- คำนำ
- บานแผนก
- รายงานทูลเกล้าฯ ถวาย
- บานแผนกเดิม
- ๑. สร้างกรุงรัตนโกสินทร์
- ๒. พระราชพิธีปราบดาภิเษก
- ๓. ประดิษฐานพระราชวงศ์
- ๔. ตั้งข้าราชการวังหลวง
- ๕. แบ่งหัวเมืองขึ้น กลาโหม มหาดไทย กรมท่า
- ๖. ตั้งข้าราชการวังหน้า
- ๗. ตั้งตำแหน่งพระราชาคณะ
- ๘. พงศาวดารเขมร ตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรีจนนักองเองเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ
- ๙. พระราชทานคืนพระบาง และให้เจ้านันทเสนไปครองเมืองล้านช้าง
- ๑๐. องเชียงสือญวนเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
- ๑๑. เรื่องพงศาวดารญวน
- ๑๒. พระยาปังกลิมาเจ้าเมืองกำปอดแข็งเมือง
- ๑๓. พงศาวดารพม่า ตั้งแต่มังหม่องเป็นกบฏ จนพระเจ้าปะดุงได้เมืองยะไข่
- ๑๔. อ้ายกบฏ ๒ คนเข้าวังหน้า
- ๑๕. เจ้าพระยาอภัยภูเบศรไปรั้งเมืองเขมร
- ๑๖. ทัพพระยานครสวรรค์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๑๗. สร้างพระนคร
- ๑๘. สร้างพระราชมนเทียร
- ๑๙. ทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๒๐. สร้างพระมหาปราสาท
- ๒๑. สร้างวัดพระแก้ว
- ๒๒. ตำนานพระแก้วมรกต
- ๒๓. ปฏิสังขรณ์วัดสลัก
- ๒๔. ปิดคลองลัด
- ๒๕. ทำศพเจ้ากรุงธนบุรี
- ๒๖. ได้ช้างสำคัญ
- ๒๗. ลดตำแหน่งพระเจ้านครศรีธรรมราช และตั้งเจ้าพระยานครพัด
- ๒๘. พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
- ๒๙. สมโภชพระนคร
- ๓๐. กรมหลวงอิศรสุนทรเสด็จมาอยู่พระราชวังเดิม
- ๓๑. น้ำมากข้าวแพง
- ๓๒. ศึกพม่าครั้งที่ ๑
- ๓๓. รบพม่าเมืองกาญจนบุรี
- ๓๔. รบพม่าเมืองราชบุรี
- ๓๕. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จแหลมมลายู
- ๓๖. รบพม่าทางเมืองเหนือ
- ๓๗. ตั้งกรมพระราชวังหลัง
- ๓๘. รบพม่าทางแหลมมลายู
- ๓๙. ปราบเมืองมลายู
- ๔๐. หล่อปืนใหญ่
- ๔๑. ตั้งท้าวเทพสตรี ท้าวศรีสุนทร
- ๔๒. สร้างวังเจ้าเขมร
- ๔๓. องเชียงสือหนีจากกรุงเทพฯ
- ๔๔. ศึกพม่าครั้งที่ ๒
- ๔๕. สร้างมณฑปพระพุทธบาท
- ๔๖. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จไปตั้งเมืองเชียงใหม่
- ๔๗. พระราชทานเรือและเครื่องอาวุธช่วยองเชียงสือ
- ๔๘. ทัพหลวงไปตีเมืองทวาย
- ๔๙. ฝรั่งเข้ามาพนันชกมวย
- ๕๐. พระราชทานเรือรบและปืนช่วยองเชียงสือ
- ๕๑. ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่
- ๕๒. องเชียงสือถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๑ พระราชทานกำลังช่วยองเชียงสือ
- ๕๓. ทำสังคายนาพระไตรปิฎก
- ๕๔. องเชียงสือถวายข้าวสาร
- ๕๕. ไฟไหม้พระมหาปราสาท
- ๕๖. ปราบรายาเมืองตานี
- ๕๗. องเชียงสือตั้งตัวเป็นเจ้าอนัมก๊ก ถวายต้นไม้ทองเงินเป็นครั้งที่ ๒
- ๕๘. ทัพเวียงจันทน์รบญวนไกเซิน
- ๕๙. เจ้าอนัมก๊กกล่าวโทษเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์
- ๖๐. แขกเซียะตีเมืองสงขลา
- ๖๑. เจ้าอนัมก๊กถวายเรือรบ และพระราชทานปืนตอบ
- ๖๒. ทัพเวียงจันทน์ตีเมืองหลวงพระบาง
- ๖๓. เมืองทวายสวามิภักดิ์
- ๖๔. เจ้าอนัมก๊กมีศุภอักษรนัดให้ไปตีเมืองตังเกี๋ย
- ๖๕. ทัพพระยายมราชยกไปเมืองทวาย
- ๖๖. ทัพหลวงยกไปเมืองทวาย
- ๖๗. ยกทัพหลวงไปตีเมืองพม่า
- ๖๘. ทวายเป็นกบฏ
- ๖๙. เจ้าอนัมก๊กขอตราให้หัวเมืองช่วยการทัพ และถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๓
- ๗๐. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๗๑. ญวนไกเซินขอเป็นไมตรี
- ๗๒. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (ศุข) ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และนักองเอง
- ๗๓. ตั้งนักองเองออกไปครองกรุงกัมพูชา นักองเองถวายเมืองพระตะบองเสียมราฐ
- ๗๔. ถอดเจ้านครล้านช้าง
- ๗๕. ได้ช้างเผือกพระอินทรไอยรา
- ๗๖. ศึกพม่าครั้งที่ ๓
- ๗๗. เชิญพระพุทธสิหิงก์มากรุงเทพฯ
- ๗๘. กรมพระราชวังบวรฯ ทรงผนวช
- ๗๙. สมเด็จพระนารายณ์รามารับอากับครอบครัวไปเมืองเขมร
- ๘๐. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๔
- ๘๑. การพระเมรุพระบรมอัฐิสมเด็จพระชนกาธิบดี
- ๘๒. เกิดเหตุบาดหมางในระหว่าง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๘๓. สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีพระเจ้ากรุงกัมพูชาพิราลัย
- ๘๔. ข่าวศึกพม่า กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จเมืองเชียงใหม่
- ๘๕. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๕
- ๘๖. ฉลองพระมณฑปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- ๘๗. ข่าวศึกพม่า
- ๘๘. สมเด็จพระพี่นางสิ้นพระชนม์
- ๘๙. โปรดให้กองทัพเขมรไปช่วยเจ้าอนัมก๊ก
- ๙๐. เพลิงไหม้สำเพ็ง
- ๙๑. สร้างและฉลองวัดพระเชตุพน
- ๙๒. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๖
- ๙๓. ได้ช้างเผือกพระเทพกุญชร
- ๙๔. เพลิงไหม้วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์
- ๙๕. เจ้าอนัมก๊กได้เมืองญวนและตั้งตัวเป็นพระเจ้ากรุงเวียตนามยาลอง
- ๙๖. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๙๗. ศึกพม่าครั้งที่ ๔
- ๙๘. นักองจันท์ นักองสงวน เข้ามาเฝ้า
- ๙๙. พระเจ้าเวียตนามถวายของสนองพระคุณ
- ๑๐๐. กองทัพไทยไปตีเมืองเชียงแสน
- ๑๐๑. ตั้งเจ้าเชียงใหม่
- ๑๐๒. ได้ช้างสีทองแดงพระบรมฉัททันต์
- ๑๐๓. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๐๔. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคต
- ๑๐๕. พระราชประวัติกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๐๖. สิ่งซึ่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงสร้าง
- ๑๐๗. เรื่องหม่อมลำดวน หม่อมอินทปัต
- ๑๐๘. เลื่อนกรมขุนเสนานุรักษ์และตั้งกรมขุนพิทักษ์มนตรี
- ๑๐๙. กองทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์กลับจากเมืองเชียงแสน
- ๑๑๐. การพระเมรุกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๑๑. พระเจ้าเวียตนามมีราชสาสน์มาทูลเตือน ให้ตั้งกรมพระราชวังบวรฯ
- ๑๑๒. เกณฑ์ทัพไปตีเมืองเชียงตุง เชียงรุ้ง
- ๑๑๓. ตั้งเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๑๔. ตั้งเจ้าอนุครองเมืองเวียงจันทน์
- ๑๑๕. กรมหลวงเทพหริรักษ์สิ้นพระชนม์
- ๑๑๖. ชำระกฎหมาย
- ๑๑๗. ได้ช้างสำคัญพระบรมนัขมณีและพระบรมคชลักษณ์
- ๑๑๘. ได้เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ้ง และเมืองลื้อ สิบสองปันนา
- ๑๑๙. พระเจ้ากรุงเวียตนามมีราชสาสน์ถวายบรรณาการ
- ๑๒๐. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๒๑. กรมพระราชวังหลังทิวงคต
- ๑๒๒. ตั้งนักองจันท์เป็นสมเด็จพระอุทัยราชาเจ้ากรุงกัมพูชา
- ๑๒๓. พระราชพิธีอุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
- ๑๒๔. ตั้งพระบัณฑูรน้อย และตั้งกรมเจ้านาย
- ๑๒๕. การพระเมรุกรมพระราชวังหลัง
- ๑๒๖. พระเจ้าเวียตนามมีพระราชสาสน์ทรงยินดีในการอุปราชาภิเษก
- ๑๒๗. กรมหลวงจักรเจษฎาสิ้นพระชนม์
- ๑๒๘. ได้ช้างสำคัญ
- ๑๒๙. สมเด็จพระอุทัยทูลขอนักองอี นักองเภา
- ๑๓๐. เชิญพระพุทธรูปพระศรีศากยมุนีมากรุงเทพฯ
- ๑๓๑. ปราบปรามเมืองยิริง
- ๑๓๒. เจ้าฟ้ากรมขุนศรีสุนทรเทพสิ้นพระชนม์
- ๑๓๓. โสกันต์เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๓๔. แห่สระสนานใหญ่แห่พระกฐินและมีกระจาดใหญ่กัณฑ์เทศน์มหาชาติ
- ๑๓๕. ผลประโยชน์แผ่นดิน
- ๑๓๖. วัดที่ได้ทรงปฏิสังขรณ์
- ๑๓๗. พระราชานุกิจ
- ๑๓๘. สมเด็จพระอุทัยราชาเข้ามาเฝ้า
- ๑๓๙. งานสมโภชพระแก้วมรกต
- ๑๔๐. สวรรคต
- ๑๔๑. พระราชประวัติ
- ๑๔๒. เสนาบดีในรัชกาลที่ ๑
- ภาคผนวก
- หมายรับสั่ง เรื่อง ยกประตูพระบรมมหาราชวัง จ.ศ. ๑๑๔๔
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์ไพร่หลวง ไทย มอญ รับแขกเมือง ณ แม่น้ำน้อย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์แห่เรือรับพระบรมสารีริกธาตุจากเมืองทวาย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายกำหนดการ เรื่อง มหาอุปราชาภิเษก จ.ศ. ๑๑๖๘
- หมายกำหนดการ เรื่อง ฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จ.ศ. ๑๑๗๑
๔๘. ทัพหลวงไปตีเมืองทวาย
ในปีมะแม นพศก จุลศักราช ๑๑๔๙[๕๔] นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริจะเสด็จพระราชดำเนินทัพหลวงไปตีเมืองทวาย ให้พม่าเห็นว่าไทยมีกำลังพอจะทำศึกตอบแทนได้บ้าง จึงมีพระราชดำรัสให้เกณฑ์กองทัพไว้ให้พร้อม ครั้น ณ วันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น ๕ ค่ำ เวลา ๓ โมงเช้า ๔ บาท ได้มหาพิชัยฤกษ์ จึงพระบาทสมเด็จบรมนารถบพิตรพระเจ้าอยู่หัว เสด็จยาตรานาวาพยุหทัพหลวงจากกรุงเทพมหานคร โดยทางชลมารคและพลโยธาหาญในกระบวนทัพหลวงยกจากกรุงครั้งนั้น เป็นพล ๒๐,๐๐๐ เศษ พร้อมด้วยเรือพระราชวงศานุวงศ์ และท้าวพระยาข้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งปวง โดยเสด็จพระราชดำเนินเป็นอันมาก ดำรัสให้เจ้าพระยารัตนาพิพิธ เจ้าพระยามหาเสนา พระยายมราชเป็นกองหน้า พระยาพระคลัง เป็นเกียกกาย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เป็นยกกระบัตร สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ เป็นทัพหลัง เสด็จประทับรอนแรมไปตามระยะทางชลมารค ถึงท่าตะกั่วแม่น้ำน้อย จึงเสด็จขึ้นประทับ ณ พระตำหนักค่ายหลวงซึ่งกองหน้าทำไว้รับเสด็จ แล้วดำรัสให้กองหน้ากองหนุน เป็นคน ๑๐,๐๐๐ ยกล่วงหน้าไปก่อน แล้วทัพหลวงจึงเสด็จพระราชดำเนินตามไป
ครั้งนั้นฝ่ายข้างเมืองทวาย พระเจ้าอังวะแต่งให้แมงจันจาผู้บุตรสะดุแมงกองลงมาเป็นเจ้าเมือง อนึ่ง กองทัพพม่าซึ่งยกมาทางเมืองมะริดแต่ครั้งก่อนนั้น ก็พร้อมกันอยู่ที่เมืองทวายทั้งสิ้น ทวายวุ่น กับแกงวุ่น แมงยี่ แม่ทัพและนายทัพนายกองทั้งปวงได้แจ้งว่า กองทัพไทยยกมาทางด่านวังปอเขาสูง จะมาตีเมืองทวาย แม่ทัพจึงแต่งให้นัดมิแลงถือพล ๓,๐๐๐ ยกมาตั้งค่ายรบอยู่ ณ ด่านวังปอทัพ ๑ แล้วให้ทวายวุ่นเจ้าเมืองทวาย ถือพล ๔,๐๐๐ ยกมาตั้งค่ายปีกกาสกัดท้องทุ่งทางซึ่งจะมาแต่เมืองกลิอ่องถึงเมืองทวาย แล้วเกณฑ์ให้นายทัพนายกองทั้งปวงคุมพลทหาร ๑,๐๐๐ ยกไปตั้งค่ายรับอยู่ที่เมืองกลิอ่องอีกตำบล ๑ แล้วจัดพลทหารทั้งพม่าและทวายชาวเมืองขึ้นประจำรักษาหน้าที่เชิงเทินกำแพงเมืองโดยรอบ กอร์ปด้วยเครื่องสรรพศาสตราวุธปืนใหญ่นอยพร้อมสรรพ แต่ตัวแกงวุ่น แมงยี่แม่ทัพตั้งนั้นรักษาอยู่ในกำแพง จัดการป้องกันเมืองเป็นสามารถ แล้วบอกหนังสือขึ้นไปทูลพระเจ้าอังวะว่า พระเจ้ากรุงศรีอยุธยายกทัพหลวงมาตีเมืองทวาย
ฝ่ายเจ้าพระยารัตนาพิพิธแม่ทัพหน้า เดินทัพข้ามเขาสูงไปแล้ว จึงให้พระยาสุรเสนา พระยามหาอำมาตย์ และท้าวพระยา นายทัพนายกองเป็นหลายนาย คุมพลทหาร ๕,๐๐๐ ล่วงหน้าไปก่อน ลงตกเชิงเขาสูงข้างโน้น ถึงค่ายวังปอซึ่งทัพพม่ามาตั้งรับอยู่นั้น จึงพระยาสุรเสนา พระยามหาอำมาตย์ นายกองหน้า ก็ให้ตั้งค่ายลงเป็นหลายค่าย ครั้นถึง ณ วันศุกร์ เดือน ๓ ขึ้น ๙ ค่ำ เวลาเช้า จึงพระเสนานนท์กับขุนหมื่นและไพร่พลในกองทัพ ยกเข้าปล้นค่ายพม่า ๆ ยิงปืนนกสับออกมาแต่ในค่าย ต้องต้นขาเบื้องซ้ายพระเสนานนท์ พลทหารเข้าช่วยพยุงพามาเข้าในค่าย จึงพระยามหาอำมาตย์ก็ขับพลทหารหนุนเข้าไปปล้นค่ายพม่า ๆ ต่อรบเป็นสามารถ จะหักเอาค่ายมิได้ก็ถอยออกมา แต่ยกเข้าปล้นดังนั้นเป็นหลายวัน พระยาสุรเสนา พระยาสมบัติบาล ต้องปืนข้าศึกตายในที่รบ ครั้น ณ วันอาทิตย์ เดือน ๓ แรม ๑๐ ค่ำ จึงเจ้าพระยารัตนาพิพิธ เจ้าพระยามหาเสนา ก็ยกพลทหารหนุนไปช่วยกองหน้า เข้าระดมตีค่ายพม่า ๆ ต่อรบเป็นสามารถ รบกันตั้งแต่เช้าจนค่ำ พลทัพไทยก็หนุนเนื่องกันเข้าไปมิได้ย่อท้อ บ้างเย่อแย่งปีนค่าย พม่าสู้รบอยู่จนเวลาประมาณยาม ๑ นัดมิแลงนายทัพเห็นเหลือกำลังจะต้านทานมิได้ ก็พาพลทหารแตกออกมาทางหลังค่ายหนีไปเมืองกลิอ่อง กองทัพไทยก็ได้ค่ายวังปอ แล้วให้ม้าใช้รีบลงมากราบทูลพระกรุณายังทัพหลวง แล้วตั้งพักรี้พลอยู่ ณ ค่ายวังปอ ๒ วัน
ครั้น ณ วันพุธ เดือน ๓ แรม ๑๓ ค่ำ กองทัพหน้าก็ยกตามลงไปถึงเมืองกลิอ่อง ฝ่ายทัพหลวงก็เสด็จขึ้นข้ามเขาสูงหนุนไป และเขานั้นชันนักจะทรงช้างพระที่นั่งขึ้นไปมิได้ พระบาทสมเด็จพระบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัว ดำรัสให้ผูกราวแล้วต้องทรมานพระกาย เสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาทยึดราวขึ้นไปตั้งแต่เชิงเขา แต่เช้าจนเที่ยงจึงถึงยอดเขา และช้างซึ่งขึ้นเขานั้น ต้องเอางวงยึดต้นไม้จึงเหนี่ยวกายขึ้นไปได้ความลำบากนัก ช้างที่พลาดพลัดตกเขาลงมาตายทั้งคนทั้งช้างก็มีบ้าง จึงมีพระราชโองการดำรัสว่า “ไม่รู้ว่าทางนี้เดินยากพาลูกหลานมาได้ความลำบากยิ่งนัก” เมื่อจะลงไปเชิงเขาข้างโน้น ก็เสด็จพระราชดำเนินทรงยึดราวไปเหมือนกัน ครั้นกองทัพหลวงยกข้ามเขาสูงล่วงพ้นไปแล้ว จึงเสด็จยั้งทัพหลวงหยุดประทับแรมอยู่ ณ ค่ายวังปอ ให้ตำรวจไปเร่งกองหน้าให้ตีเมืองกลิอ่องให้แตกโดยเร็ว เจ้าพระยารัตนาพิพิธ เจ้าพระยามหาเสนา พระยายมราช ก็ขับพลทหารเข้าหักค่ายเมืองกลิอ่อง พม่าต่อรบเป็นสามารถ และรบกันทั้งกลางวันกลางคืน เสียงปืนยิงโต้ตอบกันมิได้หยุดหย่อน ครั้นถึง ณ วันเสาร์ เดือน ๔ ขึ้น ๒ ค่ำ เวลากลางคืนยามเศษ เจ้าเมืองทวายและนัดมิแลงเห็นเหลือกำลังจะต้านทานต่อรบมิได้ ก็เปิดประตูหนีออกทางหลังค่ายแตกพ่ายหนีไปเมืองทวาย กองทัพไทยก็ได้เมืองกลิอ่อง ให้หยุดพักพลจัดหาเสบียงอาหารอยู่ที่นั่นหลายวันแล้ว แต่งให้กองสอดแนมลงไปสืบ แจ้งว่าพม่าตั้งค่ายปีกกาสกัดท้องทุ่ง คอยรับอยู่กลางทางซึ่งจะลงไปเมืองทวาย จึงบอกไปกราบบังคมทูลพระกรุณายังทัพหลวง ณ ค่ายวังปอ จึงมีพระราชดำรัสให้กองหน้าตรวจเตรียมรี้พลจงกวดขันทุกทัพทุกกองอย่าประมาทให้เสียทีแก่ข้าศึกได้ ให้ยกไปตีค่ายปีกกาพม่าให้แตกในวันเดียว แม้นล่วงวันไปจะเอาโทษแก่นายทัพนายกองถึงสิ้นชีวิต ครั้น ณ วันศุกร์ เดือน ๔ แรม ๘ ค่ำ เวลาเช้า กองหน้าก็ยกพลทหารเข้าระดมตีค่ายปีกกา และท้าวพระยานายทัพนายกองทั้งหลายกั้นสัปทนแดงดาษไปทั้งท้องทุ่ง ปันหน้าที่กันเร่งขับพลทหารเข้ารบหักค่ายปีกกาพร้อมกันทุกทัพทุกกอง ยิงปืนใหญ่น้อย เสียงสะเทือนสะท้านไปทั้งท้องทุ่ง พม่ายิงปืนใหญ่น้อยออกจากค่ายปีกกาทุกหน้าที่ รบกันแต่เช้าจนพลบค่ำ พลทหารไทยเยียดยัดหนุนเนื่องกันเข้าไปมิได้ท้อถอย บ้างปีนค่าย แย่งค่ายต่อรบกันถึงอาวุธสั้น พลพม่าสู้รบต้านทานมิได้เหลือกำลัง ก็แตกฉานพ่ายหนีเข้าเมือง พลทัพไทยตีค่ายปีกกาแตกแล้วก็ยกติดตามลงไปเมืองทวายในเวลากลางคืนวันนั้น
ฝ่ายแกงวุ่น แมงยี่ แม่ทัพใหญ่ และแมงจันจาเจ้าเมืองทวาย กับทั้งนายทัพนายกองทั้งปวงก็คิดปรึกษากันว่า จะล่อให้ทัพไทยเข้าอยู่ในเมืองแล้วจะล้อมเมืองไว้ชั้นนอก ด้วยเห็นว่าพลเมืองเป็นทวาย ไทยอดเสบียงอาหารเข้าก็จะแย่งชิงพลเมืองกิน ไพร่พลเมืองได้ความเดือดร้อนนักก็จะเกิดเป็นกบฏขึ้นในเมือง พม่าก็จะมีชัยชำนะถ่ายเดียว ปรึกษาเห็นพร้อมกันแล้วก็ชวนกันออกจากเมือง หนีข้ามแม่น้ำไปฝั่งโน้นก็มีบ้าง ที่ยังอยู่ในเมืองก็มีบ้าง แต่มิได้มีผู้คนขึ้นรักษาหน้าที่เชิงเทินกำแพงเมือง ถึง ณ วันเสาร์ เดือน ๔ แรม ๙ ค่ำ เวลาเช้า พลทัพไทยกองหน้าก็ยกไปถึงเชิงกำแพงเมืองทวาย ไม่เห็นผู้คนขึ้นรักษาหน้าที่เชิงเทิน แต่ประตูเมืองนั้นปิดอยู่ แม่ทัพจึงปรึกษากันว่า ครั้นจะทำลายประตูเมืองเข้าไปในเมือง ก็เกรงว่าพม่าจะแต่งกลซุ่มพลทหารไว้ ควรรอทัพอยู่แต่นอกเมืองก่อน คอยดูท่วงทีพม่าจะทำประการใด ปรึกษาเห็นพร้อมกัน ดังนั้น จึงถอยออกมาตั้งค่ายล้อมเมืองไว้ ๓ ด้าน เว้นแต่ด้านริมแม่น้ำ ฝ่ายนายทัพนายกองพม่าเห็นว่า ทัพไทยยั้งอยู่มิได้เข้าเมืองแล้ว ก็ผ่อนกันกลับเข้าเมืองเกณฑ์พลทหารขึ้นรักษาหน้าที่เชิงเทินกำแพงเมือง ป้องกันรักษาเมืองเป็นสามารถ
ฝ่ายทัพหลวงก็เสด็จพระราชดำเนินยกตามกองหน้าเข้าไปตั้งค่ายหลวงใกล้เมือง ห่างค่ายกองหน้าซึ่งตั้งล้อมเมืองออกมาประมาณ ๕๐ เส้น ดำรัสให้กองทัพสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ยกไปตั้งค่ายใหญ่หนุนค่ายกองหน้าอยู่หน้าค่ายหลวง ขณะนั้นช้างต้นพังเทพลีลาป่วยลงไม่จับหญ้าถึง ๓ วัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระวิตกนัก ด้วยเป็นช้างพระที่นั่งข้าหลวงเดิม ได้เคยทรงเสด็จไปงานพระราชสงครามมาแต่ก่อนทุกครั้ง ทรงพระอาลัยว่าเป็นราชพาหนะเพื่อนทุกข์เพื่อนยากเกรงจะล้มเสีย จึงทรงพระอธิษฐานเสกข้าว ๓ ปั้นให้ช้างนั้นรับพระราชทาน ด้วยเดชะพระบารมีเป็นมหัศจรรย์ ช้างนั้นก็หายไข้เป็นปกติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดีพระทัยยิ่งนัก ฝ่ายนายทัพนายกองพม่าซึ่งตั้งรักษาเมืองทวายอยู่นั้น เกรงกลัวพระเดชานุภาพเป็นกำลัง มิได้ยกพลทหารออกต่อรบนอกเมือง เป็นแต่รักษาเมืองนิ่งอยู่
กองทัพไทยตั้งล้อมเมืองทวายอยู่กึ่งเดือน เสบียงอาหารก็เบาบางลง ขณะนั้นเจ้าอินท์ซึ่งเป็นบุตรพระเจ้าล้านช้างเก่าจึงกราบทูลพระกรุณาว่า จะขออาสายกเข้าปีนปล้นเอาเมือง มีพระราชโองการดำรัสห้ามว่า ทัพหลวงตั้งอยู่ใกล้เมืองนัก เกรงจะไม่สมคะเนล่าถอยออกมา ข้าศึกได้ทีจะยกออกจากเมืองไล่ติดตามกระทั่งปะทะค่ายหลวง จะเสียทีเหมือนเมื่อครั้งเจ้ากรุงธนบุรียกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ครั้งแรก ภายหลังพระยาสีหราชเดโช และท้าวพระยานายทัพนายกองเป็นหลายนาย กราบบังคมทูลขออาสาปล้นเอาเมือง ก็ดำรัสห้ามเสียเหมือนดังนั้น พอเสบียงอาหารขัดลงก็ดำรัสให้เลิกทัพหลวงถอยมาทางคะมองส่วย ให้กองทัพหน้ารอรั้งมาเบื้องหลัง พม่ายกทัพติดตามกองหน้าก็รบมาจนสิ้นแดนเมืองทวาย
ในขณะนั้นฝ่ายสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงทราบว่า สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชเจ้า เสด็จพระราชดำเนินพยุหโยธาทัพออกจากเมืองทวาย ก็เสด็จยาตราทัพออกจากเมืองนครลำปางกลับมายังพระนครแล้วก็เสด็จโดยทางชลมารคออกไปตามเสด็จถึงแม่น้ำน้อย พอทัพหลวงเสด็จกลับมาถึงพระตำหนักค่ายท่าเรือ ก็เสด็จขึ้นไปเฝ้ากราบถวายบังคมทูลว่า “ขอเชิญเสด็จพระราชดำเนินคืนยังพระนครเถิด ข้าพระพุทธเจ้าจะตั้งทัพอยู่ที่นี่ ดูทีพม่าจะทำประการใดจะได้คิดอ่านป้องกันสู้รบรักษาพระราชอาณาเขต” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงเห็นชอบด้วย จึงเสด็จกรีฑานาวาทัพกลับคืนยังกรุงเทพมหานคร ฝ่ายกองทัพพม่ายกติดตามมาพอสิ้นแดนเมืองทวายแล้วก็ยั้งทัพอยู่ มิได้ยกล่วงเข้ามาในพระราชอาณาเขต ก็เลิกทัพกลับไปเมืองทวาย สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ก็ทรงจัดให้พลหัวเมืองอยู่รักษาด่านทางมั่นคงแล้วก็เสด็จเลิกทัพกลับยังพระนคร