- คำนำ
- บานแผนก
- รายงานทูลเกล้าฯ ถวาย
- บานแผนกเดิม
- ๑. สร้างกรุงรัตนโกสินทร์
- ๒. พระราชพิธีปราบดาภิเษก
- ๓. ประดิษฐานพระราชวงศ์
- ๔. ตั้งข้าราชการวังหลวง
- ๕. แบ่งหัวเมืองขึ้น กลาโหม มหาดไทย กรมท่า
- ๖. ตั้งข้าราชการวังหน้า
- ๗. ตั้งตำแหน่งพระราชาคณะ
- ๘. พงศาวดารเขมร ตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรีจนนักองเองเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ
- ๙. พระราชทานคืนพระบาง และให้เจ้านันทเสนไปครองเมืองล้านช้าง
- ๑๐. องเชียงสือญวนเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
- ๑๑. เรื่องพงศาวดารญวน
- ๑๒. พระยาปังกลิมาเจ้าเมืองกำปอดแข็งเมือง
- ๑๓. พงศาวดารพม่า ตั้งแต่มังหม่องเป็นกบฏ จนพระเจ้าปะดุงได้เมืองยะไข่
- ๑๔. อ้ายกบฏ ๒ คนเข้าวังหน้า
- ๑๕. เจ้าพระยาอภัยภูเบศรไปรั้งเมืองเขมร
- ๑๖. ทัพพระยานครสวรรค์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๑๗. สร้างพระนคร
- ๑๘. สร้างพระราชมนเทียร
- ๑๙. ทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๒๐. สร้างพระมหาปราสาท
- ๒๑. สร้างวัดพระแก้ว
- ๒๒. ตำนานพระแก้วมรกต
- ๒๓. ปฏิสังขรณ์วัดสลัก
- ๒๔. ปิดคลองลัด
- ๒๕. ทำศพเจ้ากรุงธนบุรี
- ๒๖. ได้ช้างสำคัญ
- ๒๗. ลดตำแหน่งพระเจ้านครศรีธรรมราช และตั้งเจ้าพระยานครพัด
- ๒๘. พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
- ๒๙. สมโภชพระนคร
- ๓๐. กรมหลวงอิศรสุนทรเสด็จมาอยู่พระราชวังเดิม
- ๓๑. น้ำมากข้าวแพง
- ๓๒. ศึกพม่าครั้งที่ ๑
- ๓๓. รบพม่าเมืองกาญจนบุรี
- ๓๔. รบพม่าเมืองราชบุรี
- ๓๕. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จแหลมมลายู
- ๓๖. รบพม่าทางเมืองเหนือ
- ๓๗. ตั้งกรมพระราชวังหลัง
- ๓๘. รบพม่าทางแหลมมลายู
- ๓๙. ปราบเมืองมลายู
- ๔๐. หล่อปืนใหญ่
- ๔๑. ตั้งท้าวเทพสตรี ท้าวศรีสุนทร
- ๔๒. สร้างวังเจ้าเขมร
- ๔๓. องเชียงสือหนีจากกรุงเทพฯ
- ๔๔. ศึกพม่าครั้งที่ ๒
- ๔๕. สร้างมณฑปพระพุทธบาท
- ๔๖. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จไปตั้งเมืองเชียงใหม่
- ๔๗. พระราชทานเรือและเครื่องอาวุธช่วยองเชียงสือ
- ๔๘. ทัพหลวงไปตีเมืองทวาย
- ๔๙. ฝรั่งเข้ามาพนันชกมวย
- ๕๐. พระราชทานเรือรบและปืนช่วยองเชียงสือ
- ๕๑. ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่
- ๕๒. องเชียงสือถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๑ พระราชทานกำลังช่วยองเชียงสือ
- ๕๓. ทำสังคายนาพระไตรปิฎก
- ๕๔. องเชียงสือถวายข้าวสาร
- ๕๕. ไฟไหม้พระมหาปราสาท
- ๕๖. ปราบรายาเมืองตานี
- ๕๗. องเชียงสือตั้งตัวเป็นเจ้าอนัมก๊ก ถวายต้นไม้ทองเงินเป็นครั้งที่ ๒
- ๕๘. ทัพเวียงจันทน์รบญวนไกเซิน
- ๕๙. เจ้าอนัมก๊กกล่าวโทษเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์
- ๖๐. แขกเซียะตีเมืองสงขลา
- ๖๑. เจ้าอนัมก๊กถวายเรือรบ และพระราชทานปืนตอบ
- ๖๒. ทัพเวียงจันทน์ตีเมืองหลวงพระบาง
- ๖๓. เมืองทวายสวามิภักดิ์
- ๖๔. เจ้าอนัมก๊กมีศุภอักษรนัดให้ไปตีเมืองตังเกี๋ย
- ๖๕. ทัพพระยายมราชยกไปเมืองทวาย
- ๖๖. ทัพหลวงยกไปเมืองทวาย
- ๖๗. ยกทัพหลวงไปตีเมืองพม่า
- ๖๘. ทวายเป็นกบฏ
- ๖๙. เจ้าอนัมก๊กขอตราให้หัวเมืองช่วยการทัพ และถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๓
- ๗๐. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๗๑. ญวนไกเซินขอเป็นไมตรี
- ๗๒. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (ศุข) ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และนักองเอง
- ๗๓. ตั้งนักองเองออกไปครองกรุงกัมพูชา นักองเองถวายเมืองพระตะบองเสียมราฐ
- ๗๔. ถอดเจ้านครล้านช้าง
- ๗๕. ได้ช้างเผือกพระอินทรไอยรา
- ๗๖. ศึกพม่าครั้งที่ ๓
- ๗๗. เชิญพระพุทธสิหิงก์มากรุงเทพฯ
- ๗๘. กรมพระราชวังบวรฯ ทรงผนวช
- ๗๙. สมเด็จพระนารายณ์รามารับอากับครอบครัวไปเมืองเขมร
- ๘๐. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๔
- ๘๑. การพระเมรุพระบรมอัฐิสมเด็จพระชนกาธิบดี
- ๘๒. เกิดเหตุบาดหมางในระหว่าง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๘๓. สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีพระเจ้ากรุงกัมพูชาพิราลัย
- ๘๔. ข่าวศึกพม่า กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จเมืองเชียงใหม่
- ๘๕. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๕
- ๘๖. ฉลองพระมณฑปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- ๘๗. ข่าวศึกพม่า
- ๘๘. สมเด็จพระพี่นางสิ้นพระชนม์
- ๘๙. โปรดให้กองทัพเขมรไปช่วยเจ้าอนัมก๊ก
- ๙๐. เพลิงไหม้สำเพ็ง
- ๙๑. สร้างและฉลองวัดพระเชตุพน
- ๙๒. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๖
- ๙๓. ได้ช้างเผือกพระเทพกุญชร
- ๙๔. เพลิงไหม้วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์
- ๙๕. เจ้าอนัมก๊กได้เมืองญวนและตั้งตัวเป็นพระเจ้ากรุงเวียตนามยาลอง
- ๙๖. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๙๗. ศึกพม่าครั้งที่ ๔
- ๙๘. นักองจันท์ นักองสงวน เข้ามาเฝ้า
- ๙๙. พระเจ้าเวียตนามถวายของสนองพระคุณ
- ๑๐๐. กองทัพไทยไปตีเมืองเชียงแสน
- ๑๐๑. ตั้งเจ้าเชียงใหม่
- ๑๐๒. ได้ช้างสีทองแดงพระบรมฉัททันต์
- ๑๐๓. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๐๔. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคต
- ๑๐๕. พระราชประวัติกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๐๖. สิ่งซึ่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงสร้าง
- ๑๐๗. เรื่องหม่อมลำดวน หม่อมอินทปัต
- ๑๐๘. เลื่อนกรมขุนเสนานุรักษ์และตั้งกรมขุนพิทักษ์มนตรี
- ๑๐๙. กองทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์กลับจากเมืองเชียงแสน
- ๑๑๐. การพระเมรุกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๑๑. พระเจ้าเวียตนามมีราชสาสน์มาทูลเตือน ให้ตั้งกรมพระราชวังบวรฯ
- ๑๑๒. เกณฑ์ทัพไปตีเมืองเชียงตุง เชียงรุ้ง
- ๑๑๓. ตั้งเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๑๔. ตั้งเจ้าอนุครองเมืองเวียงจันทน์
- ๑๑๕. กรมหลวงเทพหริรักษ์สิ้นพระชนม์
- ๑๑๖. ชำระกฎหมาย
- ๑๑๗. ได้ช้างสำคัญพระบรมนัขมณีและพระบรมคชลักษณ์
- ๑๑๘. ได้เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ้ง และเมืองลื้อ สิบสองปันนา
- ๑๑๙. พระเจ้ากรุงเวียตนามมีราชสาสน์ถวายบรรณาการ
- ๑๒๐. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๒๑. กรมพระราชวังหลังทิวงคต
- ๑๒๒. ตั้งนักองจันท์เป็นสมเด็จพระอุทัยราชาเจ้ากรุงกัมพูชา
- ๑๒๓. พระราชพิธีอุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
- ๑๒๔. ตั้งพระบัณฑูรน้อย และตั้งกรมเจ้านาย
- ๑๒๕. การพระเมรุกรมพระราชวังหลัง
- ๑๒๖. พระเจ้าเวียตนามมีพระราชสาสน์ทรงยินดีในการอุปราชาภิเษก
- ๑๒๗. กรมหลวงจักรเจษฎาสิ้นพระชนม์
- ๑๒๘. ได้ช้างสำคัญ
- ๑๒๙. สมเด็จพระอุทัยทูลขอนักองอี นักองเภา
- ๑๓๐. เชิญพระพุทธรูปพระศรีศากยมุนีมากรุงเทพฯ
- ๑๓๑. ปราบปรามเมืองยิริง
- ๑๓๒. เจ้าฟ้ากรมขุนศรีสุนทรเทพสิ้นพระชนม์
- ๑๓๓. โสกันต์เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๓๔. แห่สระสนานใหญ่แห่พระกฐินและมีกระจาดใหญ่กัณฑ์เทศน์มหาชาติ
- ๑๓๕. ผลประโยชน์แผ่นดิน
- ๑๓๖. วัดที่ได้ทรงปฏิสังขรณ์
- ๑๓๗. พระราชานุกิจ
- ๑๓๘. สมเด็จพระอุทัยราชาเข้ามาเฝ้า
- ๑๓๙. งานสมโภชพระแก้วมรกต
- ๑๔๐. สวรรคต
- ๑๔๑. พระราชประวัติ
- ๑๔๒. เสนาบดีในรัชกาลที่ ๑
- ภาคผนวก
- หมายรับสั่ง เรื่อง ยกประตูพระบรมมหาราชวัง จ.ศ. ๑๑๔๔
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์ไพร่หลวง ไทย มอญ รับแขกเมือง ณ แม่น้ำน้อย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์แห่เรือรับพระบรมสารีริกธาตุจากเมืองทวาย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายกำหนดการ เรื่อง มหาอุปราชาภิเษก จ.ศ. ๑๑๖๘
- หมายกำหนดการ เรื่อง ฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จ.ศ. ๑๑๗๑
บานแผนกเดิม
ศุภมัสดุ ลุจุลศักราช ๑๒๓๑[๓] สัปปสังวัจฉรวิสาขมาสชุษณปักษ์พารสีดิถีครุวาร เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัตยุบันนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฎบุรุษรัตนราชรวิวงศ์ วรุตมพงศบริพัตรวรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรัตนบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศบรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่าจดหมายเหตุพระราชพงศาวดารซึ่งพระเจ้าอัยกาเธอ กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสศรีสุคตขัตติยวงศ์ ทรงเรียบเรียงไว้ สืบลำดับพระวงศ์พระเจ้าแผ่นดินสยาม ตั้งแต่แรกสร้างกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยามา จนถึงกรุงเก่าเสียแก่พม่าข้าศึกนับได้ ๓๓ พระองค์ จึ่งได้ตั้งกรุงธนบุรี นับเป็นปีได้ ๑๕ ปี แล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึ่งได้ทรงฐาปนากรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์มหินทรายุธยา ในประเทศบางกอก ประดิษฐานพระบรมราชวงศ์นี้สืบมา เรื่องความในรัชกาลที่ ๑ ก็ยังหาตลอดไม่ ค้างอยู่เพียงเจ้าพระยายมราชออกไปราชการทัพเมืองทวาย เมื่อปีกุน ตรีศก จุลศักราช ๑๑๕๓[๔] เป็นปีที่ ๑๐ เท่านั้น ข้าราชการเก่าต่อมา มีพระราชประสงค์จะทรงทราบอย่างใดอย่างหนึ่ง มีพระราชดำรัส ถามข้าทูลละอองธุลีพระบาทฝ่ายหน้าฝ่ายในก็กราบทูลเล่าถวายหาถูกต้องกันไม่ เพราะไม่มีเรื่องที่เรียบเรียงทำไว้เป็นฉบับเมื่อกาลล่วงนานไปภายหน้าก็จะยิ่งเสื่อมสูญไปทุกชนชั่วบุรุษ จะค้นหาความเก่า ๆ ก็จะไม่ได้ ด้วยมีอันตรายต่าง ๆ ขจัดขจายหายสูญไป ถึงมีผู้พากเพียรจะเรียบเรียงทำขึ้นใหม่ ก็จะไม่สำเร็จประโยชน์ดังประสงค์ได้ ครั้งนี้ทรงพระราชดำริเห็นว่า เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี มีสติปัญญาคัมภีรัธยาศัย และมีความพอใจในการเรียบเรียงหนังสือต่าง ๆ อยู่ จึ่งมีพระบรมราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งให้เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี นานาไพรัชไมตรีบริรักษ์ยุตติธรรมพิทักษราชศักดานุการ ราชสมบัติสารพิพัฒน์ ประทุมรัตนมุรธาธร สมุทรตีรนครเกษตราธิบาล สรรพดิตถการมหิศวรฤทธิธาดา พิพิธกุศลจริยาภิธยาศัย อภัยพิริยบรากรมพาหุ ผู้สำเร็จราชการนานาประเทศ ถือศักดินา ๒๐,๐๐๐ รับจัดการเรียบเรียงพระราชพงศาวดาร โดยลำดับพระบรมราชวงศ์นี้ เริ่มมาแต่ในรัชกาลที่ ๑ จนถึงรัชกาลที่ ๔[๕] ให้บริบูรณ์เป็นฉบับขึ้นไว้ จะได้เป็นเกียรติยศสำหรับแผ่นดินและมีคุณแก่ข้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งปวงสืบต่อไป เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี ได้รับพระบรมราชโองการดำรัสสั่งดังนี้ มีความยินดียิ่งนัก จึ่งกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า การเรื่องนี้ คิดจะฉลองพระเดชพระคุณมาช้านานแล้ว ได้จัดหาเรื่องความต่าง ๆ มาเรียงไว้บ้างกว่าปีมาแล้ว แต่กำลังซึ่งจะทำไปแต่ผู้เดียวเห็นจะไม่ตลอด ขัดข้องอยู่ด้วยจะค้นหาเรื่องความแต่เจ้าพนักงานนั้น ๆไม่ใคร่จะได้ อ้างว่าปลวกทำอันตรายเสียบ้าง ผุเปื่อยไปเสียบ้าง สูญหายไปเสียบ้าง ถ้าอาศัยพระบารมีพระบรมเดชานุภาพโปรดเกล้าฯ ดังนี้แล้ว การเห็นจะสำเร็จได้โดยง่าย ท่านจึ่งได้ค้นหาเรื่องความเก่า ณ ที่ต่างๆได้ที่ปูมบ้าง และค้นได้ที่กรมมหาดไทย กรมพระกลาโหม กรมพระอาลักษณ์บ้าง จนสิ้นเชิงแล้ว จึ่งได้กราบทูลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมขุนบำราบปรปักษ์ ขอจดหมายเหตุตำราเก่า ๆ ท่านก็มีพระทัยยินดีจัดมาให้ และช่วยสืบหาที่อื่น ๆได้อีกบ้าง ได้ความมาเป็นอันมากและในกรมท่า ความเรื่องจีน ญวนเก่า ๆ มีอยู่โดยมาก ด้วยในรัชกาลที่ ๑ นั้นเจ้าอนัมก๊กฝ่ายญวน ยอมถวายต้นไม้ทองเงิน เป็นเมืองขึ้นกรุงเทพมหานคร ความที่ในกรุงมีสิ่งใดขึ้นก็บอกไปทุกครั้งโดยไม่มีความรังเกียจ แล้วจึ่งได้รวบรวมเรื่องความทั้งปวงเรียบเรียงขึ้น พอติดต่อกันตลอดมาได้ทั้ง ๔ แผ่นดิน ความที่กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสทรงเรียบเรียงไว้ในท่อนต้นในระหว่าง ๑๐ ปี ยังสังเขปอยู่นั้นก็ได้เพิ่มเติมเข้าบ้าง ครั้นเสร็จแล้วจึ่งให้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ทรงทอดพระเนตรแล้วได้ทรงแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อความขึ้นอีกบ้าง แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอักษรสาสนโสภณและข้าทูลละอองธุลีพระบาท ผู้ชำนาญในการหนังสือสืบสวนชำระต่อไป ในกรมพระอาลักษณ์ พระยาศรีสุนทรโวหาร ที่กรม ๑ หลวงสารประเสริฐ ปลัดกรม ๑ ได้ตรวจดูเรื่องความและอักษรแก้ไขถูกต้องแล้ว
[๓] พ.ศ. ๒๔๑๒
[๔] พ.ศ. ๒๓๓๔
[๕] พระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๒ พระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙. ฉบับของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ยังไม่เคยพิมพ์ พระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ ๓ และที่ ๔ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ พิมพ์ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗