิธีอุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
- ๑๒๔. ตั้งพระบัณฑูรน้อย และตั้งกรมเจ้านาย
- ๑๒๕. การพระเมรุกรมพระราชวังหลัง
- ๑๒๖. พระเจ้าเวียตนามมีพระราชสาสน์ทรงยินดีในการอุปราชาภิเษก
- ๑๒๗. กรมหลวงจักรเจษฎาสิ้นพระชนม์
- ๑๒๘. ได้ช้างสำคัญ
- ๑๒๙. สมเด็จพระอุทัยทูลขอนักองอี นักองเภา
- ๑๓๐. เชิญพระพุทธรูปพระศรีศากยมุนีมากรุงเทพฯ
- ๑๓๑. ปราบปรามเมืองยิริง
- ๑๓๒. เจ้าฟ้ากรมขุนศรีสุนทรเทพสิ้นพระชนม์
- ๑๓๓. โสกันต์เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๓๔. แห่สระสนานใหญ่แห่พระกฐินและมีกระจาดใหญ่กัณฑ์เทศน์มหาชาติ
- ๑๓๕. ผลประโยชน์แผ่นดิน
- ๑๓๖. วัดที่ได้ทรงปฏิสังขรณ์
- ๑๓๗. พระราชานุกิจ
- ๑๓๘. สมเด็จพระอุทัยราชาเข้ามาเฝ้า
- ๑๓๙. งานสมโภชพระแก้วมรกต
- ๑๔๐. สวรรคต
- ๑๔๑. พระราชประวัติ
- ๑๔๒. เสนาบดีในรัชกาลที่ ๑
- ภาคผนวก
- หมายรับสั่ง เรื่อง ยกประตูพระบรมมหาราชวัง จ.ศ. ๑๑๔๔
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์ไพร่หลวง ไทย มอญ รับแขกเมือง ณ แม่น้ำน้อย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์แห่เรือรับพระบรมสารีริกธาตุจากเมืองทวาย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายกำหนดการ เรื่อง มหาอุปราชาภิเษก จ.ศ. ๑๑๖๘
- หมายกำหนดการ เรื่อง ฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จ.ศ. ๑๑๗๑
๓๒. ศึกพม่าครั้งที่ ๑
ฝ่ายข้างประเทศพม่า ตั้งแต่พระเจ้าปะดุงได้ทราบข่าวว่ากรุงสยามผลัดแผ่นดินใหม่ ก็ดำริการที่จะยกกองทัพมาย่ำยีสยามประเทศ แต่หากติดการปราบปรามเสี้ยนศัตรูภายในเมืองพม่าเองยังไม่ราบคาบจึงได้รั้งรอมา จนปีมะเส็งสัปตศก จุลศักราช ๑๑๔๗[๔๓] มังโพเชียงซึ่งเป็นที่ตะแคงแปงตะแลน้องพระเจ้าปะดุง คิดกบฏ พระเจ้าปะดุงจับตัวได้ให้ประหารชีวิตเสีย สิ้นกังวลด้วยเสี้ยนศึกภายในแล้ว พระเจ้าปะดุงจึงให้เตรียมกองทัพที่จะยกมาตีกรุงสยาม เกณฑ์คนทั้งในเมืองหลวงและหัวเมืองพม่า มอญ ยะไข่ ลาว ลื้อ เงี้ยว ซึ่งเป็นเมืองขึ้นเข้าเป็นกองทัพหลายกอง
ให้เนมโยคุงนะรักเป็นแม่ทัพใหญ่ นัดมีแลง ๑ แปดตองจา ๑ ปะเลิงโบ ๑ นัดจักกีโบ ๑ ตองพะยุงโบ ๑ รวม ๖ นาย คือพล ๒,๕๐๐ เป็นทัพหน้ายกมาทางเมืองมะริดให้ยกมาตีเมืองชุมพร เมืองไชยา ให้แกงวุ่นแมงยี่ถือพล ๔,๕๐๐ เป็นทัพหนุนยกมาอีกกองหนึ่ง แล้วเกณฑ์ทัพเรือให้ยี่วุ่นเป็นแม่ทัพบาวาเชียง ๑ แวงยิงเดชะ ๑ บอกินยอ ๑ รวม ๔ นาย ถือพล ๓,๐๐๐ ยกมาตีเมืองถลาง รวมทั้งทัพบก ทัพเรือเป็นคน ๑๐,๐๐๐ ให้เกนวุ่นแมงยี่เป็นโบชุกแม่ทัพใหญ่ลงมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายตะวันตกทางหนึ่ง
และทางทวายนั้น ให้ทวายวุ่นเจ้าเมืองทวายเป็นแม่ทัพกับจิกแก ปลัดเมืองทวาย ๑ มนีจอข้อง ๑ สีหะแยจอข้อง ๑ เบยะโบ ๑ ถือพล ๓,๐๐๐ เป็นทัพหน้ายกมาทางด่านเจ้าขว้าว ให้จิกสิบโบเป็นแม่ทัพ กับตะเรียงยามะซู ๑ มนีสินตะ ๑ สุรินทะจอข้อง ๑ รวม ๔ นาย ถือพล ๓,๐๐๐ ยกหนุนมา และให้อะนอกกับแฝกคิดวุ่นถือพล ๔,๐๐๐ เป็นโบชุกแม่ทัพใหญ่ทั้ง ๓ กอง เป็นคน ๑๐,๐๐๐ ยกมาตีเมืองราชบุรีทางหนึ่ง
และทางเมาะตะมะนั้น ให้เมียนวุ่นเป็นแม่ทัพหน้าที่หนึ่ง ขุนนาง ๑๐ นาย คือ กลาวุ่น ๑ บิลุ่งยิง ๑ สะเลจอ ๑ ปิญาอู ๑ อากาจอแทง ๑ ลันชังโบ ๑ อะคุงวุ่น ๑ บันยีตะจอง ๑ ละไมวุ่น ๑ ซุยตองอากา ๑ ถือพล ๑๐,๐๐๐ ยกมาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ แล้วให้เมียนเมวุ่นเป็นแม่ทัพหน้าที่สอง กับยอยแหลกยาเยข้อง ๑ จอกาโบ ๑ จอกแยโบ ๑ ตะเรียงบันยี ๑ รวม ๕ นาย ถือพล ๕,๐๐๐ ยกหนุนมาอีกทัพหนึ่ง และทัพที่สามนั้น ให้ตะแคงกามะ ราชบุตรที่ ๓ เป็นแม่ทัพ กับยานจุวุ่น ๑ จิตกองสิริย ๑ แยเลวุ่น ๑ อะตอนวุ่น ๑ รวม ๕ นาย ถือพล ๑๐,๐๐๐ ยกหนุนมาอีกทัพหนึ่ง และทัพที่สี่นั้น ให้ตะแคงจักกุราชบุตรที่ ๒ เป็นแม่ทัพ กับเมมราโบ ๑ อะกีตอ ๑ อากาปันยี ๑ มะโยลักวุ่น ๑ รวม ๕ นาย ถือพล ๑๐,๐๐๐ ยกหนุนมาอีกทัพหนึ่ง และกองทัพหลวงพระเจ้าปะดุงเจ้าอังวะเป็นทัพที่ห้า ไพร่พล ๒๐,๐๐๐ ให้อะแซวังมูเป็นกองหน้า กับจาวาโบ ๑ ยะไข่โบ ๑ ปะกันวุ่น ๑ ลอกาซุงถ่อวุ่น ๑ เมจุนวุ่น ๑ รวม ๖ นาย และปีกขวานั้น ให้มะยอกวังมูเป็นแม่กอง กับ อำมะลอกวุ่น ๑ ตวนแซงวุ่น ๑ แลจาลอพวา ๑ ยักจอกโบ ๑ งาจูวุ่น ๑ รวม ๖ นาย และปีกซ้ายนั้น ให้ตองแมงวูเป็นแม่กอง กับแลกรุยกีมู ๑ แลแซวุ่น ๑ ยอนจุวุ่น ๑ เยกีวุ่น ๑ สิบจอพวา ๑ รวม ๖ นาย และกองหลังนั้น ให้อะนอกวังมูเป็นแม่กอง กับระวาลักวุ่น ๑ ออกกะมาวุ่น ๑ โมกองจอพวา ๑ โมเยียงจอพวา ๑ โมมิกจอพวา ๑ รวม ๖ นาย และพลทั้ง ๕ ทัพ เป็นคน ๕๕,๐๐๐ ยกมาทางเมืองกาญจนบุรีทางหนึ่ง
และทางเมืองตากนั้น ให้ซุยจองเวระจอแทงเป็นแม่ทัพ กับซุยจองนระทา ๑ ซุยจองสิริยะจอจะวา ๑ ถือพล ๓,๐๐๐ เป็นกองหน้า ให้จอข้องนระทาถือพล ๒,๐๐๐ เป็นกองหนุน ทั้ง ๒ ทัพเป็นคน ๕,๐๐๐ ยกมาทางหนึ่ง
และทางเมืองเชียงใหม่นั้น ให้สะโดะมหาสิริยะอุจนาเจ้าเมืองตองอูเป็นโบชุกแม่ทัพ กับนายทัพนายกองเป็นหลายนาย ถือพล ๒๓,๐๐๐ ยกมาทางหนึ่ง ครั้นมาถึงเมืองเชียงแสน สะโดะมหาสิริยะอุจนา จึงบังคับให้เนมโยสีหะซุยเป็นแม่ทัพกับปันยึตะจองโบ ๑ ลุยลั่นจองโบ ๑ ปลันโบ ๑ มัดชุนรันโบ ๑ มิกอุโบ ๑ แยจอนระทา ๑ สาระจอซู ๑ เป็น ๘ นาย ถือพล ๕,๐๐๐ ยกแยกมาตีเมืองสวรรคโลก เมืองสุโขทัย เมืองพระพิษณุโลกทางหนึ่ง
และทางแจ้ห่มนั้น แต่งให้อาประกามนี เจ้าเมืองเชียงแสนเป็นแม่ทัพ กับพะยายอง ๑ พะยาไช ๑ เชียงกะเล ๑ น้อยอัด ๑ เป็น ๕ นาย ถือพลพม่าลาว ๓,๐๐๐ เป็นกองหน้า ตัวสะโดะมหาสิริยะอุจนาแม่ทัพ กับแจกกายโบ ๑ อะคุงวุ่น ๑ อุติงแจกกะโบ ๑ เนมโยยันตะมิก ๑ พระยาแพร่ ๑ เป็น ๖ นาย ถือพล๑๕,๐๐๐ ทั้ง ๒ ทัพเป็นคน ๑๘,๐๐๐ ยกมาตีเมืองนครลำปางทางหนึ่ง
และกองทัพพม่ายกมาครั้งนั้น มากกว่ามากหลายทัพหลายกองยิ่งกว่าครั้งก่อน ๆ รวมรี้พลทั้งสิ้นทุกทัพเป็นคนถึง ๑๐๓,๐๐๐ ด้วยกัน สรรพด้วยช้างม้า เครื่องสรรพศาสตราวุธพร้อมทุกทัพทุกกอง แต่ยกมาหาพร้อมกันทุกทางไม่ ฝ่ายพระเจ้าอังวะให้อินแซะ มหาอุปราชราชบุตรผู้ใหญ่ กับอินแซะวุ่นอำมาตย์อยู่รักษาพระนคร แล้วก็ยกทัพบกทัพเรือพร้อมทัพอยู่ ณ เมืองเมาะตะมะ เร่งให้ทัพหน้าที่ ๑ ยกมาตั้งอยู่เมืองสมิ แล้วเดินทัพล่วงเข้ามาถึงด่านพระเจดีย์ ๓ องค์ ก่อนทัพทางอื่น ๆ ทั้งนั้น
ฝ่ายข้างกรุงเทพมหานคร ถึง ณ วันอาทิตย์ เดือน ๑๒ แรม ๙ คํ่า ปีมะเส็ง สัปตศก จุลศักราช ๑๑๔๗[๔๔] นั้น พวกกองมอญออกไปตระเวนด่านกลับเข้ามากราบทูลว่า รู้ข่าวว่าพม่ายกกองทัพมาตั้งอยู่เมืองสมิ จะยกเข้ามาตีพระนคร พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทราบข่าวศึกดังนั้นจึงดำรัสให้ประชุมพระราชวงศานุวงศ์ กับทั้งท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งหลายพร้อมกัน ดำรัสปรึกษาราชการสงครามเป็นหลายเวลา จึงมีหนังสือบอกเมืองชุมพร เมืองถลาง เมืองกาญจนบุรี เมืองราชบุรี เมืองตาก เมืองกำแพงเพชร เมืองพระพิษณุโลก เมืองสุโขทัย เมืองสวรรคโลก เมืองนครลำปาง บอกข้อราชการศึกว่า ทัพพม่ายกมาเป็นหลายทัพหลายทาง ทั้งปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือ และหนังสือบอกมาถึงเนื่องๆกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชโองการโปรดให้สมเด็จพระอนุชาธิราชสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เสด็จพระราชดำเนินยกพยุหโยธาทัพหลวง ไปรับทัพพม่าข้าศึกทางเมืองกาญจนบุรี แล้วโปรดให้เจ้าพระยารัตนาพิพิธที่สมุหนายก คุมกองทัพท้าวพระยาข้าทูลละอองธุลีพระบาท ฝ่ายพระราชวังหลวง และทัพหัวเมืองทั้งปวง โดยเสด็จด้วยอีกทัพหนึ่ง แล้วโปรดให้เจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์กับพระยายมราชเป็นแม่ทัพ ยกกองทัพออกไปรับทัพพม่าเมืองราชบุรีทัพหนึ่ง และทางเหนือนั้น มีพระราชดำรัสให้สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ กรมหลวงนรินทร์รณเรศ และเจ้าพระยามหาเสนา พระยาพระคลัง พระยาอุไทยธรรม และท้าวพระยาข้าราชการในกรุงเทพฯ และหัวเมือง ยกกองทัพไปตั้งรับทัพพม่า ณ เมืองนครสวรรค์ทัพหนึ่ง