- คำนำ
- บานแผนก
- รายงานทูลเกล้าฯ ถวาย
- บานแผนกเดิม
- ๑. สร้างกรุงรัตนโกสินทร์
- ๒. พระราชพิธีปราบดาภิเษก
- ๓. ประดิษฐานพระราชวงศ์
- ๔. ตั้งข้าราชการวังหลวง
- ๕. แบ่งหัวเมืองขึ้น กลาโหม มหาดไทย กรมท่า
- ๖. ตั้งข้าราชการวังหน้า
- ๗. ตั้งตำแหน่งพระราชาคณะ
- ๘. พงศาวดารเขมร ตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรีจนนักองเองเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ
- ๙. พระราชทานคืนพระบาง และให้เจ้านันทเสนไปครองเมืองล้านช้าง
- ๑๐. องเชียงสือญวนเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
- ๑๑. เรื่องพงศาวดารญวน
- ๑๒. พระยาปังกลิมาเจ้าเมืองกำปอดแข็งเมือง
- ๑๓. พงศาวดารพม่า ตั้งแต่มังหม่องเป็นกบฏ จนพระเจ้าปะดุงได้เมืองยะไข่
- ๑๔. อ้ายกบฏ ๒ คนเข้าวังหน้า
- ๑๕. เจ้าพระยาอภัยภูเบศรไปรั้งเมืองเขมร
- ๑๖. ทัพพระยานครสวรรค์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๑๗. สร้างพระนคร
- ๑๘. สร้างพระราชมนเทียร
- ๑๙. ทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๒๐. สร้างพระมหาปราสาท
- ๒๑. สร้างวัดพระแก้ว
- ๒๒. ตำนานพระแก้วมรกต
- ๒๓. ปฏิสังขรณ์วัดสลัก
- ๒๔. ปิดคลองลัด
- ๒๕. ทำศพเจ้ากรุงธนบุรี
- ๒๖. ได้ช้างสำคัญ
- ๒๗. ลดตำแหน่งพระเจ้านครศรีธรรมราช และตั้งเจ้าพระยานครพัด
- ๒๘. พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
- ๒๙. สมโภชพระนคร
- ๓๐. กรมหลวงอิศรสุนทรเสด็จมาอยู่พระราชวังเดิม
- ๓๑. น้ำมากข้าวแพง
- ๓๒. ศึกพม่าครั้งที่ ๑
- ๓๓. รบพม่าเมืองกาญจนบุรี
- ๓๔. รบพม่าเมืองราชบุรี
- ๓๕. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จแหลมมลายู
- ๓๖. รบพม่าทางเมืองเหนือ
- ๓๗. ตั้งกรมพระราชวังหลัง
- ๓๘. รบพม่าทางแหลมมลายู
- ๓๙. ปราบเมืองมลายู
- ๔๐. หล่อปืนใหญ่
- ๔๑. ตั้งท้าวเทพสตรี ท้าวศรีสุนทร
- ๔๒. สร้างวังเจ้าเขมร
- ๔๓. องเชียงสือหนีจากกรุงเทพฯ
- ๔๔. ศึกพม่าครั้งที่ ๒
- ๔๕. สร้างมณฑปพระพุทธบาท
- ๔๖. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จไปตั้งเมืองเชียงใหม่
- ๔๗. พระราชทานเรือและเครื่องอาวุธช่วยองเชียงสือ
- ๔๘. ทัพหลวงไปตีเมืองทวาย
- ๔๙. ฝรั่งเข้ามาพนันชกมวย
- ๕๐. พระราชทานเรือรบและปืนช่วยองเชียงสือ
- ๕๑. ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่
- ๕๒. องเชียงสือถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๑ พระราชทานกำลังช่วยองเชียงสือ
- ๕๓. ทำสังคายนาพระไตรปิฎก
- ๕๔. องเชียงสือถวายข้าวสาร
- ๕๕. ไฟไหม้พระมหาปราสาท
- ๕๖. ปราบรายาเมืองตานี
- ๕๗. องเชียงสือตั้งตัวเป็นเจ้าอนัมก๊ก ถวายต้นไม้ทองเงินเป็นครั้งที่ ๒
- ๕๘. ทัพเวียงจันทน์รบญวนไกเซิน
- ๕๙. เจ้าอนัมก๊กกล่าวโทษเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์
- ๖๐. แขกเซียะตีเมืองสงขลา
- ๖๑. เจ้าอนัมก๊กถวายเรือรบ และพระราชทานปืนตอบ
- ๖๒. ทัพเวียงจันทน์ตีเมืองหลวงพระบาง
- ๖๓. เมืองทวายสวามิภักดิ์
- ๖๔. เจ้าอนัมก๊กมีศุภอักษรนัดให้ไปตีเมืองตังเกี๋ย
- ๖๕. ทัพพระยายมราชยกไปเมืองทวาย
- ๖๖. ทัพหลวงยกไปเมืองทวาย
- ๖๗. ยกทัพหลวงไปตีเมืองพม่า
- ๖๘. ทวายเป็นกบฏ
- ๖๙. เจ้าอนัมก๊กขอตราให้หัวเมืองช่วยการทัพ และถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๓
- ๗๐. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๗๑. ญวนไกเซินขอเป็นไมตรี
- ๗๒. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (ศุข) ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และนักองเอง
- ๗๓. ตั้งนักองเองออกไปครองกรุงกัมพูชา นักองเองถวายเมืองพระตะบองเสียมราฐ
- ๗๔. ถอดเจ้านครล้านช้าง
- ๗๕. ได้ช้างเผือกพระอินทรไอยรา
- ๗๖. ศึกพม่าครั้งที่ ๓
- ๗๗. เชิญพระพุทธสิหิงก์มากรุงเทพฯ
- ๗๘. กรมพระราชวังบวรฯ ทรงผนวช
- ๗๙. สมเด็จพระนารายณ์รามารับอากับครอบครัวไปเมืองเขมร
- ๘๐. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๔
- ๘๑. การพระเมรุพระบรมอัฐิสมเด็จพระชนกาธิบดี
- ๘๒. เกิดเหตุบาดหมางในระหว่าง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๘๓. สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีพระเจ้ากรุงกัมพูชาพิราลัย
- ๘๔. ข่าวศึกพม่า กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จเมืองเชียงใหม่
- ๘๕. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๕
- ๘๖. ฉลองพระมณฑปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- ๘๗. ข่าวศึกพม่า
- ๘๘. สมเด็จพระพี่นางสิ้นพระชนม์
- ๘๙. โปรดให้กองทัพเขมรไปช่วยเจ้าอนัมก๊ก
- ๙๐. เพลิงไหม้สำเพ็ง
- ๙๑. สร้างและฉลองวัดพระเชตุพน
- ๙๒. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๖
- ๙๓. ได้ช้างเผือกพระเทพกุญชร
- ๙๔. เพลิงไหม้วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์
- ๙๕. เจ้าอนัมก๊กได้เมืองญวนและตั้งตัวเป็นพระเจ้ากรุงเวียตนามยาลอง
- ๙๖. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๙๗. ศึกพม่าครั้งที่ ๔
- ๙๘. นักองจันท์ นักองสงวน เข้ามาเฝ้า
- ๙๙. พระเจ้าเวียตนามถวายของสนองพระคุณ
- ๑๐๐. กองทัพไทยไปตีเมืองเชียงแสน
- ๑๐๑. ตั้งเจ้าเชียงใหม่
- ๑๐๒. ได้ช้างสีทองแดงพระบรมฉัททันต์
- ๑๐๓. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๐๔. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคต
- ๑๐๕. พระราชประวัติกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๐๖. สิ่งซึ่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงสร้าง
- ๑๐๗. เรื่องหม่อมลำดวน หม่อมอินทปัต
- ๑๐๘. เลื่อนกรมขุนเสนานุรักษ์และตั้งกรมขุนพิทักษ์มนตรี
- ๑๐๙. กองทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์กลับจากเมืองเชียงแสน
- ๑๑๐. การพระเมรุกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๑๑. พระเจ้าเวียตนามมีราชสาสน์มาทูลเตือน ให้ตั้งกรมพระราชวังบวรฯ
- ๑๑๒. เกณฑ์ทัพไปตีเมืองเชียงตุง เชียงรุ้ง
- ๑๑๓. ตั้งเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๑๔. ตั้งเจ้าอนุครองเมืองเวียงจันทน์
- ๑๑๕. กรมหลวงเทพหริรักษ์สิ้นพระชนม์
- ๑๑๖. ชำระกฎหมาย
- ๑๑๗. ได้ช้างสำคัญพระบรมนัขมณีและพระบรมคชลักษณ์
- ๑๑๘. ได้เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ้ง และเมืองลื้อ สิบสองปันนา
- ๑๑๙. พระเจ้ากรุงเวียตนามมีราชสาสน์ถวายบรรณาการ
- ๑๒๐. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๒๑. กรมพระราชวังหลังทิวงคต
- ๑๒๒. ตั้งนักองจันท์เป็นสมเด็จพระอุทัยราชาเจ้ากรุงกัมพูชา
- ๑๒๓. พระราชพิธีอุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
- ๑๒๔. ตั้งพระบัณฑูรน้อย และตั้งกรมเจ้านาย
- ๑๒๕. การพระเมรุกรมพระราชวังหลัง
- ๑๒๖. พระเจ้าเวียตนามมีพระราชสาสน์ทรงยินดีในการอุปราชาภิเษก
- ๑๒๗. กรมหลวงจักรเจษฎาสิ้นพระชนม์
- ๑๒๘. ได้ช้างสำคัญ
- ๑๒๙. สมเด็จพระอุทัยทูลขอนักองอี นักองเภา
- ๑๓๐. เชิญพระพุทธรูปพระศรีศากยมุนีมากรุงเทพฯ
- ๑๓๑. ปราบปรามเมืองยิริง
- ๑๓๒. เจ้าฟ้ากรมขุนศรีสุนทรเทพสิ้นพระชนม์
- ๑๓๓. โสกันต์เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๓๔. แห่สระสนานใหญ่แห่พระกฐินและมีกระจาดใหญ่กัณฑ์เทศน์มหาชาติ
- ๑๓๕. ผลประโยชน์แผ่นดิน
- ๑๓๖. วัดที่ได้ทรงปฏิสังขรณ์
- ๑๓๗. พระราชานุกิจ
- ๑๓๘. สมเด็จพระอุทัยราชาเข้ามาเฝ้า
- ๑๓๙. งานสมโภชพระแก้วมรกต
- ๑๔๐. สวรรคต
- ๑๔๑. พระราชประวัติ
- ๑๔๒. เสนาบดีในรัชกาลที่ ๑
- ภาคผนวก
- หมายรับสั่ง เรื่อง ยกประตูพระบรมมหาราชวัง จ.ศ. ๑๑๔๔
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์ไพร่หลวง ไทย มอญ รับแขกเมือง ณ แม่น้ำน้อย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์แห่เรือรับพระบรมสารีริกธาตุจากเมืองทวาย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายกำหนดการ เรื่อง มหาอุปราชาภิเษก จ.ศ. ๑๑๖๘
- หมายกำหนดการ เรื่อง ฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จ.ศ. ๑๑๗๑
๑๑๘. ได้เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ้ง และเมืองลื้อ สิบสองปันนา
ครั้นมาถึง ณ เดือน ๖ ปีฉลู สัปตศก จุลศักราช ๑๑๖๗ มีหนังสือเมืองเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองแพร่ บอกลงมาว่า กองทัพยกไปถึงเมืองยอง ณ เดือน ๔ ข้างขึ้น ปีชวด ฉศก พระยายองมิให้ต่อสู้ ออกมาอ่อนน้อมขอเป็นข้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว แต่เมืองเชียงตุงนั้นเจ้าเมืองเชียงตุงยอมเข้าสวามิภักดิ์ จึงมิได้ยกเข้าตี พระยาเชียงตุงลงมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงเทพฯ ให้มหาขนานผู้น้องอยู่รักษาเมือง ครั้นกองทัพยกขึ้นไปตีเมืองยองจำนวนคนในเมืองยองซึ่งยกออกหากองทัพเมืองเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองแพร่ เมืองน่านนั้น เป็นคนชายหญิงใหญ่น้อยประมาณ ๑๐,๐๐๐ เศษ ปืนใหญ่น้อย ๑,๐๐๐ เศษ ช้างม้าเป็นอันมาก ฝ่ายหัวเมืองขึ้นกับเมืองยองก็เข้าหากองทัพทั้งสิ้น แต่ว่ายังหาได้จำนวนคนและปืนช้างม้ามากน้อยเท่าใดไม่ กองทัพยังจะยกมาตีเมืองแรมต่อไปอีก ฝ่ายกองทัพเมืองน่าน เมืองหลวงพระบางบอกลงมาว่า ครั้นยกกองทัพขึ้นไปถึงเมืองหลวง เมืองภูคา เจ้าเมืองภูคาออกหากองทัพแล้ว ตัวเจ้าเมืองหลวงนั้นขึ้นไปอยู่เมืองมาง แชวงเมืองพงยังหากลับมาไม่ ครั้นกองทัพยกขึ้นไปตีเมืองพง เจ้าเมืองพงยกหนีขึ้นไปอยู่เมืองนูน เมืองรำ และเจ้าเมืองนูน เจ้าเมืองรำกับเจ้าเมืองพง เจ้าเมืองขอน เจ้าเมืองล่าพากันยกหนีขึ้นไปอยู่เมืองเชียงรุ้งทั้งสิ้น ครั้นกองทัพยกขึ้นไปตีเมืองเชียงรุ้ง เดชะพระบารมีพระบรมราชกฤษฎาภินิหาร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจ้าเมืองเชียงรุ้งมิได้ต่อสู้ แต่งให้นามวงศ์กับพระยาคำลือเจ้าเมืองล่า พระยาพาบเจ้าเมืองพง เจ้าเมืองนูน เจ้าเมืองขอน เจ้าเมืองรำ ซึ่งหนีกองทัพไปอยู่เมืองเชียงรุ้ง ถือหนังสือมาเข้าด้วยกองทัพ สวามิภักดิ์เป็นข้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอพึ่งพระบรมเดชานุภาพสืบไป ฝ่ายเจ้าเมืองเชียงแข็งรู้ว่าเจ้าเมืองเชียงรุ้งออกหากองทัพแล้ว กลัวกองทัพจะยกไปตี จึงคิดฆ่าพม่าซึ่งอยู่ในเมืองเชียงแข็งเสียเป็นอันมาก แล้วมีหนังสือมาขอสวามิภักดิ์ด้วยกองทัพอีกเมือง ๑ และกองทัพเจ้าฟ้าเมืองน่านยกขึ้นไปครั้งนี้ตีได้เมืองใหญ่น้อย ๑๑-๑๒ หัวเมือง ได้ครอบครัวชายหญิงใหญ่น้อยประมาณ ๔๐,๐๐๐-๕๐,๐๐๐ เศษ กับปืนใหญ่น้อยเครื่องศาสตราวุธช้างม้าเป็นอันมาก และเมืองลาวฟากตะวันออกแม่น้ำโขงซึ่งขึ้นแก่พม่านั้น เมืองนครลำปาง เมืองเชียงใหม่ เมืองเวียงจันทน์ เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองเถิน เมืองหลวงพระบาง และหัวเมืองฝ่ายเหนือซึ่งยกขึ้นไปครั้งนี้ตีได้สิ้นแล้ว เป็นเมืองใหญ่เมืองน้อย ๔๐ เมือง ได้ครอบครัวชายหญิงใหญ่น้อยประมาณ ๖๐,๐๐๐-๗๐,๐๐๐ เศษ กำหนดจะได้กลับทัพกวาดครอบครัวลงมา ณ เดือน ๖ ข้างแรม ฝ่ายพระยาเชียงตุงจะกลับไปเมืองก็ไม่ได้ด้วยพม่ายกมารักษาอยู่ ตั้งมหาขนานผู้น้องเป็นเจ้าเมืองเสียแล้ว พระยาเชียงตุงจึงได้ตกอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ ศึกครั้งนั้นเมืองพม่ามีเหตุสิ่งไรก็ไม่แจ้ง จึงมิได้ยกมาช่วยเมืองขึ้นของพม่า ฝ่ายนายทัพนายกองครั้นเลิกกองทัพกลับมาบ้านเมืองก็พาเจ้าแสนหวีฟ้า ท้าวพระยาเมืองลื้อสิบสองปันนา กับหัวเมืองลาวที่ยอมสวามิภักดิ์โดยดีลงมาเฝ้าเป็นอันมาก ถวายเครื่องราชบรรณาการ ช้างม้า สิ่งของต่างๆ ขอเป็นเมืองขึ้นถวายต้นไม้ทองเงินแล้วโปรดพระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภคท้าวพระยาลาวเป็นอันมาก จึงทรงพระราชดำริว่าหัวเมืองเหล่านี้ ถึงจะสวามิภักดิ์ได้ไว้เป็นเมืองขึ้นก็คงจะรักษาไว้ไม่ได้ด้วยใกล้เคียงเมืองพม่า เมืองจีนนัก มีการศึกมาแล้วจะยกไปช่วยก็ไม่ทันท่วงทีราชการ ถ้าพม่าและจีนยกมาก็คงจะกลับใจไปขึ้นดังเก่า ครั้นจะเอาครอบครัวไว้ในบ้านเมืองเรา เขาก็ไม่มีความผิดสิ่งไร ไม่ได้สู้รบยอมสวามิภักดิ์โดยดี จะทำดังนั้นก็เป็นอันธพาลไป หาเป็นยุติธรรมไม่ จึงโปรดให้ปล่อยเจ้าแสนหวีฟ้าและท้าวพระยาเจ้าเมืองต่าง ๆ กับครอบครัวกลับขึ้นไปบ้านเมืองทั้งสิ้น ครั้งนั้นพระเกียรติยศก็แผ่ผ้านไปทั้ง ๔ ทิศ คือมีเมืองประเทศราชลาวพุงดำ ลาวลือ ลาวพุงขาว ทั้งสิ้น มาจนถึงเขมร กัมพูชา เมืองแขก เมืองปักษ์ใต้ พระราชอาณาจักรกว้างขวางยิ่งกว่าพระเจ้าแผ่นดินครั้งกรุงเก่า เว้นเสียแต่เมืองทวาย เมืองตะนาว เมืองมะริด ได้แล้วกลับคืนไปเสีย