- คำนำ
- บานแผนก
- รายงานทูลเกล้าฯ ถวาย
- บานแผนกเดิม
- ๑. สร้างกรุงรัตนโกสินทร์
- ๒. พระราชพิธีปราบดาภิเษก
- ๓. ประดิษฐานพระราชวงศ์
- ๔. ตั้งข้าราชการวังหลวง
- ๕. แบ่งหัวเมืองขึ้น กลาโหม มหาดไทย กรมท่า
- ๖. ตั้งข้าราชการวังหน้า
- ๗. ตั้งตำแหน่งพระราชาคณะ
- ๘. พงศาวดารเขมร ตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรีจนนักองเองเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ
- ๙. พระราชทานคืนพระบาง และให้เจ้านันทเสนไปครองเมืองล้านช้าง
- ๑๐. องเชียงสือญวนเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
- ๑๑. เรื่องพงศาวดารญวน
- ๑๒. พระยาปังกลิมาเจ้าเมืองกำปอดแข็งเมือง
- ๑๓. พงศาวดารพม่า ตั้งแต่มังหม่องเป็นกบฏ จนพระเจ้าปะดุงได้เมืองยะไข่
- ๑๔. อ้ายกบฏ ๒ คนเข้าวังหน้า
- ๑๕. เจ้าพระยาอภัยภูเบศรไปรั้งเมืองเขมร
- ๑๖. ทัพพระยานครสวรรค์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๑๗. สร้างพระนคร
- ๑๘. สร้างพระราชมนเทียร
- ๑๙. ทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๒๐. สร้างพระมหาปราสาท
- ๒๑. สร้างวัดพระแก้ว
- ๒๒. ตำนานพระแก้วมรกต
- ๒๓. ปฏิสังขรณ์วัดสลัก
- ๒๔. ปิดคลองลัด
- ๒๕. ทำศพเจ้ากรุงธนบุรี
- ๒๖. ได้ช้างสำคัญ
- ๒๗. ลดตำแหน่งพระเจ้านครศรีธรรมราช และตั้งเจ้าพระยานครพัด
- ๒๘. พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
- ๒๙. สมโภชพระนคร
- ๓๐. กรมหลวงอิศรสุนทรเสด็จมาอยู่พระราชวังเดิม
- ๓๑. น้ำมากข้าวแพง
- ๓๒. ศึกพม่าครั้งที่ ๑
- ๓๓. รบพม่าเมืองกาญจนบุรี
- ๓๔. รบพม่าเมืองราชบุรี
- ๓๕. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จแหลมมลายู
- ๓๖. รบพม่าทางเมืองเหนือ
- ๓๗. ตั้งกรมพระราชวังหลัง
- ๓๘. รบพม่าทางแหลมมลายู
- ๓๙. ปราบเมืองมลายู
- ๔๐. หล่อปืนใหญ่
- ๔๑. ตั้งท้าวเทพสตรี ท้าวศรีสุนทร
- ๔๒. สร้างวังเจ้าเขมร
- ๔๓. องเชียงสือหนีจากกรุงเทพฯ
- ๔๔. ศึกพม่าครั้งที่ ๒
- ๔๕. สร้างมณฑปพระพุทธบาท
- ๔๖. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จไปตั้งเมืองเชียงใหม่
- ๔๗. พระราชทานเรือและเครื่องอาวุธช่วยองเชียงสือ
- ๔๘. ทัพหลวงไปตีเมืองทวาย
- ๔๙. ฝรั่งเข้ามาพนันชกมวย
- ๕๐. พระราชทานเรือรบและปืนช่วยองเชียงสือ
- ๕๑. ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่
- ๕๒. องเชียงสือถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๑ พระราชทานกำลังช่วยองเชียงสือ
- ๕๓. ทำสังคายนาพระไตรปิฎก
- ๕๔. องเชียงสือถวายข้าวสาร
- ๕๕. ไฟไหม้พระมหาปราสาท
- ๕๖. ปราบรายาเมืองตานี
- ๕๗. องเชียงสือตั้งตัวเป็นเจ้าอนัมก๊ก ถวายต้นไม้ทองเงินเป็นครั้งที่ ๒
- ๕๘. ทัพเวียงจันทน์รบญวนไกเซิน
- ๕๙. เจ้าอนัมก๊กกล่าวโทษเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์
- ๖๐. แขกเซียะตีเมืองสงขลา
- ๖๑. เจ้าอนัมก๊กถวายเรือรบ และพระราชทานปืนตอบ
- ๖๒. ทัพเวียงจันทน์ตีเมืองหลวงพระบาง
- ๖๓. เมืองทวายสวามิภักดิ์
- ๖๔. เจ้าอนัมก๊กมีศุภอักษรนัดให้ไปตีเมืองตังเกี๋ย
- ๖๕. ทัพพระยายมราชยกไปเมืองทวาย
- ๖๖. ทัพหลวงยกไปเมืองทวาย
- ๖๗. ยกทัพหลวงไปตีเมืองพม่า
- ๖๘. ทวายเป็นกบฏ
- ๖๙. เจ้าอนัมก๊กขอตราให้หัวเมืองช่วยการทัพ และถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๓
- ๗๐. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๗๑. ญวนไกเซินขอเป็นไมตรี
- ๗๒. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (ศุข) ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และนักองเอง
- ๗๓. ตั้งนักองเองออกไปครองกรุงกัมพูชา นักองเองถวายเมืองพระตะบองเสียมราฐ
- ๗๔. ถอดเจ้านครล้านช้าง
- ๗๕. ได้ช้างเผือกพระอินทรไอยรา
- ๗๖. ศึกพม่าครั้งที่ ๓
- ๗๗. เชิญพระพุทธสิหิงก์มากรุงเทพฯ
- ๗๘. กรมพระราชวังบวรฯ ทรงผนวช
- ๗๙. สมเด็จพระนารายณ์รามารับอากับครอบครัวไปเมืองเขมร
- ๘๐. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๔
- ๘๑. การพระเมรุพระบรมอัฐิสมเด็จพระชนกาธิบดี
- ๘๒. เกิดเหตุบาดหมางในระหว่าง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๘๓. สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีพระเจ้ากรุงกัมพูชาพิราลัย
- ๘๔. ข่าวศึกพม่า กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จเมืองเชียงใหม่
- ๘๕. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๕
- ๘๖. ฉลองพระมณฑปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- ๘๗. ข่าวศึกพม่า
- ๘๘. สมเด็จพระพี่นางสิ้นพระชนม์
- ๘๙. โปรดให้กองทัพเขมรไปช่วยเจ้าอนัมก๊ก
- ๙๐. เพลิงไหม้สำเพ็ง
- ๙๑. สร้างและฉลองวัดพระเชตุพน
- ๙๒. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๖
- ๙๓. ได้ช้างเผือกพระเทพกุญชร
- ๙๔. เพลิงไหม้วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์
- ๙๕. เจ้าอนัมก๊กได้เมืองญวนและตั้งตัวเป็นพระเจ้ากรุงเวียตนามยาลอง
- ๙๖. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๙๗. ศึกพม่าครั้งที่ ๔
- ๙๘. นักองจันท์ นักองสงวน เข้ามาเฝ้า
- ๙๙. พระเจ้าเวียตนามถวายของสนองพระคุณ
- ๑๐๐. กองทัพไทยไปตีเมืองเชียงแสน
- ๑๐๑. ตั้งเจ้าเชียงใหม่
- ๑๐๒. ได้ช้างสีทองแดงพระบรมฉัททันต์
- ๑๐๓. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๐๔. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคต
- ๑๐๕. พระราชประวัติกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๐๖. สิ่งซึ่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงสร้าง
- ๑๐๗. เรื่องหม่อมลำดวน หม่อมอินทปัต
- ๑๐๘. เลื่อนกรมขุนเสนานุรักษ์และตั้งกรมขุนพิทักษ์มนตรี
- ๑๐๙. กองทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์กลับจากเมืองเชียงแสน
- ๑๑๐. การพระเมรุกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๑๑. พระเจ้าเวียตนามมีราชสาสน์มาทูลเตือน ให้ตั้งกรมพระราชวังบวรฯ
- ๑๑๒. เกณฑ์ทัพไปตีเมืองเชียงตุง เชียงรุ้ง
- ๑๑๓. ตั้งเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๑๔. ตั้งเจ้าอนุครองเมืองเวียงจันทน์
- ๑๑๕. กรมหลวงเทพหริรักษ์สิ้นพระชนม์
- ๑๑๖. ชำระกฎหมาย
- ๑๑๗. ได้ช้างสำคัญพระบรมนัขมณีและพระบรมคชลักษณ์
- ๑๑๘. ได้เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ้ง และเมืองลื้อ สิบสองปันนา
- ๑๑๙. พระเจ้ากรุงเวียตนามมีราชสาสน์ถวายบรรณาการ
- ๑๒๐. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๒๑. กรมพระราชวังหลังทิวงคต
- ๑๒๒. ตั้งนักองจันท์เป็นสมเด็จพระอุทัยราชาเจ้ากรุงกัมพูชา
- ๑๒๓. พระราชพิธีอุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
- ๑๒๔. ตั้งพระบัณฑูรน้อย และตั้งกรมเจ้านาย
- ๑๒๕. การพระเมรุกรมพระราชวังหลัง
- ๑๒๖. พระเจ้าเวียตนามมีพระราชสาสน์ทรงยินดีในการอุปราชาภิเษก
- ๑๒๗. กรมหลวงจักรเจษฎาสิ้นพระชนม์
- ๑๒๘. ได้ช้างสำคัญ
- ๑๒๙. สมเด็จพระอุทัยทูลขอนักองอี นักองเภา
- ๑๓๐. เชิญพระพุทธรูปพระศรีศากยมุนีมากรุงเทพฯ
- ๑๓๑. ปราบปรามเมืองยิริง
- ๑๓๒. เจ้าฟ้ากรมขุนศรีสุนทรเทพสิ้นพระชนม์
- ๑๓๓. โสกันต์เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๓๔. แห่สระสนานใหญ่แห่พระกฐินและมีกระจาดใหญ่กัณฑ์เทศน์มหาชาติ
- ๑๓๕. ผลประโยชน์แผ่นดิน
- ๑๓๖. วัดที่ได้ทรงปฏิสังขรณ์
- ๑๓๗. พระราชานุกิจ
- ๑๓๘. สมเด็จพระอุทัยราชาเข้ามาเฝ้า
- ๑๓๙. งานสมโภชพระแก้วมรกต
- ๑๔๐. สวรรคต
- ๑๔๑. พระราชประวัติ
- ๑๔๒. เสนาบดีในรัชกาลที่ ๑
- ภาคผนวก
- หมายรับสั่ง เรื่อง ยกประตูพระบรมมหาราชวัง จ.ศ. ๑๑๔๔
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์ไพร่หลวง ไทย มอญ รับแขกเมือง ณ แม่น้ำน้อย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์แห่เรือรับพระบรมสารีริกธาตุจากเมืองทวาย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายกำหนดการ เรื่อง มหาอุปราชาภิเษก จ.ศ. ๑๑๖๘
- หมายกำหนดการ เรื่อง ฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จ.ศ. ๑๑๗๑
๑๔๑. พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นปฐมในพระบรมราชวงศ์พระองค์นี้ มีพระนามปรากฏต่อมาในภายหลังว่า พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ นเรศวรราชวิวัฒนวงศ์ ปฐมพงศาธิราชรามาธิบดินทร์ สยามพิชิตินทรวโรดม บรมนารถบพิตร พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระองค์ประสูติ ณ วันพุธ เดือน ๔ แรม ๕ ค่ำ ปีมะโรง อัฐศก จุลศักราช ๑๐๙๘[๙๙] ณ กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา มีนิวาสฐานอยู่ภายในกำแพงพระนครเหนือป้อมเพชร ครั้นปีฉลู นพศก จุลศักราช ๑๑๑๙ พระชนมายุครบ ๒๑ ปี เสด็จออกทรงพระผนวชเป็นภิกษุอยู่วัดมหาทะลายพรรษา ๑ แล้วลาผนวชเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กหลวงในพระเจ้าแผ่นดินที่ ๓๓ ซึ่งปรากฏพระนามเรียกเป็นสามัญว่า ขุนหลวงดอกมะเดื่อนั้น ครั้นต่อมาพระองค์ได้วิวาหมงคลกับธิดาในตระกูลเศรษฐีที่ตำบลอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม อยู่ต่อพรมแดนเมืองราชบุรี จึงเสด็จออกไปรับราชการอยู่ในเมืองราชบุรี ได้เป็นตำแหน่งหลวงยกกระบัตร เมื่อพระชนมพรรษา ๒๕ ปี
ครั้นเมื่อกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา เสียแก่พม่าข้าศึกแล้ว เจ้าตาก (สิน) ตั้งเมืองธนบุรีขึ้นเป็นราชธานี จึงเสด็จเข้ามารับราชการในกรุงธนบุรี เมื่อปีชวด สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๑๓๐ พระชนม่ได้ ๓๒ พรรษา ได้เป็นตำแหน่งที่พระราชรินทร์ในกรมพระตำรวจ ได้รับราชการเป็นกำลังของเจ้ากรุงธนบุรีทำการศึกสงครามต่อมา คือ
ครั้งที่ ๑ ในปีชวด สัมฤทธิศกนั้น ได้เสด็จคุมกองทัพกอง ๑ ไปตีด่านขุนทด แขวงเมืองนครราชสีมา ซึ่งเจ้าพิมายให้พระยาวรวงษาธิราชมาตั้งรับทัพกรุงธนบุรีอยู่ ตีด่านขุนทดแตกแล้ว ยกตามพระยาวรวงษาธิราช ลงไปตีได้เมืองนครเสียมราฐอีกเมือง ๑ เมื่อเสร็จศึกเมืองนครราชสีมาครั้งนั้นได้เลื่อนตำแหน่งยศเป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์ จางวางกรมพระตำรวจโดยความชอบ
ครั้งที่ ๒ ปีฉลู เอกศก จุลศักราช ๑๑๓๑ ได้เป็นแม่ทัพเสด็จไปตีเมืองเขมร ตีได้เมืองพระตะบองและเมืองนครเสียมราฐแล้ว กำลังทำการศึกค้างอยู่พอได้ข่าวเล่าลือว่าเจ้ากรุงธนบุรีทิวงคตจึงยกกองทัพกลับมา
ครั้งที่ ๓ ปีขาล โทศก จุลศักราช ๑๑๓๒ โดยเสด็จเจ้ากรุงธนบุรีไปปราบปรามเจ้าพระฝางมีชัยชนะ ได้เลื่อนตำแหน่งยศเป็นพระยายมราชว่าที่สมุหนายก เมื่อพระชนมายุได้ ๓๔ พรรษา
ครั้งที่ ๔ ปีเถาะ ตรีศก จุลศักราช ๑๑๓๓ พระชนมพรรษา ๓๕ พรรษา ได้เลื่อนตำแหน่งยศเป็นเจ้าพระยาจักรี เป็นแม่ทัพยกลงไปตีเมืองเขมรพร้อมกับเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งเสด็จไปทางทะเล ตีได้เมืองบันทายเพชรและเมืองบาพนม
ครั้งที่ ๕ ปีมะเมีย ฉศก จุลศักราช ๑๑๓๖ เป็นแม่ทัพหน้าของเจ้ากรุงธนบุรียกไปตีเมืองนครเชียงใหม่ ตีได้เมืองเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูน แล้วเสด็จอยู่จัดการบ้านเมือง ได้เมืองน่านมาเป็นข้าขอบขัณฑสีมาอีกเมือง ๑
ครั้งที่ ๖ พม่ายกกองทัพมาตีเมืองราชบุรี ในปีนั้นเสด็จยกกองทัพจากเมืองนครเชียงใหม่ลงมาช่วยทัพหลวง รบพม่าได้ชัยชนะ
ครั้งที่ ๗ ปีมะแม สัปตศก จุลศักราช ๑๑๓๗ พม่ายกมาตีเมืองนครเชียงใหม่เสด็จเป็นแม่ทัพยกขึ้นไปช่วย แต่พม่าทราบข่าวถอยทัพไปเสียก่อนหาได้รบไม่
พออะแซหวุ่นกี้ยกทัพพม่าเข้ามาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ จึงเสด็จลงมาตั้งรับกองทัพอะแซหวุ่นกี้ที่เมืองพิษณุโลก นับเป็นครั้งที่ ๘ ศึกพม่าครั้งนั้นเป็นศึกใหญ่ยกมาหลายทัพหลายทาง ตั้งล้อมเมืองพิษณุโลกไว้ทุกด้าน แต่กองทัพไทยต่อรบป้องกันเมืองเป็นสามารถ พม่าเข้าตีหักเอาหลายครั้งก็ไม่ได้เมืองพิษณุโลก จนอะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพพม่าขอดูพระองค์ และสรรเสริญพระปรีชาสามารถที่ทรงต่อรบรักษาเมืองในครั้งนั้น ต่อมาพม่าตั้งล้อมเมืองพิษณุโลกไว้และคอยตัดลำเลียงจากกองทัพหลวงมิให้ส่งเสบียงเข้าไปในเมืองพิษณุโลกได้ แต่รักษาเมืองมาถึง ๓ เดือนเศษ จนเสบียงอาหารในเมืองหมดลงผู้คนอดอยากระส่ำระสาย จึงจำเป็นต่องทิ้งเมืองพิษณุโลกตีหักค่ายพม่าออกไปได้ทางด้านตะวันออกไปชุมนุมทัพอยู่ที่เมืองเพชรบูรณ์
ครั้งที่ ๙ ปีวอก อัฐศก จุลศักราช ๑๑๓๘ เสด็จเป็นแม่ทัพยกไปตีหัวเมืองลาวตะวันออก ได้เมืองนครจำปาศักดิ์ เมืองสีทันดร เมืองอัตปือและได้เมืองเขมรป่าดงหลายเมือง คือ เมืองตะลุง เมืองสุรินทร์ เมืองสังข์ เมืองขุขันธ์ เป็นต้น ได้เลื่อนพระเกียรติยศขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกพิลึกมหิมา ทุกนคราระอาเดช นเรศวรราชสุริยวงศ์ องค์บาทมุลิกากรบวรรัตนปรินายก มีเครื่องยศอย่างเจ้าต่างกรมในปีระกา นพศก จุลศักราช ๑๑๓๙ พระชนม์ได้ ๔๑ พรรษา
ครั้งที่ ๑๐ เมื่อปีจอ สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๑๔๐ เสด็จเป็นแม่ทัพยกไปตีเมืองล้านช้าง ตีได้เมืองเวียงจันทน์และเมืองขึ้น และได้เมืองหลวงพระบางมาเป็นข้าขอบขัณฑสีมาด้วย ในครั้งนี้ได้ทรงเชิญพระพุทธปฏิมากรแก้วมรกต และพระบางลงมากรุงธนบุรี
ครั้งที่ ๑๑ เสด็จเป็นแม่ทัพออกไปปราบปรามจลาจลในเมืองเขมร ทำการยังไม่ทันตลอด พอได้ทรงทราบข่าวว่าเกิดเหตุจลาจลขึ้นในกรุงธนบุรีด้วยเจ้ากรุงธนบุรีเสียพระสติกระทำการกดขี่สมณะและข้าราชการอาณาประชาราษฎรให้ได้ความเดือดร้อนร้ายแรง ราชการผันแปรป่วนปั่นไปทั้งพระนครก็เสด็จยกกองทัพกลับจากเมืองเขมร มาถึงกรุงธนบุรี เมื่อ ณ วันเสาร์ เดือน ๕ แรม ๙ ค่ำ ปีขาล จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๔๔ ปี มุขมนตรีและประชาราษฎรเป็นอันมาก พร้อมกันกราบทูลอัญเชิญพระองค์ให้เสด็จดำรงสิริราชสมบัติ ทำการพระราชพิธีปราบดาภิเษก เมื่อ ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๘ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีขาล จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๔๔[๑๐๐] ปีนั้น พระชนมายุ ๔๗ พรรษา
ตั้งแต่เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ก็ทรงพระอุตสาหะครอบครองแผ่นดินโดยขัตติยานุวัตร ต่อสู้ข้าศึกซึ่งบังอาจมาย่ำยีให้ปราชัยพ่ายแพ้ไปทุกครั้ง ทั้งปราบปรามศัตรูหมู่ร้ายทั้งภายในและภายนอกราบคาบ แผ่พระราชอาณาจักรกว้างขวางยิ่งกว่าแผ่นดินใดๆ ในครั้งกรุงเก่าแต่ก่อนมา ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและประชาชนทั่วพระราชอาณาจักรเป็นอเนกประการ ดังข้อความพิสดารที่ได้กล่าวมาในพระราชพงศาวดารนี้