- คำนำ
- บานแผนก
- รายงานทูลเกล้าฯ ถวาย
- บานแผนกเดิม
- ๑. สร้างกรุงรัตนโกสินทร์
- ๒. พระราชพิธีปราบดาภิเษก
- ๓. ประดิษฐานพระราชวงศ์
- ๔. ตั้งข้าราชการวังหลวง
- ๕. แบ่งหัวเมืองขึ้น กลาโหม มหาดไทย กรมท่า
- ๖. ตั้งข้าราชการวังหน้า
- ๗. ตั้งตำแหน่งพระราชาคณะ
- ๘. พงศาวดารเขมร ตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรีจนนักองเองเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ
- ๙. พระราชทานคืนพระบาง และให้เจ้านันทเสนไปครองเมืองล้านช้าง
- ๑๐. องเชียงสือญวนเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
- ๑๑. เรื่องพงศาวดารญวน
- ๑๒. พระยาปังกลิมาเจ้าเมืองกำปอดแข็งเมือง
- ๑๓. พงศาวดารพม่า ตั้งแต่มังหม่องเป็นกบฏ จนพระเจ้าปะดุงได้เมืองยะไข่
- ๑๔. อ้ายกบฏ ๒ คนเข้าวังหน้า
- ๑๕. เจ้าพระยาอภัยภูเบศรไปรั้งเมืองเขมร
- ๑๖. ทัพพระยานครสวรรค์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๑๗. สร้างพระนคร
- ๑๘. สร้างพระราชมนเทียร
- ๑๙. ทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๒๐. สร้างพระมหาปราสาท
- ๒๑. สร้างวัดพระแก้ว
- ๒๒. ตำนานพระแก้วมรกต
- ๒๓. ปฏิสังขรณ์วัดสลัก
- ๒๔. ปิดคลองลัด
- ๒๕. ทำศพเจ้ากรุงธนบุรี
- ๒๖. ได้ช้างสำคัญ
- ๒๗. ลดตำแหน่งพระเจ้านครศรีธรรมราช และตั้งเจ้าพระยานครพัด
- ๒๘. พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
- ๒๙. สมโภชพระนคร
- ๓๐. กรมหลวงอิศรสุนทรเสด็จมาอยู่พระราชวังเดิม
- ๓๑. น้ำมากข้าวแพง
- ๓๒. ศึกพม่าครั้งที่ ๑
- ๓๓. รบพม่าเมืองกาญจนบุรี
- ๓๔. รบพม่าเมืองราชบุรี
- ๓๕. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จแหลมมลายู
- ๓๖. รบพม่าทางเมืองเหนือ
- ๓๗. ตั้งกรมพระราชวังหลัง
- ๓๘. รบพม่าทางแหลมมลายู
- ๓๙. ปราบเมืองมลายู
- ๔๐. หล่อปืนใหญ่
- ๔๑. ตั้งท้าวเทพสตรี ท้าวศรีสุนทร
- ๔๒. สร้างวังเจ้าเขมร
- ๔๓. องเชียงสือหนีจากกรุงเทพฯ
- ๔๔. ศึกพม่าครั้งที่ ๒
- ๔๕. สร้างมณฑปพระพุทธบาท
- ๔๖. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จไปตั้งเมืองเชียงใหม่
- ๔๗. พระราชทานเรือและเครื่องอาวุธช่วยองเชียงสือ
- ๔๘. ทัพหลวงไปตีเมืองทวาย
- ๔๙. ฝรั่งเข้ามาพนันชกมวย
- ๕๐. พระราชทานเรือรบและปืนช่วยองเชียงสือ
- ๕๑. ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่
- ๕๒. องเชียงสือถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๑ พระราชทานกำลังช่วยองเชียงสือ
- ๕๓. ทำสังคายนาพระไตรปิฎก
- ๕๔. องเชียงสือถวายข้าวสาร
- ๕๕. ไฟไหม้พระมหาปราสาท
- ๕๖. ปราบรายาเมืองตานี
- ๕๗. องเชียงสือตั้งตัวเป็นเจ้าอนัมก๊ก ถวายต้นไม้ทองเงินเป็นครั้งที่ ๒
- ๕๘. ทัพเวียงจันทน์รบญวนไกเซิน
- ๕๙. เจ้าอนัมก๊กกล่าวโทษเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์
- ๖๐. แขกเซียะตีเมืองสงขลา
- ๖๑. เจ้าอนัมก๊กถวายเรือรบ และพระราชทานปืนตอบ
- ๖๒. ทัพเวียงจันทน์ตีเมืองหลวงพระบาง
- ๖๓. เมืองทวายสวามิภักดิ์
- ๖๔. เจ้าอนัมก๊กมีศุภอักษรนัดให้ไปตีเมืองตังเกี๋ย
- ๖๕. ทัพพระยายมราชยกไปเมืองทวาย
- ๖๖. ทัพหลวงยกไปเมืองทวาย
- ๖๗. ยกทัพหลวงไปตีเมืองพม่า
- ๖๘. ทวายเป็นกบฏ
- ๖๙. เจ้าอนัมก๊กขอตราให้หัวเมืองช่วยการทัพ และถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๓
- ๗๐. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๗๑. ญวนไกเซินขอเป็นไมตรี
- ๗๒. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (ศุข) ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และนักองเอง
- ๗๓. ตั้งนักองเองออกไปครองกรุงกัมพูชา นักองเองถวายเมืองพระตะบองเสียมราฐ
- ๗๔. ถอดเจ้านครล้านช้าง
- ๗๕. ได้ช้างเผือกพระอินทรไอยรา
- ๗๖. ศึกพม่าครั้งที่ ๓
- ๗๗. เชิญพระพุทธสิหิงก์มากรุงเทพฯ
- ๗๘. กรมพระราชวังบวรฯ ทรงผนวช
- ๗๙. สมเด็จพระนารายณ์รามารับอากับครอบครัวไปเมืองเขมร
- ๘๐. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๔
- ๘๑. การพระเมรุพระบรมอัฐิสมเด็จพระชนกาธิบดี
- ๘๒. เกิดเหตุบาดหมางในระหว่าง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๘๓. สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีพระเจ้ากรุงกัมพูชาพิราลัย
- ๘๔. ข่าวศึกพม่า กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จเมืองเชียงใหม่
- ๘๕. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๕
- ๘๖. ฉลองพระมณฑปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- ๘๗. ข่าวศึกพม่า
- ๘๘. สมเด็จพระพี่นางสิ้นพระชนม์
- ๘๙. โปรดให้กองทัพเขมรไปช่วยเจ้าอนัมก๊ก
- ๙๐. เพลิงไหม้สำเพ็ง
- ๙๑. สร้างและฉลองวัดพระเชตุพน
- ๙๒. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๖
- ๙๓. ได้ช้างเผือกพระเทพกุญชร
- ๙๔. เพลิงไหม้วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์
- ๙๕. เจ้าอนัมก๊กได้เมืองญวนและตั้งตัวเป็นพระเจ้ากรุงเวียตนามยาลอง
- ๙๖. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๙๗. ศึกพม่าครั้งที่ ๔
- ๙๘. นักองจันท์ นักองสงวน เข้ามาเฝ้า
- ๙๙. พระเจ้าเวียตนามถวายของสนองพระคุณ
- ๑๐๐. กองทัพไทยไปตีเมืองเชียงแสน
- ๑๐๑. ตั้งเจ้าเชียงใหม่
- ๑๐๒. ได้ช้างสีทองแดงพระบรมฉัททันต์
- ๑๐๓. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๐๔. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคต
- ๑๐๕. พระราชประวัติกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๐๖. สิ่งซึ่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงสร้าง
- ๑๐๗. เรื่องหม่อมลำดวน หม่อมอินทปัต
- ๑๐๘. เลื่อนกรมขุนเสนานุรักษ์และตั้งกรมขุนพิทักษ์มนตรี
- ๑๐๙. กองทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์กลับจากเมืองเชียงแสน
- ๑๑๐. การพระเมรุกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๑๑. พระเจ้าเวียตนามมีราชสาสน์มาทูลเตือน ให้ตั้งกรมพระราชวังบวรฯ
- ๑๑๒. เกณฑ์ทัพไปตีเมืองเชียงตุง เชียงรุ้ง
- ๑๑๓. ตั้งเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๑๔. ตั้งเจ้าอนุครองเมืองเวียงจันทน์
- ๑๑๕. กรมหลวงเทพหริรักษ์สิ้นพระชนม์
- ๑๑๖. ชำระกฎหมาย
- ๑๑๗. ได้ช้างสำคัญพระบรมนัขมณีและพระบรมคชลักษณ์
- ๑๑๘. ได้เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ้ง และเมืองลื้อ สิบสองปันนา
- ๑๑๙. พระเจ้ากรุงเวียตนามมีราชสาสน์ถวายบรรณาการ
- ๑๒๐. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๒๑. กรมพระราชวังหลังทิวงคต
- ๑๒๒. ตั้งนักองจันท์เป็นสมเด็จพระอุทัยราชาเจ้ากรุงกัมพูชา
- ๑๒๓. พระราชพิธีอุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
- ๑๒๔. ตั้งพระบัณฑูรน้อย และตั้งกรมเจ้านาย
- ๑๒๕. การพระเมรุกรมพระราชวังหลัง
- ๑๒๖. พระเจ้าเวียตนามมีพระราชสาสน์ทรงยินดีในการอุปราชาภิเษก
- ๑๒๗. กรมหลวงจักรเจษฎาสิ้นพระชนม์
- ๑๒๘. ได้ช้างสำคัญ
- ๑๒๙. สมเด็จพระอุทัยทูลขอนักองอี นักองเภา
- ๑๓๐. เชิญพระพุทธรูปพระศรีศากยมุนีมากรุงเทพฯ
- ๑๓๑. ปราบปรามเมืองยิริง
- ๑๓๒. เจ้าฟ้ากรมขุนศรีสุนทรเทพสิ้นพระชนม์
- ๑๓๓. โสกันต์เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๓๔. แห่สระสนานใหญ่แห่พระกฐินและมีกระจาดใหญ่กัณฑ์เทศน์มหาชาติ
- ๑๓๕. ผลประโยชน์แผ่นดิน
- ๑๓๖. วัดที่ได้ทรงปฏิสังขรณ์
- ๑๓๗. พระราชานุกิจ
- ๑๓๘. สมเด็จพระอุทัยราชาเข้ามาเฝ้า
- ๑๓๙. งานสมโภชพระแก้วมรกต
- ๑๔๐. สวรรคต
- ๑๔๑. พระราชประวัติ
- ๑๔๒. เสนาบดีในรัชกาลที่ ๑
- ภาคผนวก
- หมายรับสั่ง เรื่อง ยกประตูพระบรมมหาราชวัง จ.ศ. ๑๑๔๔
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์ไพร่หลวง ไทย มอญ รับแขกเมือง ณ แม่น้ำน้อย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์แห่เรือรับพระบรมสารีริกธาตุจากเมืองทวาย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายกำหนดการ เรื่อง มหาอุปราชาภิเษก จ.ศ. ๑๑๖๘
- หมายกำหนดการ เรื่อง ฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จ.ศ. ๑๑๗๑
๖๖. ทัพหลวงยกไปเมืองทวาย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรฯ ก็เสด็จยกพยุหยาตราออกไปเมืองกาญจนบุรี ครั้นเสด็จออกไปถึงแม่น้ำน้อยขึ้นประทับอยู่ที่พลับพลาค่ายหลวง พอเวลาบ่าย ๒ โมงวันนั้น พระยายมราชก็ส่งพระองค์เจ้าชีมากับพระราชาพิมล และข้าไทยชาวกรุงตามเสด็จพระองค์เจ้าชีลงมาเป็นอันมาก ครั้นถึงที่พลับพลาเสด็จขึ้นเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และกรมพระราชวังบวรฯ ทรงไต่ถามทุกข์สุข ตั้งแต่ตกไปอยู่เมืองอังวะแล้วหลบหนีลงมาได้จนถึงเมืองทวาย พระองค์เจ้าชีเล่าถวายถึงความทุกข์ยากลำบาก แล้วก็ทรงพระกันแสง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระอนุชาธิราช ก็กลั้นน้ำพระเนตรมิได้ รับสั่งให้พระองค์เจ้าชีลงสรงอุทกวารี ณ ที่สรงซึ่งทำไว้ ณ ท่าหาดทรายในแม่น้ำน้อย และสรงน้ำพระปริตรเสร็จแล้วก็ให้เรียกเรือมารับพระองค์เจ้าชีและข้าไทยที่ตามมานั้น เป็นเรือหลายลำด้วยอัน ก็ให้สนมกรมวังนำส่งพระองค์เจ้าชีเข้ามา ณ กรุงเทพมหานคร
ครั้นเสร็จส่งพระเจ้าหลานเธอแล้วอยู่ได้อีก ๓ วัน กรมพระราชวังบวรฯ ก็ทูลลายกทัพขึ้นไปเมืองทวาย ว่าจะไปดูแยบคายพระยาทวายจะสุจริตหรือจะคิดประการใด ครั้นเสด็จไปถึงเมืองทวาย ทรงพระพิจารณาการทั้งปวงแล้ว ก็เห็นการว่าจะรักษาเมืองทวายไว้มิได้ ทั้งพระยาทวายกิริยาก็ไม่เรียบร้อย ดูกระด้างกระเดื่องอยู่ จึงทรงพระดำริที่จะกวาดครอบครัวอพยพ รื้อกำแพงเมืองทวายเสีย พวกกองทัพทราบดังนั้นก็พากันหาครอบครัวมาใช้สอย ไปลักลอบพาหญิงชาวเมืองทวายผ่อนปรนให้บ่าวไพร่คุมลงมาเป็นอันมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จประทับอยู่ค่ายหลวงแม่น้ำน้อยได้ทรงทราบก็ทรงพระพิโรธ รับสั่งให้ข้าหลวงออกเที่ยวจับตัว คนเหล่านั้นรู้ก็หนีลัดป่าไป แต่หมื่นสิทธิโสมตำรวจพาหญิงมาด้วย ๒ คน พวกกองทัพในค่ายหลวงออกไล่ตามจับ ได้ตัวหมื่นสิทธิโสมมาลงพระราชอาชญาเฆี่ยนแล้วจำไว้ และพวกข้าหลวงในกรมพระราชวังบวรฯ ที่เป็นผู้ใหญ่ ๆ นั้น ครั้นรู้ว่าลงพระราชอาชญาเฆี่ยนหมื่นสิทธิโสมก็พากันสงบหาเกลี้ยกล่อมเอาชาวเมืองทวายลงมาอีกไม่
แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ถามเจ้าพระยามหาโยธาอำมาตย์ สายสมร พระยาไทรโยคด้วยระยะทางตั้งแต่พระเจดีย์สามองค์ทาง ๑ บ้านระแหงทาง ๑ ไปถึงเมืองเมาะตะมะ แต่เมืองเมาะตะมะไปถึงเมืองหงสาวดี เป็นทางมากน้อยเท่าใด เจ้าพระยามหาโยธาอำมาตย์ สายสมร พระยาไทรโยคกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า เมื่ออยู่เมืองมอญเดินไปมาอยู่บ้างประมาณตามระยะทาง ตั้งแต่เมืองกาญจนบุรี ถึงเมืองไทรโยคประมาณ ๑,๗๗๕ เส้น ตั้งแต่เมืองไทรโยคเก่าถึงด่านผาวน ๕๕๒ เส้น ตั้งแต่ด่านผาวนถึงคลองปิลอก ๗๕๘ เส้น ตั้งแต่คลองปิลอกถึงสามสบ ๘๐๐ เส้น แต่สามสบถึงแม่น้ำสังขะลา ๖๐๐ เส้น แต่แม่น้ำสังขะลาถึงพระเจดีย์สามองค์ทาง ๕๐๐ เส้น แต่พระเจดีย์สามองค์ถึงแม่น้ำกระษัตริย์ ๘๐๐ เส้น แต่แม่น้ำกระษัตริย์ถึงแม่น้ำสกลิก ๑,๐๐๐ เส้น แต่แม่น้ำสกลิกถึงสมิ ๒,๗๐๐ เส้น ทางเรือแต่สมิถึงเมืองเมาะตะมะ ๒,๗๐๐ เส้น แต่เมืองเมาะตะมะถึงเมืองยางเงิน ๑,๕๐๐ เส้น แต่เมืองยางเงินถึงเมืองสะเทิม ๑,๐๐๐ เส้น แต่เมืองสะเทิมถึงเมืองวาน ๑,๕๐๐ เส้น แต่เมืองวานถึงเมืองดัดคล้า ๑,๒๐๐ เส้น แต่เมืองดัดคล้าถึงเมืองกะเตา ๑,๒๐๐ เส้น แต่เมืองกะเตาถึงเมืองหงสาวดี ๑,๒๐๐ เส้น รวมเป็นทาง ๑๙,๗๘๕ เส้น ทางบ้านระแหงนั้น ตั้งแต่บ้านระแหงถึงด่านแม่ละเมา ๒,๕๐๐ เส้น แต่ด่านแม่ละเมาถึงแม่น้ำเม้ย ๒,๐๐๐ เส้น แต่แม่น้ำเม้ยถึงแม่น้ำกลีบ ๒,๐๐๐ เส้น แต่แม่น้ำกลีบถึงบ้านตะพู ๑,๒๐๐ เส้น ทางเรือตั้งแต่บ้านตะพูขึ้นไปเมืองเมาะตะมะขึ้นบก ๒,๗๐๐ เส้น รวมตั้งแต่บ้านระแหงถึงเมืองเมาะตะมะ ๑๐,๔๐๐ เส้น แต่เมืองเมาะตะมะถึงเมืองหงสาวดี ๗,๖๐๐ เส้น รวม ๑๘,๐๐๐ เส้น ทางพระเจดีย์สามองค์ถึงปากแพรกมากกว่าทางบ้านระแหง ๑,๘๘๕ เส้น
ขณะนั้นพอสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล มีรับสั่งให้พระยายมราช มีใบบอกเข้ามากราบบังคมทูลพระกรุณา จะขอรื้อเมืองทวายเอาอิฐลงแม่น้ำเสียให้หมด อย่าให้มันทำขึ้นได้อีก แล้วจะกวาดครอบครัวลงมาใส่บ้านเมือง เมืองทวายไกลนัก มีราชการทัพศึกมาช่วยไม่ทันจะเอาพระยาทวาย ล่วงไปเสียก่อนจึ่งค่อยคิดต่อไป ทรงทราบหนังสือบอกแล้วก็ทรงขัดเคืองเป็นอันมาก รับสั่งให้มีหนังสือตอบขึ้นไปว่า พม่ายกมาตีกรุงกวาดต้อนครอบครัวชาวกรุงและพี่น้องขึ้นไปไว้แต่ที่เมืองทวายเมืองเดียวดอกหรือ เมืองอังวะและเมืองอื่น ๆไทยชาวกรุงไม่มีหรือ ไม่ช่วยเจ็บแค้นขึ้งโกรธบ้างเลย ได้เมืองทวายไว้ จะได้เป็นเมืองพักผู้คน ไว้เสบียงอาหารเป็นกำลังทำศึกต่อไป ห้ามอย่าให้รื้อกำแพงเมืองและกวาดครอบครัว ให้รักษาเมืองระวังเหตุการณ์ให้มั่นคงให้ดี
ครั้นมีตราขึ้นไปแล้วอยู่สัก ๔-๕ วัน ตามาเป็นไทยชาวกรุงเก่า ได้เคยรู้จักในใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทมาแต่ครั้งกรุงยังไม่เสีย บ้านเรือนอยู่ใกล้เคียงกันกับบ้านหลวง ตกไปอยู่เมืองทวาย แต่หาได้เข้าอยู่ในพระองค์เจ้าชีไม่ เมื่อพระองค์เจ้าชีเสด็จลงมากรุง ตามายังอยู่ที่เมืองทวาย ตามาทราบว่าพระยาทวายรู้ว่าพระเจ้าอังวะจะเอาสะดุแมงกองผู้บิดาพระยาทวายขึ้นม้าเอาเลื่อย ๆ เสียเหมือนเลื่อยไม้ แล้วจะยกกองทัพมาตีเมืองทวาย พระยาทวายเสียใจคิดรวนเรวุ่นวายไปด้วยกลัวบิดาจะต้องรับอาชญา ใจหาเป็นหนึ่งแน่เหมือนแต่ก่อนไม่ และพระยาทวายให้ปลัดต่าย มองนุน้องพระยาทวายกับไพร่พลพม่าทวายหลายคนด้วยกันลงมาดูทาง ทางที่ไหนแคบจะตัดไม้ทับทางเสีย จะเอาคนระวังที่ช่องแคบแล้ว จะยกเข้าปล้นกองทัพที่รักษาเมืองทวาย ตามารู้ความแล้วก็เข้ามากราบทูล กรมพระราชวังบวรฯ ทราบแล้ว บอกส่งตัวตามาลงมา ณ ค่ายหลวงแม่น้ำน้อย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทราบความแล้ว ทรงพระดำริว่า อ้ายมองนุ เป็นน้องพระยาทวาย อ้ายปลัดต่ายก็เป็นคนใช้สอยของพระยาทวาย จึงให้จับเอาตัวอ้ายมองนุ อ้ายปลัดต่ายมาถาม อ้ายมองนุ อ้ายปลัดต่ายให้การว่า มาเที่ยวเล่นก็เลยลงมาจึงให้เอาตัวอ้ายมองนุ อ้ายปลัดต่าย กับพวกพ้องที่มาด้วย จำไว้ที่ค่ายหลวงแม่น้ำน้อยมิให้เหลือหนีขึ้นไปบอกกันได้ แล้วรับสั่งให้มีตราออกไปถึงพระยายมราช ให้กราบทูลกรมพระราชวังบวรสถานมงคลว่าไม่ไว้ใจแมงจันจาเจ้าเมืองทวายและปลัดกับพวกพ้องพระยาทวายให้ส่งลงมาให้สิ้น จะชุบเกล้าฯ เลี้ยงเป็นขุนนางอยู่ที่ในกรุงด้วยมีความชอบยกเอาเมืองทวายมาขึ้นกับกรุงเทพฯ แล้วให้ตั้งเจ้าเมืองทวายขึ้นใหม่ เอาพวกพ้องของนางทวายที่ส่งลงมาถวายนั้น ดูภาคภูมิผู้ใดสมควรจะเป็นได้ก็ให้เป็นเถิด กรมพระราชวังบวรสถานมงคล จึงรับสั่งให้พระยายมราชหาตัวพระยาทวายมาบอกว่า มีตราให้พระยาทวายเข้าไปเฝ้าจะทรงพระกรุณาชุบเลี้ยงเป็นขุนนางอยู่ที่กรุง ครั้นจะให้พระยาทวายอยู่รักษาเมือง จะต้องให้กองทัพอยู่รักษาเมืองด้วยทั้งตาปีจะไว้ใจพม่ามิได้ ถ้าพระยาทวายเข้าไปอยู่ในกรุงแล้วพม่าก็สิ้นความอาฆาต ถึงจะเลิกทัพไม่อยู่กำกับ อยู่แต่ผู้รั้งเมืองก็จะได้ พระยาทวายไม่เต็มใจที่จะเข้าไปในกรุง แต่ขัดมิได้ด้วยเห็นกองทัพกรุงตั้งอยู่เป็นอันมากก็ต้องยอมตามรับสั่ง จึงจัดเตรียมพรรคพวกครอบครัวของตัวได้หลายร้อยคน พระยายมราชก็ส่งลงมาถึงแม่น้ำน้อย ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ค่ายหลวงแม่น้ำน้อยแล้ว โปรดให้จัดเรือส่งพระยาทวายเข้ามา ณ กรุง และพวกทวายที่ส่งเข้ามานี้ โปรดให้ไปตั้งบ้านเรือนพักอยู่นอกป่าช้าวัดสระเกศพลางก่อนและกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ก็เสด็จลงมาแม่น้ำน้อย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรฯ ก็เสด็จพระราชดำเนินกลับคืนพระนคร จึงโปรดตั้งพระองค์เจ้าชีขึ้นเป็นเจ้าฟ้าฝ่ายในอีกพระองค์หนึ่ง และพวกพระยาทวายก็คัดเอาไว้เป็นช่างเรือบ้าง เหลือนั้นให้ไปอยู่คอกกระบือด้วยพระยาทวาย