- คำนำ
- บานแผนก
- รายงานทูลเกล้าฯ ถวาย
- บานแผนกเดิม
- ๑. สร้างกรุงรัตนโกสินทร์
- ๒. พระราชพิธีปราบดาภิเษก
- ๓. ประดิษฐานพระราชวงศ์
- ๔. ตั้งข้าราชการวังหลวง
- ๕. แบ่งหัวเมืองขึ้น กลาโหม มหาดไทย กรมท่า
- ๖. ตั้งข้าราชการวังหน้า
- ๗. ตั้งตำแหน่งพระราชาคณะ
- ๘. พงศาวดารเขมร ตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรีจนนักองเองเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ
- ๙. พระราชทานคืนพระบาง และให้เจ้านันทเสนไปครองเมืองล้านช้าง
- ๑๐. องเชียงสือญวนเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
- ๑๑. เรื่องพงศาวดารญวน
- ๑๒. พระยาปังกลิมาเจ้าเมืองกำปอดแข็งเมือง
- ๑๓. พงศาวดารพม่า ตั้งแต่มังหม่องเป็นกบฏ จนพระเจ้าปะดุงได้เมืองยะไข่
- ๑๔. อ้ายกบฏ ๒ คนเข้าวังหน้า
- ๑๕. เจ้าพระยาอภัยภูเบศรไปรั้งเมืองเขมร
- ๑๖. ทัพพระยานครสวรรค์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๑๗. สร้างพระนคร
- ๑๘. สร้างพระราชมนเทียร
- ๑๙. ทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๒๐. สร้างพระมหาปราสาท
- ๒๑. สร้างวัดพระแก้ว
- ๒๒. ตำนานพระแก้วมรกต
- ๒๓. ปฏิสังขรณ์วัดสลัก
- ๒๔. ปิดคลองลัด
- ๒๕. ทำศพเจ้ากรุงธนบุรี
- ๒๖. ได้ช้างสำคัญ
- ๒๗. ลดตำแหน่งพระเจ้านครศรีธรรมราช และตั้งเจ้าพระยานครพัด
- ๒๘. พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
- ๒๙. สมโภชพระนคร
- ๓๐. กรมหลวงอิศรสุนทรเสด็จมาอยู่พระราชวังเดิม
- ๓๑. น้ำมากข้าวแพง
- ๓๒. ศึกพม่าครั้งที่ ๑
- ๓๓. รบพม่าเมืองกาญจนบุรี
- ๓๔. รบพม่าเมืองราชบุรี
- ๓๕. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จแหลมมลายู
- ๓๖. รบพม่าทางเมืองเหนือ
- ๓๗. ตั้งกรมพระราชวังหลัง
- ๓๘. รบพม่าทางแหลมมลายู
- ๓๙. ปราบเมืองมลายู
- ๔๐. หล่อปืนใหญ่
- ๔๑. ตั้งท้าวเทพสตรี ท้าวศรีสุนทร
- ๔๒. สร้างวังเจ้าเขมร
- ๔๓. องเชียงสือหนีจากกรุงเทพฯ
- ๔๔. ศึกพม่าครั้งที่ ๒
- ๔๕. สร้างมณฑปพระพุทธบาท
- ๔๖. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จไปตั้งเมืองเชียงใหม่
- ๔๗. พระราชทานเรือและเครื่องอาวุธช่วยองเชียงสือ
- ๔๘. ทัพหลวงไปตีเมืองทวาย
- ๔๙. ฝรั่งเข้ามาพนันชกมวย
- ๕๐. พระราชทานเรือรบและปืนช่วยองเชียงสือ
- ๕๑. ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่
- ๕๒. องเชียงสือถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๑ พระราชทานกำลังช่วยองเชียงสือ
- ๕๓. ทำสังคายนาพระไตรปิฎก
- ๕๔. องเชียงสือถวายข้าวสาร
- ๕๕. ไฟไหม้พระมหาปราสาท
- ๕๖. ปราบรายาเมืองตานี
- ๕๗. องเชียงสือตั้งตัวเป็นเจ้าอนัมก๊ก ถวายต้นไม้ทองเงินเป็นครั้งที่ ๒
- ๕๘. ทัพเวียงจันทน์รบญวนไกเซิน
- ๕๙. เจ้าอนัมก๊กกล่าวโทษเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์
- ๖๐. แขกเซียะตีเมืองสงขลา
- ๖๑. เจ้าอนัมก๊กถวายเรือรบ และพระราชทานปืนตอบ
- ๖๒. ทัพเวียงจันทน์ตีเมืองหลวงพระบาง
- ๖๓. เมืองทวายสวามิภักดิ์
- ๖๔. เจ้าอนัมก๊กมีศุภอักษรนัดให้ไปตีเมืองตังเกี๋ย
- ๖๕. ทัพพระยายมราชยกไปเมืองทวาย
- ๖๖. ทัพหลวงยกไปเมืองทวาย
- ๖๗. ยกทัพหลวงไปตีเมืองพม่า
- ๖๘. ทวายเป็นกบฏ
- ๖๙. เจ้าอนัมก๊กขอตราให้หัวเมืองช่วยการทัพ และถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๓
- ๗๐. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๗๑. ญวนไกเซินขอเป็นไมตรี
- ๗๒. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (ศุข) ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และนักองเอง
- ๗๓. ตั้งนักองเองออกไปครองกรุงกัมพูชา นักองเองถวายเมืองพระตะบองเสียมราฐ
- ๗๔. ถอดเจ้านครล้านช้าง
- ๗๕. ได้ช้างเผือกพระอินทรไอยรา
- ๗๖. ศึกพม่าครั้งที่ ๓
- ๗๗. เชิญพระพุทธสิหิงก์มากรุงเทพฯ
- ๗๘. กรมพระราชวังบวรฯ ทรงผนวช
- ๗๙. สมเด็จพระนารายณ์รามารับอากับครอบครัวไปเมืองเขมร
- ๘๐. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๔
- ๘๑. การพระเมรุพระบรมอัฐิสมเด็จพระชนกาธิบดี
- ๘๒. เกิดเหตุบาดหมางในระหว่าง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๘๓. สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีพระเจ้ากรุงกัมพูชาพิราลัย
- ๘๔. ข่าวศึกพม่า กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จเมืองเชียงใหม่
- ๘๕. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๕
- ๘๖. ฉลองพระมณฑปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- ๘๗. ข่าวศึกพม่า
- ๘๘. สมเด็จพระพี่นางสิ้นพระชนม์
- ๘๙. โปรดให้กองทัพเขมรไปช่วยเจ้าอนัมก๊ก
- ๙๐. เพลิงไหม้สำเพ็ง
- ๙๑. สร้างและฉลองวัดพระเชตุพน
- ๙๒. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๖
- ๙๓. ได้ช้างเผือกพระเทพกุญชร
- ๙๔. เพลิงไหม้วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์
- ๙๕. เจ้าอนัมก๊กได้เมืองญวนและตั้งตัวเป็นพระเจ้ากรุงเวียตนามยาลอง
- ๙๖. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๙๗. ศึกพม่าครั้งที่ ๔
- ๙๘. นักองจันท์ นักองสงวน เข้ามาเฝ้า
- ๙๙. พระเจ้าเวียตนามถวายของสนองพระคุณ
- ๑๐๐. กองทัพไทยไปตีเมืองเชียงแสน
- ๑๐๑. ตั้งเจ้าเชียงใหม่
- ๑๐๒. ได้ช้างสีทองแดงพระบรมฉัททันต์
- ๑๐๓. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๐๔. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคต
- ๑๐๕. พระราชประวัติกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๐๖. สิ่งซึ่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงสร้าง
- ๑๐๗. เรื่องหม่อมลำดวน หม่อมอินทปัต
- ๑๐๘. เลื่อนกรมขุนเสนานุรักษ์และตั้งกรมขุนพิทักษ์มนตรี
- ๑๐๙. กองทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์กลับจากเมืองเชียงแสน
- ๑๑๐. การพระเมรุกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๑๑. พระเจ้าเวียตนามมีราชสาสน์มาทูลเตือน ให้ตั้งกรมพระราชวังบวรฯ
- ๑๑๒. เกณฑ์ทัพไปตีเมืองเชียงตุง เชียงรุ้ง
- ๑๑๓. ตั้งเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๑๔. ตั้งเจ้าอนุครองเมืองเวียงจันทน์
- ๑๑๕. กรมหลวงเทพหริรักษ์สิ้นพระชนม์
- ๑๑๖. ชำระกฎหมาย
- ๑๑๗. ได้ช้างสำคัญพระบรมนัขมณีและพระบรมคชลักษณ์
- ๑๑๘. ได้เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ้ง และเมืองลื้อ สิบสองปันนา
- ๑๑๙. พระเจ้ากรุงเวียตนามมีราชสาสน์ถวายบรรณาการ
- ๑๒๐. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๒๑. กรมพระราชวังหลังทิวงคต
- ๑๒๒. ตั้งนักองจันท์เป็นสมเด็จพระอุทัยราชาเจ้ากรุงกัมพูชา
- ๑๒๓. พระราชพิธีอุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
- ๑๒๔. ตั้งพระบัณฑูรน้อย และตั้งกรมเจ้านาย
- ๑๒๕. การพระเมรุกรมพระราชวังหลัง
- ๑๒๖. พระเจ้าเวียตนามมีพระราชสาสน์ทรงยินดีในการอุปราชาภิเษก
- ๑๒๗. กรมหลวงจักรเจษฎาสิ้นพระชนม์
- ๑๒๘. ได้ช้างสำคัญ
- ๑๒๙. สมเด็จพระอุทัยทูลขอนักองอี นักองเภา
- ๑๓๐. เชิญพระพุทธรูปพระศรีศากยมุนีมากรุงเทพฯ
- ๑๓๑. ปราบปรามเมืองยิริง
- ๑๓๒. เจ้าฟ้ากรมขุนศรีสุนทรเทพสิ้นพระชนม์
- ๑๓๓. โสกันต์เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๓๔. แห่สระสนานใหญ่แห่พระกฐินและมีกระจาดใหญ่กัณฑ์เทศน์มหาชาติ
- ๑๓๕. ผลประโยชน์แผ่นดิน
- ๑๓๖. วัดที่ได้ทรงปฏิสังขรณ์
- ๑๓๗. พระราชานุกิจ
- ๑๓๘. สมเด็จพระอุทัยราชาเข้ามาเฝ้า
- ๑๓๙. งานสมโภชพระแก้วมรกต
- ๑๔๐. สวรรคต
- ๑๔๑. พระราชประวัติ
- ๑๔๒. เสนาบดีในรัชกาลที่ ๑
- ภาคผนวก
- หมายรับสั่ง เรื่อง ยกประตูพระบรมมหาราชวัง จ.ศ. ๑๑๔๔
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์ไพร่หลวง ไทย มอญ รับแขกเมือง ณ แม่น้ำน้อย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์แห่เรือรับพระบรมสารีริกธาตุจากเมืองทวาย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายกำหนดการ เรื่อง มหาอุปราชาภิเษก จ.ศ. ๑๑๖๘
- หมายกำหนดการ เรื่อง ฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จ.ศ. ๑๑๗๑
๑๓. พงศาวดารพม่า ตั้งแต่มังหม่องเป็นกบฏ จนพระเจ้าปะดุงได้เมืองยะไข่
อนึ่งแต่ครั้งเมื่อปีฉลู ตรีศก จุลศักราช ๑๑๔๓[๒๔] ปีนั้นฝ่ายข้างแผ่นดินภุกามประเทศ พระเจ้าจิงกุจาผู้เสวยราชสมบัติ ณ กรุงรัตนบุระอังวะ ยกกองทัพขึ้นไปนมัสการพระสิงหดอ เหนือเมืองอังวะขึ้นไป ทางไกล ๕ คืน จึงมังหม่องเป็นราชบุตรพระเจ้ามังลอกผู้เป็นลุงพระเจ้าจิงกุจาบวชเป็นเณรอยู่ตั้งส้องสุมผู้คนได้พรรคพวกเป็นอันมาก แล้วสึกออกคิดการกบฏ เข้าปล้นชิงเอาเมืองอังวะได้ บังหม่องจึงให้ไปเชิญอาทั้ง ๓ คน คือ ตะแคงปะดุง ๑ ตะแคงปะดาน ๑ ตะแคงแปงตะแล ๑ มาพร้อมกัน แล้วมอบราชสมบัติให้อาทั้ง ๓ อาทั้ง ๓ มิได้รับ ยอมให้บังหม่องเป็นเจ้าแผ่นดิน บังหม่องก็ได้ครองราชสมบัติเป็นเจ้าอังวะ จึงไปขอบุตรีอะแซหวุ่นกี้มาเป็นพระมเหสี และพวกข้าไทยมังหม่องนั้นเป็นคนหยาบช้าเที่ยวข่มเหง ขุนนางอาณาประชาราษฎรได้ความเดือดร้อน อะแซหวุ่นกี้จึงคิดการกบฏ เวลาเย็นบังหม่องเสวยอาหารอยู่อะแซหวุ่นกี้ก็พาพรรคพวกเข้าไปในพระราชวัง จับตัวมังหม่องประหารชีวิตเสีย และมังหม่องอยู่ในราชสมบัติได้ ๗ วัน ก็สิ้นชนมชีพ อะแซหวุ่นกี้ขึ้นนั่งเมืองได้คืน ๑ จึงตะแคงปะตุง ตะแคงปะดาน ตะแคงแปงตะแล ทั้ง ๓ กับขุนนางทั้งปวงพร้อมกัน ยกพลทหารเข้าปล้นเอาพระราชวัง จับตัวอะแซหวุ่นกี้ได้ให้ฆ่าเสีย ขุนนางทั้งปวงจึงเชิญตะแคงปะดุง ขึ้นเสวยราชสมบัติเมืองอังวะ พระเจ้าปะดุงจึงตั้งตะแคงพระราชบุตรผู้ใหญ่เป็นอินแซะ มหาอุปราช แล้วให้มหาศีลวะอำมาตย์ กับจอกตลุงโบเป็นนายทัพเรือ ๕๐ ลำ คน ๒,๐๐๐ ยกขึ้นไปจับพระเจ้าจิงกุจา ซึ่งขึ้นไปไหว้พระสิงหดอ ได้ตัวมากับทั้งบุตรภรรยาและขุนนางทั้งปวง พระเจ้าปะดุงให้เอาพระเจ้าจิงกุจาถ่วงน้ำเสีย พระราชบุตรและนางสนมกับขุนนางพรรคพวกนั้น ให้ประหารชีวิตเสียสิ้น และพระเจ้าจิงกุจาอยู่ในราชสมบัติได้ ๖ ปีเศษ
ครั้นจุลศักราช ๑๑๔๕[๒๕] ปีเถาะเบญจศก พม่าคน ๑ ชื่องะพุง มืพรรคพวกประมาณ ๓๐๐ คน คิดกบฏยกเข้าปล้นเอาเมืองอังวะ พระเจ้าปะดุงให้ขุนนางคุมทหารออกต่อรบก็แตกพ่ายหนืไป พลข้าหลวงติดตาม จับตัวงะพุงกับพรรคพวกได้ พระเจ้าปะดุงสั่งให้ฆ่าเสียทั้งสิ้น ในปีเถาะเบญจศกนั้น พระเจ้าปะดุงให้สร้างเมืองใหม่ขึ้นที่บ้านทองกา อยู่ทิศตะวันตก ไกลเมืองอังวะทาง ๓๐๐ เส้น ครั้นการเมืองสำเร็จแล้ว จึงให้นามเมืองชื่อว่า อมระปุระ พระเจ้าปะดุงยกไปจากเมืองอังวะไปอยู่เมืองใหม่นั้น ตั้งเป็นเมืองหลวงแล้วจัด กองทัพจะยกไปตีเมืองธัญญวดี คือ เมืองยะไข่ แต่งให้แอกกะบัดระหวุ่น คือพล ๔,๐๐๐ เป็นทัพหน้า ให้ตะแคงจักกุราชบุตรที่ ๒ ถือพล ๑๐,๐๐๐ เป็นแม่ทัพบกยกไปทางหนึ่ง แล้วให้แมคุงหวุ่นถือพล ๔,๐๐๐ เป็นทัพหน้า ให้ตะแคงกามะราชบุตรที่ ๓ ถือพล ๑๐,๐๐๐ เป็นแม่ทัพบกยกไปทางหนึ่ง แล้วให้คิริกะเรียง ๑ แยข่องเดชะ ๑ แจกกะเรจอโบ ๑ รวม ๓ นาย ถือพล ๑๔,๐๐๐ เป็นแม่ทัพหน้า ให้อินแซะมหาอุปราชถือพล ๑๖,๐๐๐ เป็นแม่ทัพบกยกไปทางหนั้ง เป็น ๓ ทัพยกไปตีเมืองธัญญวดี และทัพเรือนั้นให้มหาจอแทงตละยาเป็นแม่ทัพ กับแยจออากา ๑ แยจอสมุท ๑ รวม ๓ นาย คือพล ๔,๐๐๐ เรือรบทะเล ๓๐๐ ลำ ยกไป ทางทะเล และกองทัพบก ทัพเรือ ๔ ทัพ ยกไปตีหัวเมืองซึ่งขึ้นยะไข่รายทางไปได้เป็นหลายเมือง แล้วยกไปบรรจบพร้อมกันเข้าตีเมืองธัญญวดี ซึ่งเป็นเมืองหลวงนั้น พระเจ้ายะไข่ให้พลทหารออกต่อรบ สู้ฝีมือพม่าไม่ได้ ทัพพม่าก็เข้าหักเอาเมืองได้ จับได้ตัวพระเจ้ายะไข่และขุนนางไพร่พลครอบครัวประมาณ ๔๐,๐๐๐ เศษ กวาดเอามาเมืองอมระปุระ แล้วตั้งจอกชูคุมไพร่พลพม่า ๑๐,๐๐๐ ให้อยู่รักษาเมืองธัญญวดี และพระเจ้ายะไข่นั้น พระเจ้าปะดุงให้เลี้ยงไว้แล้วป่วยลงก็ถึงแก่ความตาย