- คำนำ
- บานแผนก
- รายงานทูลเกล้าฯ ถวาย
- บานแผนกเดิม
- ๑. สร้างกรุงรัตนโกสินทร์
- ๒. พระราชพิธีปราบดาภิเษก
- ๓. ประดิษฐานพระราชวงศ์
- ๔. ตั้งข้าราชการวังหลวง
- ๕. แบ่งหัวเมืองขึ้น กลาโหม มหาดไทย กรมท่า
- ๖. ตั้งข้าราชการวังหน้า
- ๗. ตั้งตำแหน่งพระราชาคณะ
- ๘. พงศาวดารเขมร ตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรีจนนักองเองเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ
- ๙. พระราชทานคืนพระบาง และให้เจ้านันทเสนไปครองเมืองล้านช้าง
- ๑๐. องเชียงสือญวนเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
- ๑๑. เรื่องพงศาวดารญวน
- ๑๒. พระยาปังกลิมาเจ้าเมืองกำปอดแข็งเมือง
- ๑๓. พงศาวดารพม่า ตั้งแต่มังหม่องเป็นกบฏ จนพระเจ้าปะดุงได้เมืองยะไข่
- ๑๔. อ้ายกบฏ ๒ คนเข้าวังหน้า
- ๑๕. เจ้าพระยาอภัยภูเบศรไปรั้งเมืองเขมร
- ๑๖. ทัพพระยานครสวรรค์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๑๗. สร้างพระนคร
- ๑๘. สร้างพระราชมนเทียร
- ๑๙. ทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๒๐. สร้างพระมหาปราสาท
- ๒๑. สร้างวัดพระแก้ว
- ๒๒. ตำนานพระแก้วมรกต
- ๒๓. ปฏิสังขรณ์วัดสลัก
- ๒๔. ปิดคลองลัด
- ๒๕. ทำศพเจ้ากรุงธนบุรี
- ๒๖. ได้ช้างสำคัญ
- ๒๗. ลดตำแหน่งพระเจ้านครศรีธรรมราช และตั้งเจ้าพระยานครพัด
- ๒๘. พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
- ๒๙. สมโภชพระนคร
- ๓๐. กรมหลวงอิศรสุนทรเสด็จมาอยู่พระราชวังเดิม
- ๓๑. น้ำมากข้าวแพง
- ๓๒. ศึกพม่าครั้งที่ ๑
- ๓๓. รบพม่าเมืองกาญจนบุรี
- ๓๔. รบพม่าเมืองราชบุรี
- ๓๕. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จแหลมมลายู
- ๓๖. รบพม่าทางเมืองเหนือ
- ๓๗. ตั้งกรมพระราชวังหลัง
- ๓๘. รบพม่าทางแหลมมลายู
- ๓๙. ปราบเมืองมลายู
- ๔๐. หล่อปืนใหญ่
- ๔๑. ตั้งท้าวเทพสตรี ท้าวศรีสุนทร
- ๔๒. สร้างวังเจ้าเขมร
- ๔๓. องเชียงสือหนีจากกรุงเทพฯ
- ๔๔. ศึกพม่าครั้งที่ ๒
- ๔๕. สร้างมณฑปพระพุทธบาท
- ๔๖. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จไปตั้งเมืองเชียงใหม่
- ๔๗. พระราชทานเรือและเครื่องอาวุธช่วยองเชียงสือ
- ๔๘. ทัพหลวงไปตีเมืองทวาย
- ๔๙. ฝรั่งเข้ามาพนันชกมวย
- ๕๐. พระราชทานเรือรบและปืนช่วยองเชียงสือ
- ๕๑. ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่
- ๕๒. องเชียงสือถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๑ พระราชทานกำลังช่วยองเชียงสือ
- ๕๓. ทำสังคายนาพระไตรปิฎก
- ๕๔. องเชียงสือถวายข้าวสาร
- ๕๕. ไฟไหม้พระมหาปราสาท
- ๕๖. ปราบรายาเมืองตานี
- ๕๗. องเชียงสือตั้งตัวเป็นเจ้าอนัมก๊ก ถวายต้นไม้ทองเงินเป็นครั้งที่ ๒
- ๕๘. ทัพเวียงจันทน์รบญวนไกเซิน
- ๕๙. เจ้าอนัมก๊กกล่าวโทษเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์
- ๖๐. แขกเซียะตีเมืองสงขลา
- ๖๑. เจ้าอนัมก๊กถวายเรือรบ และพระราชทานปืนตอบ
- ๖๒. ทัพเวียงจันทน์ตีเมืองหลวงพระบาง
- ๖๓. เมืองทวายสวามิภักดิ์
- ๖๔. เจ้าอนัมก๊กมีศุภอักษรนัดให้ไปตีเมืองตังเกี๋ย
- ๖๕. ทัพพระยายมราชยกไปเมืองทวาย
- ๖๖. ทัพหลวงยกไปเมืองทวาย
- ๖๗. ยกทัพหลวงไปตีเมืองพม่า
- ๖๘. ทวายเป็นกบฏ
- ๖๙. เจ้าอนัมก๊กขอตราให้หัวเมืองช่วยการทัพ และถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๓
- ๗๐. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๗๑. ญวนไกเซินขอเป็นไมตรี
- ๗๒. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (ศุข) ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และนักองเอง
- ๗๓. ตั้งนักองเองออกไปครองกรุงกัมพูชา นักองเองถวายเมืองพระตะบองเสียมราฐ
- ๗๔. ถอดเจ้านครล้านช้าง
- ๗๕. ได้ช้างเผือกพระอินทรไอยรา
- ๗๖. ศึกพม่าครั้งที่ ๓
- ๗๗. เชิญพระพุทธสิหิงก์มากรุงเทพฯ
- ๗๘. กรมพระราชวังบวรฯ ทรงผนวช
- ๗๙. สมเด็จพระนารายณ์รามารับอากับครอบครัวไปเมืองเขมร
- ๘๐. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๔
- ๘๑. การพระเมรุพระบรมอัฐิสมเด็จพระชนกาธิบดี
- ๘๒. เกิดเหตุบาดหมางในระหว่าง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๘๓. สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีพระเจ้ากรุงกัมพูชาพิราลัย
- ๘๔. ข่าวศึกพม่า กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จเมืองเชียงใหม่
- ๘๕. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๕
- ๘๖. ฉลองพระมณฑปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- ๘๗. ข่าวศึกพม่า
- ๘๘. สมเด็จพระพี่นางสิ้นพระชนม์
- ๘๙. โปรดให้กองทัพเขมรไปช่วยเจ้าอนัมก๊ก
- ๙๐. เพลิงไหม้สำเพ็ง
- ๙๑. สร้างและฉลองวัดพระเชตุพน
- ๙๒. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๖
- ๙๓. ได้ช้างเผือกพระเทพกุญชร
- ๙๔. เพลิงไหม้วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์
- ๙๕. เจ้าอนัมก๊กได้เมืองญวนและตั้งตัวเป็นพระเจ้ากรุงเวียตนามยาลอง
- ๙๖. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๙๗. ศึกพม่าครั้งที่ ๔
- ๙๘. นักองจันท์ นักองสงวน เข้ามาเฝ้า
- ๙๙. พระเจ้าเวียตนามถวายของสนองพระคุณ
- ๑๐๐. กองทัพไทยไปตีเมืองเชียงแสน
- ๑๐๑. ตั้งเจ้าเชียงใหม่
- ๑๐๒. ได้ช้างสีทองแดงพระบรมฉัททันต์
- ๑๐๓. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๐๔. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคต
- ๑๐๕. พระราชประวัติกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๐๖. สิ่งซึ่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงสร้าง
- ๑๐๗. เรื่องหม่อมลำดวน หม่อมอินทปัต
- ๑๐๘. เลื่อนกรมขุนเสนานุรักษ์และตั้งกรมขุนพิทักษ์มนตรี
- ๑๐๙. กองทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์กลับจากเมืองเชียงแสน
- ๑๑๐. การพระเมรุกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๑๑. พระเจ้าเวียตนามมีราชสาสน์มาทูลเตือน ให้ตั้งกรมพระราชวังบวรฯ
- ๑๑๒. เกณฑ์ทัพไปตีเมืองเชียงตุง เชียงรุ้ง
- ๑๑๓. ตั้งเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๑๔. ตั้งเจ้าอนุครองเมืองเวียงจันทน์
- ๑๑๕. กรมหลวงเทพหริรักษ์สิ้นพระชนม์
- ๑๑๖. ชำระกฎหมาย
- ๑๑๗. ได้ช้างสำคัญพระบรมนัขมณีและพระบรมคชลักษณ์
- ๑๑๘. ได้เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ้ง และเมืองลื้อ สิบสองปันนา
- ๑๑๙. พระเจ้ากรุงเวียตนามมีราชสาสน์ถวายบรรณาการ
- ๑๒๐. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๒๑. กรมพระราชวังหลังทิวงคต
- ๑๒๒. ตั้งนักองจันท์เป็นสมเด็จพระอุทัยราชาเจ้ากรุงกัมพูชา
- ๑๒๓. พระราชพิธีอุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
- ๑๒๔. ตั้งพระบัณฑูรน้อย และตั้งกรมเจ้านาย
- ๑๒๕. การพระเมรุกรมพระราชวังหลัง
- ๑๒๖. พระเจ้าเวียตนามมีพระราชสาสน์ทรงยินดีในการอุปราชาภิเษก
- ๑๒๗. กรมหลวงจักรเจษฎาสิ้นพระชนม์
- ๑๒๘. ได้ช้างสำคัญ
- ๑๒๙. สมเด็จพระอุทัยทูลขอนักองอี นักองเภา
- ๑๓๐. เชิญพระพุทธรูปพระศรีศากยมุนีมากรุงเทพฯ
- ๑๓๑. ปราบปรามเมืองยิริง
- ๑๓๒. เจ้าฟ้ากรมขุนศรีสุนทรเทพสิ้นพระชนม์
- ๑๓๓. โสกันต์เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๓๔. แห่สระสนานใหญ่แห่พระกฐินและมีกระจาดใหญ่กัณฑ์เทศน์มหาชาติ
- ๑๓๕. ผลประโยชน์แผ่นดิน
- ๑๓๖. วัดที่ได้ทรงปฏิสังขรณ์
- ๑๓๗. พระราชานุกิจ
- ๑๓๘. สมเด็จพระอุทัยราชาเข้ามาเฝ้า
- ๑๓๙. งานสมโภชพระแก้วมรกต
- ๑๔๐. สวรรคต
- ๑๔๑. พระราชประวัติ
- ๑๔๒. เสนาบดีในรัชกาลที่ ๑
- ภาคผนวก
- หมายรับสั่ง เรื่อง ยกประตูพระบรมมหาราชวัง จ.ศ. ๑๑๔๔
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์ไพร่หลวง ไทย มอญ รับแขกเมือง ณ แม่น้ำน้อย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์แห่เรือรับพระบรมสารีริกธาตุจากเมืองทวาย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายกำหนดการ เรื่อง มหาอุปราชาภิเษก จ.ศ. ๑๑๖๘
- หมายกำหนดการ เรื่อง ฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จ.ศ. ๑๑๗๑
๔๗. พระราชทานเรือและเครื่องอาวุธช่วยองเชียงสือ
ฝ่ายองเชียงสือซึ่งหนีออกไปตั้งอยู่ที่เกาะกูด หมดสิ้นเสบียงอาหารจนต้องกินแต่เนื้อเต่ากับมันกลอย วันหนึ่งองเชียงสือแลเห็นเรือแล่นเข้าไปใกล้เกาะลำ ๑ องเชียงสือตกใจกลัวจึงให้ครอบครัวเข้าไปซ่อนตัวอยู่ในป่า แล้วใช้องจวงลงเรือเล็กไปถามว่าเรือนี้มาแต่ไหน จีนฮุ่นสามีอำแดงโตดญวนเมืองจันทบุรีบอกว่า เรือบรรทุกข้าวสารมาแต่เมืองจันทบุรี ๓๐ เกวียน จะไปจำหน่ายที่เมืองเขมา เมืองเต็กเซีย ต้องพายุซัดเรือออกไป องจวงจึงบอกแก่จีนฮุ่นว่าองเชียงสือหนีมาอยู่ที่เกาะนี้ ให้จีนฮุ่นขึ้นไปเฝ้าองเชียงสือด้วยกัน จีนฮุ่นคิดว่าเรือเราลำเดียวพลัดเข้ามาถึงที่นี้โดยจะไม่ไปหาองเชียงสือ องเชียงสือก็จะหักหาญเอาที่ไหนจะพ้นมือไปได้ จำจะคิดทำคุณไว้ดีกว่า คิดแล้วก็ลงเรือไปด้วยองจวงขึ้นไปหาองเชียงสือ องเชียงสือปราศรัยว่า เราออกมาอยู่ที่เกาะกูดนี้ช้านานแล้ว ผู้คนหามีข้าวจะกินไม่ เรือจีนฮุ่นซัดออกมาถึงที่นี้มีข้าวสารก็ดีแล้ว และเงินตราซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้เราและมารดาเก็บไว้ เงิน ๑๗ ชั่ง ๑๐ ตำลึงนั้น เราจะขอซื้อข้าวสารตามแต่จะขายให้ จีนฮุ่นตอบองเชียงสือว่าท่านออกมาอยู่ที่กันดารอดเสบียงอาหาร ข้าวสาร ๓๐ เกวียนนั้นข้าพเจ้ายอมให้ท่านทั้งสิ้นไม่คิดเอาราคา องเชียงสือจึงเขียนหนังสือสัญญาประทับตรารูปมังกรให้จีนฮุ่นไว้ว่า ถ้าองเชียงสือออกไปตีเอาบ้านเมืองคืนได้เป็นเจ้านายฝ่ายญวนแล้ว ให้จีนฮุ่นออกไปหาองเชียงสือ องเชียงสือจะทดแทนคุณให้ถึงขนาด แล้วองเชียงสือให้พรรคพวกลงไปขนข้าวที่เรือจีนฮุ่นขึ้นมา แล้วจีนฮุ่นก็ลาองเชียงสือกลับเมืองจันทบุรี
ฝ่ายที่กรุงเทพมหานครทรงทราบว่า องเชียงสือหนีไปตั้งอยู่เกาะกูด จึงโปรดให้จัดเรือตระเวนหลายลำ พร้อมด้วยปืนและกระสุนดินดำ ให้กรมการเมืองตราดส่งไปพระราชทานแก่องเชียงสือที่เกาะกูดให้เป็นกำลัง และให้ช่วยลาดตระเวนสลัดด้วย ครั้นองเชียงสือได้รับพระราชทานเรือตระเวนและเครื่องศาสตราวุธ ก็พาสมัครพรรคพวกลงเรือไปตีเอาเมืองเขมา เมืองประมวนสอได้แล้วแต่งให้เรือออกไปลาดตระเวนสลัด จับสลัดญวนได้บ้าง ยอมเข้าสวามิภักดิ์องเชียงสือบ้าง แล้วองเชียงสือให้ฆ่านายสลัดเสียคน ๑ เอาศีรษะใส่ลัง มอบให้พระยาราชาเศรษฐีส่งเข้ามากรุงเทพมหานคร และเมื่อองเชียงสือพักอยู่ที่เกาะกูดนั้น ได้แต่งให้องจวงลอบไปสืบการบ้านเมืองตลอดถึงไซ่ง่อน องจวงกลับมาแจ้งว่าได้ไปเกลี้ยกล่อมผู้คนเมืองพระตะพังสมัครเข้าด้วยเป็นอันมาก แล้วองจวงจึงพาองเชียงสือไปพักอยู่ที่ปากน้ำเมืองป่าสัก
ภายหลังองโหเตืองดึก องทงยุงยาน พี่น้องพาครอบครัวมาทางเมืองลาวมาตามองเชียงสือ เข้ามาถึงกรุงเทพฯ เจ้าพนักงานนำขึ้นกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทจึงทรงพระราชดำริว่าองเชียงสือนั้น ให้ลงไปอยู่ข้างล่างใกล้ทะเลจึงหนีไปโดยง่าย ญวนพวกนี้จะต้องให้ไปอยู่ข้างบน ถึงจะคิดหนีออกไปก็ลำบากไม่สะดวก จึงมีรับสั่งโปรดเกล้า ฯ ว่าองเชียงสือหนีออกไปจากกรุงเทพมหานครเสียแล้ว ให้องโหเดืองดึก องทงยุงยาน พักครอบครัวไว้ที่บ้านบางโพก่อนเถิด
ครั้นถึง ณ วันอาทิตย์ เดือน ๙ แรม ๑๒ ค่ำ องเชียงสือมีหนังสือเข้ามาถึงพระยาพระคลังให้นำกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า “ข้าพเจ้าได้หนีเข้ามาพึ่งพระบารมีพระเดชพระคุณ ทรงพระเมตตากรุณาให้กองทัพออกไปตีเมืองญวนคืนให้ การก็ยังไม่สำเร็จ เพราะด้วยที่กรุงมีการศึกพม่าติดพันอยู่ และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระคุณแก่ข้าพเจ้าเป็นอันมาก เมืองประเทศราชทั้งปวงก็รู้แจ้งอยู่แล้ว ข้าพเจ้าได้รับหนังสือเจ้าเมืองตังเกี๋ยและญวนพวกพ้องข้าเก่าของปู่และบิดาข้าพเจ้าว่า ให้ออกไปคิดเอาบ้านเมืองคืนให้จงได้ ข้าพเจ้าจะกราบถวายบังคมลาก็เกรงพระราชอาชญาจะไม่โปรด จึงได้ทำหนังสือตามเรื่องความกราบถวายบังคมลา วางไว้ที่โต๊ะเครื่องบูชาแล้ว จึงได้หนีออกมา ทราบว่าพวกญวนที่รบพุ่งเป็นศึกกับพวกไกเซินไม่มีที่พึ่ง ลงเที่ยวเป็นโจรผู้รายอยู่ในท้องทะเล ข้าพเจ้าปราบปรามไม่ทิ้งพยศร้าย จึงได้ตัดศีรษะให้เจ้าเมืองบันทายมาศ ส่งเข้ามาครั้งก่อนแล้ว ครั้งนี้ข้าพเจ้าให้กายดาวคุมเครื่องยศที่พระราชทานแก่ข้าพเจ้า คือกระบี่บั้งทองเล่ม ๑ คนโททอง ๑ ถาดหมากทอง ๑ เข้ามาส่งขอรับพระราชทานเรือตระเวนปืนกระสุนดินดำ ที่พระราชทานให้ข้าพเจ้าออกไปลาดตระเวนนั้น ไปทำศึกกับไกเซินต่อไป ถ้าเสร็จการแล้วจึงจะส่งคืนเข้ามาถวาย” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบแล้ว จึงพระราชทานปืนกระสุนดินดำเพิ่มเติมออกไปให้อีก ครั้นกายดาวกราบถวายบังคมลากลับไปแล้ว จึงบอกองเชียงสือว่า องโหเตืองดึก องทงยุงยาน พาครอบครัวอพยพหนีไกเซินเข้าไปอยู่กรุงเทพฯ