- คำนำ
- บานแผนก
- รายงานทูลเกล้าฯ ถวาย
- บานแผนกเดิม
- ๑. สร้างกรุงรัตนโกสินทร์
- ๒. พระราชพิธีปราบดาภิเษก
- ๓. ประดิษฐานพระราชวงศ์
- ๔. ตั้งข้าราชการวังหลวง
- ๕. แบ่งหัวเมืองขึ้น กลาโหม มหาดไทย กรมท่า
- ๖. ตั้งข้าราชการวังหน้า
- ๗. ตั้งตำแหน่งพระราชาคณะ
- ๘. พงศาวดารเขมร ตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรีจนนักองเองเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ
- ๙. พระราชทานคืนพระบาง และให้เจ้านันทเสนไปครองเมืองล้านช้าง
- ๑๐. องเชียงสือญวนเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
- ๑๑. เรื่องพงศาวดารญวน
- ๑๒. พระยาปังกลิมาเจ้าเมืองกำปอดแข็งเมือง
- ๑๓. พงศาวดารพม่า ตั้งแต่มังหม่องเป็นกบฏ จนพระเจ้าปะดุงได้เมืองยะไข่
- ๑๔. อ้ายกบฏ ๒ คนเข้าวังหน้า
- ๑๕. เจ้าพระยาอภัยภูเบศรไปรั้งเมืองเขมร
- ๑๖. ทัพพระยานครสวรรค์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๑๗. สร้างพระนคร
- ๑๘. สร้างพระราชมนเทียร
- ๑๙. ทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๒๐. สร้างพระมหาปราสาท
- ๒๑. สร้างวัดพระแก้ว
- ๒๒. ตำนานพระแก้วมรกต
- ๒๓. ปฏิสังขรณ์วัดสลัก
- ๒๔. ปิดคลองลัด
- ๒๕. ทำศพเจ้ากรุงธนบุรี
- ๒๖. ได้ช้างสำคัญ
- ๒๗. ลดตำแหน่งพระเจ้านครศรีธรรมราช และตั้งเจ้าพระยานครพัด
- ๒๘. พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
- ๒๙. สมโภชพระนคร
- ๓๐. กรมหลวงอิศรสุนทรเสด็จมาอยู่พระราชวังเดิม
- ๓๑. น้ำมากข้าวแพง
- ๓๒. ศึกพม่าครั้งที่ ๑
- ๓๓. รบพม่าเมืองกาญจนบุรี
- ๓๔. รบพม่าเมืองราชบุรี
- ๓๕. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จแหลมมลายู
- ๓๖. รบพม่าทางเมืองเหนือ
- ๓๗. ตั้งกรมพระราชวังหลัง
- ๓๘. รบพม่าทางแหลมมลายู
- ๓๙. ปราบเมืองมลายู
- ๔๐. หล่อปืนใหญ่
- ๔๑. ตั้งท้าวเทพสตรี ท้าวศรีสุนทร
- ๔๒. สร้างวังเจ้าเขมร
- ๔๓. องเชียงสือหนีจากกรุงเทพฯ
- ๔๔. ศึกพม่าครั้งที่ ๒
- ๔๕. สร้างมณฑปพระพุทธบาท
- ๔๖. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จไปตั้งเมืองเชียงใหม่
- ๔๗. พระราชทานเรือและเครื่องอาวุธช่วยองเชียงสือ
- ๔๘. ทัพหลวงไปตีเมืองทวาย
- ๔๙. ฝรั่งเข้ามาพนันชกมวย
- ๕๐. พระราชทานเรือรบและปืนช่วยองเชียงสือ
- ๕๑. ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่
- ๕๒. องเชียงสือถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๑ พระราชทานกำลังช่วยองเชียงสือ
- ๕๓. ทำสังคายนาพระไตรปิฎก
- ๕๔. องเชียงสือถวายข้าวสาร
- ๕๕. ไฟไหม้พระมหาปราสาท
- ๕๖. ปราบรายาเมืองตานี
- ๕๗. องเชียงสือตั้งตัวเป็นเจ้าอนัมก๊ก ถวายต้นไม้ทองเงินเป็นครั้งที่ ๒
- ๕๘. ทัพเวียงจันทน์รบญวนไกเซิน
- ๕๙. เจ้าอนัมก๊กกล่าวโทษเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์
- ๖๐. แขกเซียะตีเมืองสงขลา
- ๖๑. เจ้าอนัมก๊กถวายเรือรบ และพระราชทานปืนตอบ
- ๖๒. ทัพเวียงจันทน์ตีเมืองหลวงพระบาง
- ๖๓. เมืองทวายสวามิภักดิ์
- ๖๔. เจ้าอนัมก๊กมีศุภอักษรนัดให้ไปตีเมืองตังเกี๋ย
- ๖๕. ทัพพระยายมราชยกไปเมืองทวาย
- ๖๖. ทัพหลวงยกไปเมืองทวาย
- ๖๗. ยกทัพหลวงไปตีเมืองพม่า
- ๖๘. ทวายเป็นกบฏ
- ๖๙. เจ้าอนัมก๊กขอตราให้หัวเมืองช่วยการทัพ และถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๓
- ๗๐. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๗๑. ญวนไกเซินขอเป็นไมตรี
- ๗๒. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (ศุข) ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และนักองเอง
- ๗๓. ตั้งนักองเองออกไปครองกรุงกัมพูชา นักองเองถวายเมืองพระตะบองเสียมราฐ
- ๗๔. ถอดเจ้านครล้านช้าง
- ๗๕. ได้ช้างเผือกพระอินทรไอยรา
- ๗๖. ศึกพม่าครั้งที่ ๓
- ๗๗. เชิญพระพุทธสิหิงก์มากรุงเทพฯ
- ๗๘. กรมพระราชวังบวรฯ ทรงผนวช
- ๗๙. สมเด็จพระนารายณ์รามารับอากับครอบครัวไปเมืองเขมร
- ๘๐. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๔
- ๘๑. การพระเมรุพระบรมอัฐิสมเด็จพระชนกาธิบดี
- ๘๒. เกิดเหตุบาดหมางในระหว่าง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๘๓. สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีพระเจ้ากรุงกัมพูชาพิราลัย
- ๘๔. ข่าวศึกพม่า กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จเมืองเชียงใหม่
- ๘๕. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๕
- ๘๖. ฉลองพระมณฑปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- ๘๗. ข่าวศึกพม่า
- ๘๘. สมเด็จพระพี่นางสิ้นพระชนม์
- ๘๙. โปรดให้กองทัพเขมรไปช่วยเจ้าอนัมก๊ก
- ๙๐. เพลิงไหม้สำเพ็ง
- ๙๑. สร้างและฉลองวัดพระเชตุพน
- ๙๒. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๖
- ๙๓. ได้ช้างเผือกพระเทพกุญชร
- ๙๔. เพลิงไหม้วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์
- ๙๕. เจ้าอนัมก๊กได้เมืองญวนและตั้งตัวเป็นพระเจ้ากรุงเวียตนามยาลอง
- ๙๖. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๙๗. ศึกพม่าครั้งที่ ๔
- ๙๘. นักองจันท์ นักองสงวน เข้ามาเฝ้า
- ๙๙. พระเจ้าเวียตนามถวายของสนองพระคุณ
- ๑๐๐. กองทัพไทยไปตีเมืองเชียงแสน
- ๑๐๑. ตั้งเจ้าเชียงใหม่
- ๑๐๒. ได้ช้างสีทองแดงพระบรมฉัททันต์
- ๑๐๓. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๐๔. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคต
- ๑๐๕. พระราชประวัติกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๐๖. สิ่งซึ่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงสร้าง
- ๑๐๗. เรื่องหม่อมลำดวน หม่อมอินทปัต
- ๑๐๘. เลื่อนกรมขุนเสนานุรักษ์และตั้งกรมขุนพิทักษ์มนตรี
- ๑๐๙. กองทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์กลับจากเมืองเชียงแสน
- ๑๑๐. การพระเมรุกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๑๑. พระเจ้าเวียตนามมีราชสาสน์มาทูลเตือน ให้ตั้งกรมพระราชวังบวรฯ
- ๑๑๒. เกณฑ์ทัพไปตีเมืองเชียงตุง เชียงรุ้ง
- ๑๑๓. ตั้งเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๑๔. ตั้งเจ้าอนุครองเมืองเวียงจันทน์
- ๑๑๕. กรมหลวงเทพหริรักษ์สิ้นพระชนม์
- ๑๑๖. ชำระกฎหมาย
- ๑๑๗. ได้ช้างสำคัญพระบรมนัขมณีและพระบรมคชลักษณ์
- ๑๑๘. ได้เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ้ง และเมืองลื้อ สิบสองปันนา
- ๑๑๙. พระเจ้ากรุงเวียตนามมีราชสาสน์ถวายบรรณาการ
- ๑๒๐. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๒๑. กรมพระราชวังหลังทิวงคต
- ๑๒๒. ตั้งนักองจันท์เป็นสมเด็จพระอุทัยราชาเจ้ากรุงกัมพูชา
- ๑๒๓. พระราชพิธีอุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
- ๑๒๔. ตั้งพระบัณฑูรน้อย และตั้งกรมเจ้านาย
- ๑๒๕. การพระเมรุกรมพระราชวังหลัง
- ๑๒๖. พระเจ้าเวียตนามมีพระราชสาสน์ทรงยินดีในการอุปราชาภิเษก
- ๑๒๗. กรมหลวงจักรเจษฎาสิ้นพระชนม์
- ๑๒๘. ได้ช้างสำคัญ
- ๑๒๙. สมเด็จพระอุทัยทูลขอนักองอี นักองเภา
- ๑๓๐. เชิญพระพุทธรูปพระศรีศากยมุนีมากรุงเทพฯ
- ๑๓๑. ปราบปรามเมืองยิริง
- ๑๓๒. เจ้าฟ้ากรมขุนศรีสุนทรเทพสิ้นพระชนม์
- ๑๓๓. โสกันต์เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๓๔. แห่สระสนานใหญ่แห่พระกฐินและมีกระจาดใหญ่กัณฑ์เทศน์มหาชาติ
- ๑๓๕. ผลประโยชน์แผ่นดิน
- ๑๓๖. วัดที่ได้ทรงปฏิสังขรณ์
- ๑๓๗. พระราชานุกิจ
- ๑๓๘. สมเด็จพระอุทัยราชาเข้ามาเฝ้า
- ๑๓๙. งานสมโภชพระแก้วมรกต
- ๑๔๐. สวรรคต
- ๑๔๑. พระราชประวัติ
- ๑๔๒. เสนาบดีในรัชกาลที่ ๑
- ภาคผนวก
- หมายรับสั่ง เรื่อง ยกประตูพระบรมมหาราชวัง จ.ศ. ๑๑๔๔
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์ไพร่หลวง ไทย มอญ รับแขกเมือง ณ แม่น้ำน้อย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์แห่เรือรับพระบรมสารีริกธาตุจากเมืองทวาย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายกำหนดการ เรื่อง มหาอุปราชาภิเษก จ.ศ. ๑๑๖๘
- หมายกำหนดการ เรื่อง ฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จ.ศ. ๑๑๗๑
๓๖. รบพม่าทางเมืองเหนือ
ในขณะนั้นทางกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชโองการดำรัสให้พระยาเทพสุดาวดีเจ้ากรมในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอพระองค์ใหญ่ เชิญสารตรารับสั่งขึ้นไปถึงสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ว่า บัดนี้ราชการศึกทางเมืองราชบุรี เมืองกาญจนบุรี สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เสด็จพระราชดำเนิน พยุหยาตราทัพหลวงไปปราบปัจจามิตรได้ชัยชำนะเสร็จแล้ว และราชการข้างหัวเมืองฝ่ายเหนือ แม้กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์คิดทำไม่สำเร็จ พระเศียรก็จะไม่ได้คงอยู่กับพระกายเป็นแท้ และบัดนี้ทัพหลวงก็จะเสด็จพระราชดำเนินขึ้นมาโดยเร็วอยู่แล้ว
ในปีมะเส็ง สัปตศก จุลศักราช ๑๑๔๗[๔๕] นั้น ครั้นถึง ณ วันศุกร์ เดือน ๔ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ได้มหาพิไชยอุดมฤกษ์ พระบาทสมเด็จพระบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จทรงเรือพระที่นั่งบัลลังก์ทินกรส่องสีลายรดน้ำพื้นแดง พระที่นั่งมณีจักรพรรดิ์ลายรดน้ำพื้นเขียว ทรงพระไชยนำเสด็จ พร้อมด้วยเรือท้าวพระยาข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งหลาย โดยเสด็จพระราชดำเนินตามกระบวนพยุหยาตราหน้าหลัง และพหลโยธาหาญ ๓๐,๐๐๐ สรรพด้วยเครื่องสรรพยุทธ ให้ยาตรานาวาทัพหลวงจากกรุงเทพมหานคร ประทับรอนแรมไปโดยทางชลมารคถึงเมืองอินทบุรี ให้ตั้งค่ายและพระตำหนักพลับพลาไชย เสด็จประทับอยู่ ณ ที่นั้น
ฝ่ายกองทัพสะโดะมหาสิริยอุจนา ยกมาถึงเมืองนครลำปางให้ตั้งค่ายล้อมเมืองไว้ และครั้งนั้นเมืองเชียงใหม่ร้างอยู่มิได้มีคนรักษา ด้วยพระยาวิเชียรปราการเจ้าเมือง ยกครอบครัวชาวเมืองหนีพม่าลงมา อาศัยอยู่เมืองสวรรคโลก แต่ครั้งแผ่นดินกรุงธนบุรี ยังหาได้กลับขึ้นไปไม่ และพระยาวิเชียรปราการนั้นถึงแก่กรรม ครอบครัวชาวเมืองทั้งปวง ยกกลับขึ้นไปอยู่เมืองนครลำปางทั้งสิ้น ทัพพม่าจึงยกล่วงเมืองเชียงใหม่ลงมาตีเมืองนครลำปางทีเดียว และพระยากาวิละเจ้าเมือง เกณฑ์พลทหารขึ้นรักษาหน้าที่เชิงเทินป้องกันเมืองเป็นสามารถ พม่าจะหักหาญเอาเมืองมิได้ ก็ตั้งมั่นล้อมเมืองไว้ และกองทัพเนมโยสีหซุย พล ๕,๐๐๐ ก็ยกลงมาทางเมืองสวรรคโลก พระยาสวรรคโลก พระยาสุโขทัย พระยาพิษณุโลก เห็นข้าศึกมากเหลือกำลัง ด้วยครั้งนั้นไพร่พลหัวเมืองฝ่ายเหนือน้อย และผู้คนยับเยินเสียแต่ครั้งศึกอะแซหวุ่นกี้เป็นอันมาก ที่ยังอยู่นั้นเบาบางนัก เจ้าเมืองทั้งปวงจึงมิได้ต่อรบ ต่างคนอพยพครอบครัวหนีเข้าป่า ทัพพม่าจึงยกล่วงเลยเมืองสวรรคโลก เมืองสุโขทัย และเมืองพิษณุโลกลงมาตั้งค่ายอยู่ปากน้ำพิงฝั่งตะวันออก ฝ่ายซุยตองเวรจอแทงทั้งทัพหน้าทัพหนุน พล ๕,๐๐๐ ก็ยกเข้ามาทางเมืองตาก พระยากำแพงเพชร พระยาตาก เห็นเหลือกำลังที่จะต่อรบ ก็อพยพครอบครัวหนีเข้าป่า ทัพพม่าก็ยกลงมาตั้งค่ายอยู่ ณ บ้านระแหงแขวงเมืองตาก
ฝ่ายกรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ได้ทราบในสารตรารับสั่งก็กลัวเกรงพระราชอาชญาเป็นกำลัง มีรับสั่งให้กองทัพเจ้าพระยามหาเสนา ซึ่งตั้งค่ายอยู่ ณ เมืองพิจิตร ให้ยกขึ้นไปตีค่ายพม่าซึ่งตั้งอยู่ ณ ปากน้ำพิง เจ้าพระยามหาเสนาจึงแต่งให้กองทัพพระยาสระบุรี เป็นกองหน้ายกล่วงขึ้นไปก่อน แล้วเจ้าพระยามหาเสนาก็ยกหนุนขึ้นไป และทัพกรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ กับกรมหลวงนรินทร์รณเรศก็ยกตามทัพเจ้าพระยามหาเสนา ขึ้นไปภายหลัง
ฝ่ายกองทัพพระยาสระบุรีกองหน้ายกขึ้นไปตามริมฝั่งแม่น้ำฟากตะวันออกแต่เวลาเช้าตรู่ แลเห็นฝูงนกกระทุงข้ามแม่น้ำมาเห็นตะคุ่ม ๆไม่ทันเห็นถนัด และพระยาสระบุรีนั้นเป็นคนขลาด สำคัญว่าพม่ายกข้ามน้ำมา สั่งให้รี้พลล่าถอย ต่อสว่างขึ้นจึงเห็นชัดว่าฝูงนกกระทุงมิใช่พม่า กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ และเจ้าพระยามหาเสนา ได้ทราบว่าพระยาสระบุรีตื่นฝูงนกกระทุงถอยทัพมา จึงให้เอาตัวพระยาสระบุรีไปประหารชีวิตเสีย เอาศีรษะเสียบไว้ที่หาดทราย
ทัพหลวงก็เสด็จพระราชดำเนินหนุนขึ้นไป ดำรัสให้กองสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ กรมหลวงเทพหริรักษ์ ยกไปบรรจบกับทัพพระยาพระคลัง พระยาอุไทยธรรม ซึ่งตั้งค่ายอยู่ ณ เมืองชัยนาท ให้ยกขึ้นไปทางปากน้ำโพ ตีทัพพม่าซึ่งมาตั้งค่ายอยู่ ณ บ้านระแหงให้แตกโดยเร็ว แล้วทัพหลวงก็จะเสด็จขึ้นค่ายใหญ่ อยู่ ณ บางข้าวตอก ให้เรือตำรวจขึ้นไปเร่งกองทัพกรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ และเจ้าพระยามหาเสนาให้ยกเข้าตีค่ายพม่า ณ ปากน้ำพิงให้แตกแต่ในวันเดียว แม้นเนิ่นช้าไปจะเอาโทษถึงประหารชีวิต กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ กับเจ้าพระยามหาเสนา ได้แจ้งในรับสั่งดังนั้นก็รีบเร่งตรวจเตรียมพลทหารทุกทัพทุกกองพร้อมเสร็จ ครั้นถึง ณ วันเสาร์ เดือน ๔ แรม ๔ ค่ำ ปีมะเส็ง[๔๖] เวลาเช้า ก็ยกพลทหารทั้งปวงเข้าโจมตีค่ายพม่าทุก ๆ ค่าย พม่าต่อรบเป็นสามารถ ยิงปืนใหญ่น้อยโต้ตอบกันทั้ง ๒ ฝ่าย รบกันแต่เช้าจนค่ำ พอเวลาทุ่มหนึ่งทัพพม่าก็แตกฉานพ่ายหนีออกจากค่ายทุก ๆ ค่าย กองทัพไทยไล่รุกรบพม่าติดพัน พม่าต้องลงข้ามแม่น้ำหนีไปฟากตะวันตก แต่พม่าจมน้ำตายทั้งคนทั้งม้าประมาณ ๘๐๐ เศษ ศพลอยเต็มแม่น้ำ จนน้ำกินมิได้ พลทัพไทย ไล่ติดตามจับเป็นได้ก็มาก กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ และเจ้าพระยามหาเสนา จึงให้ม้าใช้รีบลงมากราบทูลพระกรุณา ณ ค่ายหลวงบางข้าวตอกว่า ตีทัพพม่าแตกไปแล้ว
พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบก็ทรงพระโสมนัส ดำรัสให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา แยกกองทัพออกจากทัพหลวง ยกขึ้นไปบรรจบทัพเจ้าพระยามหาเสนา ณ ปากน้ำพิง ให้ยกติดตามพม่าซึ่งแตกขึ้น ไปช่วยเมืองนครลำปาง ตีทัพพม่าซึ่งตั้งล้อมเมืองนครลำปางอยู่นั้นให้แตกฉานจงได้ แล้วดำรัสให้ข้าหลวงขึ้นไปเชิญเสด็จกรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ กรมหลวงนรินทร์รณเรศ ลงมาเฝ้า ณ ค่ายหลวง กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ กรมหลวงนรินทร์รณเรศ ก็ให้เลิกกองทัพลงมาตามพระราชกำหนด ให้คุมเอาทัพพม่าเชลยซึ่งจับได้นั้นส่งลงมาถวาย จึงมีพระราชโองการดำรัสสั่งให้เลิกทัพหลวง ลงมาตั้งประทับอยู่ ณ ค่ายเมืองนครสวรรค์ รอฟังข่าวราชการทัพซึ่งไปตีทัพพม่าทางระแหง แควปากน้ำโพนั้น
ฝ่ายกองทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์ ยกขึ้นไปถึงเมืองกำแพงเพชร จึงให้ทัพพระยาพระคลัง พระยาอุไทยธรรม เป็นนายกองหน้ายกล่วงไปก่อน ยังมิทันลงค่ายพม่าซึ่งตั้งอยู่ ณ บ้านระแหงนั้น และซุยตองเวระจอแทงแม่ทัพได้แจ้งข่าวว่า กองทัพทางปากน้ำพิงแตกไปแล้ว ๆ แจ้งว่า ทัพไทยยกล่วงเมืองกำแพงเพชรขึ้นไปก็มิได้คิดต่อรบ รีบเลิกทัพหนีไปทางด่านแม่ละเมา พระยาพระคลัง พระยาอุไทยธรรม แต่งกองลาดตระเวนไปสืบรู้ว่าทัพพม่าเลิกหนีไปแล้ว ก็บอกลงมาทูลกรมหลวงเทพหริรักษ์ ๆ ก็บอกลงมากราบทูลพระกรุณา ณ เมืองนครสวรรค์ พระบาทสมเด็จพระบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทราบว่าศึกเลิกไปสิ้นแล้ว ก็ดำรัสให้ข้าหลวงไปหากองทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์กลับมายังเมืองนครสวรรค์ แล้วก็เสด็จพระราชดำเนินทัพหลวง กลับมากรุงเทพมหานคร
ฝ่ายกองทัพเนมโยสีหซุยซึ่งแตกไปแต่ปากน้ำพิง ถึงค่ายล้อมเมืองนครลำปาง จึงแจ้งความแก่สะโดะมหาสิริยอุจนาซึ่งเป็นโบชุกแม่ทัพใหญ่ว่า ได้รบกับทัพไทยเสียทีมา และกองทัพไทยก็ยกติดตามขึ้นมาจวนจะถึงเมืองนครลำปางอยู่แล้วพอกองทัพเจ้าพระยามหาเสนาและกรมหลวงจักรเจษฎายกขึ้นไปถึงเมืองนครลำปาง ก็ให้นายทัพนายกองทั้งปวงยกพลทหารเข้าระดมตีค่ายพม่าซึ่งตั้งล้อมเมือง และสะโดะมหาสิริยอุจนาแม่ทัพกับอาประกามะนีให้พลพม่าออกรบ ได้รบกันแต่เช้าจนเที่ยง ทัพพม่าก็แตกฉาน ทิ้งค่ายเสียพ่ายหนีไปสิ้น ไปตั้งรวบรวมกันอยู่ ณ เมืองเชียงแสน และพระยากาวิละเจ้าเมืองนครลำปาง มีฝีมือเข้มแข็งสู้รบพม่ารักษาเมืองอยู่ตั้งแต่เดือนอ้ายจนถึงเดือนสี่ ทัพพม่าตั้งล้อมอยู่ถึงสี่เดือนจะหักเอาเมืองนครลำปางมิได้ จนทัพกรุงขึ้นไปช่วยทัพพม่าก็แตกหนีไป กรมหลวงจักรเจษฎาและเจ้าพระยามหาเสนา ก็บอกลงมากราบทูลพระกรุณา ณ กรุงเทพมหานครว่า ได้ตีทัพพม่าซึ่งล้อมเมืองนครลำปางนั้นแตกพ่ายหนีไปแล้ว พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบในหนังสือบอกก็ทรงพระโสมนัส ดำรัสให้มีตราหากองทัพกลับยังพระมหานคร