- คำนำ
- บานแผนก
- รายงานทูลเกล้าฯ ถวาย
- บานแผนกเดิม
- ๑. สร้างกรุงรัตนโกสินทร์
- ๒. พระราชพิธีปราบดาภิเษก
- ๓. ประดิษฐานพระราชวงศ์
- ๔. ตั้งข้าราชการวังหลวง
- ๕. แบ่งหัวเมืองขึ้น กลาโหม มหาดไทย กรมท่า
- ๖. ตั้งข้าราชการวังหน้า
- ๗. ตั้งตำแหน่งพระราชาคณะ
- ๘. พงศาวดารเขมร ตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรีจนนักองเองเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ
- ๙. พระราชทานคืนพระบาง และให้เจ้านันทเสนไปครองเมืองล้านช้าง
- ๑๐. องเชียงสือญวนเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
- ๑๑. เรื่องพงศาวดารญวน
- ๑๒. พระยาปังกลิมาเจ้าเมืองกำปอดแข็งเมือง
- ๑๓. พงศาวดารพม่า ตั้งแต่มังหม่องเป็นกบฏ จนพระเจ้าปะดุงได้เมืองยะไข่
- ๑๔. อ้ายกบฏ ๒ คนเข้าวังหน้า
- ๑๕. เจ้าพระยาอภัยภูเบศรไปรั้งเมืองเขมร
- ๑๖. ทัพพระยานครสวรรค์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๑๗. สร้างพระนคร
- ๑๘. สร้างพระราชมนเทียร
- ๑๙. ทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๒๐. สร้างพระมหาปราสาท
- ๒๑. สร้างวัดพระแก้ว
- ๒๒. ตำนานพระแก้วมรกต
- ๒๓. ปฏิสังขรณ์วัดสลัก
- ๒๔. ปิดคลองลัด
- ๒๕. ทำศพเจ้ากรุงธนบุรี
- ๒๖. ได้ช้างสำคัญ
- ๒๗. ลดตำแหน่งพระเจ้านครศรีธรรมราช และตั้งเจ้าพระยานครพัด
- ๒๘. พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
- ๒๙. สมโภชพระนคร
- ๓๐. กรมหลวงอิศรสุนทรเสด็จมาอยู่พระราชวังเดิม
- ๓๑. น้ำมากข้าวแพง
- ๓๒. ศึกพม่าครั้งที่ ๑
- ๓๓. รบพม่าเมืองกาญจนบุรี
- ๓๔. รบพม่าเมืองราชบุรี
- ๓๕. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จแหลมมลายู
- ๓๖. รบพม่าทางเมืองเหนือ
- ๓๗. ตั้งกรมพระราชวังหลัง
- ๓๘. รบพม่าทางแหลมมลายู
- ๓๙. ปราบเมืองมลายู
- ๔๐. หล่อปืนใหญ่
- ๔๑. ตั้งท้าวเทพสตรี ท้าวศรีสุนทร
- ๔๒. สร้างวังเจ้าเขมร
- ๔๓. องเชียงสือหนีจากกรุงเทพฯ
- ๔๔. ศึกพม่าครั้งที่ ๒
- ๔๕. สร้างมณฑปพระพุทธบาท
- ๔๖. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จไปตั้งเมืองเชียงใหม่
- ๔๗. พระราชทานเรือและเครื่องอาวุธช่วยองเชียงสือ
- ๔๘. ทัพหลวงไปตีเมืองทวาย
- ๔๙. ฝรั่งเข้ามาพนันชกมวย
- ๕๐. พระราชทานเรือรบและปืนช่วยองเชียงสือ
- ๕๑. ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่
- ๕๒. องเชียงสือถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๑ พระราชทานกำลังช่วยองเชียงสือ
- ๕๓. ทำสังคายนาพระไตรปิฎก
- ๕๔. องเชียงสือถวายข้าวสาร
- ๕๕. ไฟไหม้พระมหาปราสาท
- ๕๖. ปราบรายาเมืองตานี
- ๕๗. องเชียงสือตั้งตัวเป็นเจ้าอนัมก๊ก ถวายต้นไม้ทองเงินเป็นครั้งที่ ๒
- ๕๘. ทัพเวียงจันทน์รบญวนไกเซิน
- ๕๙. เจ้าอนัมก๊กกล่าวโทษเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์
- ๖๐. แขกเซียะตีเมืองสงขลา
- ๖๑. เจ้าอนัมก๊กถวายเรือรบ และพระราชทานปืนตอบ
- ๖๒. ทัพเวียงจันทน์ตีเมืองหลวงพระบาง
- ๖๓. เมืองทวายสวามิภักดิ์
- ๖๔. เจ้าอนัมก๊กมีศุภอักษรนัดให้ไปตีเมืองตังเกี๋ย
- ๖๕. ทัพพระยายมราชยกไปเมืองทวาย
- ๖๖. ทัพหลวงยกไปเมืองทวาย
- ๖๗. ยกทัพหลวงไปตีเมืองพม่า
- ๖๘. ทวายเป็นกบฏ
- ๖๙. เจ้าอนัมก๊กขอตราให้หัวเมืองช่วยการทัพ และถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๓
- ๗๐. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๗๑. ญวนไกเซินขอเป็นไมตรี
- ๗๒. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (ศุข) ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และนักองเอง
- ๗๓. ตั้งนักองเองออกไปครองกรุงกัมพูชา นักองเองถวายเมืองพระตะบองเสียมราฐ
- ๗๔. ถอดเจ้านครล้านช้าง
- ๗๕. ได้ช้างเผือกพระอินทรไอยรา
- ๗๖. ศึกพม่าครั้งที่ ๓
- ๗๗. เชิญพระพุทธสิหิงก์มากรุงเทพฯ
- ๗๘. กรมพระราชวังบวรฯ ทรงผนวช
- ๗๙. สมเด็จพระนารายณ์รามารับอากับครอบครัวไปเมืองเขมร
- ๘๐. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๔
- ๘๑. การพระเมรุพระบรมอัฐิสมเด็จพระชนกาธิบดี
- ๘๒. เกิดเหตุบาดหมางในระหว่าง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๘๓. สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีพระเจ้ากรุงกัมพูชาพิราลัย
- ๘๔. ข่าวศึกพม่า กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จเมืองเชียงใหม่
- ๘๕. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๕
- ๘๖. ฉลองพระมณฑปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- ๘๗. ข่าวศึกพม่า
- ๘๘. สมเด็จพระพี่นางสิ้นพระชนม์
- ๘๙. โปรดให้กองทัพเขมรไปช่วยเจ้าอนัมก๊ก
- ๙๐. เพลิงไหม้สำเพ็ง
- ๙๑. สร้างและฉลองวัดพระเชตุพน
- ๙๒. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๖
- ๙๓. ได้ช้างเผือกพระเทพกุญชร
- ๙๔. เพลิงไหม้วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์
- ๙๕. เจ้าอนัมก๊กได้เมืองญวนและตั้งตัวเป็นพระเจ้ากรุงเวียตนามยาลอง
- ๙๖. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๙๗. ศึกพม่าครั้งที่ ๔
- ๙๘. นักองจันท์ นักองสงวน เข้ามาเฝ้า
- ๙๙. พระเจ้าเวียตนามถวายของสนองพระคุณ
- ๑๐๐. กองทัพไทยไปตีเมืองเชียงแสน
- ๑๐๑. ตั้งเจ้าเชียงใหม่
- ๑๐๒. ได้ช้างสีทองแดงพระบรมฉัททันต์
- ๑๐๓. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๐๔. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคต
- ๑๐๕. พระราชประวัติกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๐๖. สิ่งซึ่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงสร้าง
- ๑๐๗. เรื่องหม่อมลำดวน หม่อมอินทปัต
- ๑๐๘. เลื่อนกรมขุนเสนานุรักษ์และตั้งกรมขุนพิทักษ์มนตรี
- ๑๐๙. กองทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์กลับจากเมืองเชียงแสน
- ๑๑๐. การพระเมรุกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๑๑. พระเจ้าเวียตนามมีราชสาสน์มาทูลเตือน ให้ตั้งกรมพระราชวังบวรฯ
- ๑๑๒. เกณฑ์ทัพไปตีเมืองเชียงตุง เชียงรุ้ง
- ๑๑๓. ตั้งเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๑๔. ตั้งเจ้าอนุครองเมืองเวียงจันทน์
- ๑๑๕. กรมหลวงเทพหริรักษ์สิ้นพระชนม์
- ๑๑๖. ชำระกฎหมาย
- ๑๑๗. ได้ช้างสำคัญพระบรมนัขมณีและพระบรมคชลักษณ์
- ๑๑๘. ได้เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ้ง และเมืองลื้อ สิบสองปันนา
- ๑๑๙. พระเจ้ากรุงเวียตนามมีราชสาสน์ถวายบรรณาการ
- ๑๒๐. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๒๑. กรมพระราชวังหลังทิวงคต
- ๑๒๒. ตั้งนักองจันท์เป็นสมเด็จพระอุทัยราชาเจ้ากรุงกัมพูชา
- ๑๒๓. พระราชพิธีอุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
- ๑๒๔. ตั้งพระบัณฑูรน้อย และตั้งกรมเจ้านาย
- ๑๒๕. การพระเมรุกรมพระราชวังหลัง
- ๑๒๖. พระเจ้าเวียตนามมีพระราชสาสน์ทรงยินดีในการอุปราชาภิเษก
- ๑๒๗. กรมหลวงจักรเจษฎาสิ้นพระชนม์
- ๑๒๘. ได้ช้างสำคัญ
- ๑๒๙. สมเด็จพระอุทัยทูลขอนักองอี นักองเภา
- ๑๓๐. เชิญพระพุทธรูปพระศรีศากยมุนีมากรุงเทพฯ
- ๑๓๑. ปราบปรามเมืองยิริง
- ๑๓๒. เจ้าฟ้ากรมขุนศรีสุนทรเทพสิ้นพระชนม์
- ๑๓๓. โสกันต์เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๓๔. แห่สระสนานใหญ่แห่พระกฐินและมีกระจาดใหญ่กัณฑ์เทศน์มหาชาติ
- ๑๓๕. ผลประโยชน์แผ่นดิน
- ๑๓๖. วัดที่ได้ทรงปฏิสังขรณ์
- ๑๓๗. พระราชานุกิจ
- ๑๓๘. สมเด็จพระอุทัยราชาเข้ามาเฝ้า
- ๑๓๙. งานสมโภชพระแก้วมรกต
- ๑๔๐. สวรรคต
- ๑๔๑. พระราชประวัติ
- ๑๔๒. เสนาบดีในรัชกาลที่ ๑
- ภาคผนวก
- หมายรับสั่ง เรื่อง ยกประตูพระบรมมหาราชวัง จ.ศ. ๑๑๔๔
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์ไพร่หลวง ไทย มอญ รับแขกเมือง ณ แม่น้ำน้อย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์แห่เรือรับพระบรมสารีริกธาตุจากเมืองทวาย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายกำหนดการ เรื่อง มหาอุปราชาภิเษก จ.ศ. ๑๑๖๘
- หมายกำหนดการ เรื่อง ฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จ.ศ. ๑๑๗๑
๖๘. ทวายเป็นกบฏ
ฝ่ายเจ้าพระยารัตนาพิพิธ เจ้าพระยามหาเสนา พระยายมราชบอกเข้ามาว่า พม่ายกกองทัพใหญ่มาแต่เมืองอังวะจะมาตีเมืองทวาย พม่าเมืองทวายลอบออกไปหาแม่ทัพเมืองอังวะ จัดหญิงชาวเมืองทวายลงไปให้ ๒ คน หาให้กองทัพไทยรู้ไม่แม่ทัพเมืองอังวะจับกรมการเมืองทวายที่จัดผู้หญิงไปให้นั้นฆ่าเสีย แล้วส่งตัวผู้หญิงกลับเข้ามาเมืองทวาย ไพร่พลในเมืองทวายนั้นตั้งแต่รู้ว่ากองทัพพม่ายกมาแต่เมืองอังวะ ความซึ่งยำเกรงกองทัพไทยนั้นก็น้อยลงกว่าเก่ามาก จะใช้สอยการงานบังคับบัญชาก็ไม่ได้เหมือนแต่ก่อน ได้ทรงทราบในหนังสือบอกแล้ว พอกองทัพหัวเมืองเข้ามาพร้อมกัน ก็เสด็จยกพยุหยาตราโยธาทัพบกทัพเรือไปขึ้นเดินที่ค่ายหลวงแม่น้ำน้อย
ฝ่ายที่เมืองทวายนั้นขัดเสบียงอาหารลง เจ้าพระยารัตนาพิพิธ เจ้าพระยามหาเสนา พระยายมราช จึงปรึกษากันว่า ชาวเมืองทวายเสบียงอาหารก็ฝืดเคืองเกือบจะอดอยู่แล้ว จะชักเอาผู้ชายไปขนข้าวที่ฉางแม่น้ำนอย คนก็ติดรักษาหน้าที่เชิงเทินอยู่ ให้แต่พวกผู้หญิงลงมาขนข้าว พวกพ้องของใครก็ให้คุมพวกพ้องลงมาแล้วให้พวกไทยกำกับลงมาด้วย ชาวเมืองทวายสงสัยว่าจะผ่อนครัว ก็หาฟังบังคับบัญชาไม่ ทุ่มเถียงเกะกะไป เจ้าพระยามหาเสนาจึงเอาอ้ายวุ่นทอกพม่าเมืองทวายที่เป็นตัวแข็งแรงนั้นมาตี ๓๐ ที
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นไปทางคะมองสวยตั้งค่ายอยู่ที่หินดาดยังไกลเมืองทวายอยู่ ๒ คืน ฝ่ายสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งยกออกไปต่อเรือรบที่สิงขร เร่งต่อทำทั้งกลางวันกลางคืนจนเรือแล้วเสร็จ โปรดให้พระยาจ่าแสนยากร พระยาไกรโกษา ซึ่งไปเกณฑ์กองทัพแล้วตามเสด็จมากับพระยาพิไชยบุรินทรา พระยาแก้วเการพ นายทัพนายกอง คุมเรือยกออกไปเมืองทวายส่งกองทัพแล้ว เสด็จกลับมาประทับอยู่แขวงเมืองชุมพร ครั้นกองทัพยกไปถึงเมืองมะริดได้ข่าวว่าเมืองมะริดกลับใจเป็นกบฏ กองทัพจึงยกเข้าตีเมืองมะริด ปืนป้อมและปืนหน้าเมืองชาวเมืองยิงระดมแน่นหนานัก เข้าเมืองหาได้ไม่ ก็แจวเรือเข้าหาเกาะหน้าเมืองมะริด เกาะหน้าเมืองนั้นมีเขาอยู่ พระยาเสนหาภูธรทำพิณพาทย์อยู่ในเรือ เมื่อข้ามไปจะเข้าเกาะนั้นปืนพม่ายิงถูกวงฆ้อง ๆ กระจายไปถูกคนตีฆ้องเจ็บแต่หาตายไม่ พระยาไกรโกษา พระยาพิไชยบุรินทรา พระยาจ่าแสนยากร พระยาแก้วเการพ และนายทัพนายกอง ไปถึงเกาะเข้าพร้อมกัน เอาปืนใหญ่ขึ้นบนเขาช่วยกันยิงระดมเข้าไปในเมืองมะริด พม่าทนลูกปืนมิได้ ขุดหลุมทำสนามเพลาะเอากระดานบังตัวกันลูกปืน ปืนที่เมืองมะริดก็ซาลงยังแต่จะแตก
ฝ่ายข้างเมืองทวาย อ้ายวุ่นทอกที่เจ้าพระยามหาเสนาเฆี่ยนนั้น เจ็บแค้นโกรธเจ้าพระยามหาเสนา จึงป่าวร้องยุยงพวกทวายว่าไทยจะไล่คนผ่อนครัวลงไปขนข้าวแล้ว จะเลยกวาดคนและพวกครัวเมืองทวายไปไว้แม่น้ำน้อย พวกทวายทั้งปวงที่รักษาหน้าที่เชื่อคำอ้ายวุ่นทอกเห็นจริงด้วยก็กลับใจเป็นกบฏขึ้น ช่วยกันเอาปืนใหญ่ยิงระดมเข้าไปที่ค่ายไทยตั้งอยู่ กองทัพเจ้าพระยามหาเสนา เจ้าพระยารัตนาพิพิธ พระยายมราช เห็นดังนั้น จะอยู่ในค่ายก็มิได้ ด้วยค่ายนั้นอยู่ใกล้กำแพงปืนยิงถึงถนัด จึงล่าถอยขยับค่ายออกมาตั้งให้พ้นทางปืน
ฝ่ายพระรองเมืองเข้ารักษาอยู่ในเมืองทวาย เห็นทวายเป็นกบฏขึ้นทวายปิดประตูเสียหมด พระรองเมืองกับนายทัพนายกองต้องเลียบมาตามริมเชิงเทินข้างเหนือเมือง พอถึงประตูมีทวายรักษาประตูอยู่ ๕-๖ คน จะออกทางประตูนั้นทวายผู้รักษาประตูไม่ให้ออก จึงฟันทวายรักษาประตูตาย ๒ คน เหลือนั้นวิ่งหนีไป พระรองเมืองกับนายทัพนายกองกระทุ้งกลอนกุญแจหัก เปิดประตูออกได้แล้ว ก็รีบไปหากองทัพพระยายมราช
ฝ่ายเจ้าพระยารัตนาพิพิธ เจ้าพระยามหาเสนา พระยายมราชตั้งค่ายยังมิทันแล้ว กองทัพพม่ากับทวายพลเมืองสมทบกันยกมาเป็นอันมาก เข้ารบรุกบุกบันไล่ยิงไล่ฟันกลางแปลงเหลือกำลังที่จะต่อรบ ทัพไทยก็ล่าถอยรับมาจนถึงค่ายพระยาอภัยรณฤทธิ์ ซึ่งปืนกองหน้าทัพหลวงตั้งค่ายปิดทางอยู่ พวกกองทัพเจ้าพระยามหาเสนา เจ้าพระยารัตนาพิพิธ พระยายมราช ที่ล่าถอยลงไปจะขอเข้าอาศัยค่ายผ่อนพักรับทัพพม่า พระยาอภัยรณฤทธิ์ไม่ยอมให้เข้าค่าย ว่าตัวเป็นทัพหน้าของทัพหลวง ถ้าเข้ามาในค่ายคนกำลังตื่นแตกพม่าเข้าไปในค่ายมิเสียหรือ ถ้าค่ายหน้าแตกแล้ว ข้าศึกก็จะถึงค่ายหลวงทีเดียว ศีรษะพระยาอภัยรณฤทธิ์จะมิปลิวไปหรือ ให้รับทัพพม่าอยู่แต่นอกค่ายเถิด กองทัพเจ้าพระยามหาเสนา เจ้าพระยารัตนาพิพิธ พระยายมราช เข้าค่ายมิได้ก็ตั้งรับอยู่หน้าค่าย แต่จมื่นราชาบาล (กระต่าย) จมื่นสมุหพิมาน (แสง) บุตรเจ้าพระยาราชบุรี ไห้ว่าให้พระยาอภัยรณฤทธิ์เปิดประตูรับให้เข้ามาเป็นหลายครั้ง พระยาอภัยรณฤทธิ์ก็ไม่ยอม พระอินทรเดช (บุญเมือง) พระยามหามนตรี (ปลี) เห็นด้วยพระยาอภัยรณฤทธิ์ว่าอย่าเปิดรับ คนจะละเล้าละลุมเข้ามาให้รับอยู่นอกค่ายก็จะได้ พม่าตามกองทัพมาถึงเข้ารบรุกบุกบันทัพไทยรับมิหยุด เพราะมิได้มีค่ายมั่นรักษาตัว ก็แตกพ่ายกระจายกันไป เสียเจ้าพระยามหาเสนาในที่รบศพก็มิได้ ค่ายพระยาอภัยรณฤทธิ์พม่าก็เข้าตีเอาได้ เสียไพร่พลครั้งนั้นมาก
ทรงพระราชดำริว่าจะทำการต่อไปไม่ตลอด จึงโปรดให้ถอยกองทัพทั้งปวงลงมาแม่น้ำน้อย ครั้นมาถึงแม่น้ำน้อยทรงทราบว่าเจ้าพระยามหาเสนาหายไปแล้วทราบว่ามาถึงค่ายพระยาอภัยรณฤทธิ์แล้ว เจ้าพระยามหาเสนา เจ้าพระยารัตนาพิพิธ พระยายมราช จะเข้าอาศัยค่ายยิงปืนรับพม่า พระยาอภัยรณฤทธิ์ไม่ยอมให้อาศัย ปิดประตูค่ายเสีย ทรงพระพิโรธพระยาอภัยรณฤทธิ์มาก ดำรัสว่าเสนาบดีผู้ใหญ่ทั้ง ๓ นายมาถึงแล้ว ควรจะให้เข้าพักอยู่ในค่าย นี่มันถือกฎหมายอะไรของมันไม่ให้เสนาบดีผู้ใหญ่เข้าอยู่ในค่าย จนเสียแม่ทัพนายกองและไพร่พลเป็นอันมาก ให้ทำกระทู้ซักถามพระยาอภัยรณฤทธิ์ ๆ ก็รับสารภาพผิด จึงให้ลงพระราชอาชญาประหารชีวิตพระยาอภัยรณฤทธิ์เสียที่ค่ายแม่น้ำน้อย และพระอินทรเดช พระยามหามนตรี ที่เห็นด้วยพระยาอภัยรณฤทธิ์นั้น ให้ถอดเสียจากที่เจ้ากรมพระตำรวจแล้ว ลงพระราชอาชญาจำไว้ทั้ง ๒ คน และจมื่นราชาบาล จมื่นสมุหพิมานที่ว่าแก่พระยาอภัยรณฤทธิ์ให้เปิดประตูรับนั้น มีความชอบ ให้จมื่นราชาบาล เป็นที่พระอินทรเดช ที่พระราชรินทร์ว่างอยู่หามีตัวไม่ จึงให้จมื่นสมุหพิมานเป็นที่พระราชรินทร์ แล้วจึงโปรดเกล้าฯให้นายจ่าเรศ (เกด) บุตรพระยาเพ็ชรพิไชยที่ถึงแก่กรรม ถือหนังสือเข้ามาถึงผู้รักษาพระนคร ให้ระวังพวกพม่าที่จำไว้ ณ คุกและระวังรักษาพวกพระยาทวาย ถ้าเห็นว่าผู้ใดกำเริบขึ้นก็ให้จับจำเสีย ผู้รักษาพระนครครั้งนั้น กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ พระยาพลเทพ (ปิ่น) พระยาธรรมา (ทองดี) พระยาเพ็ชรพิไชย ที่เป็นหลวงนายสิทธิ์ครั้งกรุงเก่า พระยามหาธิราชอยู่กรมเมือง แล้วโปรดให้นายฉิมมหาดเล็กเป็นเชื้อชาวชุมพรถือตรารีบไปเฝ้าสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคลฉบับ ๑ นายฉิมได้ตราแล้วก็รีบไปขึ้นที่เมืองเพ็ชรบุรี เดินบกไปเฝ้าที่เมืองกระ กราบทูลราชการเมืองทวายตามท้องตรา สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรฯ เสียพระทัยนัก รับสั่งว่าการจะสำเร็จอยู่แล้วกลับไม่สำเร็จไปได้ จึงสั่งให้ขึ้นไปบอกนายทัพนายกองให้ล่าทัพจากเมืองมะริด พอกองทัพพม่ายกลงมาถึงเมืองมะริด กองทัพไทยจัดการจะล่าทัพเรือ พม่าก็เข้าตีกองทัพได้รบกัน กองทัพไทยต่อเรือรบครั้งนั้นมีตะกุดทั้งหน้าทั้งท้าย ล่าถอยเรือเอาท้ายลงมา ยิงปืนหน้าเรือรับพม่าแข็งแรงพม่าก็ยิงต่างคนต่างยิงกัน ถึงฝั่งจึงทั้งเรือเสียขึ้นบก พม่าก็ขึ้นบกติดตามกองทัพไทย พระยาจ่าแสนยากร (ทุเรียน) รับพม่าแข็งแรง พม่าหาอาจล่วงเกินเข้ามาได้ไม่ นายทัพนายกองก็ไม่มีผู้ใดเป็นอันตราย เสียแต่เรือรบและปืนบาเหรี่ยมสำหรับเรือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จจากแม่น้ำน้อยกลับคืนพระนครและกรมพระราชวังบวรสถานมงคลตั้งทัพรออยู่จนพม่ากลับไปเมืองมะริดหมดแล้ว ก็เสด็จกลับคืนพระนคร