- คำนำ
- บานแผนก
- รายงานทูลเกล้าฯ ถวาย
- บานแผนกเดิม
- ๑. สร้างกรุงรัตนโกสินทร์
- ๒. พระราชพิธีปราบดาภิเษก
- ๓. ประดิษฐานพระราชวงศ์
- ๔. ตั้งข้าราชการวังหลวง
- ๕. แบ่งหัวเมืองขึ้น กลาโหม มหาดไทย กรมท่า
- ๖. ตั้งข้าราชการวังหน้า
- ๗. ตั้งตำแหน่งพระราชาคณะ
- ๘. พงศาวดารเขมร ตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรีจนนักองเองเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ
- ๙. พระราชทานคืนพระบาง และให้เจ้านันทเสนไปครองเมืองล้านช้าง
- ๑๐. องเชียงสือญวนเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
- ๑๑. เรื่องพงศาวดารญวน
- ๑๒. พระยาปังกลิมาเจ้าเมืองกำปอดแข็งเมือง
- ๑๓. พงศาวดารพม่า ตั้งแต่มังหม่องเป็นกบฏ จนพระเจ้าปะดุงได้เมืองยะไข่
- ๑๔. อ้ายกบฏ ๒ คนเข้าวังหน้า
- ๑๕. เจ้าพระยาอภัยภูเบศรไปรั้งเมืองเขมร
- ๑๖. ทัพพระยานครสวรรค์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๑๗. สร้างพระนคร
- ๑๘. สร้างพระราชมนเทียร
- ๑๙. ทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๒๐. สร้างพระมหาปราสาท
- ๒๑. สร้างวัดพระแก้ว
- ๒๒. ตำนานพระแก้วมรกต
- ๒๓. ปฏิสังขรณ์วัดสลัก
- ๒๔. ปิดคลองลัด
- ๒๕. ทำศพเจ้ากรุงธนบุรี
- ๒๖. ได้ช้างสำคัญ
- ๒๗. ลดตำแหน่งพระเจ้านครศรีธรรมราช และตั้งเจ้าพระยานครพัด
- ๒๘. พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
- ๒๙. สมโภชพระนคร
- ๓๐. กรมหลวงอิศรสุนทรเสด็จมาอยู่พระราชวังเดิม
- ๓๑. น้ำมากข้าวแพง
- ๓๒. ศึกพม่าครั้งที่ ๑
- ๓๓. รบพม่าเมืองกาญจนบุรี
- ๓๔. รบพม่าเมืองราชบุรี
- ๓๕. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จแหลมมลายู
- ๓๖. รบพม่าทางเมืองเหนือ
- ๓๗. ตั้งกรมพระราชวังหลัง
- ๓๘. รบพม่าทางแหลมมลายู
- ๓๙. ปราบเมืองมลายู
- ๔๐. หล่อปืนใหญ่
- ๔๑. ตั้งท้าวเทพสตรี ท้าวศรีสุนทร
- ๔๒. สร้างวังเจ้าเขมร
- ๔๓. องเชียงสือหนีจากกรุงเทพฯ
- ๔๔. ศึกพม่าครั้งที่ ๒
- ๔๕. สร้างมณฑปพระพุทธบาท
- ๔๖. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จไปตั้งเมืองเชียงใหม่
- ๔๗. พระราชทานเรือและเครื่องอาวุธช่วยองเชียงสือ
- ๔๘. ทัพหลวงไปตีเมืองทวาย
- ๔๙. ฝรั่งเข้ามาพนันชกมวย
- ๕๐. พระราชทานเรือรบและปืนช่วยองเชียงสือ
- ๕๑. ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่
- ๕๒. องเชียงสือถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๑ พระราชทานกำลังช่วยองเชียงสือ
- ๕๓. ทำสังคายนาพระไตรปิฎก
- ๕๔. องเชียงสือถวายข้าวสาร
- ๕๕. ไฟไหม้พระมหาปราสาท
- ๕๖. ปราบรายาเมืองตานี
- ๕๗. องเชียงสือตั้งตัวเป็นเจ้าอนัมก๊ก ถวายต้นไม้ทองเงินเป็นครั้งที่ ๒
- ๕๘. ทัพเวียงจันทน์รบญวนไกเซิน
- ๕๙. เจ้าอนัมก๊กกล่าวโทษเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์
- ๖๐. แขกเซียะตีเมืองสงขลา
- ๖๑. เจ้าอนัมก๊กถวายเรือรบ และพระราชทานปืนตอบ
- ๖๒. ทัพเวียงจันทน์ตีเมืองหลวงพระบาง
- ๖๓. เมืองทวายสวามิภักดิ์
- ๖๔. เจ้าอนัมก๊กมีศุภอักษรนัดให้ไปตีเมืองตังเกี๋ย
- ๖๕. ทัพพระยายมราชยกไปเมืองทวาย
- ๖๖. ทัพหลวงยกไปเมืองทวาย
- ๖๗. ยกทัพหลวงไปตีเมืองพม่า
- ๖๘. ทวายเป็นกบฏ
- ๖๙. เจ้าอนัมก๊กขอตราให้หัวเมืองช่วยการทัพ และถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๓
- ๗๐. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๗๑. ญวนไกเซินขอเป็นไมตรี
- ๗๒. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (ศุข) ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และนักองเอง
- ๗๓. ตั้งนักองเองออกไปครองกรุงกัมพูชา นักองเองถวายเมืองพระตะบองเสียมราฐ
- ๗๔. ถอดเจ้านครล้านช้าง
- ๗๕. ได้ช้างเผือกพระอินทรไอยรา
- ๗๖. ศึกพม่าครั้งที่ ๓
- ๗๗. เชิญพระพุทธสิหิงก์มากรุงเทพฯ
- ๗๘. กรมพระราชวังบวรฯ ทรงผนวช
- ๗๙. สมเด็จพระนารายณ์รามารับอากับครอบครัวไปเมืองเขมร
- ๘๐. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๔
- ๘๑. การพระเมรุพระบรมอัฐิสมเด็จพระชนกาธิบดี
- ๘๒. เกิดเหตุบาดหมางในระหว่าง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๘๓. สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีพระเจ้ากรุงกัมพูชาพิราลัย
- ๘๔. ข่าวศึกพม่า กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จเมืองเชียงใหม่
- ๘๕. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๕
- ๘๖. ฉลองพระมณฑปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- ๘๗. ข่าวศึกพม่า
- ๘๘. สมเด็จพระพี่นางสิ้นพระชนม์
- ๘๙. โปรดให้กองทัพเขมรไปช่วยเจ้าอนัมก๊ก
- ๙๐. เพลิงไหม้สำเพ็ง
- ๙๑. สร้างและฉลองวัดพระเชตุพน
- ๙๒. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๖
- ๙๓. ได้ช้างเผือกพระเทพกุญชร
- ๙๔. เพลิงไหม้วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์
- ๙๕. เจ้าอนัมก๊กได้เมืองญวนและตั้งตัวเป็นพระเจ้ากรุงเวียตนามยาลอง
- ๙๖. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๙๗. ศึกพม่าครั้งที่ ๔
- ๙๘. นักองจันท์ นักองสงวน เข้ามาเฝ้า
- ๙๙. พระเจ้าเวียตนามถวายของสนองพระคุณ
- ๑๐๐. กองทัพไทยไปตีเมืองเชียงแสน
- ๑๐๑. ตั้งเจ้าเชียงใหม่
- ๑๐๒. ได้ช้างสีทองแดงพระบรมฉัททันต์
- ๑๐๓. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๐๔. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคต
- ๑๐๕. พระราชประวัติกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๐๖. สิ่งซึ่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงสร้าง
- ๑๐๗. เรื่องหม่อมลำดวน หม่อมอินทปัต
- ๑๐๘. เลื่อนกรมขุนเสนานุรักษ์และตั้งกรมขุนพิทักษ์มนตรี
- ๑๐๙. กองทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์กลับจากเมืองเชียงแสน
- ๑๑๐. การพระเมรุกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๑๑. พระเจ้าเวียตนามมีราชสาสน์มาทูลเตือน ให้ตั้งกรมพระราชวังบวรฯ
- ๑๑๒. เกณฑ์ทัพไปตีเมืองเชียงตุง เชียงรุ้ง
- ๑๑๓. ตั้งเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๑๔. ตั้งเจ้าอนุครองเมืองเวียงจันทน์
- ๑๑๕. กรมหลวงเทพหริรักษ์สิ้นพระชนม์
- ๑๑๖. ชำระกฎหมาย
- ๑๑๗. ได้ช้างสำคัญพระบรมนัขมณีและพระบรมคชลักษณ์
- ๑๑๘. ได้เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ้ง และเมืองลื้อ สิบสองปันนา
- ๑๑๙. พระเจ้ากรุงเวียตนามมีราชสาสน์ถวายบรรณาการ
- ๑๒๐. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๒๑. กรมพระราชวังหลังทิวงคต
- ๑๒๒. ตั้งนักองจันท์เป็นสมเด็จพระอุทัยราชาเจ้ากรุงกัมพูชา
- ๑๒๓. พระราชพิธีอุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
- ๑๒๔. ตั้งพระบัณฑูรน้อย และตั้งกรมเจ้านาย
- ๑๒๕. การพระเมรุกรมพระราชวังหลัง
- ๑๒๖. พระเจ้าเวียตนามมีพระราชสาสน์ทรงยินดีในการอุปราชาภิเษก
- ๑๒๗. กรมหลวงจักรเจษฎาสิ้นพระชนม์
- ๑๒๘. ได้ช้างสำคัญ
- ๑๒๙. สมเด็จพระอุทัยทูลขอนักองอี นักองเภา
- ๑๓๐. เชิญพระพุทธรูปพระศรีศากยมุนีมากรุงเทพฯ
- ๑๓๑. ปราบปรามเมืองยิริง
- ๑๓๒. เจ้าฟ้ากรมขุนศรีสุนทรเทพสิ้นพระชนม์
- ๑๓๓. โสกันต์เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๓๔. แห่สระสนานใหญ่แห่พระกฐินและมีกระจาดใหญ่กัณฑ์เทศน์มหาชาติ
- ๑๓๕. ผลประโยชน์แผ่นดิน
- ๑๓๖. วัดที่ได้ทรงปฏิสังขรณ์
- ๑๓๗. พระราชานุกิจ
- ๑๓๘. สมเด็จพระอุทัยราชาเข้ามาเฝ้า
- ๑๓๙. งานสมโภชพระแก้วมรกต
- ๑๔๐. สวรรคต
- ๑๔๑. พระราชประวัติ
- ๑๔๒. เสนาบดีในรัชกาลที่ ๑
- ภาคผนวก
- หมายรับสั่ง เรื่อง ยกประตูพระบรมมหาราชวัง จ.ศ. ๑๑๔๔
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์ไพร่หลวง ไทย มอญ รับแขกเมือง ณ แม่น้ำน้อย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์แห่เรือรับพระบรมสารีริกธาตุจากเมืองทวาย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายกำหนดการ เรื่อง มหาอุปราชาภิเษก จ.ศ. ๑๑๖๘
- หมายกำหนดการ เรื่อง ฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จ.ศ. ๑๑๗๑
๔๖. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จไปตั้งเมืองเชียงใหม่
ลุจุลศักราช ๑๑๔๙[๕๑] ปีมะแม นพศก ในครั้งนั้นเมืองเชียงแสนยังอยู่ในอำนาจพม่า พระเจ้าอังวะให้อาประกามะนีคุมพล ๓,๐๐๐ อยู่รักษาเมืองเชียงแสน แล้วแต่งให้ปันยิเวชอกับลุยตองเวระจอแทงถือพล ๒,๐๐๐ เป็นกองหน้า ให้จอข้องนระทาเป็นแม่ทัพใหญ่ถือพล ๔,๕๐๐ มาสมทบกับกองทัพอาประกามะนี ณ เมืองเชียงแสน ยกมาตีเมืองฝาง (ลาว) อยู่ฝ่ายเหนือเมืองเชียงใหม่ ซึ่งยังแข็งเมืองมิได้ไปอ่อนน้อมแก่พม่า อาประกามะนีผู้รักษาเมืองเชียงแสน ได้พลพม่ามาสมทบกองทัพจอข้องนระทาแต่ ๕๐๐ คน พลพม่าหลบหนีไปเสียจากเมืองเชียงแสนแต่ก่อนนั้นถึง ๒,๕๐๐ คน ครั้นกองทัพพม่าตีได้เมืองฝางแล้ว จอข้องนระทาจึงให้อาประกามะนีกลับไปรักษาเมืองเชียงแสนอยู่ดังเก่า ส่วนกองทัพจอข้องนระทานั้น ก็ตั้งทำนาสะสมเสบียงอาหารอยู่ที่เมืองฝาง
ในขณะนั้นพระยาแพร่ผู้ชื่อว่ามังไชย ซึ่งพม่าจับตัวไปไห้แต่เมื่อทัพอะแซหวุ่นกี้ยกมาตีเมืองพิษณุโลก ในปีมะแม สัปตศก จุลศักราช ๑๑๓๗[๕๒] ปีนั้น และครั้งเมื่อสะโดะมหาสิริยอุจนา ยกทัพมาตีเมืองนครลำปาง และเมืองเหนือทั้งปวง เมื่อปีมะเส็ง สัปตศก จุลศักราช ๑๑๔๗[๕๓] ก็ได้มากับกองทัพพม่าด้วย ครั้นทัพพม่าแตกกลับไปแล้ว จึงให้พระยาแพร่อยู่ ณ เมืองยอง และพระยาแพร่ยังมีจิตคิดสวามิภักดิ์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรุงเทพฯ มิได้ยอมอยู่เป็นข้าพม่าโดยสุจริต จึงคิดอ่านชักชวนพระยายองยอมเข้าด้วย แล้วยกกองทัพไปตีเมืองเชียงแสน ฝ่ายอาประกามะนีเจ้าเมืองมีไพร่พลพม่าน้อยตัวเห็นจะสู้รบรักษาเมืองไว้มิได้ ก็พาพรรคพวกหนีมาหาพระยาเชียงราย พระยาแพร่ พระยายองก็ยกติดตามมา ณ เมืองเชียงราย พระยาเชียงราย กลับเข้ากับพระยาแพร่ พระยายอง ด้วยเป็นชาติเดียวกัน จับตัวอาประกามะนีพม่าเจ้าเมืองเชียงแสน ส่งให้พระยาแพร่ พระยายอง แล้วบอกส่งมายังพระยากาวิละเจ้าเมืองนครลำปาง พระยากาวิละเจ้าเมืองนครลำปางบอกส่งพระยาแพร่ พระยายอง กับทั้งจำอาประกามะนี พม่าลงมาถวาย ณ กรุงเทพมหานคร กราบทูลพระกรุณาให้ทรงทราบว่า พระยาแพร่ซึ่งพม่าจับไปได้นั้น บัดนี้หนีพม่ากลับมาได้แล้วชักชวนพระยายองมาด้วย ทั้งจับตัวอาประกามะนีเจ้าเมืองเชียงแสนมาถวายมีความชอบเป็นอันมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและกรมพระราชวังบวร ฯ ก็ทรงพระโสมนัสดำรัสให้เอาตัวอาประกามะนีจำคุกไว้ แล้วพระราชทานบำเหน็จรางวัลแก่พระยาแพร่ พระยายองสมควรแก่ความชอบ แต่ทรงพระราชดำริยังแคลงพระยาแพร่อยู่ด้วยไปอยู่กับพม่านานแล้วเกรงจะมาเป็นกลอุบาย ครั้นจะให้กลับขึ้นไปครองเมืองแพร่ตามเดิมเล่าก็ยังมิวางพระราชหฤทัย จึงโปรดพระราชทานบ้านเรือนให้อยู่ทำราชการในพระนคร แต่พระยายองนั้นโปรดให้ขึ้นไปอยู่ช่วยราชการด้วยพระยากาวิละที่เมืองนครลำปาง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชดำรัสปรึกษาด้วยสมเด็จพระอนุชาธิราชว่า เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองใหญ่ยังร้างอยู่ หาผู้คนจะอยู่รักษามิได้ พม่าได้เมืองฝางแล้วเกลือกจะมาตั้งเมืองเชียงใหม่เอาเป็นที่มั่น จึงมีพระราชโองการโปรดให้สมเด็จพระอนุชาธิราช เสด็จขึ้นไปจัดการตั้งเมืองเชียงใหม่ ให้เอาพระยากาวิละเจ้าเมืองนครลำปางไปครองเมืองเชียงใหม่ ด้วยพระยากาวิละมีฝีมือเข้มแข็งในการสงคราม จะได้ป้องกันรักษาพระราชอาณาเขตในมลาวฝ่ายประเทศตะวันตกเฉียงเหนือ อย่าให้ปัจจามิตรมาย่ำยีบีฑาได้ พอมีหนังสือบอกเมืองนครลำปางซ้ำลงมาอีกฉบับหนึ่งว่า ได้ทราบข่าวว่าจอข้องนระทาแม่ทัพพม่าซึ่งตั้งอยู่ ณ เมืองฝางจะยกกองทัพมาตีเมืองนครลำปาง เอาตัวอาประกามะนีและพระยาแพร่ พระยายองให้จงได้ สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ก็กราบถวายบังคมเสด็จยาตราพยุหนาวาทัพจากกรุงเทพมหานคร โดยทางชลมารคขึ้นไปยังเมืองตาก แล้วเสด็จพระราชดำเนินทัพบกไปถึงเมืองนครลำปาง ตั้งค่ายหลวงประทับอยู่นอกเมืองและทัพพม่าก็หายกมาไม่ จึงมีพระราชบัณฑูรดำรัสให้พระยากาวิละ จัดหาครอบครัวชาวเมืองเชียงใหม่เดิม ซึ่งไปอาศัยอยู่ ณ เมืองนครลำปางนั้น ให้ยกกลับขึ้นไปอยู่ ณ เมืองเชียงใหม่ดังเก่า แล้วโปรดตั้งพระยากาวิละเป็นพระยาเชียงใหม่ ให้นายน้อยธรรมผู้น้องที่ ๒ เป็นพระยาอุปราช ให้นายพุทธสารผู้เป็นญาติวงศ์ของพระยากาวิละ ฝ่ายข้างมารดานั้น เป็นพระยาราชวงศ์ ขึ้นไปอยู่รักษาเมืองเชียงใหม่ พระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภคเป็นอันมาก และพระยาเชียงใหม่ พระยาอุปราช พระยาราชวงศ์ ก็กราบถวายบังคมลายกครอบครัวชาวเมืองทั้งปวงขึ้นไปตั้งอยู่ ณ เมืองเชียงใหม่ตามรับสั่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดตั้งคำโสมผู้น้องรองพระยากาวิละ เป็นพระยานครลำปางแทน ให้ดวงทิพผู้น้องที่ ๓ เป็นพระยาอุปราช ให้หมูล่าผู้น้องที่ ๔ ที่เป็นพระยาราชวงศ์ ให้รักษาเมืองนครลำปางสืบไป พระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภคเหมือนตั้งเมืองเชียงใหม่นั้น แต่เมืองลำพูนว่างอยู่ ด้วยผู้คนยังเบาบางระส่ำระสาย จะแบ่งไปตั้งยังมิได้ก่อน