- คำนำ
- บานแผนก
- รายงานทูลเกล้าฯ ถวาย
- บานแผนกเดิม
- ๑. สร้างกรุงรัตนโกสินทร์
- ๒. พระราชพิธีปราบดาภิเษก
- ๓. ประดิษฐานพระราชวงศ์
- ๔. ตั้งข้าราชการวังหลวง
- ๕. แบ่งหัวเมืองขึ้น กลาโหม มหาดไทย กรมท่า
- ๖. ตั้งข้าราชการวังหน้า
- ๗. ตั้งตำแหน่งพระราชาคณะ
- ๘. พงศาวดารเขมร ตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรีจนนักองเองเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ
- ๙. พระราชทานคืนพระบาง และให้เจ้านันทเสนไปครองเมืองล้านช้าง
- ๑๐. องเชียงสือญวนเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
- ๑๑. เรื่องพงศาวดารญวน
- ๑๒. พระยาปังกลิมาเจ้าเมืองกำปอดแข็งเมือง
- ๑๓. พงศาวดารพม่า ตั้งแต่มังหม่องเป็นกบฏ จนพระเจ้าปะดุงได้เมืองยะไข่
- ๑๔. อ้ายกบฏ ๒ คนเข้าวังหน้า
- ๑๕. เจ้าพระยาอภัยภูเบศรไปรั้งเมืองเขมร
- ๑๖. ทัพพระยานครสวรรค์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๑๗. สร้างพระนคร
- ๑๘. สร้างพระราชมนเทียร
- ๑๙. ทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๒๐. สร้างพระมหาปราสาท
- ๒๑. สร้างวัดพระแก้ว
- ๒๒. ตำนานพระแก้วมรกต
- ๒๓. ปฏิสังขรณ์วัดสลัก
- ๒๔. ปิดคลองลัด
- ๒๕. ทำศพเจ้ากรุงธนบุรี
- ๒๖. ได้ช้างสำคัญ
- ๒๗. ลดตำแหน่งพระเจ้านครศรีธรรมราช และตั้งเจ้าพระยานครพัด
- ๒๘. พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
- ๒๙. สมโภชพระนคร
- ๓๐. กรมหลวงอิศรสุนทรเสด็จมาอยู่พระราชวังเดิม
- ๓๑. น้ำมากข้าวแพง
- ๓๒. ศึกพม่าครั้งที่ ๑
- ๓๓. รบพม่าเมืองกาญจนบุรี
- ๓๔. รบพม่าเมืองราชบุรี
- ๓๕. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จแหลมมลายู
- ๓๖. รบพม่าทางเมืองเหนือ
- ๓๗. ตั้งกรมพระราชวังหลัง
- ๓๘. รบพม่าทางแหลมมลายู
- ๓๙. ปราบเมืองมลายู
- ๔๐. หล่อปืนใหญ่
- ๔๑. ตั้งท้าวเทพสตรี ท้าวศรีสุนทร
- ๔๒. สร้างวังเจ้าเขมร
- ๔๓. องเชียงสือหนีจากกรุงเทพฯ
- ๔๔. ศึกพม่าครั้งที่ ๒
- ๔๕. สร้างมณฑปพระพุทธบาท
- ๔๖. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จไปตั้งเมืองเชียงใหม่
- ๔๗. พระราชทานเรือและเครื่องอาวุธช่วยองเชียงสือ
- ๔๘. ทัพหลวงไปตีเมืองทวาย
- ๔๙. ฝรั่งเข้ามาพนันชกมวย
- ๕๐. พระราชทานเรือรบและปืนช่วยองเชียงสือ
- ๕๑. ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่
- ๕๒. องเชียงสือถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๑ พระราชทานกำลังช่วยองเชียงสือ
- ๕๓. ทำสังคายนาพระไตรปิฎก
- ๕๔. องเชียงสือถวายข้าวสาร
- ๕๕. ไฟไหม้พระมหาปราสาท
- ๕๖. ปราบรายาเมืองตานี
- ๕๗. องเชียงสือตั้งตัวเป็นเจ้าอนัมก๊ก ถวายต้นไม้ทองเงินเป็นครั้งที่ ๒
- ๕๘. ทัพเวียงจันทน์รบญวนไกเซิน
- ๕๙. เจ้าอนัมก๊กกล่าวโทษเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์
- ๖๐. แขกเซียะตีเมืองสงขลา
- ๖๑. เจ้าอนัมก๊กถวายเรือรบ และพระราชทานปืนตอบ
- ๖๒. ทัพเวียงจันทน์ตีเมืองหลวงพระบาง
- ๖๓. เมืองทวายสวามิภักดิ์
- ๖๔. เจ้าอนัมก๊กมีศุภอักษรนัดให้ไปตีเมืองตังเกี๋ย
- ๖๕. ทัพพระยายมราชยกไปเมืองทวาย
- ๖๖. ทัพหลวงยกไปเมืองทวาย
- ๖๗. ยกทัพหลวงไปตีเมืองพม่า
- ๖๘. ทวายเป็นกบฏ
- ๖๙. เจ้าอนัมก๊กขอตราให้หัวเมืองช่วยการทัพ และถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๓
- ๗๐. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๗๑. ญวนไกเซินขอเป็นไมตรี
- ๗๒. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (ศุข) ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และนักองเอง
- ๗๓. ตั้งนักองเองออกไปครองกรุงกัมพูชา นักองเองถวายเมืองพระตะบองเสียมราฐ
- ๗๔. ถอดเจ้านครล้านช้าง
- ๗๕. ได้ช้างเผือกพระอินทรไอยรา
- ๗๖. ศึกพม่าครั้งที่ ๓
- ๗๗. เชิญพระพุทธสิหิงก์มากรุงเทพฯ
- ๗๘. กรมพระราชวังบวรฯ ทรงผนวช
- ๗๙. สมเด็จพระนารายณ์รามารับอากับครอบครัวไปเมืองเขมร
- ๘๐. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๔
- ๘๑. การพระเมรุพระบรมอัฐิสมเด็จพระชนกาธิบดี
- ๘๒. เกิดเหตุบาดหมางในระหว่าง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๘๓. สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีพระเจ้ากรุงกัมพูชาพิราลัย
- ๘๔. ข่าวศึกพม่า กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จเมืองเชียงใหม่
- ๘๕. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๕
- ๘๖. ฉลองพระมณฑปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- ๘๗. ข่าวศึกพม่า
- ๘๘. สมเด็จพระพี่นางสิ้นพระชนม์
- ๘๙. โปรดให้กองทัพเขมรไปช่วยเจ้าอนัมก๊ก
- ๙๐. เพลิงไหม้สำเพ็ง
- ๙๑. สร้างและฉลองวัดพระเชตุพน
- ๙๒. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๖
- ๙๓. ได้ช้างเผือกพระเทพกุญชร
- ๙๔. เพลิงไหม้วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์
- ๙๕. เจ้าอนัมก๊กได้เมืองญวนและตั้งตัวเป็นพระเจ้ากรุงเวียตนามยาลอง
- ๙๖. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๙๗. ศึกพม่าครั้งที่ ๔
- ๙๘. นักองจันท์ นักองสงวน เข้ามาเฝ้า
- ๙๙. พระเจ้าเวียตนามถวายของสนองพระคุณ
- ๑๐๐. กองทัพไทยไปตีเมืองเชียงแสน
- ๑๐๑. ตั้งเจ้าเชียงใหม่
- ๑๐๒. ได้ช้างสีทองแดงพระบรมฉัททันต์
- ๑๐๓. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๐๔. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคต
- ๑๐๕. พระราชประวัติกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๐๖. สิ่งซึ่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงสร้าง
- ๑๐๗. เรื่องหม่อมลำดวน หม่อมอินทปัต
- ๑๐๘. เลื่อนกรมขุนเสนานุรักษ์และตั้งกรมขุนพิทักษ์มนตรี
- ๑๐๙. กองทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์กลับจากเมืองเชียงแสน
- ๑๑๐. การพระเมรุกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๑๑. พระเจ้าเวียตนามมีราชสาสน์มาทูลเตือน ให้ตั้งกรมพระราชวังบวรฯ
- ๑๑๒. เกณฑ์ทัพไปตีเมืองเชียงตุง เชียงรุ้ง
- ๑๑๓. ตั้งเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๑๔. ตั้งเจ้าอนุครองเมืองเวียงจันทน์
- ๑๑๕. กรมหลวงเทพหริรักษ์สิ้นพระชนม์
- ๑๑๖. ชำระกฎหมาย
- ๑๑๗. ได้ช้างสำคัญพระบรมนัขมณีและพระบรมคชลักษณ์
- ๑๑๘. ได้เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ้ง และเมืองลื้อ สิบสองปันนา
- ๑๑๙. พระเจ้ากรุงเวียตนามมีราชสาสน์ถวายบรรณาการ
- ๑๒๐. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๒๑. กรมพระราชวังหลังทิวงคต
- ๑๒๒. ตั้งนักองจันท์เป็นสมเด็จพระอุทัยราชาเจ้ากรุงกัมพูชา
- ๑๒๓. พระราชพิธีอุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
- ๑๒๔. ตั้งพระบัณฑูรน้อย และตั้งกรมเจ้านาย
- ๑๒๕. การพระเมรุกรมพระราชวังหลัง
- ๑๒๖. พระเจ้าเวียตนามมีพระราชสาสน์ทรงยินดีในการอุปราชาภิเษก
- ๑๒๗. กรมหลวงจักรเจษฎาสิ้นพระชนม์
- ๑๒๘. ได้ช้างสำคัญ
- ๑๒๙. สมเด็จพระอุทัยทูลขอนักองอี นักองเภา
- ๑๓๐. เชิญพระพุทธรูปพระศรีศากยมุนีมากรุงเทพฯ
- ๑๓๑. ปราบปรามเมืองยิริง
- ๑๓๒. เจ้าฟ้ากรมขุนศรีสุนทรเทพสิ้นพระชนม์
- ๑๓๓. โสกันต์เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๓๔. แห่สระสนานใหญ่แห่พระกฐินและมีกระจาดใหญ่กัณฑ์เทศน์มหาชาติ
- ๑๓๕. ผลประโยชน์แผ่นดิน
- ๑๓๖. วัดที่ได้ทรงปฏิสังขรณ์
- ๑๓๗. พระราชานุกิจ
- ๑๓๘. สมเด็จพระอุทัยราชาเข้ามาเฝ้า
- ๑๓๙. งานสมโภชพระแก้วมรกต
- ๑๔๐. สวรรคต
- ๑๔๑. พระราชประวัติ
- ๑๔๒. เสนาบดีในรัชกาลที่ ๑
- ภาคผนวก
- หมายรับสั่ง เรื่อง ยกประตูพระบรมมหาราชวัง จ.ศ. ๑๑๔๔
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์ไพร่หลวง ไทย มอญ รับแขกเมือง ณ แม่น้ำน้อย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์แห่เรือรับพระบรมสารีริกธาตุจากเมืองทวาย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายกำหนดการ เรื่อง มหาอุปราชาภิเษก จ.ศ. ๑๑๖๘
- หมายกำหนดการ เรื่อง ฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จ.ศ. ๑๑๗๑
๙๗. ศึกพม่าครั้งที่ ๔
ในปีจอ จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๖๔ ปีนั้น พระยาเชียงใหม่มีใบบอกลงมาว่า ได้แต่งกองทัพไปโจมตีเอาเมืองสากจับได้ตัวราชาจอมหงษ์เจ้าเมืองกับลูกชายชื่อไหมขัติยะคน ๑ ครอบครัวเมืองสาก ๕,๐๐๐ เศษ และจับได้สุริงมะนีพม่า ซึ่งเจ้าอังวะแต่งให้ถือหนังสือราชสาสน์ไปเมืองตังเกี๋ย กับหนังสือญวนประทับตรามาถึงพระเจ้าอังวะ ๒ ฉบับ พระยาเชียงใหม่ให้คุมเอาตัวราชาจอมหงษ์ ไหมขัติยะ สุริงมะนี อ้าจะเรพม่า กับหนังสือญวนลงมาแล้ว พระยาเชียงใหม่กาวิละมีหนังสือบอกซํ้าลงมาอีกว่าสืบได้ความว่า พม่ายกกองทัพจะมาตีเมืองเชียงใหม่ ครั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และกรมพระราชวังบวรสถานมงคลทราบตามหนังสือบอกแล้ว ทรงพระราชดำริราชการพร้อมกันว่า ควรจะเกณฑ์กองทัพไปรักษาเมืองเชียงใหม่ จึงดำรัสสั่งให้สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ พระยายมราชคุมคนเมืองเหนือ ๘ หัวเมืองทัพ ๑ เจ้าอนุคุมพลลาวเวียงจันทน์ทัพ ๑ รวมกัน ๒ ทัพ สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ก็เสด็จยกทัพขึ้นไปด้วย
สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จขึ้นไปถึงเมืองเถิน ทรงพระประชวรพระโรคนิ่ว พระอาการมาก เวลามีพิษร้อนถึงต้องลงแช่อยู่ในพระสาคร เสด็จขึ้นไปช่วยเมืองเชียงใหม่หาได้ไม่ จึงรับสั่งให้เจ้าบำเรอภูธร ซึ่งเป็นกรมขุนสุนทรภูเบศร์เป็นแม่ทัพ พระยาเสนหาภูธร ซึ่งว่าที่กลาโหม พระยามหาวินิจฉัย ซึ่งว่าที่พระยาจ่าแสนยากร ยกขึ้นไปด้วยพระไกรภพ พวก ๑๐ หมู่ แลกองกลางในกรมพระราชวังบวรสถานมงคล พร้อมกันยกขึ้นไปกอง ๑ และทัพสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ พระยายมราชยกขึ้นไปทางเมืองลี้ ทางนั้นเป็นทางที่พม่ามาได้ และกองทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์กับพระยายมราช ยกรีบเร่งขึ้นไป ผู้คนในกระบวนทัพหาพรักพร้อมกันไม่ จึงรั้งรอกระบวนทัพอยู่ให้คนลงมาเร่งกองทัพให้รีบยกขึ้นไป พอกองทัพมาพร้อมมูลกัน จึงได้ยกขึ้นไป
ที่เมืองเชียงใหม่นั้น พระยากาวิละเจ้าเมืองรักษาเมืองเชียงใหม่ไว้มั่นคง พม่ายกมาล้อมเมืองเชียงใหม่ ครั้งนั้นอินแซะวุ่นเป็นแม่ทัพ ชิดชิงโปกอง ๑ ปะไลโวกอง ๑ มะเดมะโย โกงดอรัดกอง ๑ นามิแลงกอง ๑ ตองแพกะเมียวุ่นกอง ๑ มะยอกแพกะเมียวุ่นกอง ๑ รวมกัน ๗ ทัพ ล้อมเมืองเชียงใหม่รอบทั้ง ๔ ด้าน เสาค่ายพม่าซึ่งล้อมเมืองนั้นใหญ่ ๓ กำ ยาว ๘ วา ลงดิน ๔ ศอก ไว้หลังดิน ๘ ศอก มีเอ็นร้อยตลอดกัน ๓ ชั้น มีกรอบกันปืนแผงบังตาสนามเพลาะสูง ๓ ศอก กว้าง ๔ ศอก คูริมสนามเพลาะ กว้าง ๔ ศอก ลึก ๓ ศอก มีช่องปืนราย ๆ รอบค่ายไป
พระยากาวิละเจ้าเมืองเชียงใหม่รักษาเมือง ครั้งนั้นองอาจแข็งแรงเวลาบ่ายออกเลียบเมืองตรวจตามเชิงเทิน กองทัพลาวตามพระยาเชียงใหม่ ๑,๐๐๐ เศษ ๒,๐๐๐ เสมอทุกวัน ครั้นพระยาเชียงใหม่ทราบว่า สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงพระประชวรเสด็จประทับรักษาพระองค์อยู่ ณ เมืองเถิน พระยาเชียงใหม่จึงให้ท้าวมหายักษ์ลงมาเฝ้าทูลละลองธุลีพระบาทแจ้งข้อราชการ เวลากลางคืนท้าวมหายักษ์ออกมาทางประตูน้ำที่พม่าล้อมไว้มั่นคงนั้นออกมาได้แล้วท้าวมหายักษ์เชียนหนังสือปักไว้ว่า “กูชื่อท้าวมหายักษ์พระยาเชียงใหม่ใช้กูลงไปเฝ้าสมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แจ้งข้อราชการแล้วก็จะกลับเข้ามาทางประตูนี้ให้เองคอยอยู่จับกูเถิด” ท้าวมหายักษ์ลงมาเฝ้าสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคลที่เมืองเถินแจ้งข้อราชการว่าค่ายพม่าตั้งล้อมอยู่ ๗ ค่าย ในคำพระยาเชียงใหม่สั่งลงมาให้กราบทูลพระกรุณานั้น พระยาเชียงใหม่จะรักษาเมืองเชียงใหม่ไว้คอยท่ากองทัพกรุงเทพมหานครศรีอยุธยายกขึ้นไปช่วย ขอให้ทรงพระเมตตากรุณาแก่ชาวเชียงใหม่ข้าเผ่นดิน ให้เร่งรีบยกกองทัพขึ้นไปช่วยให้ทัน จึงโปรดให้มีตราให้ท้าวมหายักษ์ถือขึ้นไปให้พระยาเชียงใหม่ว่า ได้ให้สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ พระยายมราช คุมกองทัพหัวเมืองฝ่ายเหนือกอง ๑ กรมขุนสุนทรภูเบศร์ พระยาเสนหาภูธร คุมกองทัพในพระราชวังบวรสถานมงคลกอง ๑ เจ้าอนุคุมทัพเมืองเวียงจันทน์กอง ๑ รวมกัน ๓ ทัพ ยกขึ้นไปช่วยเมืองเชียงใหม่และให้พระยาเชียงใหม่รักษาเมืองเชียงใหม่ไว้คอยท่ากองทัพกรุงให้จงได้ท้าวมหายักษ์ได้ตราแล้วกราบถวายบังคมลากลับขึ้นไปเมืองเชียงใหม่ เข้าทางประตูน้ำที่ออกมา พม่าก็จับไม่ได้
และกองทัพสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์พระยายมราช และกองทัพกรมขุนสุนทรภูเบศร์พระยาเสนหาภูธร กองทัพในพระราชวังบวรฯ ยกขึ้นไปถึงเมืองลำพูนแล้ว พระยาเสนหาภูธร บอกลงมากราบทูล สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคลว่า พระยาจ่าแสนยากรเป็นคนอ่อนแอไป ขอรับพระราชทานพระไกรภพ (บุญรอด) เป็นที่พระยาจ่าแสนยากร โปรดให้มีตราตอบขึ้นไป ให้ตั้งพระไกรภพเป็นพระยาจ่าแสนยากรตามขอแล้ว กองทัพไทยก็เข้าตีเมืองลำพูน พม่าที่รักษาเมืองลำพูนสู้รบกองทัพกรุงไม่ได้ก็แตกหนีกองทัพกรุงกลับขึ้นไปเมืองเชียงใหม่ กองทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์พระยายมราช จับได้ตัวเยสิดองปลัดทัพพม่ากับไพร่หลายคน เยสิดองคนนี้เป็นลูกไทยชาวกรุงเก่า บ้านบิดามารดาอยู่บางกระจะริมวัดพนัญเชิง เมื่อพม่าตีกรุงเก่าได้นั้น เยสิดองชื่อตัวชื่อมาก พม่าได้เป็นเชลยไปใช้สอยคุ้นเคยมา เมื่อยกมาตีเมืองเชียงใหม่ได้เป็นที่เยสิดองปลัดทัพมาด้วย
ฝ่ายที่กรุงนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทราบว่า กรมพระราชวังบวรฯ ประชวรอยู่ที่เมืองเถิน เสด็จขึ้นไปเมืองเชียงใหม่ไม่ได้ จึงโปรดให้กรมพระราชวังหลัง ยกกองทัพตามกรมพระราชวังบวรสถานมงคลขึ้นไป กรมพระราชวังหลังเสด็จยกขึ้นไปถึงเมืองเถิน เห็นทรงพระประชวรพระอาการมาก กรมพระราชวังหลังทรงพระกันแสง และสมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรฯ ตรัสแก่กรมพระราชวังหลังว่า จะขึ้นไปช่วยเมืองเชียงใหม่นั้นเห็นจะไม่ได้แล้ว ให้กรมพระราชวังหลังเสด็จขึ้นไปแทนพระองค์เถิด จึงพระราชทานพระแสงดาบให้กรมพระราชวังหลังขึ้นไปด้วยองค์ ๑ แล้วให้มหาดไทยร่างตราใจความนั้นว่า ให้กรมพระราชวังหลังเสด็จขึ้นไปแทนพระองค์ ถ้ากรมพระราชวังหลังเสด็จขึ้นไปถึงกองทัพกรุงแล้ว ให้เร่งระดมเข้าตีพม่าเอาเมืองเชียงใหม่คืนให้จงได้ อย่าให้คิดว่าพี่ว่าน้องเอาแต่การแผ่นดินตามอาชญาทัพศึก เมื่อกรมพระราชวังหลังจะทูลลากรมพระราชวังบวรสถานมงคลออกจากเมืองเถินนั้น เห็นพระองค์ทรงพระประชวรซูบผอม พระอาการมากอยู่ ก็ทรงพระกันแสงมิใคร่จะเสด็จไป จึงสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ตรัสแก่กรมพระราชวังหลังว่าเจ็บไข้ยังไม่เป็นไรดอกจะเอาชีวิตไว้คอยท่าให้ได้ เร่งยกขึ้นไปเถิด
และที่เมืองเชียงใหม่นั้น อินแซะวุ่นแม่ทัพได้ยินเสียงปืนที่เมืองลำพูนยืดยาวแน่นหนามาก ก็คิดว่าทัพกรุงยกขึ้นมาช่วยเมืองลำพูน จะชักคนลงมาช่วยเมืองลำพูนซึ่งตีได้ไว้ก็ชักไม่ออก ด้วยค่ายประชิดเมืองเชียงใหม่อยู่ จึงกำชับนายทัพนายกองให้ตระเตรียมจะเข้าปล้นเอาเมืองเชียงใหม่ให้ได้เสียก่อน กองทัพกรุงมาช่วยฝ่ายสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์และกองทัพกรมขุนสุนทรภูเบศร์ ก็เร่งยกกองทัพออกจากเมืองลำพูนขึ้นไปเมืองเชียงใหม่ตั้งค่ายล้อมค่ายพม่าไว้ และกรมพระราชวังหลังทูลลากรมพระราชวังบวรสถานมงคลจากเมืองเถินแล้ว ก็รีบยกขึ้นไปเมืองเชียงใหม่ ไปทางริมแม่น้ำไปถึงกองทัพที่ตั้งอยู่ ณ เมืองเชียงใหม่ กรมพระราชวังหลังให้หานายทัพนายกองมาพร้อมกันแล้วเชิญท้องตรารับสั่ง อ่านให้ฟังแล้วกรมพระราชวังหลังจึงมีพระบัญชาสั่งนายทัพนายกองให้ตีพม่าให้แตกแต่ในเวลาพรุ่งนี้ ไปกินข้าวเช้าในเมืองเชียงใหม่ให้จงได้ ถ้าผู้ใดย่อท้อก็จะเอาโทษตามพระอัยการศึก นายทัพนายกองพร้อมกันทั้งทัพกรมพระราชวังหลัง และทัพในพระราชวังหน้า ทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์ก็ยกระดมคนเข้าตีค่ายพม่า ซึ่งล้อมเมืองเชียงใหม่แต่เวลา ๓ ยาม และพม่านายทัพนายกองเอาคนออกมาวางตามสนามเพลาะนอกค่าย ให้ยิงปืนตับกราดไว้ พวกกองทัพไทยยกกรูเข้าไปจะเข้าแหกค่าย เห็นปืนพม่ายิงหนานัก ต้องแอบอยู่ตามคันนา ต่างคนต่างยิงกัน พอสว่างขึ้นพระยาพิชัย (โต) เป็นคนกล้าหาญจึงร้องว่า ไล่ฟันไล่แทงเถิดแตกดอก พระยาพิชัยก็นำกองทัพเข้าไล่บุกบั่นฟันแทงเข้าไปก่อน นายทัพนายกองทั้งนั้นก็ตามกองทัพพระยาพิชัยเข้าไป ไล่ฟันไล่แทงพม่า ๆ สู้ไม่ได้วิ่งหนีเข้าค่ายบ้าง เข้าค่ายไม่ทันวิ่งเลยไปบ้าง กองทัพไทยก็ปีนค่ายพังค่ายพม่าเข้าไปได้ทุกค่าย พม่าก็แตกไป อินแซะวุ่นแม่ทัพใหญ่หนีไปได้แล้ว พระยาเชียงใหม่จัดพวกชาวเชียงใหม่ ๑,๐๐๐ เศษ ให้ตามพม่าติดไปทีเดียว ฆ่าฟันพม่าล้มตายลงเป็นอันมาก ฝ่ายพระยาเสนหาภูธร ก็เรียกเอาตัวเยสิดอง มาจากกองทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์ บอกส่งตัวมา ณ ค่ายหลวงเมืองเถินพร้อมกับใบบอกข้อราชการเมืองลำพูน เมืองเชียงใหม่