- คำนำ
- บานแผนก
- รายงานทูลเกล้าฯ ถวาย
- บานแผนกเดิม
- ๑. สร้างกรุงรัตนโกสินทร์
- ๒. พระราชพิธีปราบดาภิเษก
- ๓. ประดิษฐานพระราชวงศ์
- ๔. ตั้งข้าราชการวังหลวง
- ๕. แบ่งหัวเมืองขึ้น กลาโหม มหาดไทย กรมท่า
- ๖. ตั้งข้าราชการวังหน้า
- ๗. ตั้งตำแหน่งพระราชาคณะ
- ๘. พงศาวดารเขมร ตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรีจนนักองเองเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ
- ๙. พระราชทานคืนพระบาง และให้เจ้านันทเสนไปครองเมืองล้านช้าง
- ๑๐. องเชียงสือญวนเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
- ๑๑. เรื่องพงศาวดารญวน
- ๑๒. พระยาปังกลิมาเจ้าเมืองกำปอดแข็งเมือง
- ๑๓. พงศาวดารพม่า ตั้งแต่มังหม่องเป็นกบฏ จนพระเจ้าปะดุงได้เมืองยะไข่
- ๑๔. อ้ายกบฏ ๒ คนเข้าวังหน้า
- ๑๕. เจ้าพระยาอภัยภูเบศรไปรั้งเมืองเขมร
- ๑๖. ทัพพระยานครสวรรค์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๑๗. สร้างพระนคร
- ๑๘. สร้างพระราชมนเทียร
- ๑๙. ทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๒๐. สร้างพระมหาปราสาท
- ๒๑. สร้างวัดพระแก้ว
- ๒๒. ตำนานพระแก้วมรกต
- ๒๓. ปฏิสังขรณ์วัดสลัก
- ๒๔. ปิดคลองลัด
- ๒๕. ทำศพเจ้ากรุงธนบุรี
- ๒๖. ได้ช้างสำคัญ
- ๒๗. ลดตำแหน่งพระเจ้านครศรีธรรมราช และตั้งเจ้าพระยานครพัด
- ๒๘. พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
- ๒๙. สมโภชพระนคร
- ๓๐. กรมหลวงอิศรสุนทรเสด็จมาอยู่พระราชวังเดิม
- ๓๑. น้ำมากข้าวแพง
- ๓๒. ศึกพม่าครั้งที่ ๑
- ๓๓. รบพม่าเมืองกาญจนบุรี
- ๓๔. รบพม่าเมืองราชบุรี
- ๓๕. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จแหลมมลายู
- ๓๖. รบพม่าทางเมืองเหนือ
- ๓๗. ตั้งกรมพระราชวังหลัง
- ๓๘. รบพม่าทางแหลมมลายู
- ๓๙. ปราบเมืองมลายู
- ๔๐. หล่อปืนใหญ่
- ๔๑. ตั้งท้าวเทพสตรี ท้าวศรีสุนทร
- ๔๒. สร้างวังเจ้าเขมร
- ๔๓. องเชียงสือหนีจากกรุงเทพฯ
- ๔๔. ศึกพม่าครั้งที่ ๒
- ๔๕. สร้างมณฑปพระพุทธบาท
- ๔๖. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จไปตั้งเมืองเชียงใหม่
- ๔๗. พระราชทานเรือและเครื่องอาวุธช่วยองเชียงสือ
- ๔๘. ทัพหลวงไปตีเมืองทวาย
- ๔๙. ฝรั่งเข้ามาพนันชกมวย
- ๕๐. พระราชทานเรือรบและปืนช่วยองเชียงสือ
- ๕๑. ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่
- ๕๒. องเชียงสือถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๑ พระราชทานกำลังช่วยองเชียงสือ
- ๕๓. ทำสังคายนาพระไตรปิฎก
- ๕๔. องเชียงสือถวายข้าวสาร
- ๕๕. ไฟไหม้พระมหาปราสาท
- ๕๖. ปราบรายาเมืองตานี
- ๕๗. องเชียงสือตั้งตัวเป็นเจ้าอนัมก๊ก ถวายต้นไม้ทองเงินเป็นครั้งที่ ๒
- ๕๘. ทัพเวียงจันทน์รบญวนไกเซิน
- ๕๙. เจ้าอนัมก๊กกล่าวโทษเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์
- ๖๐. แขกเซียะตีเมืองสงขลา
- ๖๑. เจ้าอนัมก๊กถวายเรือรบ และพระราชทานปืนตอบ
- ๖๒. ทัพเวียงจันทน์ตีเมืองหลวงพระบาง
- ๖๓. เมืองทวายสวามิภักดิ์
- ๖๔. เจ้าอนัมก๊กมีศุภอักษรนัดให้ไปตีเมืองตังเกี๋ย
- ๖๕. ทัพพระยายมราชยกไปเมืองทวาย
- ๖๖. ทัพหลวงยกไปเมืองทวาย
- ๖๗. ยกทัพหลวงไปตีเมืองพม่า
- ๖๘. ทวายเป็นกบฏ
- ๖๙. เจ้าอนัมก๊กขอตราให้หัวเมืองช่วยการทัพ และถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๓
- ๗๐. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๗๑. ญวนไกเซินขอเป็นไมตรี
- ๗๒. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (ศุข) ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และนักองเอง
- ๗๓. ตั้งนักองเองออกไปครองกรุงกัมพูชา นักองเองถวายเมืองพระตะบองเสียมราฐ
- ๗๔. ถอดเจ้านครล้านช้าง
- ๗๕. ได้ช้างเผือกพระอินทรไอยรา
- ๗๖. ศึกพม่าครั้งที่ ๓
- ๗๗. เชิญพระพุทธสิหิงก์มากรุงเทพฯ
- ๗๘. กรมพระราชวังบวรฯ ทรงผนวช
- ๗๙. สมเด็จพระนารายณ์รามารับอากับครอบครัวไปเมืองเขมร
- ๘๐. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๔
- ๘๑. การพระเมรุพระบรมอัฐิสมเด็จพระชนกาธิบดี
- ๘๒. เกิดเหตุบาดหมางในระหว่าง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๘๓. สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีพระเจ้ากรุงกัมพูชาพิราลัย
- ๘๔. ข่าวศึกพม่า กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จเมืองเชียงใหม่
- ๘๕. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๕
- ๘๖. ฉลองพระมณฑปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- ๘๗. ข่าวศึกพม่า
- ๘๘. สมเด็จพระพี่นางสิ้นพระชนม์
- ๘๙. โปรดให้กองทัพเขมรไปช่วยเจ้าอนัมก๊ก
- ๙๐. เพลิงไหม้สำเพ็ง
- ๙๑. สร้างและฉลองวัดพระเชตุพน
- ๙๒. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๖
- ๙๓. ได้ช้างเผือกพระเทพกุญชร
- ๙๔. เพลิงไหม้วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์
- ๙๕. เจ้าอนัมก๊กได้เมืองญวนและตั้งตัวเป็นพระเจ้ากรุงเวียตนามยาลอง
- ๙๖. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๙๗. ศึกพม่าครั้งที่ ๔
- ๙๘. นักองจันท์ นักองสงวน เข้ามาเฝ้า
- ๙๙. พระเจ้าเวียตนามถวายของสนองพระคุณ
- ๑๐๐. กองทัพไทยไปตีเมืองเชียงแสน
- ๑๐๑. ตั้งเจ้าเชียงใหม่
- ๑๐๒. ได้ช้างสีทองแดงพระบรมฉัททันต์
- ๑๐๓. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๐๔. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคต
- ๑๐๕. พระราชประวัติกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๐๖. สิ่งซึ่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงสร้าง
- ๑๐๗. เรื่องหม่อมลำดวน หม่อมอินทปัต
- ๑๐๘. เลื่อนกรมขุนเสนานุรักษ์และตั้งกรมขุนพิทักษ์มนตรี
- ๑๐๙. กองทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์กลับจากเมืองเชียงแสน
- ๑๑๐. การพระเมรุกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๑๑. พระเจ้าเวียตนามมีราชสาสน์มาทูลเตือน ให้ตั้งกรมพระราชวังบวรฯ
- ๑๑๒. เกณฑ์ทัพไปตีเมืองเชียงตุง เชียงรุ้ง
- ๑๑๓. ตั้งเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๑๔. ตั้งเจ้าอนุครองเมืองเวียงจันทน์
- ๑๑๕. กรมหลวงเทพหริรักษ์สิ้นพระชนม์
- ๑๑๖. ชำระกฎหมาย
- ๑๑๗. ได้ช้างสำคัญพระบรมนัขมณีและพระบรมคชลักษณ์
- ๑๑๘. ได้เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ้ง และเมืองลื้อ สิบสองปันนา
- ๑๑๙. พระเจ้ากรุงเวียตนามมีราชสาสน์ถวายบรรณาการ
- ๑๒๐. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๒๑. กรมพระราชวังหลังทิวงคต
- ๑๒๒. ตั้งนักองจันท์เป็นสมเด็จพระอุทัยราชาเจ้ากรุงกัมพูชา
- ๑๒๓. พระราชพิธีอุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
- ๑๒๔. ตั้งพระบัณฑูรน้อย และตั้งกรมเจ้านาย
- ๑๒๕. การพระเมรุกรมพระราชวังหลัง
- ๑๒๖. พระเจ้าเวียตนามมีพระราชสาสน์ทรงยินดีในการอุปราชาภิเษก
- ๑๒๗. กรมหลวงจักรเจษฎาสิ้นพระชนม์
- ๑๒๘. ได้ช้างสำคัญ
- ๑๒๙. สมเด็จพระอุทัยทูลขอนักองอี นักองเภา
- ๑๓๐. เชิญพระพุทธรูปพระศรีศากยมุนีมากรุงเทพฯ
- ๑๓๑. ปราบปรามเมืองยิริง
- ๑๓๒. เจ้าฟ้ากรมขุนศรีสุนทรเทพสิ้นพระชนม์
- ๑๓๓. โสกันต์เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๓๔. แห่สระสนานใหญ่แห่พระกฐินและมีกระจาดใหญ่กัณฑ์เทศน์มหาชาติ
- ๑๓๕. ผลประโยชน์แผ่นดิน
- ๑๓๖. วัดที่ได้ทรงปฏิสังขรณ์
- ๑๓๗. พระราชานุกิจ
- ๑๓๘. สมเด็จพระอุทัยราชาเข้ามาเฝ้า
- ๑๓๙. งานสมโภชพระแก้วมรกต
- ๑๔๐. สวรรคต
- ๑๔๑. พระราชประวัติ
- ๑๔๒. เสนาบดีในรัชกาลที่ ๑
- ภาคผนวก
- หมายรับสั่ง เรื่อง ยกประตูพระบรมมหาราชวัง จ.ศ. ๑๑๔๔
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์ไพร่หลวง ไทย มอญ รับแขกเมือง ณ แม่น้ำน้อย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์แห่เรือรับพระบรมสารีริกธาตุจากเมืองทวาย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายกำหนดการ เรื่อง มหาอุปราชาภิเษก จ.ศ. ๑๑๖๘
- หมายกำหนดการ เรื่อง ฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จ.ศ. ๑๑๗๑
๔๓. องเชียงสือหนีจากกรุงเทพฯ
ฝ่ายองเชียงสือญวนตั้งแต่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอยู่ในกรุงเทพฯ เวลาเสด็จพระราชดำเนินการทัพศึก ก็ให้ตามเสด็จไปช่วยราชการบ้าง เวลาเสด็จอยู่ในพระนครก็เข้าเฝ้าแหนและรับราชการบ้าง องเชียงสือได้คิดฝึกหัดซักซ้อมญวนหกญวนรำกระถาง ตั้งสิงห์โตล่อแก้วสำหรับเล่นกลางวันและสิงห์โตคาบแก้วสำหรับเล่นในเวลากลางคืน เป็นการเล่นอย่างญวนเล่นถวายตัว จึงโปรดให้เล่นหน้าพลับพลาในเวลามีการมหรสพเป็นแบบแผนสืบมาจนทุกวันนี้
ครั้นอยู่มาองเชียงสือจึงปรึกษาขุนนางญวนสมัครพรรคพวกของตัวว่า “เราหนีข้าศึกเข้ามาพึ่งพระบรมเดชานุภาพ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระกรุณาโปรดชุบเลี้ยงให้ความสุข แล้วโปรดให้กองทัพยกออกไปตีข้าศึกจะคืนเอาเมืองให้ก็ยังหาสำเร็จไม่ บัดนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็มีพระราชกังวลด้วยการศึกพม่ายังรบพุ่งติดพันกันอยู่ เห็นจะช่วยธุระเรามิได้ ครั้นจะกราบทูลถวายบังคมลาออกไปคิดเอาบ้านเมืองคืนด้วยกำลังตนเอง ก็เกรงพระราชอาชญาอยู่ บางทีจะไม่โปรดให้ไป จะต้องหนีออกไปจึงจะได้” ครั้นปรึกษาเห็นพร้อมด้วยกันแล้ว ก็เขียนหนังสือกราบถวายบังคมลาไว้ที่โต๊ะบูชา จึงสั่งให้องกว้าน องญี่ เอาเรือใหญ่เดิมของตัวไปคอยอยู่ที่เกาะสีชัง ครั้นเวลาค่ำองเชียงสือจึงให้หาตัวนายจันท์ นายอยู่ นายเมือง ตำรวจในสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ ซึ่งเป็นคนชอบพอกันไปเลี้ยงสุราที่เรือนองเชียงสือ ๆ ให้แพรย่นสีทับทิมคนละผืน นายจันท์ นายอยู่ นายเมือง เมาสุราเหลือขนาดไม่รู้สึกสมประดี องเชียงสือก็ให้จับตัว นายจันท์ นายอยู่ นายเมือง มัดมือให้คนหามลงไว้ในท้องเรือ แล้วองเชียงสือพาครอบครัวพวกองเชียงสือกับพวกญวนเก่าที่กรุงเทพฯ ไป องเฮียวเจ้ากรมช่างสลัก๑ องหับเจ้ากรมช่างไม้ ๑ องเกาโล เจ้ากรมช่างหล่อ ๑ รวม ๓ คน ลงเรือถอนสมอรีบแจวไปในเวลากลางคืนวันนั้น เรือ ๔ ลำ คนประมาณ ๑๕๐ เศษ
ในเวลากลางคืนวันนั้น พวกชาวบานซึ่งอยู่ใกล้เคียงทราบความจึงขึ้นมาแจ้งความแก่พระยาพระคลัง พระยาพระคลังจึงนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ให้ทรงทราบ กรมพระราชวังบวร ฯ ทรงขัดเคืองเป็นอันมาก เร่งรีบฝีพายลงเรือพระที่นั่งและเรือข้าราชการได้มาพอสมควรแล้ว ก็รีบเสด็จตามลงไปโดยเร็ว พอรุ่งสว่างแลเห็นเรือองเชียงสือที่ปากอ่าว
ฝ่ายเรือองเชียงสือออกปากอ่าวเมืองสมุทรปราการขัดลมใช้ใบไม่ได้ องเชียงสือจุดธูปเทียนเผากระดาษบูชาเทวดาแล้วตั้งอธิษฐานว่า ถ้าองเชียงสือออกไปจะกระทำศึก คืนเอาบ้านเบืองได้สมความปรารถนาแล้ว ขอให้มีลมพัดส่งให้ได้ไปโดยคล่องสะดวก ลมยังไม่ทันพัดมา องเชียงสือแลเห็นเรือพระที่นั่งข้าราชการตามออกไปเป็นอันมากก็ตกใจ องเชียงสือก็เร่งให้แจวเรือหนี เรือพระที่นั่งเป็นเรือพายก็กระชั้นใกล้เข้าไปทุกที องเชียงสือว่าถ้าหนีไม่พ้น ไทยจับไปได้ครั้งนื้คงจะฆ่าเสีย ถ้าไม่ฆ่าคงจะจำตายในคุก เราเป็นคนไม่มีวาสนาแล้วจะอยู่ไปใยให้หนักแผ่นดิน ว่าแล้วก็ชักดาบออกจะเชือดคอตายเสีย องภูเวกระโดดเข้าชิงดาบในมือองเชียงสือไว้ จนปลายดาบบาดปากองภูเว ๆ จึงว่าท่านจะมาทำตัวตายก่อนไม่สมควร เมื่อจะหนีก็ให้อธิษฐานเสี่ยงทายดูแล้ว ก็แจ้งชัดว่าจะไปได้สำเร็จความปรารถนา บารมีท่านก็ถึงที่จะให้เป็นเจ้าแผ่นดิน แล้วฤดูนี้ก็เป็นลมว่าวพัด มีแต่จะพัดส่งออกไปอย่างเดียว เดี๋ยวนี้ยังเป็นเวลาเช้านักลมยังสงบอยู่ สายสักหน่อยก็จะมีลม พอว่าขาดคำลมว่าวก็พัดมา เรือพวกญวน ๔ ลำ ตั้งแล่นใบตั้งแจวก็ห่างเรือพระที่นั่งออกไป แลไปเห็นเรือพระที่นั่งข้าราชการกลับ องเชียงสือก็มีความยินดี ใช้ใบไปถึงเรือใหญ่ที่เกาะสีชังจึงปรึกษาด้วยองญวนทั้งปวงว่าเราหนีมาได้ทั้งนี้ ก็เพราะพระเจ้าแผ่นดินทรงพระเมตตา ห้ามมิให้ด่านกักขังเรือพวกเราที่ไปมา หากินในท้องทะเลจึงหนีมาได้โดยสะดวก ก็บัดนี้เราจะไปพักอยู่ที่ไหนจะดี องจวงจึงว่า ถ้าไปพักอยู่ที่เกาะกูดเห็นจะดีกว่าที่เกาะอื่น จะลงไปอยู่ที่เกาะโดดก็ใกล้ข้าศึกนัก ด้วยเกาะกูดเป็นแขวงไทย ข้าศึกไม่อาจลาดตระเวนเข้ามา น้ำจืดก็มีบริบูรณ์ องเชียงสือได้ฟังดังนั้นก็เห็นด้วย จึงให้เอาตัวนายจันท์ นายอยู่ นายเมือง ไปเรือลำเดียวกับองเชียงสือเรือเล็ก ๔ ลำ องเฮียวเจ้ากรมช่างสลักไปลำ ๑ องหับเจ้ากรมช่างไม้ไปลำ ๑ องเกาโลเจ้ากรมช่างหล่อไปลำ ๑ เรือขององเชียงสือลำที่ลงไปแต่กรุงเทพฯ นั้น องเชียงสือให้บ่าวไพรองเชียงสือ ไปเข้ากันเป็นเรือ ๕ ลำ ออกเรือใช้ใบไปพร้อมกันในเวลากลางคืนวันนั้น ใช้ใบไป ๗ วัน ถึงเกาะกูด ๆ เวลานั้นหามีผู้คนไม่
ฝ่ายกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เสด็จตามองเชียงสือออกไปไม่ทันก็เสด็จกลับขึ้นมาเข้าเฝ้า กราบทูลว่าไปตามองเชียงสือถึงปากอ่าวพอมีลมว่าวพัดมาตามเรือองเชียงสือหาทันไม่ จะขอรับพระราชทานเรือรบทะเลไปติดตามจับตัวองเชียงสือให้จงได้ พอพวกข้าหลวงไปค้นเรือนองเชียงสือได้หนังสือฉบับ ๑ จึงนำมาถวาย ทรงพระกรุณาให้อ่าน ได้ความว่า “ข้าพระพุทธเจ้าองเชียงสือเข้ามาพึ่งพระบรมบุญญาภินิหาร ทรงพระกรุณาชุบเลี้ยงได้ความสุข บัดนี้มีความวิตกถึงบ้านเมืองนัก ครั้นจะกราบทูลถวายบังคมลากลับออกไปก็เกรงพระราชอาชญา จึงต้องคิดอ่านหนีไปด้วยเป็นความจำเป็น ใช่จะคิดอ่านกบฏกลับมาประทุษร้ายนั้นหามิได้ ขอเป็นข้าทูลละอองธุลีพระบาทไปกว่าจะสิ้นชีวิต ซึ่งถวายบังคมลาไปทั้งนี้ จะไปตั้งส้องสุมเกลี้ยกล่อมผู้คนเข้ามาตีเอาเมืองคืนให้จงได้ แม้ขัดสนปืนกระสุนดินดำเหลือกำลังประการใด ก็จะบอกเข้ามารับพระราชทานปืนกระสุนดินดำ และกองทัพออกไปช่วย กว่าจะสำเร็จการสงคราม คืนเอาบ้านเมืองได้แล้วจะขอเป็นเมืองขึ้นขอบขัณฑสีมาสืบไป” ได้ทรงทราบในหนังสือแล้ว จึงมีพระราชโองการตรัสห้ามสมเด็จพระอนุชาธิราชว่า “อย่ายกทัพไปติดตามจับเขาเลย เขาเห็นว่าเราช่วยธุระเขาไม่ได้ด้วยมีศึกติดพันกันอยู่ เขาจึงหนีไปคิดจะตีเอาบ้านเมืองคืน เรามีคุณแก่เขาเขียนด้วยมือแล้วจะลบด้วยเท้ามิบังควร” สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรฯ จึงกราบทูลว่า “องเชียงสือคนนี้ แม้จะละไว้มิให้ติดตามเอาตัวให้ได้นานไปภายหน้า เมื่อล่วงแผ่นดินนี้ไปแล้ว มันจะทำความลำบากเดือดร้อนแก่ลูกหลานเราเป็นแท้อย่าสงสัยเลย เพราะองเชียงสือเข้ามาอยู่ที่กรุงเทพฯ ก็หลายปี ได้รู้ตื้นลึกหนักเบาในการบ้านเมืองของเราทุกสิ่ง ที่เมืองสมุทรปราการก็ยังไม่มีสิ่งใดที่จะรับรองข้าศึกศัตรูฝ่ายทะเล ถ้าองเชียงสือกลับใจเป็นศัตรูแล้วจะรบยาก ถ้าไม่ทรงพระกรุณาโปรดให้ไปติดตามองเชียงสือแล้ว จะขอรับพระราชทานทำเมืองขึ้นที่ปากลัด ก็ทรงพระกรุณาโปรดอนุญาตให้ทำป้อมขึ้นที่ใต้ลัดต้นโพธิ์ ยังมิทันสำเร็จพอมีศึกพม่ามาอีก