- คำนำ
- บานแผนก
- รายงานทูลเกล้าฯ ถวาย
- บานแผนกเดิม
- ๑. สร้างกรุงรัตนโกสินทร์
- ๒. พระราชพิธีปราบดาภิเษก
- ๓. ประดิษฐานพระราชวงศ์
- ๔. ตั้งข้าราชการวังหลวง
- ๕. แบ่งหัวเมืองขึ้น กลาโหม มหาดไทย กรมท่า
- ๖. ตั้งข้าราชการวังหน้า
- ๗. ตั้งตำแหน่งพระราชาคณะ
- ๘. พงศาวดารเขมร ตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรีจนนักองเองเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ
- ๙. พระราชทานคืนพระบาง และให้เจ้านันทเสนไปครองเมืองล้านช้าง
- ๑๐. องเชียงสือญวนเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
- ๑๑. เรื่องพงศาวดารญวน
- ๑๒. พระยาปังกลิมาเจ้าเมืองกำปอดแข็งเมือง
- ๑๓. พงศาวดารพม่า ตั้งแต่มังหม่องเป็นกบฏ จนพระเจ้าปะดุงได้เมืองยะไข่
- ๑๔. อ้ายกบฏ ๒ คนเข้าวังหน้า
- ๑๕. เจ้าพระยาอภัยภูเบศรไปรั้งเมืองเขมร
- ๑๖. ทัพพระยานครสวรรค์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๑๗. สร้างพระนคร
- ๑๘. สร้างพระราชมนเทียร
- ๑๙. ทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๒๐. สร้างพระมหาปราสาท
- ๒๑. สร้างวัดพระแก้ว
- ๒๒. ตำนานพระแก้วมรกต
- ๒๓. ปฏิสังขรณ์วัดสลัก
- ๒๔. ปิดคลองลัด
- ๒๕. ทำศพเจ้ากรุงธนบุรี
- ๒๖. ได้ช้างสำคัญ
- ๒๗. ลดตำแหน่งพระเจ้านครศรีธรรมราช และตั้งเจ้าพระยานครพัด
- ๒๘. พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
- ๒๙. สมโภชพระนคร
- ๓๐. กรมหลวงอิศรสุนทรเสด็จมาอยู่พระราชวังเดิม
- ๓๑. น้ำมากข้าวแพง
- ๓๒. ศึกพม่าครั้งที่ ๑
- ๓๓. รบพม่าเมืองกาญจนบุรี
- ๓๔. รบพม่าเมืองราชบุรี
- ๓๕. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จแหลมมลายู
- ๓๖. รบพม่าทางเมืองเหนือ
- ๓๗. ตั้งกรมพระราชวังหลัง
- ๓๘. รบพม่าทางแหลมมลายู
- ๓๙. ปราบเมืองมลายู
- ๔๐. หล่อปืนใหญ่
- ๔๑. ตั้งท้าวเทพสตรี ท้าวศรีสุนทร
- ๔๒. สร้างวังเจ้าเขมร
- ๔๓. องเชียงสือหนีจากกรุงเทพฯ
- ๔๔. ศึกพม่าครั้งที่ ๒
- ๔๕. สร้างมณฑปพระพุทธบาท
- ๔๖. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จไปตั้งเมืองเชียงใหม่
- ๔๗. พระราชทานเรือและเครื่องอาวุธช่วยองเชียงสือ
- ๔๘. ทัพหลวงไปตีเมืองทวาย
- ๔๙. ฝรั่งเข้ามาพนันชกมวย
- ๕๐. พระราชทานเรือรบและปืนช่วยองเชียงสือ
- ๕๑. ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่
- ๕๒. องเชียงสือถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๑ พระราชทานกำลังช่วยองเชียงสือ
- ๕๓. ทำสังคายนาพระไตรปิฎก
- ๕๔. องเชียงสือถวายข้าวสาร
- ๕๕. ไฟไหม้พระมหาปราสาท
- ๕๖. ปราบรายาเมืองตานี
- ๕๗. องเชียงสือตั้งตัวเป็นเจ้าอนัมก๊ก ถวายต้นไม้ทองเงินเป็นครั้งที่ ๒
- ๕๘. ทัพเวียงจันทน์รบญวนไกเซิน
- ๕๙. เจ้าอนัมก๊กกล่าวโทษเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์
- ๖๐. แขกเซียะตีเมืองสงขลา
- ๖๑. เจ้าอนัมก๊กถวายเรือรบ และพระราชทานปืนตอบ
- ๖๒. ทัพเวียงจันทน์ตีเมืองหลวงพระบาง
- ๖๓. เมืองทวายสวามิภักดิ์
- ๖๔. เจ้าอนัมก๊กมีศุภอักษรนัดให้ไปตีเมืองตังเกี๋ย
- ๖๕. ทัพพระยายมราชยกไปเมืองทวาย
- ๖๖. ทัพหลวงยกไปเมืองทวาย
- ๖๗. ยกทัพหลวงไปตีเมืองพม่า
- ๖๘. ทวายเป็นกบฏ
- ๖๙. เจ้าอนัมก๊กขอตราให้หัวเมืองช่วยการทัพ และถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๓
- ๗๐. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๗๑. ญวนไกเซินขอเป็นไมตรี
- ๗๒. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (ศุข) ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และนักองเอง
- ๗๓. ตั้งนักองเองออกไปครองกรุงกัมพูชา นักองเองถวายเมืองพระตะบองเสียมราฐ
- ๗๔. ถอดเจ้านครล้านช้าง
- ๗๕. ได้ช้างเผือกพระอินทรไอยรา
- ๗๖. ศึกพม่าครั้งที่ ๓
- ๗๗. เชิญพระพุทธสิหิงก์มากรุงเทพฯ
- ๗๘. กรมพระราชวังบวรฯ ทรงผนวช
- ๗๙. สมเด็จพระนารายณ์รามารับอากับครอบครัวไปเมืองเขมร
- ๘๐. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๔
- ๘๑. การพระเมรุพระบรมอัฐิสมเด็จพระชนกาธิบดี
- ๘๒. เกิดเหตุบาดหมางในระหว่าง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๘๓. สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีพระเจ้ากรุงกัมพูชาพิราลัย
- ๘๔. ข่าวศึกพม่า กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จเมืองเชียงใหม่
- ๘๕. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๕
- ๘๖. ฉลองพระมณฑปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- ๘๗. ข่าวศึกพม่า
- ๘๘. สมเด็จพระพี่นางสิ้นพระชนม์
- ๘๙. โปรดให้กองทัพเขมรไปช่วยเจ้าอนัมก๊ก
- ๙๐. เพลิงไหม้สำเพ็ง
- ๙๑. สร้างและฉลองวัดพระเชตุพน
- ๙๒. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๖
- ๙๓. ได้ช้างเผือกพระเทพกุญชร
- ๙๔. เพลิงไหม้วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์
- ๙๕. เจ้าอนัมก๊กได้เมืองญวนและตั้งตัวเป็นพระเจ้ากรุงเวียตนามยาลอง
- ๙๖. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๙๗. ศึกพม่าครั้งที่ ๔
- ๙๘. นักองจันท์ นักองสงวน เข้ามาเฝ้า
- ๙๙. พระเจ้าเวียตนามถวายของสนองพระคุณ
- ๑๐๐. กองทัพไทยไปตีเมืองเชียงแสน
- ๑๐๑. ตั้งเจ้าเชียงใหม่
- ๑๐๒. ได้ช้างสีทองแดงพระบรมฉัททันต์
- ๑๐๓. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๐๔. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคต
- ๑๐๕. พระราชประวัติกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๐๖. สิ่งซึ่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงสร้าง
- ๑๐๗. เรื่องหม่อมลำดวน หม่อมอินทปัต
- ๑๐๘. เลื่อนกรมขุนเสนานุรักษ์และตั้งกรมขุนพิทักษ์มนตรี
- ๑๐๙. กองทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์กลับจากเมืองเชียงแสน
- ๑๑๐. การพระเมรุกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๑๑. พระเจ้าเวียตนามมีราชสาสน์มาทูลเตือน ให้ตั้งกรมพระราชวังบวรฯ
- ๑๑๒. เกณฑ์ทัพไปตีเมืองเชียงตุง เชียงรุ้ง
- ๑๑๓. ตั้งเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๑๔. ตั้งเจ้าอนุครองเมืองเวียงจันทน์
- ๑๑๕. กรมหลวงเทพหริรักษ์สิ้นพระชนม์
- ๑๑๖. ชำระกฎหมาย
- ๑๑๗. ได้ช้างสำคัญพระบรมนัขมณีและพระบรมคชลักษณ์
- ๑๑๘. ได้เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ้ง และเมืองลื้อ สิบสองปันนา
- ๑๑๙. พระเจ้ากรุงเวียตนามมีราชสาสน์ถวายบรรณาการ
- ๑๒๐. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๒๑. กรมพระราชวังหลังทิวงคต
- ๑๒๒. ตั้งนักองจันท์เป็นสมเด็จพระอุทัยราชาเจ้ากรุงกัมพูชา
- ๑๒๓. พระราชพิธีอุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
- ๑๒๔. ตั้งพระบัณฑูรน้อย และตั้งกรมเจ้านาย
- ๑๒๕. การพระเมรุกรมพระราชวังหลัง
- ๑๒๖. พระเจ้าเวียตนามมีพระราชสาสน์ทรงยินดีในการอุปราชาภิเษก
- ๑๒๗. กรมหลวงจักรเจษฎาสิ้นพระชนม์
- ๑๒๘. ได้ช้างสำคัญ
- ๑๒๙. สมเด็จพระอุทัยทูลขอนักองอี นักองเภา
- ๑๓๐. เชิญพระพุทธรูปพระศรีศากยมุนีมากรุงเทพฯ
- ๑๓๑. ปราบปรามเมืองยิริง
- ๑๓๒. เจ้าฟ้ากรมขุนศรีสุนทรเทพสิ้นพระชนม์
- ๑๓๓. โสกันต์เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๓๔. แห่สระสนานใหญ่แห่พระกฐินและมีกระจาดใหญ่กัณฑ์เทศน์มหาชาติ
- ๑๓๕. ผลประโยชน์แผ่นดิน
- ๑๓๖. วัดที่ได้ทรงปฏิสังขรณ์
- ๑๓๗. พระราชานุกิจ
- ๑๓๘. สมเด็จพระอุทัยราชาเข้ามาเฝ้า
- ๑๓๙. งานสมโภชพระแก้วมรกต
- ๑๔๐. สวรรคต
- ๑๔๑. พระราชประวัติ
- ๑๔๒. เสนาบดีในรัชกาลที่ ๑
- ภาคผนวก
- หมายรับสั่ง เรื่อง ยกประตูพระบรมมหาราชวัง จ.ศ. ๑๑๔๔
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์ไพร่หลวง ไทย มอญ รับแขกเมือง ณ แม่น้ำน้อย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์แห่เรือรับพระบรมสารีริกธาตุจากเมืองทวาย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายกำหนดการ เรื่อง มหาอุปราชาภิเษก จ.ศ. ๑๑๖๘
- หมายกำหนดการ เรื่อง ฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จ.ศ. ๑๑๗๑
๖๓. เมืองทวายสวามิภักดิ์
ในปีกุน ตรีศก จุลศักราช ๑๑๕๓[๖๒] นั้น ฝ่ายข้างเมืองทวาย พระเจ้าอังวะตั้งขุนนางลงมาเป็นเจ้าเมืองกรมการ อยู่รักษาเมืองทวาย จะให้เปลี่ยนเจ้าเมืองกรมการเก่าออกและให้หาเจ้าเมืองกรมการเก่านั้นกลับขึ้นไป ส่วนแมงจันจาเจ้าเมืองทวายเก่ากับจิกแกปลัดเมืองนั้น ได้แจ้งข่าวว่าเจ้าเมืองกรมการตั้งลงมาผลัดใหม่ จึงคิดกันไม่ยอมกลับไปเมืองอังวะ ครั้นเจ้าเมืองกรมการใหม่มาใกล้จะถึงเมือง จึงคิดเป็นกลอุบายออกไป ต้อนรับแต่นอกเมือง ให้จัดของเลี้ยงออกไปเลี้ยงให้กินอิ่มหนำสำเร็จแล้ว ก็ให้ทหารเข้าล้อมจับฆ่าเสียสิ้น แล้วกลับเข้าเมืองคิดการกบฏตั้งแข็งเมืองอยู่
ฝ่ายกรมการเมืองเมาะตะมะแจ้งว่าแมงจันจาคิดการกบฏฆ่าเจ้าเมืองกรมการซึ่งมาผลัดใหม่นั้นเสีย จึงมีหนังสือบอกขึ้นไปกราบทูลพระเจ้าอังวะ ๆ ได้ทราบก็ทรงพระพิโรธ จึงให้จับสะดุแมงกองบิดาแมงจันจา เจ้าเมืองทวายจะให้ประหารชีวิตเสีย สะดุแมงกองจึงกราบทูลว่า จะขอมีหนังสือไปถึงบุตรให้มาเฝ้า แม้นไม่มาจึงจะรับพระอาชญาตามโทษ พระเจ้าอังวะก็ให้งดไว้แล้ว ให้จำสะดุแมงกองกับภรรยาให้ข้าหลวง คุมตัวลงมาเมืองเมาะตะมะให้มีหนังสือไปถึงบุตร
ฝ่ายพระยาทวาย คิดกลัวพระเจ้าอังวะให้กองทัพยกมาตีเมือง จะต้านทานสู้รบมิได้ด้วยไม่มีที่พึ่ง จึงปลงใจจะขอขึ้นกรุงเทพฯ เอาพระเดชานุภาพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรุงไทยเป็นที่พำนัก ขอกองทัพไทยไปช่วยป้องกันรักษาเมืองแล้วสืบรู้ว่าพระราชภาคิไนยหญิงพระองค์ ๑ ตกมาอยู่เมืองทวายแต่ครั้งพม่าไปตีกรุงเก่าได้กวาดตอนครอบครัวไทยมานั้น จึงไปเชิญพระราชภาคิไนยนั้นมาไต่ถามได้ความว่าเป็นพระเจ้าหลานเธอแน่แล้วทรงผนวชเป็นรูปชีอยู่ จึงจัดให้นางคน ๑ รูปงามเป็นน้องภรรยาพระยาทวายจะส่งเข้ามาถวาย แล้วให้แต่งศุภอักษรจารึกลงแผ่นทองเป็นอักษรภาษาพุกามตามจารีตข้างพม่า ใจความอ่อนน้อมขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมาเมืองขึ้นพระมหานครศรีอยุธยา ขอกองทัพออกไปช่วยป้องกันรักษาเมืองกับถวายนางเข้ามาด้วย แล้วให้พระเจ้าหลานเธอมีหนังสือเข้ามากราบบังคมทูลพระกรุณา เป็นอักษรภาษาไทยฉบับ ๑ ให้จัดหาพระสงฆ์ไทยได้มหาแทนรูป ๑ จึงจัดขุนนางทวายเป็นทูตานุทูตถือศุภอักษรและเครื่องราชบรรณาการ พานางทวายซึ่งให้เรียกว่าตะแคง ภาษาพม่าว่าเจ้ากับมหาแทน ให้ถือหนังสือพระเจ้าหลานเธอฉบับ ๑ มาด้วยกับทูตานุทูตทั้งไพร่นาย ส่งมาทางเมืองกาญจนบุรี กรมการเมืองกาญจนบุรีบอกเข้ามายังกรุงเทพมหานคร โปรดมีตราแต่งให้ข้าหลวงออกไปรับทูตทวายเข้ามา
ครั้น ณ วันเสาร์ เดือน ๔ แรม ๓ ค่ำ ทูตทวายคือพระสงฆ์ ๑๐ รูปกับเจสูนาระตะมิดกอยอชวา ๑ นาขันตเรียงสา ๑ อดุนนเรสร้อยตองลักแวนอรบา ๑ และหญิงทวายที่เข้ามาถึงกรุงเทพฯ แปลหนังสือพระยาทวายได้ความว่า “แมงจันจาพม่าเจ้าเมืองทวาย เป็นบุตรสะดุแมงกองกินเมืองส่วยชื่อเมืองมัคราโบ เป็นแม่ทัพใหญ่เมืองอังวะ ขอถวายบังคมมายังใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพมหานครศรีอยุธยา ด้วยแมงจันจาเป็นเชื้อพม่า บิดามารดาปู่ตาแมงจันจาทำราชการมาแต่ครั้งพระอัยกาของพระเจ้าอังวะมาจนถึงแมงจันจา จะได้มีความผิดสักครั้งหนึ่งก็หามิได้ พระเจ้ากรุงอังวะทุกวันนี้มิได้ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม และสังคหวัตถุ ๔ ประการ ตามพระราชประเพณี สมเด็จพระบรมมหากษัตราธิราชสืบมาแต่ก่อน กลับความจริงเป็นเท็จ กลับความเท็จเป็นจริงขาดจากเมตตากรุณา และผู้รั้งเมืองผู้ครองเมืองปลายด่าน ทำราชการสู้เสียชีวิตก็ไม่ว่าดี เมื่อเดือน ๑๑ ปีกุน ตรีศก ตั้งมองละเจสูลงมากินเมืองเมาะตะมะ ให้บังคับบัญชาชาวเมืองทวาย เมืองมะริด เมืองตะนาว เจ้าเมืองเมาะตะมะให้มาเรียกเอาเงินแก่เมืองทวาย เมืองมะริด เมืองตะนาว ๒ เดือน ๓ เดือนครั้งหนึ่งเงินถึง ๒๐๐ ชั่ง ๓๐๐ ชั่ง อาณาประชาราษฎรได้ความเดือดร้อนนัก แล้วเจ้าเมืองเมาะตะมะแต่งให้มะรุวอนโปจักกายเดิงคุมพม่า ๓๐๐ คน ลงมากินเมืองทวาย จะให้ถอดข้าพระพุทธเจ้าเสีย ข้าพระพุทธเจ้าแต่งให้ปลัดเมืองคุมไพร่ ๕๐๐ คนออกไป พบมะรุวอนโปจักกายเดิงนอกเมืองทางประมาณ ๒๐๐ เส้น จึงกลุ้มรุมฆ่ามะรุวอนโปจักกายเดิง และไพร่ตายสิ้น เมืองมะริด เมืองตะนาว รู้ว่าเมืองทวายยอมเข้ามาพึ่งพระราชกฤษฎาเดชานุภาพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพมหานคร เมืองมะริด เมืองตะนาว ก็ยอมเจ้ามาเป็นข้าขอบขัณฑสีมาด้วย จึงจัดได้นางและตนไม้ทองเงินเข้ามาถวาย แล้วขอรับอาสาตีเมืองเมาะตะมะ เมืองร่างกุ้ง เมืองจิตตอง เมืองพะสิม ถวายให้ได้ในเดือน ๔ ปีกุน” สิ้นความในหนังสือพระยาทวายแต่เท่านี้
สมุหนายกนำความขึ้นกราบบังคมทูล พระกรุณาทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำรัสให้ทูตทวายอาศัยพักอยู่ ณ โรงรับแขกเมือง ทรงพระกรุณาให้เลี้ยงดูพวกแขกเมืองทวายทั้งนายและไพร่ให้บริบูรณ์ และมหาแทนนั้นก็ให้ส่งไปสำนักวัดบางว้าใหญ่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดำรัสให้จัดการทั้งปวงตามอย่างออกแขกเมือง โดยโบราณราชประเพณีบรมราชาธิราชเจ้าแต่ปางก่อนแล้ว เสด็จออก ณ มุขเด็จพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทพร้อมด้วยเสนาบดี มนตรี หมู่ มุขมาตย์ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อยฝ่ายทหารพลเรือนประชุมเฝ้า ณ ทิมดาบซ้ายขวาตามตำแหน่ง จึงให้เบิกแขกเมืองทวายเข้ามากราบถวายบังคมในปรำหว่างทิมดาบคด พระยาราชนิกูล กราบบังคมทูลพระกรุณาถวายเครื่องราชบรรณาการแล้ว อ่านศุภอักษรเจ้าเมืองทวาย เนื้อความในแผ่นทองว่า “ข้าพระพุทธเจ้าแมงจันจา ขอกราบถวายบังคมมาแทบพระบวรบาทบงกชมาศ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว กรุงเทพมหานครศรีอยุธยา ด้วยข้าพระองค์เดิมเป็นเมืองขึ้นข้าขอบขัณฑสีมากรุงรัตนบุระอังวะ บัดนี้ มีความผิดขัดเคืองกันกับพระเจ้ากรุงอังวะ ๆ จะให้กองทัพพม่ายกมากระทำวิหิงสาการย่ำยีเมืองทวาย ให้สมณพราหมณาจารย์ไพร่ฟ้าประชาราษฎรได้ความเดือดร้อน ข้าพระพุทธเจ้าหาที่พึ่งที่พำนักมิได้ จะขอเอาพระราชกฤษฎาเดชานุภาพพระบารมีสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปราสาททอง ไปปกครองป้องกันเกศสรรพสัตวนิกรในเมืองทวายให้พ้นภยันตรายแห่งปัจจามิตร ขอรับพระราชทานกองทัพออกไปช่วยป้องกันรักษาเมือง อนึ่งข้าพระองค์ถวายนางอันเป็นประยูรวงศ์เข้ามาเป็นข้าทูลละอองธุลีพระบาทด้วย แล้วจะขอส่งพระราชภาคิไนย ซึ่งไปตกอยู่เมืองทวายเข้ามาถวายต่อภายหลัง บัดนี้ให้มหาแทนถือหนังสือของพระราชภาคิไนยเข้ามาถวายด้วย อนึ่งจ้าพระพุทธเจ้ากับทั้งกรมการเมืองทวาย เมืองมะริด เมืองตะนาว และอาณาประชาราษฎรทั้ง ๓ เมือง ขอเป็นเมืองขึ้นขอบขัณฑสีมากรุงเทพมหานครศรีอยุธยาเหมือนดังกาลก่อนสืบไปตราบเท่ากัลปาวสาน” ครั้นอ่านศุภอักษรถวายเสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็มีพระราชดำรัสปฏิสันถารปราศรัยด้วยทูตานุทูตตามขัตติยราชประเพณีแล้วเสด็จขึ้น อัครมหาเสนาบดีก็พาแขกเมืองออกจากที่เฝ้า นำไปรับพระราชทานอาหารเลี้ยงดู ณ ศาลาลูกขุนมหาดไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดให้เถ้าแก่จ่าโขลน และกรมวังออกไปรับนางทวาย คือ นางเอก ๑ นางโท ๒ สาวใช้ข้าไทย ๕๗ รวม ๖๐ คนนั้น ส่งเข้าไปในพระราชวัง
แล้วโปรดให้เสนาบดีพิจารณาดูหนังสือพระราชภาคิไนยซึ่งส่งเจ้ามาถวาย และไต่ถามไล่เลียงพระมหาแทน ได้ความชัดว่าเป็นพระธิดาของพระเจ้าขุนรามณรงค์สมเด็จพระเชษฐาเป็นพระเจ้าหลานเธอแน่แล้ว จึงให้ถวายไตรจีวร เครื่องสมณบริขาร และพระราชทานเสื้อผาเงินตราเป็นรางวัลแก่ทูตานุทูตกับทั้งสิ่งของพระราชทานตอบแทนออกไป ให้แก่พระยาทวายโดยสมควรแล้วดำรัสสั่งสมุหนายกให้มีตราออกไปถึงพระยาทวาย และส่งทูตานุทูตกับทั้งมหาแทนกลับออกไปเมืองทวายก่อน แล้วทรงพระกรุณาโปรดให้พระยายมราชเป็นแม่ทัพกับท้าวพระยาหัวเมือง ถือพล ๕,๐๐๐ ยกออกไปช่วยรักษาเมืองทวายและพระราชทานพานทองเครื่องยศให้พระยายมราชคุมออกไปพระราชทานพระยาทวายด้วย